'หม่อมโจ้' เปิดข้อมูลทำไมต้องเลือกม้าตัวเดียว พร้อมโอกาสสร้างภูมิคุ้มกันโควิดในวงกว้าง
24 ม.ค.64 - จากกรณีนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ออกโรงวิจารณ์นโยบายการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ของรัฐบาลว่าล่าช้า และตั้งคำถามถึงแนวทางจัดหาวัคซีนแบบ "แทงม้าตัวเดียว" จากบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า รวมทั้งพาดพิงสถาบันเข้ามาเกี่ยวข้องกับตลาดวัคซีนโควิด
ล่าสุด ม.ล.รุ่งคุณ กิติยากร หรือ หม่อมโจ้ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "รุ่งคุณ กิติยากร" ว่า โชคของคนไทย กรณี Oxford-AstraZeneca ?
กับบรรดาวัคซีนในปัจจุบัน ที่เสี่ยงที่สุด คงไม่พ้น mRNA วัคซีน เช่น Pfizer และ Moderna ซึ่งเป็นการทดลองวิธีการใหม่ กับสิ่งที่ดูจะเป็นผลข้างเคียงในระยะสั้น เราได้เห็นสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดในทางลบบ้าง เช่นกับผู้สูงอายุทั้งใน Norway ที่เสียชีวิต 23 ราย และที่ New York อีก 24 ราย อย่างกระทันหัน ภายใน 1 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีน
ส่วนผลข้างเคียงระยะยาว ไม่สามารถเดาได้เลยว่าจะมีอะไรบ้าง ตั้งแต่การเป็นหมัน หรือการจะเกิดภาวะภูมิคุ้มกันปกพร่อง ไม่ใช่อะไรที่จะทราบได้เลย ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งหากเป็นกรณีที่ 2 ยอดผู้เสียชีวิตจากวัคซีน (แม้อาจลงว่าเสียชีวิตด้วยโรคอื่น) อาจสูงกว่ายอดผู้เสียชีวิตจากโรคโควิดทั้งหมด ก็เป็นได้
ด้วยความเสี่ยงของวัคซีนประเภทนี้ ตามผลสำรวจ เราจึงเห็นว่าคนจำนวนมากจะไม่ยอมรับ เช่น ชาวอเมริกัน 40% และชาวฝรั่งเศส 60% เพราะไม่คุ้มความเสี่ยงเลย โดยเฉพาะเพื่อการคุ้มกันเพียงชั่วคราว โดยตามสถิติของผู้ติดเชื้อ หลัง 4 เดือน Antibody จะเริ่มลดลงอย่างเร็ว
ด้วยประการเหล่านี้ ต่อให้ไม่เกิดผลเลวร้ายในวงกว้างอย่างที่กลัวกัน ก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จในการควบคุมโรคได้ โดยโควิดที่มีอัตราการแพร่ (R0) สูง การจะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ Herd Immunity จะต้องไม่ต่ำกว่า 70%-75% แต่เมือเพียงจำนวนหนึ่งพร้อมที่จะเสี่ยงฉีด ยังไงก็ไม่เกิดกับวัคซีนตามแบบแผนเดิม Traditional
Sinovac จากที่อ้างว่ามีประสิทธิภาพ 78% แต่ในการใช้จริงที่ Brazil ปรากฏว่า มีประสิทธิภาพจริงเพียง 50.3% โดย 50% คือมาตรฐานต่ำสุดที่จะผ่าน ต่ำกว่านี้อีก 0.4% ก็ตก ไม่สามารถจำหน่ายแล้ว
