ต้อกระจก เป็นภาวะการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติที่เกิดจากการขุ่นของ "แก้วตา" หรือ "เลนส์ตา" โดยปกติเลนส์ตาจะมีลักษณะใสทำหน้าที่รวมแสงให้ตกลงบนจอประสาทตาพอดี เมื่อเกิดต้อกระจก จอประสาทตาจะรับแสงได้ไม่เต็มที่ ทำให้สายตาพร่ามัวเหมือนมองผ่านกระจกฝ้า ยิ่งแก้วตาขุ่นมากขึ้น การมองเห็นจะลดน้อยลงตามลำดับ ทั้งนี้ ต้อกระจกจะไม่มีอาการอักเสบหรือเจ็บปวดใดๆ ต้อกระจกมักจะพบในผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุที่เป็นต้อกระจก ในช่วงอายุระหว่าง 55 - 64 ปี จะพบได้ 40% ส่วนช่วงอายุ 65 - 74 ปี จะพบได้ 50% และอายุมากกว่า 74 ปี พบว่าเป็นต้อกระจกมากกว่า 90%
สาเหตุ
1. วัยสูงอายุ คือ สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด แก้วตาจะขุ่นและแข็งตัวเร็วขึ้น แต่ต้อกระจกชนิดนี้อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยที่อายุเพียง 40 ปี
2. อุบัติเหตุ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดต้อกระจกได้ หากดวงตาได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง โดนของมีคม สารเคมี หรือสารรังสี
3. โรคตา หรือ โรคทางร่างกายบางโรค เช่น การติดเชื้อ โรคเบาหวาน การรับประทานยาบางชนิด โรคตาบางโรค อาจจะเป็นสาเหตุหรือกระตุ้นให้ต้อกระจกขุ่นเร็วขึ้นได้
4. กรรมพันธุ์ และความผิดปกติแต่กำเนิด ในกรณีที่พบต้อกระจกในผู้ป่วยที่เยาว์วัย เกิดขึ้นได้จากกรรมพันธุ์ หรือจากการติดเชื้อและการอักเสบตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เช่น มารดาเป็นหัดเยอรมันขณะตั้งครรภ์ แต่ในหลายรายต้อกระจกอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด
อาการ
1. สายตามัวเหมือนมีฝ้า หรือหมอกบัง จะมัวเร็วหรือช้า มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับระดับและตำแหน่งของความขุ่นในเนื้อเลนส์แก้วตา หากเกิดขึ้นเฉพาะบริเวณขอบเลนส์ ผู้ป่วยจะยังคงมองเห็นได้ชัดเจนตามปกติ
2. เห็นภาพซ้อน สายตาพร่า อาการระยะแรกของต้อกระจกในผู้ป่วยบางราย จะมีสายตาสั้นมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ต้องเปลี่ยนแว่นตาบ่อยๆ บางรายสายตาสั้นขึ้นจนอ่านหนังสือได้โดยไม่ต้องใส่แว่น เรียกว่า "สายตากลับ" เมื่อเป็นต้อกระจกรุนแรงขึ้นสายตาจะขุ่นมัวจนแว่นตาก็ไม่สามารถช่วยได้ สังเกตได้จากการมองผ่านรูม่านตา ซึ่งปกติเห็นเป็นสีดำ จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีขาว
3. สู้แสงสว่างไม่ได้
4. มองเห็นสีต่างๆ ผิดเพี้ยนไปจากเดิม
หากละเลยทิ้งไว้จนต้อกระจกสุกเกินไป อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น โรคต้อหิน การอักเสบภายในตา ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดตา ตาแดง และอาจถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้
ขั้นตอนและวิธีการรักษา
จักษุแพทย์จะตรวจวินิจฉัยดวงตาอย่างละเอียด เพื่อแยกชนิด ตำแหน่ง และความรุนแรงของต้อกระจก นอกจากนี้ยังต้องวัดความดันลูกตา ตลอดจนตรวจน้ำวุ้นตากับจอประสาทตาอย่างละเอียด เพื่อให้ทราบแน่ชัดว่าต้อกระจกเป็นสาเหตุเดียวที่ทำให้สายตาขุ่นมัว หรือมีโรคตาอื่นมาประกอบด้วย
