พรึ่บ! ไฟดับ สถานการณ์แบบนี้พบได้บ่อยเมื่อมีพายุฝนฟ้าคะนอง ทำให้ต้องเตรียมเทียนไขและไฟฉายทุกครั้งที่ฝนตั้งเค้า หากไฟดับในช่วงกลางวันก็อาจจะไม่ลำบากเท่าช่วงกลางคืนครับ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าแทบทุกกิจกรรมของการใช้ชีวิตยุคนี้ จำเป็นต้องพึ่งพาไฟฟ้า เพราะหากไม่มีไฟฟ้าใช้ อาจหมายถึงการไม่สามารถทำงานได้ ส่งผลกระทบถึงระยะเวลาส่งงานทันที เนื้อหานี้
“HomeGuru” มีคำตอบให้กับทุกคำถามไม่ว่าจะเป็นเรื่อง สาเหตุไฟฟ้าดับ หรือเรื่องอื่นๆ เพื่อให้ทุกบ้านได้เตรียมพร้อมรับมือกับสภาวการณ์ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ได้อย่างไร้กังวล
1. สาเหตุไฟฟ้าดับ เกิดจากอะไรบ้าง
อุบัติเหตุและภัยธรรมชาติ เช่น ฝนตกฟ้าคะนองมีฟ้าผ่าลงสายส่งหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า ทำให้ฟิวส์หรืออุปกรณ์ป้องกันบางอย่างชำรุดเสียหาย หรือพายุทำให้กิ่งไม้โยกไปแตะสายไฟฟ้าเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรลงดินชั่วคราวเป็นผลให้ไฟฟ้าดับชั่วครู่ได้ หรือแม้แต่อุบัติเหตุบนท้องถนน ขับขี่รถชนเสาไฟฟ้าล้ม ย่อมส่งผลให้ไฟฟ้าระแวกดังกล่าวดับได้เช่นกัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อ่านความรู้เรื่องระบบไฟเพิ่มเติมได้ที่ เช็คก่อนช็อต 4 สัญญานเตือน ไฟฟ้ากำลังรั่ว
อ่านความรู้เรื่องระบบไฟเพิ่มเติมได้ที่ ไฟตก รู้สาเหตุแก้ไขได้ด้วยตัวเอง
เหตุขัดข้องทางด้านเทคนิคของการไฟฟ้า
อาจมาจากการขัดข้องในส่วนระบบผลิตและส่งกระแสไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เช่น การชำรุดของอุปกรณ์ไฟฟ้าในระบบส่งหรือการลัดวงจรของระบบส่งไฟฟ้า ในส่วนภูมิภาคบางครั้งไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ก็มีทั้งการดับกระแสไฟฟ้าจากสถานการณ์ฉุกเฉิน และการดับกระแสไฟฟ้าเพื่อปฏิบัติงานตามแผนงานที่มีระยะเวลาชัดเจน
ความขัดข้องของระบบไฟฟ้าในบ้าน
อาทิ ไฟฟ้ารั่ว (Ground Fault Circuit) ไฟฟ้าซ็อต จากการการใช้ไฟเกินพิกัดที่ฟิวส์ (กรณีใช้ฟิวส์) จะรองรับได้ หรือขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าไม่สมดุลกับจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าและปริมาณการใช้ไฟ อาการนี้จะสังเกตได้จากไฟดับบ่อย ไฟดับบ้านเดียว หลายๆ ครั้งที่ไฟดับแต่เบรกเกอร์ไม่ตัด เป็นต้น
2. ผลกระทบจากไฟดับ
การใช้ชีวิตในปัจจุบันผูกติดกับการไฟฟ้าแทบทุกกิจกรรม เครื่องอำนวยความสะดวก อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ต่างๆ ไปจนถึงเครื่องมือในการทำงานต่างก็ต้องอาศัยไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อน หากไฟดับบ่อยครั้ง ครั้งละนานๆ ไม่เพียงจะรู้สึกไม่สบายตัว ร้อนอบอ้าวเพราะไม่มีพัดลม เครื่องปรับอากาศ และต้องอยู่ในความมืดทำอะไรไม่สะดวกในช่วงค่ำเท่านั้น บางสถานการณ์อาจอันตรายถึงชีวิตได้ อย่างเช่น ในบ้านมีผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องฟอกอากาศ เครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น นอกจากนี้ยังกระทบกับธุรกิจที่ต้องใช้ไฟฟ้าเป้นหลัก อาทิ ธุรกิจเลี้ยงปลา, งานที่ใช้คอมพิวเตอร์, งานเดินเครื่องจักรและอื่นๆ เมื่อไฟดับย่อมทำให้สินค้าในกระบวนการผลิตเสียหายไม่มากก็น้อย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อ่านความรู้เรื่องปลั๊กไฟเพิ่มเติมได้ที่ วิธีซื้อปลั๊กพ่วง ถ้าเลือกไม่ดีอาจมีไหม้และช็อต
