เพื่อนๆเคยรู้กันมั้ยว่าประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวเหตุการณ์ วัตถุโบราณ บุคคล การสร้างสรรค์อารยธรรม หรือพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ที่มีความเกี่ยวข้องกับ “
เศรษฐกิจไทยก่อนสุโขทัยและเศรษฐกิจในสุโขทัย” เป็นยังไง??
ฟังดูแล้วอาจจะดูเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก และดูไกลตัว แต่เราจะลองคัดเลือกข้อความที่ทุกคนรู้จักและเรียบเรียงให้เข้าใจง่ายดูนะคะ
เรามาเริ่มจากการแบ่งเศรษฐกิจสมัยสุโขทัยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ การค้าขาย เกษตรกรรม การคมนาคม และอุตสาหกรรมกันก่อนเลย
เรามาพูดถึงด้านที่สำคัญ ด้านที่ทุกคนน่าจะคุ้นเคยกันดี นั่นคือ
ด้านการค้าขายกันก่อนเลยค่ะ
“เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหงเมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลาในนามีข้าวเจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงงัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส” ข้อความนี้คาดว่าทุกคนต้องเคยได้ยินมาก่อนบ้างแล้ว มันคือข้อความที่มาจากศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงนั่นเอง!
นี่คือศิลาจารึกที่ปัจจุบันถูกจัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
(แอบดูขลังและน่ากลัวมากๆเลยใช่มั้ยทุกคน 👻)
คำว่า “จกอบ” หรือ “จำกอบ” หรือ “จังกอบ” เป็นภาษาเขมร แปลว่าภาษีชนิดหนึ่งที่เก็บจากผู้นำสัตว์และสิ่งของที่มาจำหน่าย จกอบจะเรียกเก็บจากสินค้าเข้าออกของพ่อค้าที่ค้าขายกันในแหลมทองมาตั้งแต่โบราณ อย่างเช่นในประเทศฟูนันและศรีวิชัย ทุกเมืองในชั้นหลังๆจะดำเนินการมาแบบเดียวกัน การที่พ่อขุนรามคำแหงได้เลิกเก็บจกอบนี้ แสดงว่าพระองค์มุ่งส่งเสริมการค้าขายระหว่างประเทศเป็นการใหญ่ เปิดโอกาสให้พ่อค้าไทยกับต่างประเทศได้นำสินค้าเข้ามาและออกจากอาณาจักรสุโขทัยได้โดยไม่ต้องเสียภาษีอากรใด ๆ ทั้งสิ้นเลยค่ะ
นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่ปรากฏว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงส่งเสริมให้ชาวสุโขทัยนิยมการค้าขายนั้น ปรากฏตามศิลาจารึกตอนหนึ่งว่า
“เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจะใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า”
ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า ทรงเปิดเสรีทุกอย่างในการค้าขายทำให้การค้าขายขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง จนทำให้เกิดแหล่งการค้าสำคัญในสุโขทัยได้แก่ “ตลาดปสาน” ซึ่งถูกพูดถึงในศิลาจารึกด้วยว่า “เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัย มีตลาดปสาน”
ส่วนใน
ด้านเกษตรกรรมนั้น
ประชาชนของอาณาจักรสุโขทัยส่วนใหญ่ยึดอาชีพเกษตรกรรม🌳เป็นหลัก มีการทำนา ทำไร่ ทำสวน พืชหลักๆที่มักจะปลูกกันเป็นส่วนใหญ่จะเป็นอะไรไปไม่ได้เลย นอกจาก ข้าว! และยังมีการปลูกไม้ยืนต้นต่างๆ เช่น มะม่วง มะขาม มะพร้าว หมาก พลู และมีหลักฐานยืนยันความอุดมสมบูรณ์ของการประกอบอาชีพเกษตรกรรมปรากฏอยู่ในหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า “...เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว...”
ต่อกันด้วย
ด้านการคมนาคมเลยค่ะ!
จากหลักฐานในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงทำให้เรารู้ว่าเส้นทางการคมนาคมในสมัยสุโขทัยแบ่งออกเป็น 2 ทางนั่นก็คือ ทางบกและทางน้ำ
ทางบก มีเส้นทางที่สำคัญ 3 เส้นทาง ได้แก่
1. เส้นทางสุโขทัย – เมาะตะมะ เป็นเส้นทางจากสุโขทัยไปตามถนนพระร่วงถึงเมืองกำแพงเพชร จากนั้นมีเส้นทางผ่านเมืองตาก ตัดออกช่องเขาที่แม่สอด ผ่านเมืองเมียวดีไปยังเมืองเมาะตะมะอีกด้วย!
2. เส้นทางสุโขทัย – ตะนาวศรี จะเป็นเส้นทางจากสุโขทัยผ่านเพชรบุรี เมืองกุยบุรี เมืองมะริด จนถึงเมืองตะนาวศรีเลยค่ะ
3. เส้นทางสุโขทัย – เชียงใหม่ จากสุโขทัยผ่านเมืองตาก เมืองลำพูน จนถึงเมืองเชียงใหม่ ไปถึงภาคเหนือกันเล้ยย
ส่วนทางน้ำ มีเส้นทางน้ำ คือ แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง ซึ่งจะไหลลงสู่อ่าวไทยสามแห่ง ทำให้การลำเลียงสินค้าไปต่างประเทศมีหลายทางมากๆเลย
การคมนาคมทางน้ำใต้ประจวบคีรีขันธ์ลงไป เป็นการคมนาคมริมฝั่งทะเลและแม่น้ำลำคลอง ทั้งสายสั้นสายยาวที่ขนานกับฝั่งไปถึงสงขลา ปัตตานี
อาณาจักรสุโขทัยของเราก็ทำหน้าที่ขนถ่ายสินค้าจากดินแดนของเมืองที่ตั้งอยู่นอกเส้นทางโดยรับและส่งต่อไปยังเมืองชายทะเลที่ต้องการสินค้าได้เลยยย!
เรือสำเภา
(เกร็ดความรู้เล็กน้อยเพิ่มเติม✨:เรือสำเภาช่วยให้การค้าขายประสบความสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี หากนำเรือไปตั้งไว้หน้าบ้านจะเป็นการเสริมฮวงจุ้ยด้วยค่ะ🧧⛵️!)
ด้านอุตสาหกรรมสุดปังของเรา
ผลที่ได้จากการศึกษาและขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุหรือวัดมหาธาตุเชลียง วัดชมชื่น และวัดเจ้าจันทร์ เพื่อศึกษาการเริ่มก่อตั้งเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัย เป็นหลักฐานว่า อุตสาหกรรมที่ทำกันมากคือ “อุตสาหกรรมเครื่องถ้วยชาม” ซึ่งเรียกกันว่า “เครื่องสังคโลก”💥
เครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัย
(งดงามมากเลยนะคะเนี่ย คนไทยเรามีฝีมือด้านนี้กันจริงๆ👍🏻)
เพราะพบหลักฐานตุ้มถ่วงดินเผาเป็นจำนวนมาก ซากเตาที่ทำเครื่องสังคโลกที่จังหวัดสุโขทัยปรากฏอยู่ 3 แห่งคือ เตาทุเรียงใกล้วัดพระพายหลวงในเขตอำเภอเมือง หมู่บ้านเกาะน้อยริมลำน้ำยมเหนืออำเภอศรีสัชนาลัย และหมู่บ้านป่ายางเหนือวัดกระฎีรายนอกกำแพงเมืองศรีสัชนาลัยริมลำน้ำยมด้านเหนือ นอกจากจะผลิตเพื่อค้าขายในเมืองแล้วนักประวัติศาสตร์ยังสันนิษฐานว่าคงจะทำเป็นสินค้าส่งไปขายยังต่างประเทศด้วย เพราะได้เคยขุดพบเครื่องเคลือบลักษณะเดียวกับสังคโลกตามท้องถิ่นที่ไกลออกไปอย่างในฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ชวาและหมู่เกาะบอร์เนียว นับได้ว่าเครื่องสังคโลกเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งในสมัยสุโขทัยเลยหล่ะค่ะ
นอกจากนี้ก็มีอุตสาหกรรมหล่อและปั้นพระพุทธรูปเทวรูป อุตสาหกรรมทำเครื่องทองเครื่องเงิน เหมือนที่กล่าวในศิลาจารึกว่ามีการค้าทองค้าเงินเกิดขึ้นในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงเลยค่ะ
และนี่ก็คือประวัติศาสตร์เศรษฐกิจที่เรารวบรวมและเอามาเล่าให้เพื่อนๆฟังกันในวันนี้ ขอบคุณทุกคนที่อ่านมาจนถึงตรงนี้เลยนะคะ สุดยอดมาก✨🤸🏻♂️
เรื่องพวกนี้ที่พวกเราเล่าไป อาจจะยังดูเข้าใจยาก และไม่เห็นภาพมากขนาดนั้น หากใครอยากหาอ่านเพิ่มเติม พวกเราขอแนะนำหนังสือการ์ตูน พวกนี้เลยค่ะ นอกจากจะเข้าใจง่ายแล้ว ยังมีภาพประกอบ เผื่อให้น้องๆหนูๆ หันอ่านไปด้วยกับคุณพ่อคุณแม่ เสริมความรู้เพิ่มเติมค่ะ และไม่ได้มีแค่สมัยสุโขทัยเท่านั้นนะคะ ยังมีอีกหลายสมัยในไทยเลย หากพวกเรามีโอกาสจะมาเล่าเพิ่มเติมสมัยต่างๆให้ฟังกันต่อนะคะ แล้วเจอกันโอกาสหน้าค่าาาา👋
(นี่พวกเราไม่ได้ค่าสปอนเซอร์อะไรเลยนะคะ เห็นว่าดีจริง อยากบอกต่อค่ะ!)
ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยก่อนสุโขทัยและเศรษฐกิจในสุโขทัย
ฟังดูแล้วอาจจะดูเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก และดูไกลตัว แต่เราจะลองคัดเลือกข้อความที่ทุกคนรู้จักและเรียบเรียงให้เข้าใจง่ายดูนะคะ
เรามาเริ่มจากการแบ่งเศรษฐกิจสมัยสุโขทัยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ การค้าขาย เกษตรกรรม การคมนาคม และอุตสาหกรรมกันก่อนเลย
เรามาพูดถึงด้านที่สำคัญ ด้านที่ทุกคนน่าจะคุ้นเคยกันดี นั่นคือด้านการค้าขายกันก่อนเลยค่ะ
“เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหงเมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลาในนามีข้าวเจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงงัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส” ข้อความนี้คาดว่าทุกคนต้องเคยได้ยินมาก่อนบ้างแล้ว มันคือข้อความที่มาจากศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงนั่นเอง!
