คนพิจิตร โอด คนละครึ่ง เต็มเร็ว! ตื่นเช้ายังไม่ทัน จวก OTP รอนานมาก
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_5775937
คนพิจิตร บ่นเพียบ พลาดลงทะเบียนโครงการ คนละครึ่ง วันนี้ ทั้งที่ตื่นมาเตรียมตัวตั้งแต่นาทีแรก จวก รหัส OTP รอนานจนสิทธิหมดเกลี้ยง
จากกรณี คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติโครงการ "
คนละครึ่ง" รอบเก็บตก เพื่อให้มีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการคนละครึ่งครบ 15 ล้านสิทธิ โดยจะเปิดให้มีการลงทะเบียนคนละครึ่ง 1.34 ล้านสิทธิ ในวันที่ 20 ม.ค.นี้ เวลา 06.00 น. และเริ่มใช้สิทธิวันที่ 25 ม.ค.64 ทันที ทั้งนี้ หลังจากที่กระทรวงการคลังเปิดให้ลวทะเบียน พบว่าไม่ถึง 10 นาที สิทธิโครงการดังกล่าวเต็มแล้ว ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น
วันที่ 20 ม.ค.2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่จ.พิจิตร มีประชาชนได้รับความผิดหวังเป็นจำนวนมาก เนื่องจากตื่นมารอสมัครตั้งแต่นาทีแรกที่เปิดให้ลงทะเบียน แต่กลับพลาดสิทธิไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งหลายรายบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า หลังกรอกข้อมูลทุกอย่างเสร็จสิ้น และรอรับรหัส OTP เพื่อยืนยันสิทธิ ขั้นตอนดังกล่าวเป็นไปอย่างล่าช้า เนื่องจากกว่าทางมือถือค่ายต่าง ๆ จะส่งรหัสกลับมาให้นั้นใช้เวลานานกว่า 10 นาที พอได้รหัส OTP มาก็พบว่าสิทธิในโครงการเต็มแล้ว
จากการสอบถาม น.ส.
พัชราภา (ขอสงวนนามสกุล) กล่าวว่า ตนตื่นมารอสมัครตั้งแต่นาทีแรกทีเปิดให้ลงทะเบียน แต่ก็กลับพลาดอีกเป็นครั้งที่ 2 เนื่องจากไม่ได้รับรหัส OTP เพื่อยืนยันสิทธิ แต่พอได้รหัส OTP สิทธิในโครงการก็เต็ม
คนถกสนั่น เราชนะ ไม่ยอมแจกเงินสด หลายเสียงโอดหวังเอาเงินจ่ายค่าน้ำ-ไฟ
https://money.kapook.com/view236590.html#cxrecs_s
โลกออนไลน์วิจารณ์สนั่น หลังรัฐบาลออกมาตรการ เราชนะ เยียวยาโควิด 19 แต่ให้ใช้จ่ายผ่านแอปฯ ไม่ให้เป็นเงินสด
เราชนะ โครงการเยียวยาโควิด 19 ระลอกใหม่ ของรัฐบาลในวงเงิน 3,500 บาท เป็นเวลา 2 เดือน ซึ่งจะเปิดให้ลงทะเบียนผ่าน www.เราชนะ.com ในวันที่ 29 มกราคม ที่จะถึงนี้ โดยจะเป็นการโอนเงินให้ใช้จ่ายผ่านแอปฯ เป๋าตัง จะไม่สามารถเบิกเป็นเงินสดได้ คล้ายกับโครงการคนละครึ่งนั้น
เกี่ยวกับเรื่องนี้ (19 มกราคม 2564) สังคมออนไลน์ได้มีการพูดถึงเรื่องนี้กันอย่างกว้างขวาง โดย สมาชิกหมายเลข 6105294 เว็บไซต์พันทิปดอทคอม ได้มีการตั้งกระทู้ว่า “
เราชนะ โครงการเยียวยา 3,500 บาท ไม่จ่ายเงินสดมันหมายความว่ายังไง ?”
