🔴 มาลาริน/28ม.ค.ไทยพบโควิด756ราย /ไทยรั้งที่ 4 รับมือโควิดได้ดีที่สุดในโลก/วัคซีน ถึงไทย ก.พ. ฉีดพื้นที่เสี่ยง โรคอ้วน

จุ๊บๆโควิดวันนี้เพิ่ม 756 ราย "หมอเบิร์ท" แถลงยอดผู้ติดเชื้อในไทย ป่วยสะสม 16,221 ราย

ล่าสุด สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 ในไทยวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 756 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 16,221 ราย หายป่วยแล้ว 11,287 ราย ยังรักษาใน รพ. 4,858 ราย ไม่มีเสียชีวิตเพิ่ม ยอดเสียชีวิตสะสม 76 ราย

รายละเอียดผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ วันที่ 28 ม.ค. 2564 จำนวน 756 ราย มีดังนี้....พ่นน้ำหมาก

1.ผู้ป่วยรายใหม่ จากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการฯ 22 ราย 
สมุทรสาคร 9 ราย
กรุงเทพ 8 ราย
นนทบุรี 1 ราย
อยุธยา 1 ราย
สมุทรปราการ 3 ราย

2.ค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในชุมชน 724 ราย

3.ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้าสถานกักกันโรค (State Quarantine) 10 ราย

https://www.sanook.com/news/8344686/

เพี้ยนปักหมุดไทยรั้งที่ 4 ประเทศที่รับมือโควิดได้ดีที่สุดในโลก



พูดจังสถาบันวิชาการของออสเตรเลียยกให้ไทยอยู่ในท็อป 5 ประเทศที่จัดการกับ Covid-19 ได้ดีที่สุดในโลก   

สถาบันโลวี (Lowy Institute) ของออสเตรเลียเผยการจัดอันดับประเทศที่รับมือการแพร่ระบาดของ Covid-19 ได้ดีที่สุดในโลกจากประเทศที่สำรวจทั้งหมด 98 ประเทศ โดยนิวซีแลนด์เป็นประเทศที่รับมือได้ดีที่สุดในโลกด้วยคะแนน 94.4 คะแนนจากคะแนนเต็ม 100  

อันดับสองเป็นของเวียดนาม 90.8 คะแนน ตามด้วยไต้หวัน 86.4 คะแนน และไทยในอันดับ 4 ที่ 84.2 คะแนน ส่วนอันดับ 5 ได้แก่ ไซปรัส 83.3 คะแนน 

ขณะที่ประเทศอื่นๆ ที่น่าสนใจ อาทิ ออสเตรเลียในอันดับ 8 ด้วยคะแนน 77.9 เกาหลีใต้อยู่ในอันดับ 20 ได้ 69.4 คะแนน อังกฤษซึ่งจำนวนผู้เสียชีวิตเกิน 100,000 คน อยู่ในอันดับ 66 ด้วยคะแนน 37.5 และสหรัฐที่มีผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตมากที่สุดในโลกรั้งอันดับ 94 ด้วยคะแนน 17.3 และบราซิลอยู่ท้ายตารางที่คะแนน 4.3  

การจัดอันดับยังแสดงให้เห็นว่า ประเทศในเอเชียแปซิฟิกประสบความสำเร็จในการรับมือ Covid-19 มากที่สุด ในขณะที่ยุโรปและสหรัฐกลับเต็มไปด้วยผู้ติดเชื้อหลัง Covid-19 แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว  

ทว่าประเทศจีนไม่ได้อยู่ในการจัดอันดับครั้งนี้ โดยสถาบันระบุว่าจีนไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อสาธารณชน  

สถาบันโลวีระบุว่า โดยภาพรวมแล้วสถานะทางเศรษฐกิจมีผลกับการรับมือ Covid-19 ของแต่ละประเทศเพียงเล็กน้อย แต่ปัจจัยสำคัญกลับเป็นจำนวนประชากร โดยประเทศที่มีประชากรน้อยกว่า 10 ล้านคนรับมือกับ Covid-19 ได้ดีกว่าประเทศที่มีประชากรมาก 

และแม้ประเทศที่ประชากรมีรายได้ต่อหัวสูงจะมีทรัพยากรในการต่อสู้กับเชื้อโคโรนาไวรัสมากกว่า แต่ประเทศกำลังพัฒนาก็ได้เปรียบในเรื่องระยะเวลาในการบังคับใช้มาตรการป้องกันต่างๆ

