ภาวะจิตทำให้เป็นพระอรหันต์ ไม่ใช่ภาวะหน้าที่
จิตอยู่ในภาวะที่ปล่อยวางได้ พ้นจากการครอบงำแห่งอัตตา ตัณหา กิเลส นี่แหละเป็นพระอรหันต์ ท่านจะไม่เก่งอะไรก็ได้ นั่งเฉยๆ ก็ได้ เพราะไม่เกี่ยวกับการงาน งานนั้นเป็นขั้นที่ ๒, ๓ ไปทำหน้าที่แล้ว
ยกตัวอย่าง พระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิม (觀世音菩薩) ท่านเก่งทางเมตตา พระโพธิสัตว์ตี่จั่งอ๊วง (地藏王菩薩) เก่งทางโปรดสัตว์นรก
นายกฯ ลีกวนยู (李光耀) กับพระอรหันต์ เก่งยังไง?
นายกฯ ลีกวนยู (李光耀) อดีตนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ปกครองประเทศ ๓ ทศวรรษ เป็นบิดาผู้ก่อตั้งประเทศสิงคโปร์สมัย
ใหม่ (๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๖ - ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘) บริหารงานเก่งเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง ทางรัฐศาสตร์ แต่ท่านเป็นพระอรหันต์ไม่ได้ เพราะว่าจิตใจยังถูกโลภะ โทสะ โมหะครอบงำอยู่ เวลาโกรธยังโกรธเป็น แต่ฝีมือการบริหารเก่งกว่าพระอรหันต์ซะอีก แต่ภาวะจิตใจนี้ไม่ได้ เพราะขาดตบะ ทนต่อการยั่วยุแห่งอัตตา ตัณหา กิเลสไม่ได้
ถ้าจะถามว่าสิ่งไหนจะดีกว่ากัน? ตอบว่า ไม่มี
แต่ถ้าถามว่า สิ่งไหนนับว่าสูงกว่ากัน ก็คือทางด้านจิตใจ คือ พระอรหันต์
แต่ถ้าถามว่า อันไหนจะดีกว่ากัน จะต้องไปดูว่าเวลานั้นเขาเหมาะแก่การงานอะไร ตรงไหน เขาต้องการอะไร
ทำไมเราเรียกในหลวงว่าเป็นพระโพธิสัตว์แต่ไม่ใช่พระอรหันต์ ก็เพราะว่า จิตใจของพระโพธิ์สัตว์ต่ำกว่าพระอรหันต์หนึ่งขั้น ยังมีความโลภอยากให้คนทั่วไปเป็นคนดีทั้งหมด
อย่างเช่นมหาปณิธานของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (พระแม่กวนอิม) (觀世音菩薩) "หากยังมีสัตว์โลกตกทุกข์ได้ยากอยู่แม้เพียงคนเดียว จะไม่ขอบรรลุพุทธภูมิ"
มหาปณิธานของพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ (ตี่จั่งอ๊วง) (地藏王菩薩) ว่า “เมื่อโปรดสรรพสัตว์หมดสิ้นแล้วจึงจะสำเร็จโพธิญาณ หากนรกยังไม่ว่างจะไม่ขอสำเร็จพุทธภูมิ”
แต่ถ้าเป็นพระอรหันต์จะต้องปล่อยวางแล้ว คุณได้ก็คือได้ คุณไม่ได้ก็คือไม่ได้ อย่างเช่น พระจี้กง ทำไมต้องกลับมาเป็นพระโพธิสัตว์ ก็เพราะว่าท่านอดตรงนี้ไม่ได้ ก็ต้องถอยจากพระอรหันต์มาเป็นพระโพธิสัตว์
พระโพธิสัตว์ต่ำกว่าพระอรหันต์ ๑ ขั้นคือ ปรารถนาให้ทุกคนได้ดี แต่พระอรหันต์ปล่อยทุกคนให้เป็นอุเบกขาไปแล้ว
พระอรหันต์สามารถกอบกู้โลกได้ไหม?
พระอรหันต์กอบกู้โลกไม่ได้ แต่พระโพธิสัตว์กอบกู้โลกได้ เพราะว่าโลกอยู่ข้างนอก ต่ำกว่า แต่ถ้าถามว่าเราจะให้พระอรหันต์เป็นผู้นำ ในลักษณะยังไง ท่านก็เป็นตัวอย่างเชิดชูไว้ เป็นเป้าหมายไว้ เป็นคติไว้ อย่างพระโพธิสัตว์ก็ต้องมองเป้าพระอรหันต์ เพราะเป้าอรหันต์ใกล้เคียงกับพระพุทธองค์
เกี่ยวกับด้านบริหาร พระอรหันต์จะต้องไปถามลีกวนยูไหม?