โดยมีการตั้งคำถามว่า
เราชนะ ทำไมถึงไม่จ่ายเป็นเงินสด ซึ่งส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการที่ไม่แจกเป็นเงินสด เชื่อว่าเกินกว่าครึ่งต้องการเป็นเงิน เพราะการใช้จ่ายปัจจุบัน การกินไม่เท่าไหร่ หนี้สินต่าง ๆ นานา ผ่อนภาระต่าง ๆ คือเจ้าตัวไม่เข้าใจจริง ๆ
ทั้งนี้ หลังกระทู้ดังกล่าวเผยแพร่ออกไปก็มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันจำนวนมาก ซึ่งก็มีทั้งคนที่เห็นด้วยกับความคิดของเจ้าของกระทู้ โดยระบุยกตัวอย่าวเช่น คนจนต่างจังหวัดลำบากมาก บางคนไม่มีมือถือ เพราะทุกที่ในประเทศไม่ได้เจริญเท่ากันหมด
แต่ก็มีบางส่วนเข้ามาอธิบายถึงเหตุผลที่รัฐบาลทำไมถึงไม่แจกเงินสด อาทิ เนื่องจากรัฐมีเจตนาให้เงินเพื่อไปซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค มากกว่านำไปใช้จ่ายอย่างอื่น เพราะอาจบางคนอาจนำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ได้ อาทิ ซื้อเหล้า บุหรี่ หรือนำไปใช้จ่ายหนี้สิน อย่างค่าบ้าน ค่ารถ เป็นภาระที่ก่อขึ้นเอง รวมถึงการแจกเงินสดไปใช้จ่ายนั้นไม่สามารถติดตามการใช้จ่ายได้
อย่างไรก็ตาม
ฐานเศรษฐกิจ รายงานบทสัมภาษณ์ของนายสุพัฒพงษ์ พันธ์มีเชาวร์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงเรื่องนี้ว่า โครงการเราชนะ ที่ไม่ให้เป็นเงินสด เพราะสถานการณ์โควิด 19 จึงไม่อยากให้จับเงินสด แต่เป็นการให้สิทธิ์ ที่รัฐบาลต้องจำกัดสิทธิ์ เพื่อนำไปช่วยเหลือคนตัวเล็กด้วยกันเอง เพราะเงินสดไม่สามารถติดตามการใช้จ่ายได้ การโอนเงินเข้าแอปฯ เป๋าตัง สัปดาห์ละไม่เกิน 1,000 บาท โอนทุกวันพฤหัสบดี ประชาชนไม่จำเป็นต้องใช้เงินหมดภายในสัปดาห์นั้น สามารถสะสมได้ และไม่ได้กำหนดวงเงินที่จะใช้ในแต่ละวันด้วย
พท.ท้วง 'รบ.ตู่' เยียวยา 'เราชนะ' ต้องใช้เงินสด อัดปมไล่ชาวบ้าน ไปซื้อมือถือเอง
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_5774966
'พิชัย' ท้วง 'ประยุทธ์' ประชาชนจำเป็นต้องใช้เงินสด ต้องเปลี่ยนการเยียวยา 'เราชนะ' เป็นเงินสด ชี้ เหตุผลของรัฐบาลเหมือนอยู่คนละโลกกับความจริง
วันนี้ (20 ม.ค.) นาย
พิชัย นริพทะพันธุ์ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทยด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลโดย พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รมว. กลาโหม และ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ได้ออกมาตรการเยียวยา ไทยชนะ ผ่าน ครม. ให้เยียวยาประชาชน เดือนละ 3,500 บาท เป็นเวลา 2 เดือนแล้วนั้น นอกจากจำนวนเงินจะน้อยไป เพราะแค่วันละ 117 บาท เท่านั้น