“โดยสรุปแล้วประเทศที่มีประชากรน้อย สังคมมีความเหนียวแน่น และองค์กรที่มีศักยภาพจะได้เปรียบกว่าในการรับมือกับวิกฤตระดับโลก อาทิ โรคระบาด” สถาบันโลวีระบุ

https://www.posttoday.com/world/643912

นานาเล่นน้ำนิวซีแลนด์อันดับหนึ่งประเทศคุมโควิดดีที่สุด “ไทย” ติดอันดับ 4


เผยแพร่: 28 ม.ค. 2564 15:47   ปรับปรุง: 28 ม.ค. 2564 15:47   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

นิวซีแลนด์ เวียดนาม และไต้หวัน ติดสามอันดับในดัชนีความสามารถในการจัดการเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID Performance Index) จากเกือบ 100 ประเทศ และประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 4 ส่วนอังกฤษและสหรัฐฯ อยู่เกือบท้ายสุดของตาราง ขณะที่อันดับสุดท้ายคือบราซิล

สถาบันโลวี (Lowy Institute) ในออสเตรเลีย ระบุว่า ดัชนีดังกล่าวที่เผยแพร่ในวันพฤหัสบดี (28) ไม่มีจีน ซึ่งพบผู้ติดเชื้อรายแรกในเดือนธันวาคมปี 2019 รวมอยู่ด้วย เนื่องจากไม่มีข้อมูลที่เข้าถึงได้อย่างเปิดเผย

ประเทศอื่นๆ ใน 10 อันดับแรก ได้แก่ ไทย ไซปรัส รวันดา ไอซ์แลนด์ ออสเตรเลีย ลัตเวีย และศรีลังกา หลายประเทศมียอดผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตน้อยกว่าทั้งในแง่ผลรวมและรายหัว

ทั้งหมด 98 ประเทศถูกประเมินในช่วงเวลา 36 สัปดาห์ภายหลังแต่ละประเทศมีผู้ติดเชื้อแล้วหลายร้อยราย โดยอาศัยข้อมูลสาธารณะจนถึงวันที่ 9 มกราคม ปี 2021

สถาบันโลวี ระบุว่า ค่าเฉลี่ยของผู้ติดเชื้อใหม่รายวันในกรอบ 14 วันถูกใช้คำนวณหาตัวเลขผู้ติดเชื้อ จำนวนผู้ติดเชื้อต่อคนหนึ่งล้านคน ตัวเลขผู้เสียชีวิต จำนวนผู้เสียชีวิตต่อคนหนึ่งล้านคน จำนวนผู้ติดเชื้อต่อสัดส่วนการทดสอบ และการทดสอบต่อคนหนึ่งแสนคน

ที่มา : รอยเตอร์

https://mgronline.com/around/detail/9640000008810

นานาแต่งตัว‘อนุทิน’ ชี้วัคซีนโควิด-19 ถึงไทย ก.พ. ฉีดพื้นที่เสี่ยง ไม่เลือกสัญชาติ ถกโรคอ้วนฉีดกลุ่มแรก



วันที่ 28 มกราคม ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2564 ว่า วัคซีนล็อตแรกที่จะเข้ามาในประเทศไทยจำนวน 50,000 โดส เกิดจากสถาบันวัคซีนเจราจาร้องขอไปยังบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า ไม่เกี่ยวกับล็อตที่จะผลิตในประเทศไทยโดยบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์

ทั้งนี้ แอสตร้าเซนเนก้าเห็นถึงการระบาดในประเทศไทยที่เพิ่มมากขึ้น จึงตกลงส่งมอบ 2 แสนโดสให้กับเรา และล็อตแรกจะเข้ามาในเดือนกุมภาพันธ์ จำนวน 50,000 โดส

นายอนุทิน กล่าวว่า ส่วนเรื่องการฉีดเข็มแรกในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ได้หรือไม่ ขอให้เป็นไปตามกระบวนการ เนื่องจากเมื่อวัคซีนมาถึงไทยแล้ว ก็จะต้องส่งมอบให้กับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ตรวจสอบวัคซีนก่อนถึงจะนำมาฉีดได้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สหภาพยุโรป หรือ อียู(EU) เริ่มจำกัดการส่งออกวัคซีน ดังนั้นต้องดูว่าล็อตที่จะเข้ามานั้นถูกจำกัดหรือไม่ ทั้งนี้ แอสตร้าเซนเนก้าจะต้องเจราจาเพื่อให้ส่งมาถึงไทยในเดือนกุมภาพันธ์ตามสัญญา

