🔴เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย! "หมอบุ๋ม" แถลงโควิดวันนี้ไทยพบผู้ป่วยอีก 198 ราย
วันนี้ (23 ม.ค.) เมื่อเวลา 11.30 น. แพทย์หญิงพรรณประภา ยงค์ตระกูล หรือ หมอบุ๋ม ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โฆษก ศบค.) แถลงถึงสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย จากศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ว่า...🔻
ล่าสุด สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 ในไทยวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 198 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 13,302 ราย หายป่วยแล้ว 10,448 ราย ยังรักษาใน รพ. 2,782 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย ยอดเสียชีวิตสะสม 72 ราย
รายละเอียดผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ วันที่ 23 ม.ค. 2564 จำนวน 198 ราย มีดังนี้.....🔻
1. ผู้ป่วยรายใหม่ จากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการฯ 69 ราย
2. ค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในชุมชน 111 ราย
3. ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้าสถานกักกันโรค (State Quarantine) 18 ราย
สวีเดน 1 ราย
อินเดีย 1 ราย
อิตาลี 1 ราย
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 2 ราย
อียิปต์ 1 ราย
รัสเซีย 1 ราย
สหรัฐอเมริกา 1 ราย
บาห์เรน 4 ราย
สหราชอาณาจักร 5 ราย
สวิตเซอร์แลนด์ 1 ราย
https://www.sanook.com/news/8343442/
https://www.thebangkokinsight.com/535451/
🔴NBT เผยผลตรวจโควิด ทั้งหมด 818 คน ไม่พบผู้ติดเชื้อ
ขสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) แจ้งผลตรวจเชื้อโควิด-19
ทั้งกลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มเสี่ยงต่ำ หลังผู้ประกาศข่าวชายติดเชื้อวานนี้ พบว่า ไม่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มเติม
เฟซบุ๊ก เพจ NBT2HD ของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) แจ้งผลตรวจเชื้อโควิด-19 ของข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ สถานีวิทยุโทรทัศแห่งประเทศไทย ทั้งกลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มเสี่ยงต่ำ รวมทั้งสิ้น 818 คน ผลออกมาเป็นลบ ไม่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 โดยระบุข้อความว่า
จากกรณีที่ นาย ส.กรกช ยอดไชย ผู้ประกาศข่าว NBT ติดเชื้อโควิด-19 เมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2564 ทางสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค ได้นำรถตรวจโรคติดเชื้อชีวนิรภัยพระราชทาน จำนวน 3 คัน และรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ พระราชทาน ตรวจเชื้อบุคคลเสี่ยงสูงที่สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ และกลุ่มเสี่ยงต่ำซึ่งทำงานในสถานที่เดียวกันผลการตรวจกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด 818 คน ปรากฏว่า ผลเป็นลบ ไม่พบเชื้อโควิด-19