และระยะเวลาสั้นไปเพราะไม่น่าจะควบคุมสถานการณ์และกลับมาเป็นปกติ ได้ใน 2 เดือนแน่ แล้วรัฐบาลยังกำหนดว่าจะไม่จ่ายเป็นเงินสดแต่จะจ่ายเข้าบัญชีและเบิกเงินสดไม่ได้ นำไปใช้จ่ายได้แบบโครงการคนละครึ่งเท่านั้น ซึ่งสร้างความไม่พอใจกับประชาชนเป็นจำนวนมาก เพราะในภาวะที่ลำบากกันอย่างมากนี้ ประชาชนมีความจำเป็นต้องใช้เงินสดในหลายกรณี ดังนั้นจึงอยากให้ พลเอกประยุทธ์ ได้เร่งปรับเปลี่ยนการจ่ายเยียวยาให้กับประชาชน ให้เป็นเงินสดเพื่อบรรเทาความลำบากของประชาชน
ทั้งนี้ ข้ออ้างของรัฐบาลฟังแล้วเหมือนอยู่คนละโลกกับความเป็นจริงที่ประชาชนกำลังเดือดร้อนกันอย่างมาก การที่ไม่ให้เบิกเงินสดโดยอ้างว่ากลัวประชาชนจะไปซื้อ ล็อตเตอรี่ เหล้า บุหรี่ บ้าง กลัวไวรัสโควิดจะติดมากับเงินสดบ้าง กลัวจะไปใช้จ่ายเอื้อประโยชน์กิจการของเจ้าสัวบ้าง (ซึ่งเรื่องที่เอื้อประโยชน์จำนวนมากกลับไม่พูดถึง) อีกทั้งยังจะจ่ายสัปดาห์ละ 1,000 บาท ติดต่อกัน 7 สัปดาห์
กลัวว่าประชาชนจะใช้เงินหมดเร็ว ซึ่งคิดเหมือนประชาชนไม่มีปัญญาจะบริหารจัดการตัวเองได้ นอกจากนี้ แทนที่จะแจกประชาชนที่กำลังลำบากอย่างทั่วถึง กลับต้องให้ลงทะเบียนผ่านมือถืออีก โดยประชาชนจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้
พอถูกถามเรื่องนี้ รัฐบาลกลับบอกว่าจะมีการติดต่อบริษัทให้มาจำหน่ายโทรศัพท์มือถือให้ในราคาพิเศษ ให้กับคนที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือสามารถซื้อเพื่อลงทะเบียนเข้าโครงการได้ ซึ่งต้องเสียเงินเพิ่มเพื่อซื้อมือถือที่หลายคนโดยเฉพาะผู้สูงอายุอาจจะไม่มีความจำเป็นต้องใช้ และยังต้องมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นแบบไม่สมเหตุสมผล
โดยทั้งหมดนี้ ดูเหมือนรัฐบาลกำลังสับสน ทั้งที่คณะทำงานเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทยได้เตือนรัฐบาลแล้วว่าให้คิดให้ดี คิดให้ครบกรอบ ก่อนที่จะออกมาตรการ อย่าทำแบบ “ทราบแล้วเปลี่ยน” ที่ต้องเปลี่ยนแปลงแนวทางหลายหนเพราะถูกตำหนิมาโดยตลอด แต่อย่างไรก็ดี เรื่องนี้อยากให้รัฐบาลเร่งเปลี่ยนแปลงเป็นการจ่ายเป็นเงินสด เพื่อให้ช่วยประชาชนได้ตรงตามความจำเป็นของประชาชนมากกว่า โดยที่รัฐบาลก็ต้องจ่ายเงินจำนวนนี้อยู่แล้ว ไม่เข้าใจใจว่าจะไปกำหนดให้ประชาชนยุ่งยากเพิ่มขึ้นทำไม กลายเป็นรัฐบาลที่แจกเงินประชาชนแต่กลับโดนประชาชนด่ามาตลอด
นอกจากนี้ การที่รัฐบาลและ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการปล่อยกู้ช่วยเหลือ ธุรกิจ SMEs ให้สะดวกขึ้นง่ายขึ้น ในวงเงิน 5 แสนล้านบาท ที่ปล่อยไปได้เพียง แสนกว่าล้านบาทเท่านั้น แต่ยังมีธุรกิจ SMEs อีกเป็นจำนวนมากยังต้องการความช่วยเหลือ นับเป็นเรื่องที่ดี
และอยากให้เร่งดำเนินการ และอยากให้มีการเพิ่มวงเงินช่วยเหลือธุรกิจ SMEs เพิ่มเติมหากจำเป็น โดยอยากให้รัฐบาลได้ปรึกษากับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการเปลี่ยนวงเงิน 4 แสนล้านเดิม ที่วางแผนจะซื้อพันธบัตรของเอกชน แต่ตอนนี้เชื่อว่าคงยกเลิกแผนการซื้อพันธบัตรของเอกชนนี้ไปแล้วเพราะถูกคนคัดค้านกันมาก ได้ปรับเปลี่ยนวงเงิน 4 แสนล้านบาทดังกล่าว มาเป็นการช่วยเหลือธุรกิจ SMEs แทน
