ทิฏฐิ62..ตอน-4 : อมราวิกเขปิกทิฏฐิ ๔....พวกนี้เขาเรียกว่า "พวกปลาไหล"..ส่ายไปก็ไล่มา..ไม่รู้จริง

กระทู้คำถาม


อมราวิกเขปิกทิฏฐิ ๔ 

[๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง มีทิฏฐิ ดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูก ถามปัญหาในข้อนั้นๆ 
ย่อมกล่าววาจา ดิ้นได้ไม่ตายตัวด้วยเหตุ ๔ ประการ 

ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญพวกนั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ 
ย่อมกล่าววาจา ดิ้นได้ไม่ตายตัวด้วยเหตุ ๔ ประการ?

===แบบที่-1====
(๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ไม่รู้ชัดตามความเป็น จริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล
เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล ก็ถ้าเราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล จะพึง พยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล หรือนี้เป็นอกุศล คำพยากรณ์นั้นของเราจะพึงเป็นคำเท็จ
คำเท็จของ เรานั้นจะพึงเป็นความเดือดร้อนแก่เรา ความเดือดร้อนของเรานั้นจะพึงเป็นอันตรายแก่เรา
เพราะฉะนั้น เขาจึงไม่กล้าพยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล เพราะกลัวแต่การกล่าวเท็จ เพราะเกลียดการกล่าวเท็จ
เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ จึงกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัวว่า...

" ความเห็น ของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ "

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๑ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีทิฏฐิ ดิ้นได้ไม่ตายตัว
เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว.

===แบบที่-2====
[๔๐] ๑๔. (๒) อนึ่งในฐานะที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิ ดิ้นได้ไม่ตายตัว
เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจา ดิ้นได้ไม่ตายตัว?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็น อกุศล
เขามีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล ก็ถ้าเราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล จะพึงพยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล ความพอใจ ความติดใจ หรือความเคืองใจ
ความขัดใจในข้อนั้น พึงมีแก่เรา ข้อที่มีความพอใจ ความติดใจหรือความเคืองใจ ความขัดใจนั้น
จะพึงเป็นอุปาทานของเรา อุปาทานของเรานั้นจะพึงเป็นความเดือดร้อนแก่เรา ความเดือดร้อนของเรานั้นจะพึง
เป็นอันตราย แก่เรา เพราะฉะนั้นเขาจึงไม่กล้าพยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล เพราะกลัวแต่อุปาทาน
เพราะเกลียดอุปาทาน เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัวว่า....

" ความเห็น ของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ "

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๒ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีทิฏฐิ ดิ้นได้ไม่ตายตัว
เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว.

===แบบที่-3====
 [๔๑] (๓) อนึ่ง ในฐานะที่ ๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว
เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว?

ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็น อกุศล
เขามีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล ก็ถ้าเราไม่รู้ชัดตามความ
เป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล จะพึงพยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล หรือนี้เป็นอกุศล ก็สมณพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญา
ละเอียด ชำนาญการโต้วาทะเป็นดุจคนแม่นธนูมีอยู่แล แม้ว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นเที่ยวทำลายทิฏฐิด้วยปัญญา
เขาจะพึงซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนเราใน ข้อนั้น เราไม่อาจโต้ตอบเขาได้ การที่โต้ตอบเขาไม่ได้นั้น จะพึงเป็น
ความเดือดร้อนแก่เรา ความเดือดร้อนของเรานั้น จะพึงเป็นอันตรายแก่เรา เพราะฉะนั้นเขาจึงไม่กล้าพยากรณ์ว่า
นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล เพราะกลัวแต่การซักถาม เพราะเกลียดแต่การซักถาม เมื่อถูกถาม ปัญหาในข้อนั้นๆ
ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัวว่า.....

" ความเห็นของเราอย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้น ก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ "

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๓ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว
เมื่อถูกถามปัญหา ในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว.