ทั้งนี้ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT2HD ได้ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อ ทำความสะอาดในจุดเสี่ยงต่างๆเป็นที่เรียบร้อย อีกทั้งเพื่อเป็นการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรค กลุ่มเสี่ยงสูงจำนวน 34 คน แม้จะไม่พบเชื้อแต่ยังคงต้องรับการกักตัวเป็นเวลา 14 วันเพื่อสังเกตอาการต่อไป
https://www.amarintv.com/news/detail/63935
🔴วัคซีนโควิดล็อตแรกจาก "แอสตร้าเซนเนก้า" ถึงไทย ปลาย ก.พ.นี้
วันนี้ (23 ม.ค.64) คณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ลงนามขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด-19 ของบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ล็อตแรก ผ่านการขึ้นทะเบียนจาก อย. ไทยแล้ว หลังจากคณะกรรมการฯได้มีการพิจารณาข้อมูลเอกสารการขอขึ้นทะเบียนก้ามากกว่า 18,000 หน้า โดยเน้นหลัก 3 ข้อหลัก ในการพิจารณา คือเรื่องคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยการใช้วัคซีน
ทั้งนี้ การอนุญาตขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด-19 เป็นการอนุญาตการใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งจะมีอายุการของขึ้นทะเบียน 1 ปี
โดยอนุมัติให้ใช้ในบุคคลที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไปเท่านั้น ห้ามใช้ในกลุ่มสตรีมีครรภ์และสตรีที่ให้นมบุตร รวมถึงมีการกำหนดเงื่อนไขที่จะต้องติดตามผลผู้ที่ได้รับวัคซีน ทั้งผลข้างเคียง และอาการไม่พึงประสงค์จากการรับวัคซีน
วัคซีนดังกล่าวจะถึงไทยในเดือนกุมภาพันธ์นี้ จำนวน 50,000 โดส จากนั้นทางบริษัท จะทยอยส่งวัคซีนที่เหลืออีก 150,000 โดส ตามมาภายในเดือน มีนาคม และ เมษายน ส่วนแนวทางการฉีดวัคซีนในประเทศไทยนั้นจะเน้นไปที่กลุ่มเสี่ยงก่อน ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว บุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานอยู่ด่านหน้า
นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันมีการขึ้นทะเบียนวัคซีนในสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว 3 ราย โดยปัจจัยสำคัญในการพิจารณาเลือกใช้วัคซีนรายใดคือ มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพที่ยอมรับได้ เนื่องจากสถานการณ์ขณะนี้ตลาดยังเป็นของผู้ขายทำให้วัคซีนมีราคาสูง แต่ยังไม่สามารถตอบได้ว่าวัคซีนที่จะนำมาใช้งานจะมีประสิทธิภาพได้นานแค่ไหน
สำหรับสถานการณ์วัคซีนโควิด-19 ทั่วโลก ข้อมูลจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ระบุว่า ทั่วโลกได้มีการฉีดวัคซีนไปแล้ว 46.2 ล้านโดส ใน 51 ประเทศทั่วโลก เพิ่มขึ้นวันละ 2.35 ล้านโดส โดยสหรัฐอเมริกา ได้รับวัคซีนมากสุด 15.6 ล้านโดส รองลงมา ประเทศจีน 10 ล้านโดส สหราชอาณาจักร 4.72 ล้านโดส อิสราเอล 2.70 ล้านโดส และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 2.01 ล้านโดส
นพ.ทวี ระบุว่า วัคซีนเป็นเครื่องมือเสริมในการควบคุมโรค ไม่ได้ฉีดอาทิตย์ สองอาทิตย์ ถึงเห็นผลแต่ต้องใช้ระยะเวลาเป็นเดือน โดยวัคซีนหลังจากฉีดแล้ว ต้องเข้าสู่มาตรการเดิม คือมาตรการป้องกันตัวเองทางด้านสาธารณสุข โดยวัคซีนที่ทั่วโลกยอมรับกัน เป็นวัคซีนที่ใช้ในภาวะฉุกเฉินไม่ใช่ในภาวะปกติ มีการขึ้นทะเบียนแล้วมี 3 ชนิด รวมถึงมีการศึกษาวิจัยและรอคิวในการขึ้นทะเบียนอีกจำนวนมาก