ซึ่งเชื่อว่าธุรกิจ SMEs จำนวนมากยังต้องการความช่วยเหลือ ที่จะประคองตัวให้ผ่านภาวะวิกฤตนี้ไปได้ และจะสามารถฟื้นกลับมาได้อีกครั้งหลังจากเศรษฐกิจไทยสามารถฟื้นกลับมาได้ ทั้งนี้ต้องเลือกด้วยว่าธุรกิจไหนสามารถจะฟื้นได้ โดยรัฐอาจจะต้องเข้าไปรับผิดชอบในหนี้เสียที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต แต่เชื่อว่าคงไม่มากนักหากเศรษฐกิจฟื้นกลับมา และ สามารถเลือกSMEs ที่จะไปรอดให้ดี นอกจากนี้รัฐบาลน่าจะต้องมีโครงการการรักษาการจ้างงานควบคู่กับการช่วยเหลือด้วย เพื่อป้องกันคนจะตกงานเป็นจำนวนมาก ในภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่เช่นนี้ โดยรัฐบาลอาจจะสนับสนุนการจ้างงานบางส่วน
ในภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ทรุดหนักเช่นนี้ และยังไม่มีแนวโน้มที่จะฟื้นได้ รัฐบาลจะต้องเปิดใจรับฟังความเห็นทุกทางเพื่อนำมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขการบริหารประเทศของรัฐบาล อย่ามีอคติคิดว่าจะเป็นการตำหนิ เพราะที่ผ่านมารัฐบาลต้องยอมรับก่อนว่าการบริหารของรัฐบาลล้มเหลวมาโดยตลอด กรอบคิดของรัฐบาลมีปัญหา
หากมองย้อนหลังด้วยใจเป็นธรรม จะพบว่าทุกเรื่องที่ผมได้เตือนมาเป็นความจริงมาโดยตลอดและเป็นไปตามหลักการทางเศรษฐศาสตร์ หากรัฐบาลจะเปิดใจรับฟังและนำไปปรับปรุงน่าจะช่วยได้มาก ซึ่งตอนนี้ก็ควรจะนึกได้แล้วเละควรฟังคำแนะนำของทุกฝ่ายมากขึ้น ก่อนประเทศจะย่ำแย่ไปกว่านี้
JJNY : คนพิจิตรโอดคนละครึ่ง/ถกสนั่น เราชนะ/พท.ท้วงรบ.ตู่ อัดปมไปซื้อมือถือ/โฟกัสแซะเบาๆ'คนละครึ่ง'/เพนกวินอัด'คนละครึ่ง'
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_5775937
คนพิจิตร บ่นเพียบ พลาดลงทะเบียนโครงการ คนละครึ่ง วันนี้ ทั้งที่ตื่นมาเตรียมตัวตั้งแต่นาทีแรก จวก รหัส OTP รอนานจนสิทธิหมดเกลี้ยง
จากกรณี คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติโครงการ "คนละครึ่ง" รอบเก็บตก เพื่อให้มีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการคนละครึ่งครบ 15 ล้านสิทธิ โดยจะเปิดให้มีการลงทะเบียนคนละครึ่ง 1.34 ล้านสิทธิ ในวันที่ 20 ม.ค.นี้ เวลา 06.00 น. และเริ่มใช้สิทธิวันที่ 25 ม.ค.64 ทันที ทั้งนี้ หลังจากที่กระทรวงการคลังเปิดให้ลวทะเบียน พบว่าไม่ถึง 10 นาที สิทธิโครงการดังกล่าวเต็มแล้ว ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น
วันที่ 20 ม.ค.2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่จ.พิจิตร มีประชาชนได้รับความผิดหวังเป็นจำนวนมาก เนื่องจากตื่นมารอสมัครตั้งแต่นาทีแรกที่เปิดให้ลงทะเบียน แต่กลับพลาดสิทธิไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งหลายรายบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า หลังกรอกข้อมูลทุกอย่างเสร็จสิ้น และรอรับรหัส OTP เพื่อยืนยันสิทธิ ขั้นตอนดังกล่าวเป็นไปอย่างล่าช้า เนื่องจากกว่าทางมือถือค่ายต่าง ๆ จะส่งรหัสกลับมาให้นั้นใช้เวลานานกว่า 10 นาที พอได้รหัส OTP มาก็พบว่าสิทธิในโครงการเต็มแล้ว
