คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
'บิ๊กตู่'ลั่นเรื่องเงินไม่ใช่ปัญหา โควิดรอบนี้เอาอยู่ คลอด 3 มาตรการเยียวยารอบสอง
เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2563 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม โพสต์ข้อความผ่านเฟขบุ๊กถึงมาตรการเยียวยารอบ 2 จากผลกระทบโควิด-19 ว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า ระลอกใหม่ ที่เกิดขึ้นมาได้ประมาณ 3 สัปดาห์ (ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2563 ) จนถึงวันนี้ ณ ปัจจุบัน ตัวเลขผู้ติดเชื้อแม้จะยังสูง คือ 200-300 คนต่อวัน แต่เป็นการเพิ่มที่ค่อนข้างคงที่ ไม่ได้สูงขึ้นต่อเนื่องทุกวัน อย่างที่เราวิตกในตอนแรก และผู้ติดเชื้อระลอกใหม่นี้ ใช้เวลารักษาหายเร็วขึ้นมากในรอบ 4 วันที่ผ่านมาตั้งแต่วันศุกร์ที่ 9 มกราคม จนถึงวันนี้ เรารักษาหายรวมกันเกือบ 1,500 คน
การระบาดรอบใหม่นี้ เรามีความพร้อมมากกว่าเมื่อปีที่แล้วมาก ทั้งเครื่องมือ อุปกรณ์ ป้องกัน โรงพยาบาล บุคลากร ความรู้ความเข้าใจในการป้องกัน ที่สำคัญมากคือ ความร่วมมือ ความรับผิดชอบของพี่น้องประชาชน ช่วยกันจำกัด การแพร่ระบาด
อย่างไรก็ตาม การที่ยังมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 3 หลักต่อวัน การตรวจหาเชื้อเชิงรุกยังพบผู้ติดเชื้อ มากบ้าง น้อยบ้างในแต่ละวัน แสดงว่า แม้เราจะควบคุมการระบาดระลอกใหม่ได้ในเบื้องต้น แต่ยังต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง ทำให้ลดจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศให้ลดลงมาเหลือสองหลัก หลักเดียว จน ควบคุมได้ในที่สุด
ผมมั่นใจว่า เราจะทำได้แน่นอน เหมือนที่เราเคยทำได้มาแล้ว เรื่อง วัคซีน ผมได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ( อย.) เร่งรัดกระบวนการขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด 19 ให้เร็ว วัคซีนมาถึงแล้ว ฉีดให้ประชาชนได้ทันที โดยเฉพาะ วัคซีน ของ แอสตร้า ซีเนก้า ที่ประเทศไทยได้รับสิทธิให้เป็นผู้ผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย
กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำแผนการฉีดวัคซีนไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นไปตามหลักสากลที่ใช้กันอยู่ คือ เรียงตามลำดับความเสี่ยง กลุ่มบุคลการทางการแพทย์ ผู้สูงวัย ผู้มีโรคประจำตัว คนที่พื้นที่ที่มีการระบาดสูง จะได้รับก่อน เรื่องนี้ เตรียมไว้หมดแล้ว
การระบาดระลอกใหม่ แม้จะไม่มีการปิดสถานที่ต่างๆ เป็นวงกว้าง ไม่มีการจำกัดการเดินทาง การออกนอกเคหสถาน เป็นวงกว้าง เหมือนการระบาดเมื่อต้นปีก่อน กิจกรรมทางเศรษฐกิจ บางส่วนยังดำเนินต่อไปได้ ยอดค่าใช้จ่ายผ่านโครงการ คนละครึ่ง ยังอยู่ในระดับเดียวกับก่อนการระบาด แต่เศรษฐกิจได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน โดยเฉพาะในพื้นที่สีแดง ที่มีการควบคุมระดับสูงสุด ส่งผลต่อรายได้ของผู้ประกอบการ และพนักงาน ลูกจ้าง
รัฐบาลกำลังประเมินสถานการณ์การระบาด เพื่อกำหนดมาตรการดูแลเศรษฐกิจเพิ่มเติมโดยเฉพาะในเรื่อง การช่วยเหลือเงินเยียวยาค่าครองชีพของประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากการะบาดรอบนี้ ผมคาดว่า ภายในสิ้นเดือนมกราคมนี้ เราจะมีความชัดเจน และจะมีมาตรการออกมาได้