หลักการของวัคซีนโควิด-19 ที่จะนำมาใช้ ในฐานะหมอเด็กที่มีการใช้วัคซีนมากกว่า 30-40 ปี และวิจัยวัคซีนมา 40 กว่าปี ถือว่า วัคซีนเป็นชีววัตถุที่ฉีดเข้าร่างกาย วัคซีนต้องเป็นสิ่งที่ปลอดภัยเป็นอันดับที่ 1 ถ้าไม่ปลอดภัยจะไม่ใช้ อันดับที่ 2 ต้องมีประสิทธิภาพที่รับได้ เช่น องค์การอนามัยโลกมีการระบุว่า วัคซีนต้องมีประสิทธิภาพร้อยละ 50 ขึ้นไป
อันดับที่ 3 คือราคา เนื่องจากทุกวันนี้วัคซีนเป็นสินค้าที่ผู้ขายมีอำนาจมากกว่าทำให้สินค้ามีราคาสูงมาก แต่หากมีความจำเป็นของประเทศ ฝ่ายรัฐบาลจำเป็นที่จะต้องซื้อให้กับประชาชน เบื้องต้นไม่สามารถฉีดให้กับทุกคนได้ แต่วางเป้าไว้ที่ร้อยละ 50 ถึง 70 ของประชากร
ทั้งนี้ ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนถึงการฉีดวัคซีนเข้าไปแล้วจะสร้างภูมิคุ้มกันขนาดไหนในการป้องกันโควิด-19 เนื่องจากยังคงต้องมีการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง
ในเรื่องของการเตรียมวัคซีนโควิด-19 ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยได้มีการเตรียมพร้อมและหารือมาอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจาก ติดขัดในปัญหาหลายอย่าง เช่น ในเรื่องของกฎหมายถ้าเผื่ออยากได้วัคซีนต้องจองก่อน พอจองเสร็จต้องเสียเงิน หากเสียเงินแล้ววัคซีนชนิดนั้นมีการวิจัยไม่สำเร็จต้อง "เสียเงินฟรี"
นอกจากนี้ สำหรับประเด็นที่ว่า ทำไมต้องเป็น บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน เนื่องจาก 1.การขึ้นทะเบียนวัคซีนที่จะใช้ต้องผ่านการขึ้นทะเบียน โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีการพิจารณาในหลายด้าน ทั้งข้อมูลประสิทธิภาพของวัคซีน ทางด้านคลินิก สถานที่ผลิตของวัคซีน เป็นต้น โดยมีการพิจารณาข้อมูลจากบริษัทแอสตร้าเซเนก้า กว่า 18,000 หน้า ที่สำคัญคือ บริษัทมีนโยบายหลัก คือ "บริษัทแม่ไม่เน้นกำไร แต่จะต้องไม่ขาดทุน" โดยตั้งนโยบายว่าจะช่วยประชากรโลก
ประเทศไทยได้มีการเสนอโรงงานที่จะผลิตให้ บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า เป็นคนเลือกหลายแห่ง โดยบริษัท แอสตร้าเซเนก้า มีเงื่อนไขที่กำหนดไว้ โดย บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า เป็นคนเลือก บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ ในการผลิตวัคซีนโควิด-19 ในครั้งนี้ ตัวบ่งบอกสำคัญทางวิทยาศาสตร์ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ ได้เกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ตามมาตรฐาน ไม่เช่นนั้น บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ไม่เลือกบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ ในการผลิต
จากนั้น เมื่อผลิตวัคซีนเสร็จแล้วจะต้องส่งตัวอย่างให้บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ตรวจสอบ รวมถึงให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นผู้ประเมินคุณภาพด้วย
https://news.trueid.net/detail/DWY7rrGkQaDK
🔴สหรัฐฯพบผู้รับวัคซีนโควิด-19‘โมเดอร์นา’ มีผลข้างเคียงกว่า1,200ราย
วันเสาร์ ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2564, 16.47 น.