จากการสอบถาม น.ส.พัชราภา (ขอสงวนนามสกุล) กล่าวว่า ตนตื่นมารอสมัครตั้งแต่นาทีแรกทีเปิดให้ลงทะเบียน แต่ก็กลับพลาดอีกเป็นครั้งที่ 2 เนื่องจากไม่ได้รับรหัส OTP เพื่อยืนยันสิทธิ แต่พอได้รหัส OTP สิทธิในโครงการก็เต็ม
คนถกสนั่น เราชนะ ไม่ยอมแจกเงินสด หลายเสียงโอดหวังเอาเงินจ่ายค่าน้ำ-ไฟ
https://money.kapook.com/view236590.html#cxrecs_s
โลกออนไลน์วิจารณ์สนั่น หลังรัฐบาลออกมาตรการ เราชนะ เยียวยาโควิด 19 แต่ให้ใช้จ่ายผ่านแอปฯ ไม่ให้เป็นเงินสด
เราชนะ โครงการเยียวยาโควิด 19 ระลอกใหม่ ของรัฐบาลในวงเงิน 3,500 บาท เป็นเวลา 2 เดือน ซึ่งจะเปิดให้ลงทะเบียนผ่าน www.เราชนะ.com ในวันที่ 29 มกราคม ที่จะถึงนี้ โดยจะเป็นการโอนเงินให้ใช้จ่ายผ่านแอปฯ เป๋าตัง จะไม่สามารถเบิกเป็นเงินสดได้ คล้ายกับโครงการคนละครึ่งนั้น
เกี่ยวกับเรื่องนี้ (19 มกราคม 2564) สังคมออนไลน์ได้มีการพูดถึงเรื่องนี้กันอย่างกว้างขวาง โดย สมาชิกหมายเลข 6105294 เว็บไซต์พันทิปดอทคอม ได้มีการตั้งกระทู้ว่า “เราชนะ โครงการเยียวยา 3,500 บาท ไม่จ่ายเงินสดมันหมายความว่ายังไง ?”
โดยมีการตั้งคำถามว่า เราชนะ ทำไมถึงไม่จ่ายเป็นเงินสด ซึ่งส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการที่ไม่แจกเป็นเงินสด เชื่อว่าเกินกว่าครึ่งต้องการเป็นเงิน เพราะการใช้จ่ายปัจจุบัน การกินไม่เท่าไหร่ หนี้สินต่าง ๆ นานา ผ่อนภาระต่าง ๆ คือเจ้าตัวไม่เข้าใจจริง ๆ
ทั้งนี้ หลังกระทู้ดังกล่าวเผยแพร่ออกไปก็มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันจำนวนมาก ซึ่งก็มีทั้งคนที่เห็นด้วยกับความคิดของเจ้าของกระทู้ โดยระบุยกตัวอย่าวเช่น คนจนต่างจังหวัดลำบากมาก บางคนไม่มีมือถือ เพราะทุกที่ในประเทศไม่ได้เจริญเท่ากันหมด
แต่ก็มีบางส่วนเข้ามาอธิบายถึงเหตุผลที่รัฐบาลทำไมถึงไม่แจกเงินสด อาทิ เนื่องจากรัฐมีเจตนาให้เงินเพื่อไปซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค มากกว่านำไปใช้จ่ายอย่างอื่น เพราะอาจบางคนอาจนำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ได้ อาทิ ซื้อเหล้า บุหรี่ หรือนำไปใช้จ่ายหนี้สิน อย่างค่าบ้าน ค่ารถ เป็นภาระที่ก่อขึ้นเอง รวมถึงการแจกเงินสดไปใช้จ่ายนั้นไม่สามารถติดตามการใช้จ่ายได้
อย่างไรก็ตาม ฐานเศรษฐกิจ รายงานบทสัมภาษณ์ของนายสุพัฒพงษ์ พันธ์มีเชาวร์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงเรื่องนี้ว่า โครงการเราชนะ ที่ไม่ให้เป็นเงินสด เพราะสถานการณ์โควิด 19 จึงไม่อยากให้จับเงินสด แต่เป็นการให้สิทธิ์ ที่รัฐบาลต้องจำกัดสิทธิ์ เพื่อนำไปช่วยเหลือคนตัวเล็กด้วยกันเอง เพราะเงินสดไม่สามารถติดตามการใช้จ่ายได้ การโอนเงินเข้าแอปฯ เป๋าตัง สัปดาห์ละไม่เกิน 1,000 บาท โอนทุกวันพฤหัสบดี ประชาชนไม่จำเป็นต้องใช้เงินหมดภายในสัปดาห์นั้น สามารถสะสมได้ และไม่ได้กำหนดวงเงินที่จะใช้ในแต่ละวันด้วย