ในระหว่างนี้ มาตรการดูแลเศรษฐกิจที่ออกมาก่อนหน้ายังคงมีอยู่ เช่น โครงการคนละครึ่ง โครงการเราเที่ยวด้วยกัน การเพิ่มเงินช่วยเหลือผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ มีมติอนุมัติมาตรการบรรเทาผลกระทบในระยะเร่งด่วน ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ1. มาตรการเสริมสภาพคล่อง บรรเทาภาระหนี้สินของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและประชาชน 2. มาตรการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนผู้ใช้แรงงาน การลดหย่อนเงินสมทบนายจ้าง และผู้ประกันตน เพิ่มสิทธิประโยชน์ การว่างงาน ฯลฯ 3. มาตรการลดค่าใช้จ่ายประชาชน โดยการลดค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และค่าอินเตอร์เน็ต
อีกเรื่องที่ผมจะต้องขอย้ำ คือเรื่องที่รัฐบาลมีเงินเพียงพอสำหรับการดูแลเศรษฐกิจ ในรอบการระบาดใหม่นี้ เพราะเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ตามพระราชกำหนด ให้อำนาจกระทรวงการคลัง กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเยียวยา ฟื้นฟู เศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส โคโรน่า เราใช้ไป 5 แสนกว่าล้านบาท ยังเหลือ ประมาณ 4 .9 แสนล้านบาท
นอกจากนี้ เรายังมี งบกลาง ของงบประมาณ ปี 2564 อีกประมาณ 1.3 แสนล้านบาท ซึ่งใช้ในกรณีฉุกเฉิน และเร่งด่วน รวมกันแล้ว 6 แสนล้านบาท
เรื่องเงินเราไม่มีปัญหา จะใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ ตรงจุด และทันการณ์นั่นคือสิ่งสำคัญกว่า ขอให้พี่น้องประชาชนมั่นใจว่า เรารับมือโควิดได้ รอบแรกนั้น เราไม่มีประสบการณ์ความรู้ แต่เราก็รับมือได้จนเป็นต้นแบบของโลกมาแล้ว ครั้งนี้ด้วยประสบการณ์บวกกับความเชี่ยวชาญของทีมสาธารณสุข และที่สำคัญที่สุดคือ เราทุกคนต้องร่วมมือกัน เราจะผ่านมันไปได้อีกครั้งเหมือนที่เราร่วมมือกันทำสำเร็จมาแล้ว ขอบคุณครับ #รวมไทยสร้างชาติ
https://www.naewna.com/politic/544801
เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2563 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม โพสต์ข้อความผ่านเฟขบุ๊กถึงมาตรการเยียวยารอบ 2 จากผลกระทบโควิด-19 ว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า ระลอกใหม่ ที่เกิดขึ้นมาได้ประมาณ 3 สัปดาห์ (ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2563 ) จนถึงวันนี้ ณ ปัจจุบัน ตัวเลขผู้ติดเชื้อแม้จะยังสูง คือ 200-300 คนต่อวัน แต่เป็นการเพิ่มที่ค่อนข้างคงที่ ไม่ได้สูงขึ้นต่อเนื่องทุกวัน อย่างที่เราวิตกในตอนแรก และผู้ติดเชื้อระลอกใหม่นี้ ใช้เวลารักษาหายเร็วขึ้นมากในรอบ 4 วันที่ผ่านมาตั้งแต่วันศุกร์ที่ 9 มกราคม จนถึงวันนี้ เรารักษาหายรวมกันเกือบ 1,500 คน
การระบาดรอบใหม่นี้ เรามีความพร้อมมากกว่าเมื่อปีที่แล้วมาก ทั้งเครื่องมือ อุปกรณ์ ป้องกัน โรงพยาบาล บุคลากร ความรู้ความเข้าใจในการป้องกัน ที่สำคัญมากคือ ความร่วมมือ ความรับผิดชอบของพี่น้องประชาชน ช่วยกันจำกัด การแพร่ระบาด
อย่างไรก็ตาม การที่ยังมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 3 หลักต่อวัน การตรวจหาเชื้อเชิงรุกยังพบผู้ติดเชื้อ มากบ้าง น้อยบ้างในแต่ละวัน แสดงว่า แม้เราจะควบคุมการระบาดระลอกใหม่ได้ในเบื้องต้น แต่ยังต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง ทำให้ลดจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศให้ลดลงมาเหลือสองหลัก หลักเดียว จน ควบคุมได้ในที่สุด
ผมมั่นใจว่า เราจะทำได้แน่นอน เหมือนที่เราเคยทำได้มาแล้ว เรื่อง วัคซีน ผมได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ( อย.) เร่งรัดกระบวนการขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด 19 ให้เร็ว วัคซีนมาถึงแล้ว ฉีดให้ประชาชนได้ทันที โดยเฉพาะ วัคซีน ของ แอสตร้า ซีเนก้า ที่ประเทศไทยได้รับสิทธิให้เป็นผู้ผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย
กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำแผนการฉีดวัคซีนไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นไปตามหลักสากลที่ใช้กันอยู่ คือ เรียงตามลำดับความเสี่ยง กลุ่มบุคลการทางการแพทย์ ผู้สูงวัย ผู้มีโรคประจำตัว คนที่พื้นที่ที่มีการระบาดสูง จะได้รับก่อน เรื่องนี้ เตรียมไว้หมดแล้ว
การระบาดระลอกใหม่ แม้จะไม่มีการปิดสถานที่ต่างๆ เป็นวงกว้าง ไม่มีการจำกัดการเดินทาง การออกนอกเคหสถาน เป็นวงกว้าง เหมือนการระบาดเมื่อต้นปีก่อน กิจกรรมทางเศรษฐกิจ บางส่วนยังดำเนินต่อไปได้ ยอดค่าใช้จ่ายผ่านโครงการ คนละครึ่ง ยังอยู่ในระดับเดียวกับก่อนการระบาด แต่เศรษฐกิจได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน โดยเฉพาะในพื้นที่สีแดง ที่มีการควบคุมระดับสูงสุด ส่งผลต่อรายได้ของผู้ประกอบการ และพนักงาน ลูกจ้าง
รัฐบาลกำลังประเมินสถานการณ์การระบาด เพื่อกำหนดมาตรการดูแลเศรษฐกิจเพิ่มเติมโดยเฉพาะในเรื่อง การช่วยเหลือเงินเยียวยาค่าครองชีพของประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากการะบาดรอบนี้ ผมคาดว่า ภายในสิ้นเดือนมกราคมนี้ เราจะมีความชัดเจน และจะมีมาตรการออกมาได้
ในระหว่างนี้ มาตรการดูแลเศรษฐกิจที่ออกมาก่อนหน้ายังคงมีอยู่ เช่น โครงการคนละครึ่ง โครงการเราเที่ยวด้วยกัน การเพิ่มเงินช่วยเหลือผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ มีมติอนุมัติมาตรการบรรเทาผลกระทบในระยะเร่งด่วน ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ1. มาตรการเสริมสภาพคล่อง บรรเทาภาระหนี้สินของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและประชาชน 2. มาตรการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนผู้ใช้แรงงาน การลดหย่อนเงินสมทบนายจ้าง และผู้ประกันตน เพิ่มสิทธิประโยชน์ การว่างงาน ฯลฯ 3. มาตรการลดค่าใช้จ่ายประชาชน โดยการลดค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และค่าอินเตอร์เน็ต
อีกเรื่องที่ผมจะต้องขอย้ำ คือเรื่องที่รัฐบาลมีเงินเพียงพอสำหรับการดูแลเศรษฐกิจ ในรอบการระบาดใหม่นี้ เพราะเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ตามพระราชกำหนด ให้อำนาจกระทรวงการคลัง กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเยียวยา ฟื้นฟู เศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส โคโรน่า เราใช้ไป 5 แสนกว่าล้านบาท ยังเหลือ ประมาณ 4 .9 แสนล้านบาท
นอกจากนี้ เรายังมี งบกลาง ของงบประมาณ ปี 2564 อีกประมาณ 1.3 แสนล้านบาท ซึ่งใช้ในกรณีฉุกเฉิน และเร่งด่วน รวมกันแล้ว 6 แสนล้านบาท
เรื่องเงินเราไม่มีปัญหา จะใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ ตรงจุด และทันการณ์นั่นคือสิ่งสำคัญกว่า ขอให้พี่น้องประชาชนมั่นใจว่า เรารับมือโควิดได้ รอบแรกนั้น เราไม่มีประสบการณ์ความรู้ แต่เราก็รับมือได้จนเป็นต้นแบบของโลกมาแล้ว ครั้งนี้ด้วยประสบการณ์บวกกับความเชี่ยวชาญของทีมสาธารณสุข และที่สำคัญที่สุดคือ เราทุกคนต้องร่วมมือกัน เราจะผ่านมันไปได้อีกครั้งเหมือนที่เราร่วมมือกันทำสำเร็จมาแล้ว ขอบคุณครับ #รวมไทยสร้างชาติ
https://www.naewna.com/politic/544801
แสดงความคิดเห็น
🌸มาลาริน/เย้! ไฟเขียวแล้วค่ะ..ด่วน!! ครม.เคาะเยียวยาโควิด รอบ2 "เราชนะ"แจกคนละ 3,500 บาท 2 เดือน "คนละครึ่ง" 1ล้านสิทธิ
➡️นายกรัฐมนตรี แถลงมติที่ประชุมครม.มาตรการเยียวยาโควิด-19 รอบใหม่ ลดค่าใช้จ่าย น้ำ ไฟ เน็ต ให้เยียวยา คนละ 3.5 พัน /คน /เดือน เพิ่มสิทธิคนละครึ่งอีก 1 ล้าน
เมื่อเวลา 13.25 น. วันที่ 12 มกราคม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี วันนี้ ว่า ได้หารือเรื่องหารือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สภาพัฒน์ สำนักงานประมาณ บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่
ประกอบด้วย:....
