ย้อนอดีต ปฏิบัติการโปเชนตง กองทัพไทยเปิดปฏิบัติการช่วยคนไทยจาก เหตุวุ่นวายในกัมพูชา
เหตุจลาจลในพนมเปญ พ.ศ. 2546 เริ่มต้นขึ้นเมื่อบทความในหนังสือพิมพ์กัมพูชาฉบับหนึ่งกล่าวหาอย่างผิด ๆ ว่านักแสดงหญิงไทยคนหนึ่งอ้างว่านครวัดเป็นของประเทศไทยในเดือนมกราคม พ.ศ. 2546 สื่อสิ่งพิมพ์และสื่อวิทยุกัมพูชาอื่น ๆ ได้หยิบยกเอารายงานดังกล่าวและปลุกความรู้สึกชาตินิยมเพิ่มขึ้นไปอีกจนทำให้เกิดการจลาจลในพนมเปญเมื่อวันที่ 29 มกราคม
ซึ่งสถานทูตไทยถูกเผาและมีการปล้นสะดมทรัพย์สินของธุรกิจไทยในกัมพูชา
___________
29 มกราคม 2546 เกิดเหตุจลาจลในกรุง พนมเปญ ของกัมพูชา
จากบทความในหนังสือพิมพ์รัศมี อังกอร์ ( Rasmei Angkor) เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2546 กล่าวว่าดาราไทยชื่อดังในยุคนั้นที่ทั้งคนไทยและกัมพูชาต่างชื่นชอบคือ กล่าวว่า นครวัด เป็นของไทยซึ่งกัมพูชาขโมยไปและเธอจะไม่ปรากฎตัวในกัมพูชาจนกว่าไทยจะได้นครวัดกลับคืน
ข้อความนี้ถูกย้ำต่อโดยนายกรัฐมนตรีฮุนเซ็นของกัมพูชา ว่าดาราไทยคนนี้ไม่ได้มีค่าแม้แต่ต้นหญ้าที่ขึ้นหน้าครวัด
ซึ่งต่อมา เหตุการณ์จะกลายเป็นการ เผาสถานทูตไทยในกัมพูชา
เอกอัครราชทูตไทยในขณะนั้นคือ ฯพณฯ ชัชเวทย์ ชาติสุวรรณ เริ่มเป็นห่วงสถานการณ์ เพราะเริ่มเห็นคนจุดไฟเผาธงชาติไทย
และเริ่มมีการทำลายป้ายสถานทูตไทย รวมถึงเห็นผู้ชุมนุมบางคนพกปืน AK-47 มาชุมนุมด้วย จึงโทรศัพท์ไปขอให้พลเอก เตียร์ บัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของกัมพูชาซึ่งพูดภาษาไทยได้คล่องแคล่วให้กองทัพกัมพูชาช่วยส่งกำลังเสริมมาดูแลสถานการณ์หน่อย
แต่พลเอก เตียร์ บันกล่าวว่าตำรวจน่าจะดูแลสถานการณ์ได้ นอกจากนั้นท่านทูตยังพยายามโทรหาทุกคนที่นึกชื่อออกในรัฐบาลกัมพูชา แต่ความช่วยเหลือก็มาไม่ทันเวลา
เมื่อการชุมนุมเริ่มรุนแรงขึ้น คนเข้ามาร่วมจำนวนมากขึ้น ม็อบเริ่มมีลักษณะ "เอาไม่อยู่" คือเริ่มกลุ่มผู้ชุมชุมปีนรั้วเข้ามายัง สถานทูตไทย
ฯพณฯ ชัชเวทย์ ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่สถานทูตให้รีบอพยพออกจากสถานทูต
โดยตัวท่านทูตและเจ้าหน้าที่ปีนรั้วด้านหลังออกไปและกระโดดลงเรือที่แม่น้ำบาสักได้หวุดหวิด เจ้าหน้าที่บางส่วนปีนรั้วข้ามไปยังสถานทูตญี่ปุ่นที่อยู่ข้าง ๆ ซึ่งทางทูตญี่ปุ่นได้ให้การช่วยเหลือ
โชคดีที่การอพยพทันเวลา ไม่มีเจ้าหน้าที่สถานทูตเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ แต่ไม่สามารถรักษาสถานทูตไว้ได้