ก็แล้วแต่งานนั้นๆ ถ้าสายจิตใจ ลีกวนยูจะต้องไปพึ่งพระอรหันต์แน่นอน แต่ถ้าเป็นข้างล่าง (สายโลกิยะ) ก็แล้วแต่ว่าจะเป็นงานสายไหน
ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่พระอรหันต์จะไม่เก่งสายจิต ถ้าไม่เป็นเช่นนี้ก็เป็นพระอรหันต์ไม่ได้
ภาวะจิตใหญ่ๆ คือ รู้จักปล่อยวาง ไม่ถูกครอบงำ
หัวใจของพระอรหันต์ หรือหัวใจแห่งการปฏิบัติธรรมะ สภาพจิตของท่านคือ ไม่ถูกครอบงำ ไม่ถูกเหนี่ยวรั้ง
แล้วสภาพจิตของคนทั่วโลกจะถูกครอบงำหรือเหนี่ยวรั้งกี่เปอร์เซ็นต์ ถ้าบางคนถูกเหนี่ยวรั้งสูงก็จะอยู่ในภูมิชั้นต่ำมาก
อารมณ์ที่จะมาครอบงำ เหนี่ยวรั้งเรามีอยู่ ๓ สาย คือ "ชอบ ไม่ชอบ กลางๆ" นอกนั้นเราก็ไปแยกเอาเอง เพราะว่าแยกไปแล้วไม่มีที่สิ้นสุด
รากเหง้าของกุศลและอกุศล คือ อัตตา ถ้าเราไม่มีอัตตาแล้วเราจะมีอารมณ์ได้ยังไง นี่แหละเราต้องพัฒนาเข้าสู่อนัตตา ถึงจะบริหารอัตตาได้ เราจะมีตัณหา จะมีกิเลส ถ้าไม่มีรากเหง้าคืออัตตาเป็นไปไม่ได้
ตัณหาอยู่ดีๆ จะมีได้ยังไง ถ้าไม่มีอัตตาจะเอาไปทำอะไร
ทำไมคนทั่วไปศึกษาเล่าเรียนว่า รากเหงาของอกุศล คือ โลภะ โทสะ โมหะ? ซึ่งอันนี้เป็นขั้นต่ำแล้ว อยู่ในขั้นที่ ๕ แล้ว
เรียงลำดับ ดังนี้
๑. อัตตา (Atta: 1. self; soul; ego; personal entity. 2. mind; the whole personality) คือ ตัวตน มีอยู่ของมัน ไม่มีอยู่คงที่ เป็นอนิจจัง เป็นไปตามปัจจัยเหตุ เคลื่อนที่ไปตามปัจจัยเหตุ หมายความว่า สิ่งที่เป็นปัจจัยเหตุ ณ ภาวะธรรมนั้นขึ้นมา แล้วก็ไปตามกฎแห่งอนิจจัง แตกสลายไป แต่อัตตายังคงอยู่
อัตตาไม่ใช่ นายแดง นายดำ เราต้องตีความให้ถูก อัตตานี่มีตัวตน แม้ว่าพลังก็เป็นอัตตาก็เช่นเดียวกัน
๒. ตัณหา กิเลส คือ ตัณหา (craving) คือ ความอยาก
๑) กามตัณหา อยากได้อารมณ์อันน่ารักใคร่
๒) ภวตัณหา ความอยากในภพ อยากเป็นนั่นเป็นนี่
๓) วิภวตัณหา ความอยากในวิภพ อยากไม่เป็นนั่นไม่เป็นนี่ อยากพ้นดับสูญ
กิเลส (defilements) มีความหมายเป็นกลางๆ แปลว่า ตัวที่มาสนองความอยากของเรา ความอยาก ความต้องการ หมายความว่า สิ่งที่ใคว่คว้าหาสิ่งต่างๆ มาสนองตัณหา ตามที่ตัณหาต้องการ เครื่องมือที่ใคว่คว้านี่แหละเป็นกิเลส
ถ้าเราไม่มีตัณหากิเลส อวิชชาก็ย่อมไม่มี คือ อยากได้ อยากเป็น อยากไม่เป็น อย่างนั้นอย่างนี้ อยากได้มาก ตบะก็ทนต่อความยั่วยุไม่ได้ จึงถูกครอบงำ
๓. อวิชชา คือ รู้ไม่เข้าใจถ่องแท้ประจักษ์ซึ้งในธรรม แล้วทำไมอวิชชาถึงมาอยู่ลำดับที่ ๓ อยู่ก่อนไม่ได้ เดี๋ยวจะย้อนกลับไป
คือ เราไม่รู้ จึงถูกครอบงำ จึงไปรับสิ่งที่ไม่ดีมา สมมติว่า ถ้าเรารู้เข้าใจ เราก็จะไม่เชื่อฟังกิเลส ตัณหา แต่เพราะเราไม่รู้เราจึงเชื่อฟังกิเลสตัณหา คือ ถ้าเราไม่มีอวิชชา เราก็ไม่จำเป็นต้องใช้ตบะ
๔. ตบะ (penance) คือ การรักษาได้อย่างยิ่งยวด หมายความว่า กำลังพลังความมั่นคง ไม่หวั่นไหวกับสิ่งยั่วยุ เป็นอิทธิ เป็นจิตมีพลัง
๕. โลภะ โทสะ โมหะ ความหมาย โลภะ คือ ความโลภ โทสะ คือ ความโกรธ โมหะ คือ ความหลง
๖. ใช้วิธีการ
เรามีอัตตา เราจึงมีตัณหากิเลส เรามีตัณหากิเลสย่อมเกิดอวิชชา อยากได้ อยากเป็น ไม่อยากได้ไม่อยากเป็น อยากได้มากๆ ตบะของเราจึงทนไม่ได้ ทนไม่ได้ต่อความยั่วยุของโลภะ โทสะ โมหะ จึงเป็นเหตุให้ถูกครอบงำ
พอถูกครอบงำ จึงโลดแล่นไปตามที่ตัวเองอยาก มีตัวโลภ โกรธ หลง ก็จะใช้วิธีการแย่งชิง ทำร้าย หลอกลวงฯลฯ
พระอรหันต์ท่านไม่มีอวิชชา มีแต่วิชชา แล้วแผนผังนี้จะทำยังไง?