แม้ความเสี่ยงของ Traditional วัคซีน จะน้อยกว่ากลุ่มของ mRNA แต่ด้วยกระบวนการที่เร่งรัดรวดเร็ว ก็เสี่ยงกว่าวัคซีนที่ปกติทำเกิน 4 ปี ตรงนี้ประกอบกับประสิทธิภาพเพียง 50% ก็คงจำนวนน้อยเท่านั้นที่จะไปคิดว่าคุ้มค่าความเสี่ยง เช่นเดียวกับ mRNA วัคซีน และต่อให้ฉีดกันทุกคนทั้งโลก ด้วยประสิทธิภาพเพียง 50% ก็ไม่ได้ใกล้เคียงจะไปสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ที่ 70% หมู่ได้เลย
ม้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน เหลือตัวเดียวเท่านั้น ที่มีโอกาส จะควบคุมโรคนี้ได้ นั่นก็คือวัคซีน Oxford-AstraZeneca ที่ได้เลือกไทยผู้ผลิตในส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากจะเป็นวัคซีนตามแบบแผนเดิม Traditional ที่ปลอดภัยกว่า ล่าสุดด้วยการลดปริมาณในการฉีด ได้เพิ่มประสิทธิภาพสูงถึง 90% และอีกองค์ประกอบสำคัญ เป็นการผลิตโดยไม่แสวงหากำไร ซึ่งผลไม่ใช่เพียงแค่ราคาจะถูกกว่า แต่มากกว่านั่น คือความน่าเชื่อถือและศรัทธา
หากจะมีวัคซีนตัวไหนในปัจจุบัน ที่จะนำสู่การสร้างภูมิคุ้มกันในวงกว้าง ถึง 70% หรือ Herd Immunity ที่จะควบคุมโรคโควิดได้ วัคซีนตัวนั้นคือวัคซีนของ Oxford-AstraZeneca (หากมีประสิทธิภาพตามอ้างจริง)
จากภาวะความเป็นอยู่และเศรษกิจ หลายคนเรียกร้องความรวดเร็ว การนำหลากหลายวัคซีนมาใช้ โดยหวังจะกลับสู่โดยเร็ว แต่ความจริงคือ ไม่ว่าอย่างไร มันไม่ได้สามารถที่จะกลับคืนใกล้เคียงปกติได้อีกนาน
แค่สถิติ 2 ประเทศที่ฉีด mRNA วัคซีนไปก่อนเป็นเดือน และฉีดประชากรไปเยอะที่สุดในโลก 2 ประเทศ Israel และ UAE ก็จะเห็นได้ว่าทุกวันนี้ยังทำสถิติการติดสูงสุดต่อวันอยู่อย่างไม่หยุดยั้ง (ภาพลงกล่อง comment แรก)
หากจะควบคุมโรคนี้ โดยสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในสังคมจากวัคซีน แทนมาตรการกักกัน หมายถึง วัคซีนต้องมีประสิทธิภาพจริง และ จำนวนมากพอของสังคมต้องพร้อมรับ และรับเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง เมื่อ antibody ลดลง
เป็นอะไรที่ หากจะเกิด ก็ยังจะใช้เวลาอีกนาน ไม่ใช่อะไรที่จะเกิดในเร็วนี้ หรือแม้ปีนี้
โดยสิ่งที่ทำให้ช้าลง หรือไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย ก็คือ นำการเอาวัคซีนที่ไม่เกิดผลหรือเกิดผลเสีย มาทดลองฉีด จนทำลายความเชื่อมั่นในวัคซีน จนในที่สุดจำนวนน้อยที่ยอมรับ
ที่ผ่านมา ในการควบคุมโควิดด้วยมาตรการ ประเทศไทยเรามีความสำเร็จอยู่ในระดับต้นๆของโลก
ด้วยการแทงม้าตัวเดียวที่ยังมีโอกาสวิ่งถึงเส้นชัยได้ ตอนนี้เรามีโอกาสดีมากที่จะประสบความสำเร็จในระดับต้นๆของโลก ในการควบคุมโควิดด้วยภูมิคุ้มกันหมู่เช่นกัน
https://www.thaipost.net/main/detail/90887
เหตุผลน่ารับฟังค่ะ....