23 มกราคม 2564 สำนักข่าวซินหัวรายงาน ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ (CDC) รายงานอาการไม่พึงประสงค์หลังการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ของโมเดอร์นา (Moderna) จากผู้รับวัคซีนมากกว่า 1,200 คน เมื่อนับถึงวันที่ 10 ม.ค. โดยมีอาการภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน 10 คน
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA) ประกาศอนุมัติการใช้งานวัคซีนของโมเดอร์นาในกรณีฉุกเฉินเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2020 ซึ่งแบ่งฉีดเป็น 2 โดส ห่างกัน 1 เดือน
ศูนย์ฯ รายงานว่ามีผู้รับวัคซีนโดสแรกของโมเดอร์นาในสหรัฐฯ แล้ว 4,041,396 คน เมื่อนับถึงวันที่ 10 ม.ค. ก่อนที่ระบบรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากวัคซีน (VAERS) ของสหรัฐฯ ได้รับแจ้งเหตุจากผู้รับวัคซีนกลุ่มดังกล่าวรวม 1,266 ราย โดยในจำนวนนี้ 108 ราย จะถูกตรวจสอบเพิ่มเติมว่าอาจมีโอกาสเกิดอาการแพ้ขั้นรุนแรง ซึ่งรวมถึงอาการภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน
ทั้งนี้ อาการภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลันเป็นอาการแพ้ที่อันตรายถึงชีวิต ซึ่งเกิดขึ้นไม่บ่อยนักหลังการฉีดวัคซีน โดยปกติแล้วจะเริ่มมีอาการภายในไม่กี่นาทีหรือชั่วโมง
ศูนย์ฯ เผยว่าผู้รับวัคซีนที่แจ้งอาการไม่พึงประสงค์ 10 ราย ได้รับการยืนยันแล้วว่ามีอาการภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 2.5 คนต่อผู้รับวัคซีนโมเดอร์นา 1 ล้านคน ขณะที่ช่วงเวลาตั้งแต่รับวัคซีนจนเริ่มมีอาการเฉลี่ยอยู่ที่ 7.5 นาที
ศูนย์ฯ เรียกร้องสถานฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้วัคซีนอย่างเคร่งครัด ซึ่งรวมถึงการตรวจคัดกรองประวัติผู้เข้ารับวัคซีน จัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นและเตรียมเจ้าหน้าที่สำหรับรักษาอาการภูมิแพ้ สังเกตอาการหลังฉีดวัคซีนตามระยะเวลาที่แนะนำ และรักษาผู้ต้องสงสัยว่าจะมีอาการแพ้ทันทีโดยการฉีดอะดรีนาลีนเข้ากล้ามเนื้อ
https://www.naewna.com/inter/547529
ใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังค่ะ...
🔴มาลาริน/23ม.ค.พบโควิด198ราย หายป่วย224ราย/NBTไม่พบผู้ติดเชื้อ/วัคซีนล็อตแรกถึงไทยปลายก.พ./โมเดอร์นา พบอาการข้างเคียง
วันนี้ (23 ม.ค.) เมื่อเวลา 11.30 น. แพทย์หญิงพรรณประภา ยงค์ตระกูล หรือ หมอบุ๋ม ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โฆษก ศบค.) แถลงถึงสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย จากศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ว่า...🔻
ล่าสุด สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 ในไทยวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 198 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 13,302 ราย หายป่วยแล้ว 10,448 ราย ยังรักษาใน รพ. 2,782 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย ยอดเสียชีวิตสะสม 72 ราย
รายละเอียดผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ วันที่ 23 ม.ค. 2564 จำนวน 198 ราย มีดังนี้.....🔻
1. ผู้ป่วยรายใหม่ จากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการฯ 69 ราย
2. ค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในชุมชน 111 ราย
3. ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้าสถานกักกันโรค (State Quarantine) 18 ราย