พระอรหันต์ท่านหลุดออกจากอัตตา จึงทำให้ท่านมีวิชชาเข้าใจอนัตตา ท่านจึงหลุดจากอัตตาตั้งแต่ต้น เพราะท่านหลุดจากอัตตา จึงเข้าสู่อนัตตา จึงเป็นวิชชา หลุดออกจากอวิชชา พระอรหันต์ท่านก็มีตัณหากิเลสอยู่ แต่ว่าตัณหากิเลสท่านไม่ถูกครอบงำ เพราะว่ามีวิชชาป้องกัน
สรุปก็คือ เราจะหลุด หรือถูกครอบงำ พระพุทธเจ้าจึงบอกว่าให้เป็นอิสระ เป็นไทจากอวิชชา พระพุทธเจ้าท่านสอนอย่างนี้ อันนี้เป็นหัวใจหลักในการเจริญวิปัสสนา ใครเจริญตรงนี้ก็จะได้อานิสงส์สูง เราก็หลุดออกจากอัตตาสูง วิชชาเราก็สูง
ขบวนการวิชชาแท้ การปฏิบัติธรรมให้บรรลุถึงภาวะลดอัตตานำไปสู่ภาวะผลอนัตตา
เรารู้จักโกรธ รู้จักหลง เป็นวิชชาจริง แต่ไม่แท้
ถ้าเราเข้าใจอนัตตาถึงจะเรียกว่าจริงแท้
ที่เราสวดมนต์สรรเสริญพุทธคุณคำว่า "วิชชา จะระณะ สัมปันโน" หมายความว่า วิชชาก็คือรู้จักละวางอัตตา จรณะก็คือ รู้วิธีการที่จะวางอัตตาได้
"วิชชา" ก็คือ รู้เหตุว่าอัตตาเป็นเช่นใด
"จรณะ" ก็คือ รู้จักมีวิธีวางอัตตาได้
ที่กล่าวมานี้เป็นหัวใจแห่งพระพุทธเจ้า เป็นหัวใจแห่งการบรรลุธรรม เป็นหัวใจแห่งการหลุดพ้น
ทีนี้ พอเรารู้ก็ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติของเรา เราต้องไปฝึกฝน
เรารู้หลักแล้ว เรารู้เส้นทางแล้ว เราพยายามเดินไปตามเส้นทางเดี๋ยวก็ถึง แต่ถ้าเราผิดทิศทาง เราเดินทางไปก็เหนื่อยเปล่า เดี๋ยวคนคนเดินผิดทิศทางเยอะ
ทำไมต้องใช้คำว่า "ลดอัตตา" ทำไมถึงไม่ใช้คำว่า "ไม่มีอัตตา" เลย?
ใช้คำว่า "ไม่มีอัตตา" ไม่ได้ เพราะอัตตาเป็นของคู่กับธรรม อัตตาไม่มีไม่ได้
แม้ ณ ปัจจุบันนี้พระพุทธเจ้าก็มีอัตตา แต่ไม่ถูกอัตตาครอบงำ ไม่ถูกแรงภาวะอัตตาครอบงำ จึงเป็นอนัตตา
แล้วทำไมถึงต้องใช้คำว่า "ลด" อัตตา?
เพราะว่าเราตัดอัตตาออกไม่ได้ แม้ว่าจะลดยังไงก็ยังมีเหลืออยู่ แต่เราจะเอาออกให้หมดไม่ได้ แม้แต่เราจะทำลายอัตตาก็ไม่ได้ ฆ่าอัตตาก็ไม่ได้ เพราะเป็นการฝืนธรรมชาติ เพียงแต่ว่าเราไม่ให้อัตตาครอบงำ อัตตาจึงไม่มีความหมายสำหรับเรา จึงเป็นภาวะอนัตตา
ที่ว่าอัตตาของพระพุทธเจ้าลดแล้วยังเหลือนิดหนึ่ง คำว่า "นิดหนึ่ง" นั้นคืออะไร?