ใช้วัคซีนบางตัวอาจจะมีผลข้างเคียงระยะยาวได้
อย่างไรก็ให้แน่ใจไว้ก่อน
🥀มาลาริน/น่ารับฟังไว้ค่ะ...หม่อมโจ้' เปิดข้อมูลทำไมต้องเลือกม้าตัวเดียว พร้อมโอกาสสร้างภูมิคุ้มกันโควิดในวงกว้าง
24 ม.ค.64 - จากกรณีนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ออกโรงวิจารณ์นโยบายการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ของรัฐบาลว่าล่าช้า และตั้งคำถามถึงแนวทางจัดหาวัคซีนแบบ "แทงม้าตัวเดียว" จากบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า รวมทั้งพาดพิงสถาบันเข้ามาเกี่ยวข้องกับตลาดวัคซีนโควิด
ล่าสุด ม.ล.รุ่งคุณ กิติยากร หรือ หม่อมโจ้ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "รุ่งคุณ กิติยากร" ว่า โชคของคนไทย กรณี Oxford-AstraZeneca ?
กับบรรดาวัคซีนในปัจจุบัน ที่เสี่ยงที่สุด คงไม่พ้น mRNA วัคซีน เช่น Pfizer และ Moderna ซึ่งเป็นการทดลองวิธีการใหม่ กับสิ่งที่ดูจะเป็นผลข้างเคียงในระยะสั้น เราได้เห็นสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดในทางลบบ้าง เช่นกับผู้สูงอายุทั้งใน Norway ที่เสียชีวิต 23 ราย และที่ New York อีก 24 ราย อย่างกระทันหัน ภายใน 1 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีน
ส่วนผลข้างเคียงระยะยาว ไม่สามารถเดาได้เลยว่าจะมีอะไรบ้าง ตั้งแต่การเป็นหมัน หรือการจะเกิดภาวะภูมิคุ้มกันปกพร่อง ไม่ใช่อะไรที่จะทราบได้เลย ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งหากเป็นกรณีที่ 2 ยอดผู้เสียชีวิตจากวัคซีน (แม้อาจลงว่าเสียชีวิตด้วยโรคอื่น) อาจสูงกว่ายอดผู้เสียชีวิตจากโรคโควิดทั้งหมด ก็เป็นได้
ด้วยความเสี่ยงของวัคซีนประเภทนี้ ตามผลสำรวจ เราจึงเห็นว่าคนจำนวนมากจะไม่ยอมรับ เช่น ชาวอเมริกัน 40% และชาวฝรั่งเศส 60% เพราะไม่คุ้มความเสี่ยงเลย โดยเฉพาะเพื่อการคุ้มกันเพียงชั่วคราว โดยตามสถิติของผู้ติดเชื้อ หลัง 4 เดือน Antibody จะเริ่มลดลงอย่างเร็ว
ด้วยประการเหล่านี้ ต่อให้ไม่เกิดผลเลวร้ายในวงกว้างอย่างที่กลัวกัน ก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จในการควบคุมโรคได้ โดยโควิดที่มีอัตราการแพร่ (R0) สูง การจะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ Herd Immunity จะต้องไม่ต่ำกว่า 70%-75% แต่เมือเพียงจำนวนหนึ่งพร้อมที่จะเสี่ยงฉีด ยังไงก็ไม่เกิดกับวัคซีนตามแบบแผนเดิม Traditional
Sinovac จากที่อ้างว่ามีประสิทธิภาพ 78% แต่ในการใช้จริงที่ Brazil ปรากฏว่า มีประสิทธิภาพจริงเพียง 50.3% โดย 50% คือมาตรฐานต่ำสุดที่จะผ่าน ต่ำกว่านี้อีก 0.4% ก็ตก ไม่สามารถจำหน่ายแล้ว