ผู้ชุมนุมชาวกัมพูชาได้ทำการเผาและปล้นสดมอาคารสถานทูตอย่างโกรธแค้นจนกลายเป็นจลาจลขนาดใหญ่ ซึ่งแม้แต่หนังสือพิมพ์พนมเปญ โพส ก็รายงานว่าตำรวจและเจ้าหน้าที่ดับเพลิงของกัมพูชายืนดูอยู่เฉย ๆ ไม่ได้ทำอะไร เพราะบอกว่าไม่รู้จะทำอะไรได้
การปล้นสะดมและเผาสถานทูตกินเวลากว่าสองชั่วโมง มีการทุบทำลายหน้าต่าง รถยนต์ เครื่องใช้สำนักงาน และทุก ๆ อย่างเท่าที่พบ รวมถึงการเผาธงชาติไทยและพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 9 สถานการณ์เลวร้ายขึ้นไปอีกเพราะมีข่าวลือว่าสถานทูตกัมพูชาในไทยก็ถูกโจมตีและมีชาวกัมพูชากว่า 20 คนถูกสังหารในกรุงเทพอีกด้วย ซึ่งยิ่งสร้างความโกรธแค้นและสร้างกระแสความต้องการล้างแค้นให้กับชาวกัมพูชาอย่างมาก
ตำรวจต้องใช้เวลาตลอดทั้งคืนในการเคลียร์สถานที่และผลักดันกลุ่มผู้ชุมนุมออกจากสถานทูตไทย ซึ่งนอกจากนั้นก็มีรายงานว่าธุรกิจของไทยหลายส่วนถูกเผาทำลายเช่นกันทั้งโรงแรม สำนักงานสายการบิน และห้างร้านต่าง ๆ ที่เป็นของคนไทยหรือต้องสงสัยว่าเป็นของคนไทยถูกทำลายแทบทั้งหมด
-------------------------
รัฐบาลไทยในขณะนั้น นายกรัฐมนตรี ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ได้เรียกประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นการฉุกเฉินจนได้ข้อสรุปว่า ประเทศไทยขอประณามอย่างรุนแรงที่สุดต่อการจลาจลในครั้งนั้น โดยได้ยื่นหนังสือประท้วงต่อเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย และส่งตัวทูตกลับประเทศ
พร้อมลดระดับความสัมพันธ์ระหว่างกันเหลือระดับอุปทูต ยกเลิกโครงการช่วยเหลือทั้งหมดของไทยในกัมพูชา และปิดชายแดนไทยกัมพูชาตลอดแนว ซึ่งคำแถลงได้รับการประกาศสนับสนุนจากผู้นำฝ่ายค้านในสภา ประธานวุฒิสภา และประธานรัฐสภาผู้แทนราษฎร นอกจากนั้น นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้สื่อสารไปยังคนไทยที่อยู่ในกัมพูชา โดยเฉพาะในพนมเปญทั้งหมดเพื่อนัดแนะจุดนัดพบเพื่ออพยพกลับประเทศไทย
ในเวลาเดียวกัน พลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้นำ พลเอกสัมพันธ์ บุญญานันต์ ปลัดกระทรวงกลาโหม พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พลเอก สมทัต อัตตะนันทน์ ผู้บัญชาการทหารบก พลเรือเอกทวีศักดิ์ โสมาภา ผู้บัญชาการทหารเรือ และพลอากาศเอกคงศักดิ์ วันทนา ผู้บัญชาการทหารอากาศ ที่ถูกเรียกตัวเข้าพบนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ อย่างเร่งด่วนเพื่อร่างแผนการอพยพคนไทยกลับมายังประเทศไทย และวางแผน "เผื่อ" สำหรับสถานการณ์ที่อาจไม่คาดคิด ซึ่ง กองบัญชาการทหารสูงสุด (หรือ กองบัญชาการกองทัพไทยในปัจจุบัน)
ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเพื่อควบคุมและอำนวยการเหตุการณ์ โดยมีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์
และนั่นนำมาซึ่งการเปิด ปฏิบัติการโปเซนตง 1
โปเซนตง คือชื่อสนามบินเก่าของกัมพูชาซึ่งตั้งอยู่ในกรุงพนมเปญ
และเป็นจุดนัดหมายสำหรับคนไทยให้มารวมตัวกันเพื่อขึ้นเครื่องบินกลับประเทศ โดยหลังจากเหตุการณ์รุนแรงจนกลายมาเป็นการเผาสถานทูต ทำให้ท่าที่ของรัฐบาลกัมพูชาเปลี่ยนไปในทันที พลเอก เตียร์ บัน ติดต่อกับทางการไทย และยอมให้ใช้สนามบินโปเซงตงเป็นจุดรับกลับ และส่งกำลังทหารดูแลโดยรอบสนามบิน พร้อมอนุญาตให้เครื่องบินของไทยบินเข้าน่านฟ้ากัมพูชา
ในฐานะที่เคยเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ในการแก้ไขปัญหากะเหรี่ยงก๊อดอาร์มี่บุกยึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี เมื่อ 24 มกราคม 2542 มาแล้ว
ครั้งนี้ พล.อ.สุรยุทธ์ ก็รับบทสำคัญอีกครั้ง ด้วยการวางแผนอย่างใกล้ชิดกับสามเหล่าทัพโดยมีการนำเอาแผนการเตรียมพร้อมในการอพยพนอกราชอาณาจักรที่มีอยู่แล้ว มาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ โดยใช้กำลังร่วมของทั้ง ทบ. ทร. และ ทอ. โดยมี บก.สส. เป็นผู้บัญชาการ
ราว 23.00 น. แผนปฏิบัติการที่เรียกว่า "โปเชนตง 1 และ 2" ก็ได้รับการอนุมัติ...
พล.ร.อ.ทวีศักดิ์ สั่งให้เรือหลวงจักรีนฤเบศร ออกเดินทางมุ่งหน้าไปยัง จ.ตราด
เพื่อไปลอยลำอยู่ในทะเลหลวงในเขตรอยต่อน่านน้ำไทย-กัมพูชา เพื่อรองรับสถานการณ์ที่อาจจะบานปลาย
และรับคนไทยกลับบ้านในอีกเส้นทางหนึ่ง โดยบนเรือมีเครื่องบินขึ้นลงแนวดิ่ง AV-8 แฮร์ริเออร์, ฮ. แบบ Bell 412 ฮ. S-76B และ ฮ.ซีฮอว์ก รวม 7 ลำโดยมีเรือหลวงพุทธเลิศหล้าและเรือหลวงสุโขทัยตามไปเป็นเรือคุ้มกัน และสมทบกำลังกับเรือหลวงสู้ไพรี เรือหลวงศรีราชา และเรือ ต.82 ที่รออยู่ในน่านน้ำแล้ว
ส่วน พล.อ.อ.คงศักดิ์ก็สั่งการให้ น.อ.นิรันดร์ ยิ้มสรวล ผบ.บน.6 เตรียมเครื่องบินลำเลียง C-130 และให้ พล.อ.ท.สมหมาย ดาบเพ็ชร์ ผบ.หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน (ผบ.อย.) เตรียมกำลังหน่วยคอมมานโด ของกรมปฏิบัติการพิเศษ อย. จำนวน 80 คน และมอเตอร์ไซค์ลาดตระเวน 2 คัน นำทีมโดย น.อ.พีระยุทธ แก้วใส ผบ.กรมปฏิบัติการพิเศษ อย. ขณะที่ พล.อ.สุรยุทธ์ เลือกให้หน่วยพร้อมรบเคลื่อนที่เร็ว (RDF-rapid deployment forces) อันเป็นทหารรบพิเศษหมวกแดงของ ร.31 รอ.ลพบุรี ของผู้การโชย พ.อ.กัมปนาท รุดดิษฐ์ ผบ.ร.31 รอ.เตรียมกำลังหน่วยรบพิเศษแทรกซึม จำนวน 30 คน และรถลาดตระเวน ฮัมวี่ 4 คัน และรถมอเตอร์ไซค์ยุทธวิธี 2 คัน
