JJNY : ยางช้ำ“เจ๊งระนาว”ระลอก2/ครป.เสนอเก็บ'ภาษีโควิด'กระจายงบราชการเยียวยาปชช./จี้รัฐเร่งโละรถเมล์เก่า/โควิดทะลุ100ล.

ยางช้ำ ซ้ำรอยเดิม “เจ๊งระนาว” ระลอก2
https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/465980


 
เครือข่าย กยท. อีสาน เดือด แฉ โรงงาน อ้าง 3 ปัจจัย “โควิด- ตู้ขาด-ตรุษจีน” กดราคา "น้ำยางสด" ยับเหลือ 38 บาท/กิโลกรัม โอด เจ๊งระนาว ระลอก2
 
วันที่ 25 มกราคม 2564 นายเขศักดิ์ สุดสวาท เลขาเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางระดับประเทศ และประธานคณะกรรมการเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน)  เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ราคาน้ำยางสด ที่โรงงานรับซื้อเหลือกิโลกรัมละ 38 บาท  ขณะเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2564 ราคาน้ำยางสด อยู่ ที่ 42 บาท/กิโลกรัม ซึ่งโรงงานให้เหตุผลว่า ช่วง "โควิด-19" ทำให้ตู้คอนเทรนเนอร์ขาด สต็อกโรงงานเต็ม
 
“ประกอบกับใกล้กับวันตรุษจีน ซึ่งจะตรงกับวันที่ 12 กุมภาพันธ์นี้ ทางคู่ค้าฝ่ายจีน จะชะลอซื้อ เพราะติดวันหยุดยาว โรงงานในประเทศฉวยโอกาส "ปล้นเกษตรกร" เลย ทำให้เจ๊งระนาวอีกรอบหนึ่ง เรียกว่าซื้อมากขาดทุนมาก”
 
สอดคล้องกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) รายงานสถานการณ์ราคายาง ณ วันที่ 25 มกราคม 2564 ราคาประมูลเฉลี่ยณ ตลาดกลางยางพาราฯ ราคายางแผ่นดิบอยู่ที่ 53.67 บาท/กก. ราคายางแผ่นรมควันอยู่ที่ 55.76 บาท/กก.ราคายางในภาพรวม ปรับตัวลดลง โดยได้รับปัจจัยกดดันจากการแพร่ระบาดของ “โควิด-19
 
รวมถึงโรคใบร่วงซึ่งทำให้ผลผลิตลดลงและปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้ขนส่งยาง ประกอบกับญี่ปุ่นเผยยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นส่งผลให้เกิดการประกาศภาวะฉุกเฉิน ใน 11 จังหวัด
 
แต่อย่างไรก็ตามราคายางได้รับปัจจัยสนับสนุนจากข่าวความคืบหน้าของ “วัคซีนโควิด-19” โดยมีการเริ่มจัดส่งเพิ่มมากขึ้นโดยยังคงมีการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องและทางตอนใต้ของประเทศไทยมีฝนตกซึ่งส่งผลกระทบต่อการเก็บยางพาราของชาวสวนยางประกอบกับค่าเงินบาทอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ



ประธาน ครป. เสนอรัฐเก็บ 'ภาษีโควิด' คุยทุนใหญ่ ลดราคาสินค้า กระจายงบราชการเยียวยา ปชช.
https://www.matichon.co.th/politics/news_2547074
 
ประธาน ครป. เสนอรัฐเก็บ ‘ภาษีโควิด’ คุยทุนใหญ่ ลดราคาสินค้า กระจายงบราชการเยียวยา ปชช.
 
เมื่อว้นที่ 26 มกราคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) กล่าวถึงประเด็นความเดือดร้อนของประชาชนในสถานการณ์โควิด-19 ว่า นโยบายการแก้ไขปัญหาโควิดของรัฐบาลในขณะนี้นั้นยังมีข้อบกพร่องบางอย่างอยู่ โดยเฉพาะในส่วนของการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว ซึ่งสถานประกอบกิจการขนาดเล็กขนาดกลางต่างก็ทยอยปิดกันตามการระบาดของโควิด แต่รัฐบาลก็ไม่ได้มีการประกาศล็อคดาวน์
 
รศ.ดร.พิชายกล่าวว่า เพราะฉะนั้นเมื่อปิดกิจการก็ทำให้แรงงานส่วนนี้ก็ต้องว่างงานไป แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้รับการชดเชยจากรัฐบาล ถึงแม้ว่ารัฐบาลบอกว่ากำลังจะพิจารณา แต่ค่อนข้างล่าช้า เพราะฉะนั้นรัฐบาลควรจะเร่งรัดจัดการปัญหาในส่วนนี้เพื่อที่จะให้การกระจายเงินงบประมาณต่างๆ ให้ครอบคลุมกลุ่มแรงงานที่ว่างงานเหล่านี้ มิฉะนั้นจะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้นแล้วคนเหล่านี้ก็ต้องอยู่ในความทุกข์ยากลำบากในสถานการณ์วิกฤตมากขึ้น
“ส่วนในแง่ของประเด็นอื่นๆ ในเรื่องของการพิจารณาการจัดลำดับความสำคัญของงบประมาณต่างๆ ของรัฐบาล คิดว่ารัฐบาลก็ควรจะลองมาทบทวนดูในช่วงของครึ่งปีงบประมาณว่าโครงการใดที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะโครงการที่กระจายไปยังหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ก็อาจจะดึงเงินส่วนนี้มาใช้ในการเยียวยาประชาชนจะดีกว่า จะมีประสิทธิผลกว่าที่จะให้หน่วยงานราชการเอางบประมาณไปดำเนินโครงการที่ไม่จำเป็นต่างๆ มากกว่า ควรจะไปพิจารณาทบทวนอีกครั้งหนึ่ง แล้วก็จัดสรรงบประมาณใหม่
 
อีกประเด็นที่จะฝากก็คือ รัฐบาลควรจะเจรจากับบรรดากลุ่มทุนขนาดยักษ์ขนาดใหญ่ในเรื่องของราคาสินค้าต่างๆ ให้บรรดากลุ่มทุนเหล่านี้เขาลดราคาสินค้าลงบ้าง เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่กำลังเดือดร้อนอยู่ในปัจจุบัน หรือก็อาจจะใช้มาตรการทางภาษีพิเศษที่จะต้องมีการเก็บภาษีพิเศษ หรือจะเรียกว่า ภาษีโควิด ก็ได้ เพื่อใช้หลักการในการแบ่งปันกันระหว่างคนรวยกับคนจน
 
“ซึ่งรัฐบาลก็อาจจะไปเจรจากับกลุ่มภาคธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสมาคม หอการค้า สมาคมธนาคาร หรือว่าสมาคมอุตสาหกรรมต่างๆ ก็น่าจะเป็นอีกมาตรการหนึ่งที่รัฐบาลจะต้องแสวงหาความร่วมมือทั้งในแง่ของการร่วมมือให้คนเหล่านี้ช่วยกันลดค่าครองชีพ ลดราคาสินค้า และในแง่ของการปรึกษาหารือกันในการที่จะเพิ่มมาตรการด้านภาษีต่างๆ” รศ.ดร.พิชายกล่าว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่