แม้ความเสี่ยงของ Traditional วัคซีน จะน้อยกว่ากลุ่มของ mRNA แต่ด้วยกระบวนการที่เร่งรัดรวดเร็ว ก็เสี่ยงกว่าวัคซีนที่ปกติทำเกิน 4 ปี ตรงนี้ประกอบกับประสิทธิภาพเพียง 50% ก็คงจำนวนน้อยเท่านั้นที่จะไปคิดว่าคุ้มค่าความเสี่ยง เช่นเดียวกับ mRNA วัคซีน และต่อให้ฉีดกันทุกคนทั้งโลก ด้วยประสิทธิภาพเพียง 50% ก็ไม่ได้ใกล้เคียงจะไปสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ที่ 70% หมู่ได้เลย
ม้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน เหลือตัวเดียวเท่านั้น ที่มีโอกาส จะควบคุมโรคนี้ได้ นั่นก็คือวัคซีน Oxford-AstraZeneca ที่ได้เลือกไทยผู้ผลิตในส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากจะเป็นวัคซีนตามแบบแผนเดิม Traditional ที่ปลอดภัยกว่า ล่าสุดด้วยการลดปริมาณในการฉีด ได้เพิ่มประสิทธิภาพสูงถึง 90% และอีกองค์ประกอบสำคัญ เป็นการผลิตโดยไม่แสวงหากำไร ซึ่งผลไม่ใช่เพียงแค่ราคาจะถูกกว่า แต่มากกว่านั่น คือความน่าเชื่อถือและศรัทธา
หากจะมีวัคซีนตัวไหนในปัจจุบัน ที่จะนำสู่การสร้างภูมิคุ้มกันในวงกว้าง ถึง 70% หรือ Herd Immunity ที่จะควบคุมโรคโควิดได้ วัคซีนตัวนั้นคือวัคซีนของ Oxford-AstraZeneca (หากมีประสิทธิภาพตามอ้างจริง)
จากภาวะความเป็นอยู่และเศรษกิจ หลายคนเรียกร้องความรวดเร็ว การนำหลากหลายวัคซีนมาใช้ โดยหวังจะกลับสู่โดยเร็ว แต่ความจริงคือ ไม่ว่าอย่างไร มันไม่ได้สามารถที่จะกลับคืนใกล้เคียงปกติได้อีกนาน
แค่สถิติ 2 ประเทศที่ฉีด mRNA วัคซีนไปก่อนเป็นเดือน และฉีดประชากรไปเยอะที่สุดในโลก 2 ประเทศ Israel และ UAE ก็จะเห็นได้ว่าทุกวันนี้ยังทำสถิติการติดสูงสุดต่อวันอยู่อย่างไม่หยุดยั้ง (ภาพลงกล่อง comment แรก)
หากจะควบคุมโรคนี้ โดยสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในสังคมจากวัคซีน แทนมาตรการกักกัน หมายถึง วัคซีนต้องมีประสิทธิภาพจริง และ จำนวนมากพอของสังคมต้องพร้อมรับ และรับเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง เมื่อ antibody ลดลง
เป็นอะไรที่ หากจะเกิด ก็ยังจะใช้เวลาอีกนาน ไม่ใช่อะไรที่จะเกิดในเร็วนี้ หรือแม้ปีนี้
โดยสิ่งที่ทำให้ช้าลง หรือไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย ก็คือ นำการเอาวัคซีนที่ไม่เกิดผลหรือเกิดผลเสีย มาทดลองฉีด จนทำลายความเชื่อมั่นในวัคซีน จนในที่สุดจำนวนน้อยที่ยอมรับ
ที่ผ่านมา ในการควบคุมโควิดด้วยมาตรการ ประเทศไทยเรามีความสำเร็จอยู่ในระดับต้นๆของโลก
ด้วยการแทงม้าตัวเดียวที่ยังมีโอกาสวิ่งถึงเส้นชัยได้ ตอนนี้เรามีโอกาสดีมากที่จะประสบความสำเร็จในระดับต้นๆของโลก ในการควบคุมโควิดด้วยภูมิคุ้มกันหมู่เช่นกัน
https://www.thaipost.net/main/detail/90887
เหตุผลน่ารับฟังค่ะ....
ใช้วัคซีนบางตัวอาจจะมีผลข้างเคียงระยะยาวได้
อย่างไรก็ให้แน่ใจไว้ก่อน