สวีเดน 1 ราย
อินเดีย 1 ราย
อิตาลี 1 ราย
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 2 ราย
อียิปต์ 1 ราย
รัสเซีย 1 ราย
สหรัฐอเมริกา 1 ราย
บาห์เรน 4 ราย
สหราชอาณาจักร 5 ราย
สวิตเซอร์แลนด์ 1 ราย
https://www.sanook.com/news/8343442/
https://www.thebangkokinsight.com/535451/
🔴NBT เผยผลตรวจโควิด ทั้งหมด 818 คน ไม่พบผู้ติดเชื้อ
ขสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) แจ้งผลตรวจเชื้อโควิด-19
ทั้งกลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มเสี่ยงต่ำ หลังผู้ประกาศข่าวชายติดเชื้อวานนี้ พบว่า ไม่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มเติม
เฟซบุ๊ก เพจ NBT2HD ของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) แจ้งผลตรวจเชื้อโควิด-19 ของข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ สถานีวิทยุโทรทัศแห่งประเทศไทย ทั้งกลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มเสี่ยงต่ำ รวมทั้งสิ้น 818 คน ผลออกมาเป็นลบ ไม่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 โดยระบุข้อความว่า
จากกรณีที่ นาย ส.กรกช ยอดไชย ผู้ประกาศข่าว NBT ติดเชื้อโควิด-19 เมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2564 ทางสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค ได้นำรถตรวจโรคติดเชื้อชีวนิรภัยพระราชทาน จำนวน 3 คัน และรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ พระราชทาน ตรวจเชื้อบุคคลเสี่ยงสูงที่สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ และกลุ่มเสี่ยงต่ำซึ่งทำงานในสถานที่เดียวกันผลการตรวจกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด 818 คน ปรากฏว่า ผลเป็นลบ ไม่พบเชื้อโควิด-19
ทั้งนี้ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT2HD ได้ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อ ทำความสะอาดในจุดเสี่ยงต่างๆเป็นที่เรียบร้อย อีกทั้งเพื่อเป็นการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรค กลุ่มเสี่ยงสูงจำนวน 34 คน แม้จะไม่พบเชื้อแต่ยังคงต้องรับการกักตัวเป็นเวลา 14 วันเพื่อสังเกตอาการต่อไป
https://www.amarintv.com/news/detail/63935
🔴วัคซีนโควิดล็อตแรกจาก "แอสตร้าเซนเนก้า" ถึงไทย ปลาย ก.พ.นี้
วันนี้ (23 ม.ค.64) คณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ลงนามขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด-19 ของบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ล็อตแรก ผ่านการขึ้นทะเบียนจาก อย. ไทยแล้ว หลังจากคณะกรรมการฯได้มีการพิจารณาข้อมูลเอกสารการขอขึ้นทะเบียนก้ามากกว่า 18,000 หน้า โดยเน้นหลัก 3 ข้อหลัก ในการพิจารณา คือเรื่องคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยการใช้วัคซีน
ทั้งนี้ การอนุญาตขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด-19 เป็นการอนุญาตการใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งจะมีอายุการของขึ้นทะเบียน 1 ปี
โดยอนุมัติให้ใช้ในบุคคลที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไปเท่านั้น ห้ามใช้ในกลุ่มสตรีมีครรภ์และสตรีที่ให้นมบุตร รวมถึงมีการกำหนดเงื่อนไขที่จะต้องติดตามผลผู้ที่ได้รับวัคซีน ทั้งผลข้างเคียง และอาการไม่พึงประสงค์จากการรับวัคซีน