เราลองคิดดูดีๆ นะ พระพุทธเจ้าท่านเป็น "ตถาคต" ไหม? ตอบว่า ก็เป็นตถาคต (tathatã) ก็นี่แหละ อัตตาตัวตถาคต นี่ก็เป็นอัตตา
แม้แต่ว่าอัตตาทั้งดีหรือไม่ดีก็อย่าให้ครอบงำ แม้แต่ดีก็ให้ครอบงำไม่ได้ ตัวที่ "เข้าสู่" นั่นแหละเป็นอัตตา
แม้แต่ตถาคตก็มาครอบงำพระพุทธเจ้าไม่ได้ ตราบใดที่มีคำว่า "ครอบงำ" ตราบนั้นก็ไม่ใช่ล่ะ
ตราบนั้นไม่มีการครอบงำ ตราบนั้นธรรมนั้นย่อมอยู่เป็นไปตามธรรม นี่แหละ ตถาตา
คำว่า "ตถาตา" แปลว่า เป็นเช่นนั้น หมายความว่า ธรรมไหนย่อมอยู่เป็นไปตามธรรม เขาเรียกว่า ตถาตา
สมมติว่า ตอนนี้เป็นกลียุค ไม่มีอะไรกินแล้วพระพุทธเจ้าจะเสวยอะไร? หรือเขาจะมาฆ่าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจะต้องไปฆ่าเขาก่อนไหม?
ตอบว่า สมมติว่าคำถามนี้เป็นเหตุ เกิดกลียุค พระพุทธเจ้ารู้ว่าจะเกิดกลียุค พระพุทธเจ้าท่านก็เตรียมตัวไว้ ในธรรมเขามีบอกไว้เหมือนกันว่าจะเกิดเรื่องเช่นนี้ขึ้น ยังไงพระพุทธเจ้าก็ไม่มาเกิดในกลียุค แต่ถ้าหากว่าพระพุทธเจ้ามีวิบากที่จะต้องมาเจอ ก็ต้องเป็นไปตามวิบากเช่นนั้น เป็นไปตามนั้น มีเหตุให้ทำก็ต้องทำ แต่ยังไงก็จะไม่มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นแน่นอน แค่ระดับข้างล่างก็จัดการเรียบร้อยแล้ว ภาวะธรรมจัดการให้เรียบร้อย
พระเทวทัตจะฆ่าพระพุทธเจ้าให้ได้ ซึ่งไม่มีทางที่จะเป็นไปได้แน่นอน เหตุการณ์ตอนนั้นพระแม่ธรณีท่านรำคาญก็จะสูบลงไปแน่นอน เพราะอะไรข้างล่างจึงจัดการ เพราะเป็นไปตามภาวะธรรม นี่คือตถาตา
แม้แต่พระมหาโมคคัลลานะถูกโจรทุบตาย ก็เพราะว่ามีวิบากเมื่ออดีตชาติเคยไปสร้างวิบากกรรมไว้ ก็ต้องมาชดใช้กรรม แต่ว่าพระมหาโมคคัลลานะก็รู้ว่าจะแก้ยังไง แต่ท่านไม่ปรารถนาจึงไม่แก้กรรม แต่อยากเคลียร์กรรม เพื่อแสดงกรรม ถึงเจริญธรรม
เหตุการณ์นี้จะเหมือนกับคำที่ว่า "ด้ายมีปมร้อยยังไงก็ไม่ผ่าน"?
ก็บอกแล้วว่า ท่านรู้ว่ามีทางออกที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้ ในธรรมมีช่องยกเว้นให้ได้ แต่ท่านเลือกที่จะให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ เพื่อแสดงให้หมู่ชนทั้งหลายรู้ประจักษ์ว่า เวลาจะทำกรรมอะไรให้ระวัง แม้แต่ท่านทำดีแค่นี้ก็ยังหลุดยาก เพื่อแสดงกรรม เพื่อเจริญธรรม
ยกตัวอย่าง พระสารีบุตร ก่อนที่ท่านจะเข้าสู่นิพพาน ท่านกลับบ้านไปโปรดแม่ เกิดอาการ“ปักขันทิกาพาธ” คือ “โรคท้องร่วง” อย่างรุนแรง อันนี้ถือว่าเป็นธรรมชาติหรือเป็นวิบากกรรม
ก็ถือว่าเป็นวิบากกรรม คำว่า เป็นโดยธรรมชาติไม่มี เป็นโดยธรรมชาติก็คือวิบากกรรมนั่นเอง
ท่านอยากให้เป็นไปตามนี้ ก็เป็นไปตามนี้
แสดงกรรม เพื่อเจริญธรรม คำนี้ต้องศึกษาให้เยอะๆ ไม่ว่าจะเป็นศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม หรือศาสนาไหนๆ สิ่งต่างๆ เป็นการแสดงกรรม เพื่อเจริญธรรม เราจะต้องเข้าใจตรงนี้
ถ้าเราแก้เหตุ ก็ทุกข์น้อยลง แต่ทุกข์นั้นยังมีอยู่ คำว่าทุกข์หายเป็นไม่มี
พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว หายทุกข์ไหม? ตอบว่า ก็ไม่หาย แต่ทุกข์นั้นไม่มีอิทธิพลและทุกข์นั้นไม่สามารถครอบงำพระพุทธเจ้าได้
เส้นทางที่ทำให้เป็น พระอรหันต์
จิตอยู่ในภาวะที่ปล่อยวางได้ พ้นจากการครอบงำแห่งอัตตา ตัณหา กิเลส นี่แหละเป็นพระอรหันต์ ท่านจะไม่เก่งอะไรก็ได้ นั่งเฉยๆ ก็ได้ เพราะไม่เกี่ยวกับการงาน งานนั้นเป็นขั้นที่ ๒, ๓ ไปทำหน้าที่แล้ว
ยกตัวอย่าง พระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิม (觀世音菩薩) ท่านเก่งทางเมตตา พระโพธิสัตว์ตี่จั่งอ๊วง (地藏王菩薩) เก่งทางโปรดสัตว์นรก
นายกฯ ลีกวนยู (李光耀) กับพระอรหันต์ เก่งยังไง?