อ่านความรู้เรื่องสายไฟเพิ่มเติมได้ที่ สายไฟหมดอายุ อย่าปล่อยให้สายเกินแก้
3. เมื่อไฟดับต้องทำอย่างไร
อันดับแรกควรตั้งสติมองหาอุปกรณ์ส่องสว่างใกล้มือมาสำรวจความเรียบร้อยในบ้าน แล้วลองสังเกตในละแวกใกล้เคียงดูว่าไฟดับด้วยหรือไม่ ถ้าบ้านเราไฟดับบ้านเดียวหรือดับแค่บางจุดในบ้าน สาเหตุมักมาจากความขัดข้องภายในบ้านเราเอง เช่น ตัวตัดไฟรั่วทำงาน ควรตรวจสอบแผงเมนสวิตช์ของบ้านและสับสวิตช์เครื่องตัดไฟให้เป็นปกติ
ปิดสวิตช์หรือดึงปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟกระชากออกก่อน โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการแรงดันไฟฟ้าให้คงที่ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องปรับอากาศ โทรทัศน์ มิเช่นนั้นหากกระแสไฟกลับกะทันหัน อาจเกิดอาการไฟกระชากทำให้อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นนั้นๆ เสียหายได้
ประหยัดการใช้พลังงานของอุปกรณ์ที่ยังคงทำงาน อาทิ โทรศัพท์ปรับเป็นโหมดประหยัดพลังงาน ปิดแอปพลิเคชันที่ไม่จำเป็นเพื่อยืดการใช้งานแบตเตอรี่ เปิดตู้เย็นให้น้อยที่สุดให้ภายในคงความเย็นให้ยังหลงเหลือพอจะรักษาความสดของอาหารให้ได้นานที่สุด
ในบ้านที่การจ่ายน้ำประปาเชื่อมต่อกับปั๊มน้ำไฟฟ้า หากไฟดับการใช้น้ำจะติดขัดตามมา ควรสำรองน้ำใส่ในถังหรืออ่างน้ำขนาดใหญ่เพื่อใช้เติมสำหรับกดชำระ แต่หากที่บ้านมีถังน้ำสำรองแล้วก็หมดห่วงได้เลยครับ
หากพบว่าบ้านใกล้เรือนเคียงก็ดับเหมือนกันโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ควรแจ้งเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าทันที เพื่อให้รับทราบปัญหาและเร่งช่วยแก้ไขโดยเร็ว อย่าคิดเอาเองว่า คงมีคนโทรแจ้งแล้ว เพราะหากต่างคนต่างคิดตรงกัน อาจไม่มีใครโทรแจ้งเลย
4. ไฟดับแจ้งที่ไหน โทรไปได้เลยที่นี่
การไฟฟ้านครหลวง (กรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ) แจ้งการไฟฟ้านครหลวง MEA โทร. 1130
นอกเหนือจาก 3 จังหวัดดังกล่าวให้แจ้งไปยังการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA โทร. 1129
อย่าลืม! แจ้งชื่อ-นามสกุลหรือชื่อผู้ขอใช้ไฟฟ้า หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ และหมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า 12 หลักที่หาได้จากบิลค่าไฟฟ้า เพราะในตัวเลขจะมีข้อมูลใกล้เคียงสถานที่เกิดเหตุ พิกัดที่อยู่อาศัย ทำให้การติดตามช่วยเหลือและแก้ไขง่ายขึ้น
5. อุปกรณ์สำหรับเตรียมรับมือไฟดับ
ไฟฉาย เทียนไข
อุปกรณ์คู่ไฟดับสุดคลาสสิคที่ทุกบ้านจะมีไว้ให้ความสว่างในยามฉุกเฉิน สำหรับเทียนไขควรเลือกขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ เพื่อให้ความสว่างในพื้นที่กว้าง ฐานสามารถวางตั้งได้มั่นคง และต้องระมัดระวังในการเลือกพื้นที่วางให้ปลอดภัย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อ่านความรู้เรื่องระบบไฟเพิ่มเติมได้ที่ เปลี่ยนสายไฟฟ้า..ก่อนเกิดปัญหาไฟฟ้าลัดวงจร
อ่านความรู้เรื่องระบบไฟเพิ่มเติมได้ที่ ระบบไฟบ้าน 1 เฟส กับ 3 เฟส ต่างกันอย่างไร