นายอนุทิน กล่าวอีกว่า ขอยืนยันว่าไม่มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องกับการทำงานของคณะทำงานจัดหาและฉีดวัคซีนเด็ดขาด ไม่มีมาแทรกแซงว่าเอาไปฉีดให้พื้นที่นั้น พื้นที่นี้ก่อน ทุกอย่างต้องเป็นไปตามหลักการแพทย์ โดยทยอยฉีดวัคซีนตามแผนให้ทุกคนในผืนแผนดินไทย เพื่อเป้าหมายให้ประเทศไทยปลอดภัย ปลอดโรค

“แม้เราจะมีวัคซีนเข้ามาในประเทศ แต่วัคซีนป้องกันที่ดีที่สุดคือ การสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ล้างมือ เพื่อป้องกันการรับเชื้อ เพราะบางคนที่ซีนวัคซีนแล้ว แต่เชื้อก็ยังสามารถติดอยู่ตามเสื้อผ้าได้ และเมื่อมีคนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนไปสัมผัสเชื้อ ก็จะติดได้เช่นกัน ดังนั้น ทุกคนต้องยังคงป้องกันโรคต่อ” นายอนุทิน กล่าว

ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน ประธานคณะอนุกรรมการอำนวยการบริหารจัดการ วัคซีนป้องกันโควิด-19 กล่าวว่า แผนการบริหารวัคซีนจะฉีดใน 4 กลุ่มเสี่ยง ดังนี้...หนอน
1.กลุ่มบุคลากรด้านหน้าในการป้องกันโควิด-19 ทั้งภาครัฐ และเอกชน
2.กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
3.ผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หัวใจและหลอดเลือด ไตเรื้อรังระยะ 5 ขึ้นไป หลอดเลือดสมอง มะเร็งที่ให้เคมีบำบัดรังสีรักษา หรือภูมิคุ้มกันบำบัด โรคเบาหวาน

โดยวันนี้คณะกรรมการฯ พิจารณาเพิ่มขึ้นมาคือ โรคอ้วน ที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร เนื่องจากต่างประเทศเริ่มพบว่าผู้ที่มีภาวะอ้วนอาการป่วยจากโควิดเริ่มรุนแรงขึ้น เพราะปอดและการหายใจยากกว่าคนปกติ เมื่อติดเชื้อก็จะมีปัญหามากขึ้น

และ 4.กลุ่มเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด-19 อาทิ ตำรวจ ทหาร อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)

นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถานบันวัคซีน กล่าวว่า ประเทศไทยมีแผนว่าภายในปี 2564 จะกระจายวัคซีนให้กับคนไทยและทุกคนบนผืนแผ่นดินไทย ขณะนี้ สธ. และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ได้ดำเนินการจัดทำแผนสื่อสารถึงประชาชน ให้เข้าใจถึงประโยชน์ของการฉีดวัคซีน เรื่องคุณภาพ ว่ามีความปลอดภัยในระดับที่เรายอมรับได้ ข้อมูลทุกอย่างต้องสื่อสารออกไป เนื่องจากการรับวัคซีนเป็นเรื่องของความสมัครใจ ส่วนเมื่อได้รับวัคซีนแล้วจะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้หรือไม่นั้นตัดสินได้ยาก เพราะวัคซีนป้องกันการป่วย อาการรุนแรง ยังไม่มีรายงานป้องกันการแพร่เชื้อได้ ดังนั้นจะเอามาตัดสินเรื่องภูมิคุ้มกันหมู่ไม่ได้

แหล่งข่าวระดับสูงในกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า แผนการจัดหาและฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมทุกคนบนผืนแผ่นดินไทย ทั้งแรงงานต่างด้าวสัญชาติต่างๆ ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาถึงเรื่องงบประมาณเช่นเดียวกัน เพราะกรณีคนไทยจะมีระบบหลักประกันสุขภาพตามสิทธิอยู่แล้ว ส่วนแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองถูกกฎหมายนั้นก็ไม่มีปัญหาเพราะมีงบประมาณจากประกันสังคม ประกันสุขภาพรองรับอยู่ แต่ที่ยังมีปัญหาอยู่คือแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ตรงนี้ก็คงเป็นหน้าที่ของกรมควบคุมโรคที่ต้องดูแล ซึ่งอาจจะต้องของบประมาณกลางเพิ่ม แต่เรื่องนี้คิดว่าควรต้องให้นายจ้างเป็นคนรีบผิดชอบหรือไม่

https://www.matichon.co.th/covid19/news_2551961

สู้ๆนะคะพาพันไฟท์ติ้ง

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่