นายกฯ ลีกวนยู (李光耀) อดีตนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ปกครองประเทศ ๓ ทศวรรษ เป็นบิดาผู้ก่อตั้งประเทศสิงคโปร์สมัย
ใหม่ (๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๖ - ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘) บริหารงานเก่งเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง ทางรัฐศาสตร์ แต่ท่านเป็นพระอรหันต์ไม่ได้ เพราะว่าจิตใจยังถูกโลภะ โทสะ โมหะครอบงำอยู่ เวลาโกรธยังโกรธเป็น แต่ฝีมือการบริหารเก่งกว่าพระอรหันต์ซะอีก แต่ภาวะจิตใจนี้ไม่ได้ เพราะขาดตบะ ทนต่อการยั่วยุแห่งอัตตา ตัณหา กิเลสไม่ได้
ถ้าจะถามว่าสิ่งไหนจะดีกว่ากัน? ตอบว่า ไม่มี
แต่ถ้าถามว่า สิ่งไหนนับว่าสูงกว่ากัน ก็คือทางด้านจิตใจ คือ พระอรหันต์
แต่ถ้าถามว่า อันไหนจะดีกว่ากัน จะต้องไปดูว่าเวลานั้นเขาเหมาะแก่การงานอะไร ตรงไหน เขาต้องการอะไร
ทำไมเราเรียกในหลวงว่าเป็นพระโพธิสัตว์แต่ไม่ใช่พระอรหันต์ ก็เพราะว่า จิตใจของพระโพธิ์สัตว์ต่ำกว่าพระอรหันต์หนึ่งขั้น ยังมีความโลภอยากให้คนทั่วไปเป็นคนดีทั้งหมด
อย่างเช่นมหาปณิธานของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (พระแม่กวนอิม) (觀世音菩薩) "หากยังมีสัตว์โลกตกทุกข์ได้ยากอยู่แม้เพียงคนเดียว จะไม่ขอบรรลุพุทธภูมิ"
มหาปณิธานของพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ (ตี่จั่งอ๊วง) (地藏王菩薩) ว่า “เมื่อโปรดสรรพสัตว์หมดสิ้นแล้วจึงจะสำเร็จโพธิญาณ หากนรกยังไม่ว่างจะไม่ขอสำเร็จพุทธภูมิ”
แต่ถ้าเป็นพระอรหันต์จะต้องปล่อยวางแล้ว คุณได้ก็คือได้ คุณไม่ได้ก็คือไม่ได้ อย่างเช่น พระจี้กง ทำไมต้องกลับมาเป็นพระโพธิสัตว์ ก็เพราะว่าท่านอดตรงนี้ไม่ได้ ก็ต้องถอยจากพระอรหันต์มาเป็นพระโพธิสัตว์
พระโพธิสัตว์ต่ำกว่าพระอรหันต์ ๑ ขั้นคือ ปรารถนาให้ทุกคนได้ดี แต่พระอรหันต์ปล่อยทุกคนให้เป็นอุเบกขาไปแล้ว
พระอรหันต์สามารถกอบกู้โลกได้ไหม?
พระอรหันต์กอบกู้โลกไม่ได้ แต่พระโพธิสัตว์กอบกู้โลกได้ เพราะว่าโลกอยู่ข้างนอก ต่ำกว่า แต่ถ้าถามว่าเราจะให้พระอรหันต์เป็นผู้นำ ในลักษณะยังไง ท่านก็เป็นตัวอย่างเชิดชูไว้ เป็นเป้าหมายไว้ เป็นคติไว้ อย่างพระโพธิสัตว์ก็ต้องมองเป้าพระอรหันต์ เพราะเป้าอรหันต์ใกล้เคียงกับพระพุทธองค์
เกี่ยวกับด้านบริหาร พระอรหันต์จะต้องไปถามลีกวนยูไหม?