พียงแค่ 2 ชั่วโมงหลังจากได้รับคำสั่ง กำลังทหารรบพิเศษ พร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์จากลพบุรี ก็เดินทางมาถึงที่กองบิน 6 ดอนเมือง เพื่อสมทบกำลังของ อย. โดยที่ พล.อ.ต.สุเมธ โพธิ์มณี ผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง (ผบ.ดม.) รับผิดชอบการ รปภ. ในพื้นที่สนามบิน ห้ามไม่ให้คนนอกโดยเฉพาะสื่อมวลชนเข้ามา เนื่องจากไม่ต้องการให้เห็นภาพการนำกำลังรบ เพราะอาจจะดูเหมือนไปบุกรุกเพื่อนบ้าน โดยเปิดให้เข้าเมื่อเครื่องบินทะยานขึ้นฟ้าไปแล้ว
การประชุมวางแผนการปฏิบัติการตามแผน "โปเชนตง1" และ "โปเชนตง 2" ในรายละเอียด ก็เกิดขึ้นที่สนามบิน โดยมีเครื่องบิน G-222 จำนวน 1 ลำ และเครื่องบิน C-130 อีก 5 ลำเตรียมพร้อมรับคนไทยกลับบ้าน โดยมี พล.อ.อ.ระเด่น พึ่งพักตร์ ผบ.หน่วยบัญชาการยุทธทางอากาศ (ผบ.บยอ.) เป็นผู้บัญชาการการปฏิบัติตามแผน ที่ทำให้เขาได้กลับมาสวมชุดนักบินขับไล่อีกครั้ง โดยทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการกองบัญชาการลอยฟ้า บนเครื่องบิน G-222 ที่จะลอยลำอยู่กลางเวหา เหนือเกาะกง ของกัมพูชา เพื่อบัญชาการและติดต่อสื่อสารกับบิ๊กบ๊อบ พล.ท.อ.คธาทิพย์ กุญชร ณ อยุธยา รอง ผบ.บยอ. เป็นผู้บัญชาการภาคพื้น คุมเครื่องบิน C-130 ทั้ง 5 ลำ ที่ต้องลงจอด โดยมี พล.อ.วิชิต ยาทิพย์ เป็นผู้ประสานงานติดต่อกัมพูชา อำนวยการเดินทางด้วยตนเองเพื่อรับคนไทยชุดแรก 511 คน กลับบ้านพร้อมด้วยคำสั่งให้เครื่องบิน F-16 ของกองบิน 1 โคราช เตรียมพร้อมสำหรับแผน "โปเชนตง" หากเกิดเหตุรุนแรงและฉุกเฉินขึ้นภายในไม่เกิน 20 นาที ก็จะถึงที่หมาย
เวลา 05.15 น. เครื่องบิน C-130 ลำแรกก็ทะยานขึ้นฟ้า มุ่งสู่สนามบินโปเชนตง กลางกรุงพนมเปญ ติดตามด้วยลำที่ 2, 3, 4, 5 ที่มีคอมมานโดและหน่วยรบพิเศษ กระจายกันอยู่ทุกลำ และตามด้วย G-222 ที่เป็น บก.ลอยฟ้า โดยมี พล.อ.สุรยุทธ์ และ พล.อ.อ.คงศักดิ์ มานั่งบัญชาการอยู่ที่ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพอากาศ โดยตลอดแผน "โปเชนตง 1" เตรียมไว้สำหรับเหตุการณ์ปกติ โดยเครื่องบิน C-130 ทั้ง 5 ลำ ที่ลงจอดนั้น จะไม่มีการดับเครื่อง ในระหว่างนั้นหน่วยคอมมานโดและทหารรบพิเศษ รวม 110 คน พร้อมอาวุธครบมือ และเป้สนาม และรถฮัมวี่ ก็วิ่งลงจากเครื่องบิน
ออกกระจายโดยรอบสนามบินโปเชนตง เพื่อรักษาความปลอดภัย ในขณะที่คนไทยก็ เรียงแถวตอน 1 ขึ้นเครื่อง โดยมีเจ้าหน้าที่ตรวจนับจำนวนแบบรวดเร็ว