🌂ลดค่าไฟ 2 เดือน เริ่มรอบบิล ก.พ. และ มี.ค. ไฟบ้าน หากไม่เกิน 150 หน่วย/ เดือน ใช้ฟรี 90 หน่วย หากเกิน 150 หน่วย ให้ฟรีตามที่กำหนด ในกิจการขนาดเล็กใช้ฟรี 50 หน่วยแรก
✏ค่าน้ำประปา ลดค่าน้ำประปาที่อยู่อาศัย กิจการขนาดเล็ก 10 เปอร์เซ็นต์ ในที่อยู่อาศัย เป็นเวลา 2 เดือน เริ่ม ก.พ.และ มี.ค. 64
🌂ค่าอินเทอร์เน็ต สั่งให้กระทวงดีอีเอส หารือร่วม กสทช. จะเพิ่มความเร็วเน็ตบ้าน เน็ตมือถือ สนับสนุนการเวิร์คฟอร์มโฮม และโหลตหมอชนะ DATA ฟรี 3 เดือน
✏อนุมัติโครงการคนละครึ่ง เปิดเพิ่ม 1 ล้านสิทธิ ในช่วงปลายเดือนมกราคม
➡️กระทรวงการคลังอธิบายว่าคนละครึ่งเฟส 1 เหลือ 5 แสนสิทธิ เฟส 2 กำลังตรวจสอบสิทธิคงเหลือ คาดประมาณ 5 แสนสิทธิ
ดังนั้นจึงเหลือ 1 ล้านสิทธิ สัปดาห์หน้าประมวลเข้าครม. พิจารณาอนุมัติใช้เงินกู้ เพื่อทำโครงการคนละครึ่ง ชัดเจนสัปดาห์หน้า กำหนดลงทะเบียน 20 ม.ค.64 เริ่มใช้สิทธิคนละครึ่งรอบใหม่ได้ 25 ม.ค.64
นอกจากนี้ให้เยียวยาผลกระทบทุกกลุ่มให้ครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นแรงงานนอกระบบ อาชีพอิสระ เกษตรกร ให้พิจารณาวงเงินเหมาะสม 3,500 บาท/คน/เดือน เป็นระยะเวลา 2 เดือน ให้ทำรายละเอียดเข้า ครม. สัปดาห์หน้า คาดว่าเริ่มใช้ได้ ปลายมกราคม หรือต้นก.พ.64 ลงทะเบียนผ่าน "โครงการเราชนะ" คาดเปิดลงทะเบียนหลังครม.มีมติในสัปดาห์หน้า (19 ม.ค. 64) เพื่อให้ประชาชนกดเงินได้ภายในสิ้นเดือน ม.ค. หรืออย่างช้า ต้น ก.พ.
ขณะที่ ครม.อนุมัติสินเชื่อหลายโครงการและลดภาระภาษีที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง 90% ลดภาษีต่างๆ รวมถึงการจ้างงาน
ด้านกระทรวงการคลังชี้แจงเพิ่มเติมว่า ยังมีการลดหย่อนเงินสบทบแรงงาน เหลือเพียง 3 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มวงเงินชดเชยเป็นร้อยละ 70 ไม่เกิน 200 วัน กรณีเลิกจ้าง เป็นต้น
ให้สิทธิบริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตน คัดกรองเชิงรุกในโรงงาน
นอกจากนี้ยังเลื่อนใช้สิทธิเราเที่ยวด้วยกันไปถึงเดือนเมษายน 64 และสั่งขยายโครงการ
https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/139986
ขอบคุณแทนประชาชนค่ะ....