วัคซีนดังกล่าวจะถึงไทยในเดือนกุมภาพันธ์นี้ จำนวน 50,000 โดส จากนั้นทางบริษัท จะทยอยส่งวัคซีนที่เหลืออีก 150,000 โดส ตามมาภายในเดือน มีนาคม และ เมษายน ส่วนแนวทางการฉีดวัคซีนในประเทศไทยนั้นจะเน้นไปที่กลุ่มเสี่ยงก่อน ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว บุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานอยู่ด่านหน้า
นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันมีการขึ้นทะเบียนวัคซีนในสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว 3 ราย โดยปัจจัยสำคัญในการพิจารณาเลือกใช้วัคซีนรายใดคือ มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพที่ยอมรับได้ เนื่องจากสถานการณ์ขณะนี้ตลาดยังเป็นของผู้ขายทำให้วัคซีนมีราคาสูง แต่ยังไม่สามารถตอบได้ว่าวัคซีนที่จะนำมาใช้งานจะมีประสิทธิภาพได้นานแค่ไหน
สำหรับสถานการณ์วัคซีนโควิด-19 ทั่วโลก ข้อมูลจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ระบุว่า ทั่วโลกได้มีการฉีดวัคซีนไปแล้ว 46.2 ล้านโดส ใน 51 ประเทศทั่วโลก เพิ่มขึ้นวันละ 2.35 ล้านโดส โดยสหรัฐอเมริกา ได้รับวัคซีนมากสุด 15.6 ล้านโดส รองลงมา ประเทศจีน 10 ล้านโดส สหราชอาณาจักร 4.72 ล้านโดส อิสราเอล 2.70 ล้านโดส และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 2.01 ล้านโดส
นพ.ทวี ระบุว่า วัคซีนเป็นเครื่องมือเสริมในการควบคุมโรค ไม่ได้ฉีดอาทิตย์ สองอาทิตย์ ถึงเห็นผลแต่ต้องใช้ระยะเวลาเป็นเดือน โดยวัคซีนหลังจากฉีดแล้ว ต้องเข้าสู่มาตรการเดิม คือมาตรการป้องกันตัวเองทางด้านสาธารณสุข โดยวัคซีนที่ทั่วโลกยอมรับกัน เป็นวัคซีนที่ใช้ในภาวะฉุกเฉินไม่ใช่ในภาวะปกติ มีการขึ้นทะเบียนแล้วมี 3 ชนิด รวมถึงมีการศึกษาวิจัยและรอคิวในการขึ้นทะเบียนอีกจำนวนมาก
หลักการของวัคซีนโควิด-19 ที่จะนำมาใช้ ในฐานะหมอเด็กที่มีการใช้วัคซีนมากกว่า 30-40 ปี และวิจัยวัคซีนมา 40 กว่าปี ถือว่า วัคซีนเป็นชีววัตถุที่ฉีดเข้าร่างกาย วัคซีนต้องเป็นสิ่งที่ปลอดภัยเป็นอันดับที่ 1 ถ้าไม่ปลอดภัยจะไม่ใช้ อันดับที่ 2 ต้องมีประสิทธิภาพที่รับได้ เช่น องค์การอนามัยโลกมีการระบุว่า วัคซีนต้องมีประสิทธิภาพร้อยละ 50 ขึ้นไป
อันดับที่ 3 คือราคา เนื่องจากทุกวันนี้วัคซีนเป็นสินค้าที่ผู้ขายมีอำนาจมากกว่าทำให้สินค้ามีราคาสูงมาก แต่หากมีความจำเป็นของประเทศ ฝ่ายรัฐบาลจำเป็นที่จะต้องซื้อให้กับประชาชน เบื้องต้นไม่สามารถฉีดให้กับทุกคนได้ แต่วางเป้าไว้ที่ร้อยละ 50 ถึง 70 ของประชากร
ทั้งนี้ ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนถึงการฉีดวัคซีนเข้าไปแล้วจะสร้างภูมิคุ้มกันขนาดไหนในการป้องกันโควิด-19 เนื่องจากยังคงต้องมีการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง
ในเรื่องของการเตรียมวัคซีนโควิด-19 ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยได้มีการเตรียมพร้อมและหารือมาอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจาก ติดขัดในปัญหาหลายอย่าง เช่น ในเรื่องของกฎหมายถ้าเผื่ออยากได้วัคซีนต้องจองก่อน พอจองเสร็จต้องเสียเงิน หากเสียเงินแล้ววัคซีนชนิดนั้นมีการวิจัยไม่สำเร็จต้อง "เสียเงินฟรี"
นอกจากนี้ สำหรับประเด็นที่ว่า ทำไมต้องเป็น บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน เนื่องจาก 1.การขึ้นทะเบียนวัคซีนที่จะใช้ต้องผ่านการขึ้นทะเบียน โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีการพิจารณาในหลายด้าน ทั้งข้อมูลประสิทธิภาพของวัคซีน ทางด้านคลินิก สถานที่ผลิตของวัคซีน เป็นต้น โดยมีการพิจารณาข้อมูลจากบริษัทแอสตร้าเซเนก้า กว่า 18,000 หน้า ที่สำคัญคือ บริษัทมีนโยบายหลัก คือ "บริษัทแม่ไม่เน้นกำไร แต่จะต้องไม่ขาดทุน" โดยตั้งนโยบายว่าจะช่วยประชากรโลก