อดีตเกิดเหตุเผาสถานฑูตไทยในกัมพูชา ปฏิบัติการโปเชนตง (1) กองทัพไทย และ แผน 2 เรือหลวงจักรีนฤเบศรนำกองเรือออกไปเตรียม
เหตุจลาจลในพนมเปญ พ.ศ. 2546 เริ่มต้นขึ้นเมื่อบทความในหนังสือพิมพ์กัมพูชาฉบับหนึ่งกล่าวหาอย่างผิด ๆ ว่านักแสดงหญิงไทยคนหนึ่งอ้างว่านครวัดเป็นของประเทศไทยในเดือนมกราคม พ.ศ. 2546 สื่อสิ่งพิมพ์และสื่อวิทยุกัมพูชาอื่น ๆ ได้หยิบยกเอารายงานดังกล่าวและปลุกความรู้สึกชาตินิยมเพิ่มขึ้นไปอีกจนทำให้เกิดการจลาจลในพนมเปญเมื่อวันที่ 29 มกราคม
ซึ่งสถานทูตไทยถูกเผาและมีการปล้นสะดมทรัพย์สินของธุรกิจไทยในกัมพูชา
___________
29 มกราคม 2546 เกิดเหตุจลาจลในกรุง พนมเปญ ของกัมพูชา
จากบทความในหนังสือพิมพ์รัศมี อังกอร์ ( Rasmei Angkor) เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2546 กล่าวว่าดาราไทยชื่อดังในยุคนั้นที่ทั้งคนไทยและกัมพูชาต่างชื่นชอบคือ กล่าวว่า นครวัด เป็นของไทยซึ่งกัมพูชาขโมยไปและเธอจะไม่ปรากฎตัวในกัมพูชาจนกว่าไทยจะได้นครวัดกลับคืน
ข้อความนี้ถูกย้ำต่อโดยนายกรัฐมนตรีฮุนเซ็นของกัมพูชา ว่าดาราไทยคนนี้ไม่ได้มีค่าแม้แต่ต้นหญ้าที่ขึ้นหน้าครวัด
ซึ่งต่อมา เหตุการณ์จะกลายเป็นการ เผาสถานทูตไทยในกัมพูชา
เอกอัครราชทูตไทยในขณะนั้นคือ ฯพณฯ ชัชเวทย์ ชาติสุวรรณ เริ่มเป็นห่วงสถานการณ์ เพราะเริ่มเห็นคนจุดไฟเผาธงชาติไทย
และเริ่มมีการทำลายป้ายสถานทูตไทย รวมถึงเห็นผู้ชุมนุมบางคนพกปืน AK-47 มาชุมนุมด้วย จึงโทรศัพท์ไปขอให้พลเอก เตียร์ บัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของกัมพูชาซึ่งพูดภาษาไทยได้คล่องแคล่วให้กองทัพกัมพูชาช่วยส่งกำลังเสริมมาดูแลสถานการณ์หน่อย
แต่พลเอก เตียร์ บันกล่าวว่าตำรวจน่าจะดูแลสถานการณ์ได้ นอกจากนั้นท่านทูตยังพยายามโทรหาทุกคนที่นึกชื่อออกในรัฐบาลกัมพูชา แต่ความช่วยเหลือก็มาไม่ทันเวลา
เมื่อการชุมนุมเริ่มรุนแรงขึ้น คนเข้ามาร่วมจำนวนมากขึ้น ม็อบเริ่มมีลักษณะ "เอาไม่อยู่" คือเริ่มกลุ่มผู้ชุมชุมปีนรั้วเข้ามายัง สถานทูตไทย
ฯพณฯ ชัชเวทย์ ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่สถานทูตให้รีบอพยพออกจากสถานทูต
โดยตัวท่านทูตและเจ้าหน้าที่ปีนรั้วด้านหลังออกไปและกระโดดลงเรือที่แม่น้ำบาสักได้หวุดหวิด เจ้าหน้าที่บางส่วนปีนรั้วข้ามไปยังสถานทูตญี่ปุ่นที่อยู่ข้าง ๆ ซึ่งทางทูตญี่ปุ่นได้ให้การช่วยเหลือ
โชคดีที่การอพยพทันเวลา ไม่มีเจ้าหน้าที่สถานทูตเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ แต่ไม่สามารถรักษาสถานทูตไว้ได้