นี่คือศิลาจารึกที่ปัจจุบันถูกจัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
(แอบดูขลังและน่ากลัวมากๆเลยใช่มั้ยทุกคน 👻)
คำว่า “จกอบ” หรือ “จำกอบ” หรือ “จังกอบ” เป็นภาษาเขมร แปลว่าภาษีชนิดหนึ่งที่เก็บจากผู้นำสัตว์และสิ่งของที่มาจำหน่าย จกอบจะเรียกเก็บจากสินค้าเข้าออกของพ่อค้าที่ค้าขายกันในแหลมทองมาตั้งแต่โบราณ อย่างเช่นในประเทศฟูนันและศรีวิชัย ทุกเมืองในชั้นหลังๆจะดำเนินการมาแบบเดียวกัน การที่พ่อขุนรามคำแหงได้เลิกเก็บจกอบนี้ แสดงว่าพระองค์มุ่งส่งเสริมการค้าขายระหว่างประเทศเป็นการใหญ่ เปิดโอกาสให้พ่อค้าไทยกับต่างประเทศได้นำสินค้าเข้ามาและออกจากอาณาจักรสุโขทัยได้โดยไม่ต้องเสียภาษีอากรใด ๆ ทั้งสิ้นเลยค่ะ
นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่ปรากฏว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงส่งเสริมให้ชาวสุโขทัยนิยมการค้าขายนั้น ปรากฏตามศิลาจารึกตอนหนึ่งว่า
“เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจะใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า”
ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า ทรงเปิดเสรีทุกอย่างในการค้าขายทำให้การค้าขายขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง จนทำให้เกิดแหล่งการค้าสำคัญในสุโขทัยได้แก่ “ตลาดปสาน” ซึ่งถูกพูดถึงในศิลาจารึกด้วยว่า “เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัย มีตลาดปสาน”
ส่วนในด้านเกษตรกรรมนั้น
ประชาชนของอาณาจักรสุโขทัยส่วนใหญ่ยึดอาชีพเกษตรกรรม🌳เป็นหลัก มีการทำนา ทำไร่ ทำสวน พืชหลักๆที่มักจะปลูกกันเป็นส่วนใหญ่จะเป็นอะไรไปไม่ได้เลย นอกจาก ข้าว! และยังมีการปลูกไม้ยืนต้นต่างๆ เช่น มะม่วง มะขาม มะพร้าว หมาก พลู และมีหลักฐานยืนยันความอุดมสมบูรณ์ของการประกอบอาชีพเกษตรกรรมปรากฏอยู่ในหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า “...เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว...”
ต่อกันด้วยด้านการคมนาคมเลยค่ะ!
จากหลักฐานในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงทำให้เรารู้ว่าเส้นทางการคมนาคมในสมัยสุโขทัยแบ่งออกเป็น 2 ทางนั่นก็คือ ทางบกและทางน้ำ
ทางบก มีเส้นทางที่สำคัญ 3 เส้นทาง ได้แก่
1. เส้นทางสุโขทัย – เมาะตะมะ เป็นเส้นทางจากสุโขทัยไปตามถนนพระร่วงถึงเมืองกำแพงเพชร จากนั้นมีเส้นทางผ่านเมืองตาก ตัดออกช่องเขาที่แม่สอด ผ่านเมืองเมียวดีไปยังเมืองเมาะตะมะอีกด้วย!
2. เส้นทางสุโขทัย – ตะนาวศรี จะเป็นเส้นทางจากสุโขทัยผ่านเพชรบุรี เมืองกุยบุรี เมืองมะริด จนถึงเมืองตะนาวศรีเลยค่ะ
3. เส้นทางสุโขทัย – เชียงใหม่ จากสุโขทัยผ่านเมืองตาก เมืองลำพูน จนถึงเมืองเชียงใหม่ ไปถึงภาคเหนือกันเล้ยย
ส่วนทางน้ำ มีเส้นทางน้ำ คือ แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง ซึ่งจะไหลลงสู่อ่าวไทยสามแห่ง ทำให้การลำเลียงสินค้าไปต่างประเทศมีหลายทางมากๆเลย
การคมนาคมทางน้ำใต้ประจวบคีรีขันธ์ลงไป เป็นการคมนาคมริมฝั่งทะเลและแม่น้ำลำคลอง ทั้งสายสั้นสายยาวที่ขนานกับฝั่งไปถึงสงขลา ปัตตานี
อาณาจักรสุโขทัยของเราก็ทำหน้าที่ขนถ่ายสินค้าจากดินแดนของเมืองที่ตั้งอยู่นอกเส้นทางโดยรับและส่งต่อไปยังเมืองชายทะเลที่ต้องการสินค้าได้เลยยย!