พท.ท้วง 'รบ.ตู่' เยียวยา 'เราชนะ' ต้องใช้เงินสด อัดปมไล่ชาวบ้าน ไปซื้อมือถือเอง
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_5774966
'พิชัย' ท้วง 'ประยุทธ์' ประชาชนจำเป็นต้องใช้เงินสด ต้องเปลี่ยนการเยียวยา 'เราชนะ' เป็นเงินสด ชี้ เหตุผลของรัฐบาลเหมือนอยู่คนละโลกกับความจริง
วันนี้ (20 ม.ค.) นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทยด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รมว. กลาโหม และ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ได้ออกมาตรการเยียวยา ไทยชนะ ผ่าน ครม. ให้เยียวยาประชาชน เดือนละ 3,500 บาท เป็นเวลา 2 เดือนแล้วนั้น นอกจากจำนวนเงินจะน้อยไป เพราะแค่วันละ 117 บาท เท่านั้น
และระยะเวลาสั้นไปเพราะไม่น่าจะควบคุมสถานการณ์และกลับมาเป็นปกติ ได้ใน 2 เดือนแน่ แล้วรัฐบาลยังกำหนดว่าจะไม่จ่ายเป็นเงินสดแต่จะจ่ายเข้าบัญชีและเบิกเงินสดไม่ได้ นำไปใช้จ่ายได้แบบโครงการคนละครึ่งเท่านั้น ซึ่งสร้างความไม่พอใจกับประชาชนเป็นจำนวนมาก เพราะในภาวะที่ลำบากกันอย่างมากนี้ ประชาชนมีความจำเป็นต้องใช้เงินสดในหลายกรณี ดังนั้นจึงอยากให้ พลเอกประยุทธ์ ได้เร่งปรับเปลี่ยนการจ่ายเยียวยาให้กับประชาชน ให้เป็นเงินสดเพื่อบรรเทาความลำบากของประชาชน
ทั้งนี้ ข้ออ้างของรัฐบาลฟังแล้วเหมือนอยู่คนละโลกกับความเป็นจริงที่ประชาชนกำลังเดือดร้อนกันอย่างมาก การที่ไม่ให้เบิกเงินสดโดยอ้างว่ากลัวประชาชนจะไปซื้อ ล็อตเตอรี่ เหล้า บุหรี่ บ้าง กลัวไวรัสโควิดจะติดมากับเงินสดบ้าง กลัวจะไปใช้จ่ายเอื้อประโยชน์กิจการของเจ้าสัวบ้าง (ซึ่งเรื่องที่เอื้อประโยชน์จำนวนมากกลับไม่พูดถึง) อีกทั้งยังจะจ่ายสัปดาห์ละ 1,000 บาท ติดต่อกัน 7 สัปดาห์
กลัวว่าประชาชนจะใช้เงินหมดเร็ว ซึ่งคิดเหมือนประชาชนไม่มีปัญญาจะบริหารจัดการตัวเองได้ นอกจากนี้ แทนที่จะแจกประชาชนที่กำลังลำบากอย่างทั่วถึง กลับต้องให้ลงทะเบียนผ่านมือถืออีก โดยประชาชนจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้
พอถูกถามเรื่องนี้ รัฐบาลกลับบอกว่าจะมีการติดต่อบริษัทให้มาจำหน่ายโทรศัพท์มือถือให้ในราคาพิเศษ ให้กับคนที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือสามารถซื้อเพื่อลงทะเบียนเข้าโครงการได้ ซึ่งต้องเสียเงินเพิ่มเพื่อซื้อมือถือที่หลายคนโดยเฉพาะผู้สูงอายุอาจจะไม่มีความจำเป็นต้องใช้ และยังต้องมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นแบบไม่สมเหตุสมผล