===แบบที่-4====
[๔๒] ๑๖. (๔) อนึ่ง ในฐานะที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว
เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เป็นคนเขลา งมงาย เพราะเขลา เพราะ งมงาย
เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ เขาจึงกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ถ้าท่านถามเราอย่างนี้ว่า โลกหน้ามีหรือ
ถ้าเรามีความเห็นว่า โลกหน้ามี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า โลกหน้ามี แต่ความ เห็นของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่
อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ ถ้าท่านถามเราว่า โลกหน้าไม่มีหรือ ถ้าเรามี
ความเห็นว่าไม่มี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่าไม่มี ... ถ้าท่านถามเราว่า โลกหน้ามีด้วย ไม่มีด้วยหรือ ถ้าเรามี
ความเห็นว่ามีด้วย ไม่มีด้วย เราก็จะ พึงพยากรณ์ว่ามีด้วย ไม่มีด้วย ... ถ้าท่านถามเราว่า โลกหน้ามีก็มิใช่
ไม่มีก็มิใช่หรือ ถ้าเรามี ความเห็นว่า โลกหน้ามีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ เราพึงพยากรณ์ว่า มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ ...
ถ้าท่าน ถามเราว่า สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่ามี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่ามี ... ถ้าท่านถามเราว่า
สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่าไม่มี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่าไม่มี ... ถ้าท่านถามเราว่า สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้น 
มีด้วย ไม่มีด้วยหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่ามีด้วย ไม่มีด้วย เราก็จะพึงพยากรณ์ ว่ามีด้วย ไม่มีด้วย ... ถ้าท่าน
ถามเราว่า สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่หรือ ถ้าเรามี ความเห็นว่ามีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ เราก็จะพึง
พยากรณ์ว่ามีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ ... ถ้าท่านถามเราว่า ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่ามี
 เราก็จะพึงพยากรณ์ว่ามี ... ถ้าท่าน ถามเราว่า ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่าไม่มี
 เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า ไม่มี ... ถ้าท่านถามเราว่า ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่ว มีด้วย ไม่มีด้วยหรือ 
ถ้าเรามีความเห็น ว่า มีด้วย ไม่มีด้วย เราก็จะพึงพยากรณ์ว่ามีด้วย ไม่มีด้วย ... ถ้าท่านถามเราว่า ผลวิบาก 
แห่งกรรมที่ทำดีทำชั่ว มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่หรือ ถ้าเรามีความเห็นว่ามีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ เราก็ จะพึงพยากรณ์ว่า 
มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ ... ถ้าท่านถามเราว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายมีอยู่หรือ ถ้าเรามีความเห็นว่ามีอยู่ เราก็จะพึง
พยากรณ์ว่ามีอยู่ ... ถ้าท่านถามเราว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย ไม่มีอยู่หรือ ถ้าเรามีความเห็นว่าไม่มีอยู่ 
เราก็จะพึงพยากรณ์ว่าไม่มีอยู่ ... ถ้าท่านถามเราว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายมีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วยหรือ 
ถ้าเรามีความเห็นว่า มีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วย เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า มีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วย ... ถ้าท่านถามเราว่า
 สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายมีอยู่ ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่หรือ ถ้าเรามีความเห็นว่ามีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ เ
ราก็จะพึงพยากรณ์ว่า มีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ แต่ความเห็นของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่
 ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๔ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว 
มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจา ดิ้นได้ไม่ตายตัว. 
-------------------

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหา ในข้อนั้นๆ 
ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยเหตุ ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์
พวกใดพวกหนึ่ง มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว 
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ ไม่ตายตัวด้วยเหตุ ๔ ประการนี้เท่านั้น 
หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถืออย่างนั้น แล้ว ยึดอย่างนั้นแล้ว 
ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้
ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น ก็ทราบความเกิดขึ้น ความดับไป คุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย กับทั้งอุบายเป็น
เครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง จึงทราบความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น. 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ 
ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง 
ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.

https://etipitaka.com/read/thai/9/22/



สรุปว่า.....
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่