เรือสำเภา
(เกร็ดความรู้เล็กน้อยเพิ่มเติม✨:เรือสำเภาช่วยให้การค้าขายประสบความสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี หากนำเรือไปตั้งไว้หน้าบ้านจะเป็นการเสริมฮวงจุ้ยด้วยค่ะ🧧⛵️!)
ด้านอุตสาหกรรมสุดปังของเรา
ผลที่ได้จากการศึกษาและขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุหรือวัดมหาธาตุเชลียง วัดชมชื่น และวัดเจ้าจันทร์ เพื่อศึกษาการเริ่มก่อตั้งเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัย เป็นหลักฐานว่า อุตสาหกรรมที่ทำกันมากคือ “อุตสาหกรรมเครื่องถ้วยชาม” ซึ่งเรียกกันว่า “เครื่องสังคโลก”💥
เครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัย
(งดงามมากเลยนะคะเนี่ย คนไทยเรามีฝีมือด้านนี้กันจริงๆ👍🏻)
เพราะพบหลักฐานตุ้มถ่วงดินเผาเป็นจำนวนมาก ซากเตาที่ทำเครื่องสังคโลกที่จังหวัดสุโขทัยปรากฏอยู่ 3 แห่งคือ เตาทุเรียงใกล้วัดพระพายหลวงในเขตอำเภอเมือง หมู่บ้านเกาะน้อยริมลำน้ำยมเหนืออำเภอศรีสัชนาลัย และหมู่บ้านป่ายางเหนือวัดกระฎีรายนอกกำแพงเมืองศรีสัชนาลัยริมลำน้ำยมด้านเหนือ นอกจากจะผลิตเพื่อค้าขายในเมืองแล้วนักประวัติศาสตร์ยังสันนิษฐานว่าคงจะทำเป็นสินค้าส่งไปขายยังต่างประเทศด้วย เพราะได้เคยขุดพบเครื่องเคลือบลักษณะเดียวกับสังคโลกตามท้องถิ่นที่ไกลออกไปอย่างในฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ชวาและหมู่เกาะบอร์เนียว นับได้ว่าเครื่องสังคโลกเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งในสมัยสุโขทัยเลยหล่ะค่ะ
นอกจากนี้ก็มีอุตสาหกรรมหล่อและปั้นพระพุทธรูปเทวรูป อุตสาหกรรมทำเครื่องทองเครื่องเงิน เหมือนที่กล่าวในศิลาจารึกว่ามีการค้าทองค้าเงินเกิดขึ้นในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงเลยค่ะ
และนี่ก็คือประวัติศาสตร์เศรษฐกิจที่เรารวบรวมและเอามาเล่าให้เพื่อนๆฟังกันในวันนี้ ขอบคุณทุกคนที่อ่านมาจนถึงตรงนี้เลยนะคะ สุดยอดมาก✨🤸🏻♂️
เรื่องพวกนี้ที่พวกเราเล่าไป อาจจะยังดูเข้าใจยาก และไม่เห็นภาพมากขนาดนั้น หากใครอยากหาอ่านเพิ่มเติม พวกเราขอแนะนำหนังสือการ์ตูน พวกนี้เลยค่ะ นอกจากจะเข้าใจง่ายแล้ว ยังมีภาพประกอบ เผื่อให้น้องๆหนูๆ หันอ่านไปด้วยกับคุณพ่อคุณแม่ เสริมความรู้เพิ่มเติมค่ะ และไม่ได้มีแค่สมัยสุโขทัยเท่านั้นนะคะ ยังมีอีกหลายสมัยในไทยเลย หากพวกเรามีโอกาสจะมาเล่าเพิ่มเติมสมัยต่างๆให้ฟังกันต่อนะคะ แล้วเจอกันโอกาสหน้าค่าาาา👋
(นี่พวกเราไม่ได้ค่าสปอนเซอร์อะไรเลยนะคะ เห็นว่าดีจริง อยากบอกต่อค่ะ!)