ก็แล้วแต่งานนั้นๆ ถ้าสายจิตใจ ลีกวนยูจะต้องไปพึ่งพระอรหันต์แน่นอน แต่ถ้าเป็นข้างล่าง (สายโลกิยะ) ก็แล้วแต่ว่าจะเป็นงานสายไหน
ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่พระอรหันต์จะไม่เก่งสายจิต ถ้าไม่เป็นเช่นนี้ก็เป็นพระอรหันต์ไม่ได้
ภาวะจิตใหญ่ๆ คือ รู้จักปล่อยวาง ไม่ถูกครอบงำ
หัวใจของพระอรหันต์ หรือหัวใจแห่งการปฏิบัติธรรมะ สภาพจิตของท่านคือ ไม่ถูกครอบงำ ไม่ถูกเหนี่ยวรั้ง
แล้วสภาพจิตของคนทั่วโลกจะถูกครอบงำหรือเหนี่ยวรั้งกี่เปอร์เซ็นต์ ถ้าบางคนถูกเหนี่ยวรั้งสูงก็จะอยู่ในภูมิชั้นต่ำมาก
อารมณ์ที่จะมาครอบงำ เหนี่ยวรั้งเรามีอยู่ ๓ สาย คือ "ชอบ ไม่ชอบ กลางๆ" นอกนั้นเราก็ไปแยกเอาเอง เพราะว่าแยกไปแล้วไม่มีที่สิ้นสุด
รากเหง้าของกุศลและอกุศล คือ อัตตา ถ้าเราไม่มีอัตตาแล้วเราจะมีอารมณ์ได้ยังไง นี่แหละเราต้องพัฒนาเข้าสู่อนัตตา ถึงจะบริหารอัตตาได้ เราจะมีตัณหา จะมีกิเลส ถ้าไม่มีรากเหง้าคืออัตตาเป็นไปไม่ได้
ตัณหาอยู่ดีๆ จะมีได้ยังไง ถ้าไม่มีอัตตาจะเอาไปทำอะไร
ทำไมคนทั่วไปศึกษาเล่าเรียนว่า รากเหงาของอกุศล คือ โลภะ โทสะ โมหะ? ซึ่งอันนี้เป็นขั้นต่ำแล้ว อยู่ในขั้นที่ ๕ แล้ว
เรียงลำดับ ดังนี้
๑. อัตตา (Atta: 1. self; soul; ego; personal entity. 2. mind; the whole personality) คือ ตัวตน มีอยู่ของมัน ไม่มีอยู่คงที่ เป็นอนิจจัง เป็นไปตามปัจจัยเหตุ เคลื่อนที่ไปตามปัจจัยเหตุ หมายความว่า สิ่งที่เป็นปัจจัยเหตุ ณ ภาวะธรรมนั้นขึ้นมา แล้วก็ไปตามกฎแห่งอนิจจัง แตกสลายไป แต่อัตตายังคงอยู่
อัตตาไม่ใช่ นายแดง นายดำ เราต้องตีความให้ถูก อัตตานี่มีตัวตน แม้ว่าพลังก็เป็นอัตตาก็เช่นเดียวกัน
๒. ตัณหา กิเลส คือ ตัณหา (craving) คือ ความอยาก
๑) กามตัณหา อยากได้อารมณ์อันน่ารักใคร่
๒) ภวตัณหา ความอยากในภพ อยากเป็นนั่นเป็นนี่
๓) วิภวตัณหา ความอยากในวิภพ อยากไม่เป็นนั่นไม่เป็นนี่ อยากพ้นดับสูญ
กิเลส (defilements) มีความหมายเป็นกลางๆ แปลว่า ตัวที่มาสนองความอยากของเรา ความอยาก ความต้องการ หมายความว่า สิ่งที่ใคว่คว้าหาสิ่งต่างๆ มาสนองตัณหา ตามที่ตัณหาต้องการ เครื่องมือที่ใคว่คว้านี่แหละเป็นกิเลส
ถ้าเราไม่มีตัณหากิเลส อวิชชาก็ย่อมไม่มี คือ อยากได้ อยากเป็น อยากไม่เป็น อย่างนั้นอย่างนี้ อยากได้มาก ตบะก็ทนต่อความยั่วยุไม่ได้ จึงถูกครอบงำ
๓. อวิชชา คือ รู้ไม่เข้าใจถ่องแท้ประจักษ์ซึ้งในธรรม แล้วทำไมอวิชชาถึงมาอยู่ลำดับที่ ๓ อยู่ก่อนไม่ได้ เดี๋ยวจะย้อนกลับไป
คือ เราไม่รู้ จึงถูกครอบงำ จึงไปรับสิ่งที่ไม่ดีมา สมมติว่า ถ้าเรารู้เข้าใจ เราก็จะไม่เชื่อฟังกิเลส ตัณหา แต่เพราะเราไม่รู้เราจึงเชื่อฟังกิเลสตัณหา คือ ถ้าเราไม่มีอวิชชา เราก็ไม่จำเป็นต้องใช้ตบะ
๔. ตบะ (penance) คือ การรักษาได้อย่างยิ่งยวด หมายความว่า กำลังพลังความมั่นคง ไม่หวั่นไหวกับสิ่งยั่วยุ เป็นอิทธิ เป็นจิตมีพลัง
๕. โลภะ โทสะ โมหะ ความหมาย โลภะ คือ ความโลภ โทสะ คือ ความโกรธ โมหะ คือ ความหลง
๖. ใช้วิธีการ
เรามีอัตตา เราจึงมีตัณหากิเลส เรามีตัณหากิเลสย่อมเกิดอวิชชา อยากได้ อยากเป็น ไม่อยากได้ไม่อยากเป็น อยากได้มากๆ ตบะของเราจึงทนไม่ได้ ทนไม่ได้ต่อความยั่วยุของโลภะ โทสะ โมหะ จึงเป็นเหตุให้ถูกครอบงำ
พอถูกครอบงำ จึงโลดแล่นไปตามที่ตัวเองอยาก มีตัวโลภ โกรธ หลง ก็จะใช้วิธีการแย่งชิง ทำร้าย หลอกลวงฯลฯ
พระอรหันต์ท่านไม่มีอวิชชา มีแต่วิชชา แล้วแผนผังนี้จะทำยังไง?