ในบางกรณีจักษุแพทย์บางท่านอาจใช้ยาหยอดตา เพื่อชะลอความรุนแรงของต้อกระจก แต่ไม่มียาชนิดใดสามารถลดหรือหยุดต้อกระจกได้ เมื่อสายตาขุ่นมัวจนไม่สะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน ควรทำการผ่าตัด หรือสลายต้อกระจก และใส่เลนส์สังเคราะห์ หรือเลนส์แก้วตาเทียมให้แก่ผู้ป่วย เพื่อให้มองเห็นในระยะไกลได้เป็นปกติ
ต้อกระจก โรคตายอดฮิตในวัยสูงอายุ แต่อายุน้อยก็เป็นได้
สาเหตุ
1. วัยสูงอายุ คือ สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด แก้วตาจะขุ่นและแข็งตัวเร็วขึ้น แต่ต้อกระจกชนิดนี้อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยที่อายุเพียง 40 ปี
2. อุบัติเหตุ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดต้อกระจกได้ หากดวงตาได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง โดนของมีคม สารเคมี หรือสารรังสี
3. โรคตา หรือ โรคทางร่างกายบางโรค เช่น การติดเชื้อ โรคเบาหวาน การรับประทานยาบางชนิด โรคตาบางโรค อาจจะเป็นสาเหตุหรือกระตุ้นให้ต้อกระจกขุ่นเร็วขึ้นได้
4. กรรมพันธุ์ และความผิดปกติแต่กำเนิด ในกรณีที่พบต้อกระจกในผู้ป่วยที่เยาว์วัย เกิดขึ้นได้จากกรรมพันธุ์ หรือจากการติดเชื้อและการอักเสบตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เช่น มารดาเป็นหัดเยอรมันขณะตั้งครรภ์ แต่ในหลายรายต้อกระจกอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด
อาการ
1. สายตามัวเหมือนมีฝ้า หรือหมอกบัง จะมัวเร็วหรือช้า มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับระดับและตำแหน่งของความขุ่นในเนื้อเลนส์แก้วตา หากเกิดขึ้นเฉพาะบริเวณขอบเลนส์ ผู้ป่วยจะยังคงมองเห็นได้ชัดเจนตามปกติ
2. เห็นภาพซ้อน สายตาพร่า อาการระยะแรกของต้อกระจกในผู้ป่วยบางราย จะมีสายตาสั้นมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ต้องเปลี่ยนแว่นตาบ่อยๆ บางรายสายตาสั้นขึ้นจนอ่านหนังสือได้โดยไม่ต้องใส่แว่น เรียกว่า "สายตากลับ" เมื่อเป็นต้อกระจกรุนแรงขึ้นสายตาจะขุ่นมัวจนแว่นตาก็ไม่สามารถช่วยได้ สังเกตได้จากการมองผ่านรูม่านตา ซึ่งปกติเห็นเป็นสีดำ จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีขาว
3. สู้แสงสว่างไม่ได้
4. มองเห็นสีต่างๆ ผิดเพี้ยนไปจากเดิม
หากละเลยทิ้งไว้จนต้อกระจกสุกเกินไป อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น โรคต้อหิน การอักเสบภายในตา ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดตา ตาแดง และอาจถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้
ขั้นตอนและวิธีการรักษา
จักษุแพทย์จะตรวจวินิจฉัยดวงตาอย่างละเอียด เพื่อแยกชนิด ตำแหน่ง และความรุนแรงของต้อกระจก นอกจากนี้ยังต้องวัดความดันลูกตา ตลอดจนตรวจน้ำวุ้นตากับจอประสาทตาอย่างละเอียด เพื่อให้ทราบแน่ชัดว่าต้อกระจกเป็นสาเหตุเดียวที่ทำให้สายตาขุ่นมัว หรือมีโรคตาอื่นมาประกอบด้วย
ในบางกรณีจักษุแพทย์บางท่านอาจใช้ยาหยอดตา เพื่อชะลอความรุนแรงของต้อกระจก แต่ไม่มียาชนิดใดสามารถลดหรือหยุดต้อกระจกได้ เมื่อสายตาขุ่นมัวจนไม่สะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน ควรทำการผ่าตัด หรือสลายต้อกระจก และใส่เลนส์สังเคราะห์ หรือเลนส์แก้วตาเทียมให้แก่ผู้ป่วย เพื่อให้มองเห็นในระยะไกลได้เป็นปกติ