โดยทั้งหมดนี้ ดูเหมือนรัฐบาลกำลังสับสน ทั้งที่คณะทำงานเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทยได้เตือนรัฐบาลแล้วว่าให้คิดให้ดี คิดให้ครบกรอบ ก่อนที่จะออกมาตรการ อย่าทำแบบ “ทราบแล้วเปลี่ยน” ที่ต้องเปลี่ยนแปลงแนวทางหลายหนเพราะถูกตำหนิมาโดยตลอด แต่อย่างไรก็ดี เรื่องนี้อยากให้รัฐบาลเร่งเปลี่ยนแปลงเป็นการจ่ายเป็นเงินสด เพื่อให้ช่วยประชาชนได้ตรงตามความจำเป็นของประชาชนมากกว่า โดยที่รัฐบาลก็ต้องจ่ายเงินจำนวนนี้อยู่แล้ว ไม่เข้าใจใจว่าจะไปกำหนดให้ประชาชนยุ่งยากเพิ่มขึ้นทำไม กลายเป็นรัฐบาลที่แจกเงินประชาชนแต่กลับโดนประชาชนด่ามาตลอด
นอกจากนี้ การที่รัฐบาลและ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการปล่อยกู้ช่วยเหลือ ธุรกิจ SMEs ให้สะดวกขึ้นง่ายขึ้น ในวงเงิน 5 แสนล้านบาท ที่ปล่อยไปได้เพียง แสนกว่าล้านบาทเท่านั้น แต่ยังมีธุรกิจ SMEs อีกเป็นจำนวนมากยังต้องการความช่วยเหลือ นับเป็นเรื่องที่ดี
และอยากให้เร่งดำเนินการ และอยากให้มีการเพิ่มวงเงินช่วยเหลือธุรกิจ SMEs เพิ่มเติมหากจำเป็น โดยอยากให้รัฐบาลได้ปรึกษากับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการเปลี่ยนวงเงิน 4 แสนล้านเดิม ที่วางแผนจะซื้อพันธบัตรของเอกชน แต่ตอนนี้เชื่อว่าคงยกเลิกแผนการซื้อพันธบัตรของเอกชนนี้ไปแล้วเพราะถูกคนคัดค้านกันมาก ได้ปรับเปลี่ยนวงเงิน 4 แสนล้านบาทดังกล่าว มาเป็นการช่วยเหลือธุรกิจ SMEs แทน
ซึ่งเชื่อว่าธุรกิจ SMEs จำนวนมากยังต้องการความช่วยเหลือ ที่จะประคองตัวให้ผ่านภาวะวิกฤตนี้ไปได้ และจะสามารถฟื้นกลับมาได้อีกครั้งหลังจากเศรษฐกิจไทยสามารถฟื้นกลับมาได้ ทั้งนี้ต้องเลือกด้วยว่าธุรกิจไหนสามารถจะฟื้นได้ โดยรัฐอาจจะต้องเข้าไปรับผิดชอบในหนี้เสียที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต แต่เชื่อว่าคงไม่มากนักหากเศรษฐกิจฟื้นกลับมา และ สามารถเลือกSMEs ที่จะไปรอดให้ดี นอกจากนี้รัฐบาลน่าจะต้องมีโครงการการรักษาการจ้างงานควบคู่กับการช่วยเหลือด้วย เพื่อป้องกันคนจะตกงานเป็นจำนวนมาก ในภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่เช่นนี้ โดยรัฐบาลอาจจะสนับสนุนการจ้างงานบางส่วน
ในภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ทรุดหนักเช่นนี้ และยังไม่มีแนวโน้มที่จะฟื้นได้ รัฐบาลจะต้องเปิดใจรับฟังความเห็นทุกทางเพื่อนำมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขการบริหารประเทศของรัฐบาล อย่ามีอคติคิดว่าจะเป็นการตำหนิ เพราะที่ผ่านมารัฐบาลต้องยอมรับก่อนว่าการบริหารของรัฐบาลล้มเหลวมาโดยตลอด กรอบคิดของรัฐบาลมีปัญหา
หากมองย้อนหลังด้วยใจเป็นธรรม จะพบว่าทุกเรื่องที่ผมได้เตือนมาเป็นความจริงมาโดยตลอดและเป็นไปตามหลักการทางเศรษฐศาสตร์ หากรัฐบาลจะเปิดใจรับฟังและนำไปปรับปรุงน่าจะช่วยได้มาก ซึ่งตอนนี้ก็ควรจะนึกได้แล้วเละควรฟังคำแนะนำของทุกฝ่ายมากขึ้น ก่อนประเทศจะย่ำแย่ไปกว่านี้