ประเทศไทยได้มีการเสนอโรงงานที่จะผลิตให้ บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า เป็นคนเลือกหลายแห่ง โดยบริษัท แอสตร้าเซเนก้า มีเงื่อนไขที่กำหนดไว้ โดย บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า เป็นคนเลือก บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ ในการผลิตวัคซีนโควิด-19 ในครั้งนี้ ตัวบ่งบอกสำคัญทางวิทยาศาสตร์ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ ได้เกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ตามมาตรฐาน ไม่เช่นนั้น บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ไม่เลือกบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ ในการผลิต
จากนั้น เมื่อผลิตวัคซีนเสร็จแล้วจะต้องส่งตัวอย่างให้บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ตรวจสอบ รวมถึงให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นผู้ประเมินคุณภาพด้วย
https://news.trueid.net/detail/DWY7rrGkQaDK
🔴สหรัฐฯพบผู้รับวัคซีนโควิด-19‘โมเดอร์นา’ มีผลข้างเคียงกว่า1,200ราย
วันเสาร์ ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2564, 16.47 น.
23 มกราคม 2564 สำนักข่าวซินหัวรายงาน ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ (CDC) รายงานอาการไม่พึงประสงค์หลังการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ของโมเดอร์นา (Moderna) จากผู้รับวัคซีนมากกว่า 1,200 คน เมื่อนับถึงวันที่ 10 ม.ค. โดยมีอาการภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน 10 คน
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA) ประกาศอนุมัติการใช้งานวัคซีนของโมเดอร์นาในกรณีฉุกเฉินเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2020 ซึ่งแบ่งฉีดเป็น 2 โดส ห่างกัน 1 เดือน
ศูนย์ฯ รายงานว่ามีผู้รับวัคซีนโดสแรกของโมเดอร์นาในสหรัฐฯ แล้ว 4,041,396 คน เมื่อนับถึงวันที่ 10 ม.ค. ก่อนที่ระบบรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากวัคซีน (VAERS) ของสหรัฐฯ ได้รับแจ้งเหตุจากผู้รับวัคซีนกลุ่มดังกล่าวรวม 1,266 ราย โดยในจำนวนนี้ 108 ราย จะถูกตรวจสอบเพิ่มเติมว่าอาจมีโอกาสเกิดอาการแพ้ขั้นรุนแรง ซึ่งรวมถึงอาการภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน
ทั้งนี้ อาการภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลันเป็นอาการแพ้ที่อันตรายถึงชีวิต ซึ่งเกิดขึ้นไม่บ่อยนักหลังการฉีดวัคซีน โดยปกติแล้วจะเริ่มมีอาการภายในไม่กี่นาทีหรือชั่วโมง
ศูนย์ฯ เผยว่าผู้รับวัคซีนที่แจ้งอาการไม่พึงประสงค์ 10 ราย ได้รับการยืนยันแล้วว่ามีอาการภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 2.5 คนต่อผู้รับวัคซีนโมเดอร์นา 1 ล้านคน ขณะที่ช่วงเวลาตั้งแต่รับวัคซีนจนเริ่มมีอาการเฉลี่ยอยู่ที่ 7.5 นาที
ศูนย์ฯ เรียกร้องสถานฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้วัคซีนอย่างเคร่งครัด ซึ่งรวมถึงการตรวจคัดกรองประวัติผู้เข้ารับวัคซีน จัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นและเตรียมเจ้าหน้าที่สำหรับรักษาอาการภูมิแพ้ สังเกตอาการหลังฉีดวัคซีนตามระยะเวลาที่แนะนำ และรักษาผู้ต้องสงสัยว่าจะมีอาการแพ้ทันทีโดยการฉีดอะดรีนาลีนเข้ากล้ามเนื้อ
https://www.naewna.com/inter/547529
ใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังค่ะ...