พระอรหันต์ท่านหลุดออกจากอัตตา จึงทำให้ท่านมีวิชชาเข้าใจอนัตตา ท่านจึงหลุดจากอัตตาตั้งแต่ต้น เพราะท่านหลุดจากอัตตา จึงเข้าสู่อนัตตา จึงเป็นวิชชา หลุดออกจากอวิชชา พระอรหันต์ท่านก็มีตัณหากิเลสอยู่ แต่ว่าตัณหากิเลสท่านไม่ถูกครอบงำ เพราะว่ามีวิชชาป้องกัน
สรุปก็คือ เราจะหลุด หรือถูกครอบงำ พระพุทธเจ้าจึงบอกว่าให้เป็นอิสระ เป็นไทจากอวิชชา พระพุทธเจ้าท่านสอนอย่างนี้ อันนี้เป็นหัวใจหลักในการเจริญวิปัสสนา ใครเจริญตรงนี้ก็จะได้อานิสงส์สูง เราก็หลุดออกจากอัตตาสูง วิชชาเราก็สูง
ขบวนการวิชชาแท้ การปฏิบัติธรรมให้บรรลุถึงภาวะลดอัตตานำไปสู่ภาวะผลอนัตตา
เรารู้จักโกรธ รู้จักหลง เป็นวิชชาจริง แต่ไม่แท้
ถ้าเราเข้าใจอนัตตาถึงจะเรียกว่าจริงแท้
ที่เราสวดมนต์สรรเสริญพุทธคุณคำว่า "วิชชา จะระณะ สัมปันโน" หมายความว่า วิชชาก็คือรู้จักละวางอัตตา จรณะก็คือ รู้วิธีการที่จะวางอัตตาได้
"วิชชา" ก็คือ รู้เหตุว่าอัตตาเป็นเช่นใด
"จรณะ" ก็คือ รู้จักมีวิธีวางอัตตาได้
ที่กล่าวมานี้เป็นหัวใจแห่งพระพุทธเจ้า เป็นหัวใจแห่งการบรรลุธรรม เป็นหัวใจแห่งการหลุดพ้น
ทีนี้ พอเรารู้ก็ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติของเรา เราต้องไปฝึกฝน
เรารู้หลักแล้ว เรารู้เส้นทางแล้ว เราพยายามเดินไปตามเส้นทางเดี๋ยวก็ถึง แต่ถ้าเราผิดทิศทาง เราเดินทางไปก็เหนื่อยเปล่า เดี๋ยวคนคนเดินผิดทิศทางเยอะ
ทำไมต้องใช้คำว่า "ลดอัตตา" ทำไมถึงไม่ใช้คำว่า "ไม่มีอัตตา" เลย?
ใช้คำว่า "ไม่มีอัตตา" ไม่ได้ เพราะอัตตาเป็นของคู่กับธรรม อัตตาไม่มีไม่ได้
แม้ ณ ปัจจุบันนี้พระพุทธเจ้าก็มีอัตตา แต่ไม่ถูกอัตตาครอบงำ ไม่ถูกแรงภาวะอัตตาครอบงำ จึงเป็นอนัตตา
แล้วทำไมถึงต้องใช้คำว่า "ลด" อัตตา?
เพราะว่าเราตัดอัตตาออกไม่ได้ แม้ว่าจะลดยังไงก็ยังมีเหลืออยู่ แต่เราจะเอาออกให้หมดไม่ได้ แม้แต่เราจะทำลายอัตตาก็ไม่ได้ ฆ่าอัตตาก็ไม่ได้ เพราะเป็นการฝืนธรรมชาติ เพียงแต่ว่าเราไม่ให้อัตตาครอบงำ อัตตาจึงไม่มีความหมายสำหรับเรา จึงเป็นภาวะอนัตตา
ที่ว่าอัตตาของพระพุทธเจ้าลดแล้วยังเหลือนิดหนึ่ง คำว่า "นิดหนึ่ง" นั้นคืออะไร?