เครื่องสำรองไฟ (UPS)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องชั่วคราวในเวลาที่เกิดไฟดับ และจะทำการปรับระดับแรงดันไฟฟ้าให้คงที่อยู่ในระดับที่ปลอดภัย ป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจาก ไฟตก, ไฟกระชากและไฟเกิน
ไฟฉุกเฉิน LED คืออุปกรณ์ให้แสงสว่างสำรองในอาคาร ซึ่งจะติดสว่างขึ้นมาอัตโนมัติเมื่อมีเหตุไฟฟ้าดับ ไฟฉุกเฉินนี้ทำงานโดยอาศัยไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ซึ่งจะชาร์จอยู่กับไฟบ้านตลอดเวลา เพื่อให้พร้อมใช้ทุกครั้งเมื่อเกิดไฟดับ เป็นหนึ่งอุปกรณ์ที่ควรค่าแก่การซื้อติดบ้านไว้ใช้งาน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อ่านความรู้เรื่องระบบไฟเพิ่มเติมได้ที่ ดูแลระบบไฟในบ้านหลังน้ำท่วม
อ่านความรู้เรื่องสายไฟเพิ่มเติมได้ที่ รู้เรื่องสายไฟ ปลอดภัยอย่างมืออาชีพ
พาวเวอร์แบงค์ (Power Bank)
สำหรับชาร์จมือถือ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน สิ่งที่จำเป็นต้องมีในยุคนี้คือโทรศัพท์ติดมือไว้ให้อุ่นใจว่ามีเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร ในอุปกรณ์สมาร์ทโฟนยังมีฟังก์ชันไฟฉายในตัวด้วย แม้จะไม่สว่างเท่าไฟฉายแต่ก็ใช้งานแทนในคราวฉุกเฉินได้ ในบ้านจึงควรมีพาวเวอร์แบงค์ ซึ่งเป็นแบตเตอรี่สำรองความจุมากๆ ให้สามารถใช้โทรศัพท์ได้อย่างต่อเนื่องหลายชั่วโมงจนกว่าไฟฟ้าจะกลับมาเป็นปกติ
ที่บ้านของคุณมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะทำให้ชีวิตง่ายขึ้นช่วงไฟดับกันบ้างหรือยังครับ หากยังไม่มีก็ลองมองหามาไว้ใช้งานกันดู เผื่อเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นก็จะพร้อมแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงทีครับ
HomeGuru by HomePro
อุ่นใจทุกเรื่องบ้านไปกับโฮมโปร และติดตามเคล็ดลับดีๆ เพื่อบ้านได้ทาง
http://bit.ly/HomeGuru_Homepro
และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นปัญหาเรื่องบ้านกับ HomeGuru เพิ่มเติมได้ทาง
https://bit.ly/3dQm4XE
รู้ทัน สาเหตุไฟฟ้าดับ พร้อมวิธีรับมืออย่างมืออาชีพเมื่อไฟดับที่บ้าน
พรึ่บ! ไฟดับ สถานการณ์แบบนี้พบได้บ่อยเมื่อมีพายุฝนฟ้าคะนอง ทำให้ต้องเตรียมเทียนไขและไฟฉายทุกครั้งที่ฝนตั้งเค้า หากไฟดับในช่วงกลางวันก็อาจจะไม่ลำบากเท่าช่วงกลางคืนครับ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าแทบทุกกิจกรรมของการใช้ชีวิตยุคนี้ จำเป็นต้องพึ่งพาไฟฟ้า เพราะหากไม่มีไฟฟ้าใช้ อาจหมายถึงการไม่สามารถทำงานได้ ส่งผลกระทบถึงระยะเวลาส่งงานทันที เนื้อหานี้ “HomeGuru” มีคำตอบให้กับทุกคำถามไม่ว่าจะเป็นเรื่อง สาเหตุไฟฟ้าดับ หรือเรื่องอื่นๆ เพื่อให้ทุกบ้านได้เตรียมพร้อมรับมือกับสภาวการณ์ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ได้อย่างไร้กังวล
1. สาเหตุไฟฟ้าดับ เกิดจากอะไรบ้าง
อุบัติเหตุและภัยธรรมชาติ เช่น ฝนตกฟ้าคะนองมีฟ้าผ่าลงสายส่งหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า ทำให้ฟิวส์หรืออุปกรณ์ป้องกันบางอย่างชำรุดเสียหาย หรือพายุทำให้กิ่งไม้โยกไปแตะสายไฟฟ้าเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรลงดินชั่วคราวเป็นผลให้ไฟฟ้าดับชั่วครู่ได้ หรือแม้แต่อุบัติเหตุบนท้องถนน ขับขี่รถชนเสาไฟฟ้าล้ม ย่อมส่งผลให้ไฟฟ้าระแวกดังกล่าวดับได้เช่นกัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เหตุขัดข้องทางด้านเทคนิคของการไฟฟ้า