ผู้ชุมนุมชาวกัมพูชาได้ทำการเผาและปล้นสดมอาคารสถานทูตอย่างโกรธแค้นจนกลายเป็นจลาจลขนาดใหญ่ ซึ่งแม้แต่หนังสือพิมพ์พนมเปญ โพส ก็รายงานว่าตำรวจและเจ้าหน้าที่ดับเพลิงของกัมพูชายืนดูอยู่เฉย ๆ ไม่ได้ทำอะไร เพราะบอกว่าไม่รู้จะทำอะไรได้
การปล้นสะดมและเผาสถานทูตกินเวลากว่าสองชั่วโมง มีการทุบทำลายหน้าต่าง รถยนต์ เครื่องใช้สำนักงาน และทุก ๆ อย่างเท่าที่พบ รวมถึงการเผาธงชาติไทยและพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 9 สถานการณ์เลวร้ายขึ้นไปอีกเพราะมีข่าวลือว่าสถานทูตกัมพูชาในไทยก็ถูกโจมตีและมีชาวกัมพูชากว่า 20 คนถูกสังหารในกรุงเทพอีกด้วย ซึ่งยิ่งสร้างความโกรธแค้นและสร้างกระแสความต้องการล้างแค้นให้กับชาวกัมพูชาอย่างมาก
ตำรวจต้องใช้เวลาตลอดทั้งคืนในการเคลียร์สถานที่และผลักดันกลุ่มผู้ชุมนุมออกจากสถานทูตไทย ซึ่งนอกจากนั้นก็มีรายงานว่าธุรกิจของไทยหลายส่วนถูกเผาทำลายเช่นกันทั้งโรงแรม สำนักงานสายการบิน และห้างร้านต่าง ๆ ที่เป็นของคนไทยหรือต้องสงสัยว่าเป็นของคนไทยถูกทำลายแทบทั้งหมด
-------------------------
รัฐบาลไทยในขณะนั้น นายกรัฐมนตรี ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ได้เรียกประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นการฉุกเฉินจนได้ข้อสรุปว่า ประเทศไทยขอประณามอย่างรุนแรงที่สุดต่อการจลาจลในครั้งนั้น โดยได้ยื่นหนังสือประท้วงต่อเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย และส่งตัวทูตกลับประเทศ
พร้อมลดระดับความสัมพันธ์ระหว่างกันเหลือระดับอุปทูต ยกเลิกโครงการช่วยเหลือทั้งหมดของไทยในกัมพูชา และปิดชายแดนไทยกัมพูชาตลอดแนว ซึ่งคำแถลงได้รับการประกาศสนับสนุนจากผู้นำฝ่ายค้านในสภา ประธานวุฒิสภา และประธานรัฐสภาผู้แทนราษฎร นอกจากนั้น นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้สื่อสารไปยังคนไทยที่อยู่ในกัมพูชา โดยเฉพาะในพนมเปญทั้งหมดเพื่อนัดแนะจุดนัดพบเพื่ออพยพกลับประเทศไทย
ในเวลาเดียวกัน พลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้นำ พลเอกสัมพันธ์ บุญญานันต์ ปลัดกระทรวงกลาโหม พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พลเอก สมทัต อัตตะนันทน์ ผู้บัญชาการทหารบก พลเรือเอกทวีศักดิ์ โสมาภา ผู้บัญชาการทหารเรือ และพลอากาศเอกคงศักดิ์ วันทนา ผู้บัญชาการทหารอากาศ ที่ถูกเรียกตัวเข้าพบนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ อย่างเร่งด่วนเพื่อร่างแผนการอพยพคนไทยกลับมายังประเทศไทย และวางแผน "เผื่อ" สำหรับสถานการณ์ที่อาจไม่คาดคิด ซึ่ง กองบัญชาการทหารสูงสุด (หรือ กองบัญชาการกองทัพไทยในปัจจุบัน)
ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเพื่อควบคุมและอำนวยการเหตุการณ์ โดยมีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์
และนั่นนำมาซึ่งการเปิด ปฏิบัติการโปเซนตง 1
โปเซนตง คือชื่อสนามบินเก่าของกัมพูชาซึ่งตั้งอยู่ในกรุงพนมเปญ
และเป็นจุดนัดหมายสำหรับคนไทยให้มารวมตัวกันเพื่อขึ้นเครื่องบินกลับประเทศ โดยหลังจากเหตุการณ์รุนแรงจนกลายมาเป็นการเผาสถานทูต ทำให้ท่าที่ของรัฐบาลกัมพูชาเปลี่ยนไปในทันที พลเอก เตียร์ บัน ติดต่อกับทางการไทย และยอมให้ใช้สนามบินโปเซงตงเป็นจุดรับกลับ และส่งกำลังทหารดูแลโดยรอบสนามบิน พร้อมอนุญาตให้เครื่องบินของไทยบินเข้าน่านฟ้ากัมพูชา
ในฐานะที่เคยเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ในการแก้ไขปัญหากะเหรี่ยงก๊อดอาร์มี่บุกยึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี เมื่อ 24 มกราคม 2542 มาแล้ว
ครั้งนี้ พล.อ.สุรยุทธ์ ก็รับบทสำคัญอีกครั้ง ด้วยการวางแผนอย่างใกล้ชิดกับสามเหล่าทัพโดยมีการนำเอาแผนการเตรียมพร้อมในการอพยพนอกราชอาณาจักรที่มีอยู่แล้ว มาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ โดยใช้กำลังร่วมของทั้ง ทบ. ทร. และ ทอ. โดยมี บก.สส. เป็นผู้บัญชาการ
ราว 23.00 น. แผนปฏิบัติการที่เรียกว่า "โปเชนตง 1 และ 2" ก็ได้รับการอนุมัติ...
พล.ร.อ.ทวีศักดิ์ สั่งให้เรือหลวงจักรีนฤเบศร ออกเดินทางมุ่งหน้าไปยัง จ.ตราด
เพื่อไปลอยลำอยู่ในทะเลหลวงในเขตรอยต่อน่านน้ำไทย-กัมพูชา เพื่อรองรับสถานการณ์ที่อาจจะบานปลาย
และรับคนไทยกลับบ้านในอีกเส้นทางหนึ่ง โดยบนเรือมีเครื่องบินขึ้นลงแนวดิ่ง AV-8 แฮร์ริเออร์, ฮ. แบบ Bell 412 ฮ. S-76B และ ฮ.ซีฮอว์ก รวม 7 ลำโดยมีเรือหลวงพุทธเลิศหล้าและเรือหลวงสุโขทัยตามไปเป็นเรือคุ้มกัน และสมทบกำลังกับเรือหลวงสู้ไพรี เรือหลวงศรีราชา และเรือ ต.82 ที่รออยู่ในน่านน้ำแล้ว
ส่วน พล.อ.อ.คงศักดิ์ก็สั่งการให้ น.อ.นิรันดร์ ยิ้มสรวล ผบ.บน.6 เตรียมเครื่องบินลำเลียง C-130 และให้ พล.อ.ท.สมหมาย ดาบเพ็ชร์ ผบ.หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน (ผบ.อย.) เตรียมกำลังหน่วยคอมมานโด ของกรมปฏิบัติการพิเศษ อย. จำนวน 80 คน และมอเตอร์ไซค์ลาดตระเวน 2 คัน นำทีมโดย น.อ.พีระยุทธ แก้วใส ผบ.กรมปฏิบัติการพิเศษ อย. ขณะที่ พล.อ.สุรยุทธ์ เลือกให้หน่วยพร้อมรบเคลื่อนที่เร็ว (RDF-rapid deployment forces) อันเป็นทหารรบพิเศษหมวกแดงของ ร.31 รอ.ลพบุรี ของผู้การโชย พ.อ.กัมปนาท รุดดิษฐ์ ผบ.ร.31 รอ.เตรียมกำลังหน่วยรบพิเศษแทรกซึม จำนวน 30 คน และรถลาดตระเวน ฮัมวี่ 4 คัน และรถมอเตอร์ไซค์ยุทธวิธี 2 คัน