เราลองคิดดูดีๆ นะ พระพุทธเจ้าท่านเป็น "ตถาคต" ไหม? ตอบว่า ก็เป็นตถาคต (tathatã) ก็นี่แหละ อัตตาตัวตถาคต นี่ก็เป็นอัตตา
แม้แต่ว่าอัตตาทั้งดีหรือไม่ดีก็อย่าให้ครอบงำ แม้แต่ดีก็ให้ครอบงำไม่ได้ ตัวที่ "เข้าสู่" นั่นแหละเป็นอัตตา
แม้แต่ตถาคตก็มาครอบงำพระพุทธเจ้าไม่ได้ ตราบใดที่มีคำว่า "ครอบงำ" ตราบนั้นก็ไม่ใช่ล่ะ
ตราบนั้นไม่มีการครอบงำ ตราบนั้นธรรมนั้นย่อมอยู่เป็นไปตามธรรม นี่แหละ ตถาตา
คำว่า "ตถาตา" แปลว่า เป็นเช่นนั้น หมายความว่า ธรรมไหนย่อมอยู่เป็นไปตามธรรม เขาเรียกว่า ตถาตา
สมมติว่า ตอนนี้เป็นกลียุค ไม่มีอะไรกินแล้วพระพุทธเจ้าจะเสวยอะไร? หรือเขาจะมาฆ่าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจะต้องไปฆ่าเขาก่อนไหม?
ตอบว่า สมมติว่าคำถามนี้เป็นเหตุ เกิดกลียุค พระพุทธเจ้ารู้ว่าจะเกิดกลียุค พระพุทธเจ้าท่านก็เตรียมตัวไว้ ในธรรมเขามีบอกไว้เหมือนกันว่าจะเกิดเรื่องเช่นนี้ขึ้น ยังไงพระพุทธเจ้าก็ไม่มาเกิดในกลียุค แต่ถ้าหากว่าพระพุทธเจ้ามีวิบากที่จะต้องมาเจอ ก็ต้องเป็นไปตามวิบากเช่นนั้น เป็นไปตามนั้น มีเหตุให้ทำก็ต้องทำ แต่ยังไงก็จะไม่มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นแน่นอน แค่ระดับข้างล่างก็จัดการเรียบร้อยแล้ว ภาวะธรรมจัดการให้เรียบร้อย
พระเทวทัตจะฆ่าพระพุทธเจ้าให้ได้ ซึ่งไม่มีทางที่จะเป็นไปได้แน่นอน เหตุการณ์ตอนนั้นพระแม่ธรณีท่านรำคาญก็จะสูบลงไปแน่นอน เพราะอะไรข้างล่างจึงจัดการ เพราะเป็นไปตามภาวะธรรม นี่คือตถาตา
แม้แต่พระมหาโมคคัลลานะถูกโจรทุบตาย ก็เพราะว่ามีวิบากเมื่ออดีตชาติเคยไปสร้างวิบากกรรมไว้ ก็ต้องมาชดใช้กรรม แต่ว่าพระมหาโมคคัลลานะก็รู้ว่าจะแก้ยังไง แต่ท่านไม่ปรารถนาจึงไม่แก้กรรม แต่อยากเคลียร์กรรม เพื่อแสดงกรรม ถึงเจริญธรรม
เหตุการณ์นี้จะเหมือนกับคำที่ว่า "ด้ายมีปมร้อยยังไงก็ไม่ผ่าน"?
ก็บอกแล้วว่า ท่านรู้ว่ามีทางออกที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้ ในธรรมมีช่องยกเว้นให้ได้ แต่ท่านเลือกที่จะให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ เพื่อแสดงให้หมู่ชนทั้งหลายรู้ประจักษ์ว่า เวลาจะทำกรรมอะไรให้ระวัง แม้แต่ท่านทำดีแค่นี้ก็ยังหลุดยาก เพื่อแสดงกรรม เพื่อเจริญธรรม
ยกตัวอย่าง พระสารีบุตร ก่อนที่ท่านจะเข้าสู่นิพพาน ท่านกลับบ้านไปโปรดแม่ เกิดอาการ“ปักขันทิกาพาธ” คือ “โรคท้องร่วง” อย่างรุนแรง อันนี้ถือว่าเป็นธรรมชาติหรือเป็นวิบากกรรม
ก็ถือว่าเป็นวิบากกรรม คำว่า เป็นโดยธรรมชาติไม่มี เป็นโดยธรรมชาติก็คือวิบากกรรมนั่นเอง
ท่านอยากให้เป็นไปตามนี้ ก็เป็นไปตามนี้
แสดงกรรม เพื่อเจริญธรรม คำนี้ต้องศึกษาให้เยอะๆ ไม่ว่าจะเป็นศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม หรือศาสนาไหนๆ สิ่งต่างๆ เป็นการแสดงกรรม เพื่อเจริญธรรม เราจะต้องเข้าใจตรงนี้
ถ้าเราแก้เหตุ ก็ทุกข์น้อยลง แต่ทุกข์นั้นยังมีอยู่ คำว่าทุกข์หายเป็นไม่มี
พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว หายทุกข์ไหม? ตอบว่า ก็ไม่หาย แต่ทุกข์นั้นไม่มีอิทธิพลและทุกข์นั้นไม่สามารถครอบงำพระพุทธเจ้าได้