อาจมาจากการขัดข้องในส่วนระบบผลิตและส่งกระแสไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เช่น การชำรุดของอุปกรณ์ไฟฟ้าในระบบส่งหรือการลัดวงจรของระบบส่งไฟฟ้า ในส่วนภูมิภาคบางครั้งไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ก็มีทั้งการดับกระแสไฟฟ้าจากสถานการณ์ฉุกเฉิน และการดับกระแสไฟฟ้าเพื่อปฏิบัติงานตามแผนงานที่มีระยะเวลาชัดเจน
ความขัดข้องของระบบไฟฟ้าในบ้าน
อาทิ ไฟฟ้ารั่ว (Ground Fault Circuit) ไฟฟ้าซ็อต จากการการใช้ไฟเกินพิกัดที่ฟิวส์ (กรณีใช้ฟิวส์) จะรองรับได้ หรือขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าไม่สมดุลกับจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าและปริมาณการใช้ไฟ อาการนี้จะสังเกตได้จากไฟดับบ่อย ไฟดับบ้านเดียว หลายๆ ครั้งที่ไฟดับแต่เบรกเกอร์ไม่ตัด เป็นต้น
2. ผลกระทบจากไฟดับ
การใช้ชีวิตในปัจจุบันผูกติดกับการไฟฟ้าแทบทุกกิจกรรม เครื่องอำนวยความสะดวก อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ต่างๆ ไปจนถึงเครื่องมือในการทำงานต่างก็ต้องอาศัยไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อน หากไฟดับบ่อยครั้ง ครั้งละนานๆ ไม่เพียงจะรู้สึกไม่สบายตัว ร้อนอบอ้าวเพราะไม่มีพัดลม เครื่องปรับอากาศ และต้องอยู่ในความมืดทำอะไรไม่สะดวกในช่วงค่ำเท่านั้น บางสถานการณ์อาจอันตรายถึงชีวิตได้ อย่างเช่น ในบ้านมีผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องฟอกอากาศ เครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น นอกจากนี้ยังกระทบกับธุรกิจที่ต้องใช้ไฟฟ้าเป้นหลัก อาทิ ธุรกิจเลี้ยงปลา, งานที่ใช้คอมพิวเตอร์, งานเดินเครื่องจักรและอื่นๆ เมื่อไฟดับย่อมทำให้สินค้าในกระบวนการผลิตเสียหายไม่มากก็น้อย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
3. เมื่อไฟดับต้องทำอย่างไร
อันดับแรกควรตั้งสติมองหาอุปกรณ์ส่องสว่างใกล้มือมาสำรวจความเรียบร้อยในบ้าน แล้วลองสังเกตในละแวกใกล้เคียงดูว่าไฟดับด้วยหรือไม่ ถ้าบ้านเราไฟดับบ้านเดียวหรือดับแค่บางจุดในบ้าน สาเหตุมักมาจากความขัดข้องภายในบ้านเราเอง เช่น ตัวตัดไฟรั่วทำงาน ควรตรวจสอบแผงเมนสวิตช์ของบ้านและสับสวิตช์เครื่องตัดไฟให้เป็นปกติ
ปิดสวิตช์หรือดึงปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟกระชากออกก่อน โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการแรงดันไฟฟ้าให้คงที่ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องปรับอากาศ โทรทัศน์ มิเช่นนั้นหากกระแสไฟกลับกะทันหัน อาจเกิดอาการไฟกระชากทำให้อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นนั้นๆ เสียหายได้
ประหยัดการใช้พลังงานของอุปกรณ์ที่ยังคงทำงาน อาทิ โทรศัพท์ปรับเป็นโหมดประหยัดพลังงาน ปิดแอปพลิเคชันที่ไม่จำเป็นเพื่อยืดการใช้งานแบตเตอรี่ เปิดตู้เย็นให้น้อยที่สุดให้ภายในคงความเย็นให้ยังหลงเหลือพอจะรักษาความสดของอาหารให้ได้นานที่สุด
ในบ้านที่การจ่ายน้ำประปาเชื่อมต่อกับปั๊มน้ำไฟฟ้า หากไฟดับการใช้น้ำจะติดขัดตามมา ควรสำรองน้ำใส่ในถังหรืออ่างน้ำขนาดใหญ่เพื่อใช้เติมสำหรับกดชำระ แต่หากที่บ้านมีถังน้ำสำรองแล้วก็หมดห่วงได้เลยครับ