พียงแค่ 2 ชั่วโมงหลังจากได้รับคำสั่ง กำลังทหารรบพิเศษ พร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์จากลพบุรี ก็เดินทางมาถึงที่กองบิน 6 ดอนเมือง เพื่อสมทบกำลังของ อย. โดยที่ พล.อ.ต.สุเมธ โพธิ์มณี ผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง (ผบ.ดม.) รับผิดชอบการ รปภ. ในพื้นที่สนามบิน ห้ามไม่ให้คนนอกโดยเฉพาะสื่อมวลชนเข้ามา เนื่องจากไม่ต้องการให้เห็นภาพการนำกำลังรบ เพราะอาจจะดูเหมือนไปบุกรุกเพื่อนบ้าน โดยเปิดให้เข้าเมื่อเครื่องบินทะยานขึ้นฟ้าไปแล้ว
การประชุมวางแผนการปฏิบัติการตามแผน "โปเชนตง1" และ "โปเชนตง 2" ในรายละเอียด ก็เกิดขึ้นที่สนามบิน โดยมีเครื่องบิน G-222 จำนวน 1 ลำ และเครื่องบิน C-130 อีก 5 ลำเตรียมพร้อมรับคนไทยกลับบ้าน โดยมี พล.อ.อ.ระเด่น พึ่งพักตร์ ผบ.หน่วยบัญชาการยุทธทางอากาศ (ผบ.บยอ.) เป็นผู้บัญชาการการปฏิบัติตามแผน ที่ทำให้เขาได้กลับมาสวมชุดนักบินขับไล่อีกครั้ง โดยทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการกองบัญชาการลอยฟ้า บนเครื่องบิน G-222 ที่จะลอยลำอยู่กลางเวหา เหนือเกาะกง ของกัมพูชา เพื่อบัญชาการและติดต่อสื่อสารกับบิ๊กบ๊อบ พล.ท.อ.คธาทิพย์ กุญชร ณ อยุธยา รอง ผบ.บยอ. เป็นผู้บัญชาการภาคพื้น คุมเครื่องบิน C-130 ทั้ง 5 ลำ ที่ต้องลงจอด โดยมี พล.อ.วิชิต ยาทิพย์ เป็นผู้ประสานงานติดต่อกัมพูชา อำนวยการเดินทางด้วยตนเองเพื่อรับคนไทยชุดแรก 511 คน กลับบ้านพร้อมด้วยคำสั่งให้เครื่องบิน F-16 ของกองบิน 1 โคราช เตรียมพร้อมสำหรับแผน "โปเชนตง" หากเกิดเหตุรุนแรงและฉุกเฉินขึ้นภายในไม่เกิน 20 นาที ก็จะถึงที่หมาย
เวลา 05.15 น. เครื่องบิน C-130 ลำแรกก็ทะยานขึ้นฟ้า มุ่งสู่สนามบินโปเชนตง กลางกรุงพนมเปญ ติดตามด้วยลำที่ 2, 3, 4, 5 ที่มีคอมมานโดและหน่วยรบพิเศษ กระจายกันอยู่ทุกลำ และตามด้วย G-222 ที่เป็น บก.ลอยฟ้า โดยมี พล.อ.สุรยุทธ์ และ พล.อ.อ.คงศักดิ์ มานั่งบัญชาการอยู่ที่ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพอากาศ โดยตลอดแผน "โปเชนตง 1" เตรียมไว้สำหรับเหตุการณ์ปกติ โดยเครื่องบิน C-130 ทั้ง 5 ลำ ที่ลงจอดนั้น จะไม่มีการดับเครื่อง ในระหว่างนั้นหน่วยคอมมานโดและทหารรบพิเศษ รวม 110 คน พร้อมอาวุธครบมือ และเป้สนาม และรถฮัมวี่ ก็วิ่งลงจากเครื่องบิน
ออกกระจายโดยรอบสนามบินโปเชนตง เพื่อรักษาความปลอดภัย ในขณะที่คนไทยก็ เรียงแถวตอน 1 ขึ้นเครื่อง โดยมีเจ้าหน้าที่ตรวจนับจำนวนแบบรวดเร็ว