หากพบว่าบ้านใกล้เรือนเคียงก็ดับเหมือนกันโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ควรแจ้งเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าทันที เพื่อให้รับทราบปัญหาและเร่งช่วยแก้ไขโดยเร็ว อย่าคิดเอาเองว่า คงมีคนโทรแจ้งแล้ว เพราะหากต่างคนต่างคิดตรงกัน อาจไม่มีใครโทรแจ้งเลย
4. ไฟดับแจ้งที่ไหน โทรไปได้เลยที่นี่
การไฟฟ้านครหลวง (กรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ) แจ้งการไฟฟ้านครหลวง MEA โทร. 1130
นอกเหนือจาก 3 จังหวัดดังกล่าวให้แจ้งไปยังการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA โทร. 1129
อย่าลืม! แจ้งชื่อ-นามสกุลหรือชื่อผู้ขอใช้ไฟฟ้า หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ และหมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า 12 หลักที่หาได้จากบิลค่าไฟฟ้า เพราะในตัวเลขจะมีข้อมูลใกล้เคียงสถานที่เกิดเหตุ พิกัดที่อยู่อาศัย ทำให้การติดตามช่วยเหลือและแก้ไขง่ายขึ้น
5. อุปกรณ์สำหรับเตรียมรับมือไฟดับ
ไฟฉาย เทียนไข
อุปกรณ์คู่ไฟดับสุดคลาสสิคที่ทุกบ้านจะมีไว้ให้ความสว่างในยามฉุกเฉิน สำหรับเทียนไขควรเลือกขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ เพื่อให้ความสว่างในพื้นที่กว้าง ฐานสามารถวางตั้งได้มั่นคง และต้องระมัดระวังในการเลือกพื้นที่วางให้ปลอดภัย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เครื่องสำรองไฟ (UPS)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องชั่วคราวในเวลาที่เกิดไฟดับ และจะทำการปรับระดับแรงดันไฟฟ้าให้คงที่อยู่ในระดับที่ปลอดภัย ป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจาก ไฟตก, ไฟกระชากและไฟเกิน
ไฟฉุกเฉิน LED คืออุปกรณ์ให้แสงสว่างสำรองในอาคาร ซึ่งจะติดสว่างขึ้นมาอัตโนมัติเมื่อมีเหตุไฟฟ้าดับ ไฟฉุกเฉินนี้ทำงานโดยอาศัยไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ซึ่งจะชาร์จอยู่กับไฟบ้านตลอดเวลา เพื่อให้พร้อมใช้ทุกครั้งเมื่อเกิดไฟดับ เป็นหนึ่งอุปกรณ์ที่ควรค่าแก่การซื้อติดบ้านไว้ใช้งาน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
พาวเวอร์แบงค์ (Power Bank)
สำหรับชาร์จมือถือ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน สิ่งที่จำเป็นต้องมีในยุคนี้คือโทรศัพท์ติดมือไว้ให้อุ่นใจว่ามีเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร ในอุปกรณ์สมาร์ทโฟนยังมีฟังก์ชันไฟฉายในตัวด้วย แม้จะไม่สว่างเท่าไฟฉายแต่ก็ใช้งานแทนในคราวฉุกเฉินได้ ในบ้านจึงควรมีพาวเวอร์แบงค์ ซึ่งเป็นแบตเตอรี่สำรองความจุมากๆ ให้สามารถใช้โทรศัพท์ได้อย่างต่อเนื่องหลายชั่วโมงจนกว่าไฟฟ้าจะกลับมาเป็นปกติ
ที่บ้านของคุณมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะทำให้ชีวิตง่ายขึ้นช่วงไฟดับกันบ้างหรือยังครับ หากยังไม่มีก็ลองมองหามาไว้ใช้งานกันดู เผื่อเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นก็จะพร้อมแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงทีครับ
HomeGuru by HomePro
อุ่นใจทุกเรื่องบ้านไปกับโฮมโปร และติดตามเคล็ดลับดีๆ เพื่อบ้านได้ทาง http://bit.ly/HomeGuru_Homepro
และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นปัญหาเรื่องบ้านกับ HomeGuru เพิ่มเติมได้ทาง https://bit.ly/3dQm4XE