"#ก่อนคิดลาออกมาทำฟรีแลนซ์ต้องเตรียมใจอะไรบ้าง"
.
ตลอดระยะเวลา 4 ปี ที่ทำอาชีพฟรีแลนซ์มา ได้สัมผัสทุกแง่มุมของอาชีพนี้ค่อนข้างลึกซึ้งมากๆ มีทั้งมุมที่ชอบและไม่ชอบผสมกันอยู่ มุมที่ชอบมากๆ คือ เราสามารถมีรายได้ได้ไม่จำกัดจะรับงานมากแค่ไหนก็ได้ ตราบใดที่เราทำไหว ก็รับไปรัวๆ ยิ่งเราทำงานดีลูกค้าจะแนะนำบอกปากต่อปากจนเราทำไม่ไหว พอเรามีลูกค้าเยอะก็ถึงเวลาเล่นตัวขึ้นค่าจ้างได้ตามที่เราต้องการ แต่ชีวิตไม่ง่ายขนาดนั้นกว่าจะเรียกค่าตัวได้ต้องข้ึนเขาลงเขามาเป็น 100 ลูก
.
.
ครั้งแรกที่รับงานในนามฟรีแลนซ์ ค่าจ้างถ่ายงาน Pre-Wedding 1 วัน ราคา 2,000 บาท มีทีมงาน 4 คน กล้อง 2 ตัว (ช่างภาพฝีมือระดับเทพ) คำถามคือทำไมรับงานนี้ ก็เพราะคนรู้จักจ้างนะซิ กดค่าจ้างซะ กุเครียด 555555 เข็ดหลาบถึงวันนี้
.
.
ครั้งที่สองรับงานเขียนบทความ 500 คำ 50 บาท เขียนกันจนนิ้วล๊อค แบบอดหลับอดนอนมากๆ ปวดหลังสุดๆ เขียนแบบไม่ต้องคิดอะไรทั้งนั้น แค่ปั่นให้ทันก็เก่งแล้ว 5555 เคยปั่นบทความได้มากสุดคือ 20 บท รวม 10,000 คำ ได้ค่าจ้าง 1,000 บาท/วัน ดีใจมากๆ แบงค์พันใบนั้นไปกดที่ตู้ ATM มากอดอยู่ 3 วัน ไม่ใช้เลย ภูมิใจสุดๆ
.
.
ครั้งที่สามรับงานตัดต่อคลิปวิดีโอ 3 คลิป คลิปละ 1 นาที ได้ค่าจ้าง 1,200 บาท งานนี้เริ่มดีขึ้นในแง่เวลาทำงานน้อยลงกับค่าจ้างที่ได้รับ
.
.
ครั้งที่สี่รับงานยิง FB Ads เดือนละ 1,800 บาท ลูกค้าโทรหาทุกวันวันละอย่างต่ำ 3 ครั้ง ตลอดระยะเวลา 30 วัน สายแรกจะมาตอน 7 โมงเช้า สายสุดท้ายตอนเที่ยงคืน (ตกค่าจ้างวันละ 60 บาท) กินข้าวยังไม่พอเลย รับงานนี้มาก็แทบไม่ได้ทำงานอื่นอีกเลย เพราะต้องคอยรับสายโทรศัพท์เพื่ออธิบายว่า ads เป็นอย่างไร แล้วต้องปรับปรุง ads อย่างไรให้ยอดขายเพิ่มขึ้น [งานนี้ทำให้เราเติบโตในสายอาชีพการทำโฆษณา FB มาจนถึงทุกวันนี้] ถ้าว่างจะเล่าให้ฟังถึงความยากลำบากกว่าจะมีวันนี้
.
.
ครั้งที่ห้ารับงานยิง FB Ads เดือนละ 27,000 บาท โห้ดูเยอะกว่าทุกๆ Job ก่อนหน้านี้ ชีวิตน่าจะมาถูกทางละ แต่เปล่าเลย ตอนจบโคตรพลิกล๊อค ลูกค้าต่อขอแบ่งจ่าย 3 งวด สุดท้ายมาจบที่ ราคา 27,000 บาท ดูแลตลอดชีพ แย่กว่าจ๊อบแรกอีก มากกว่ากุเครียดคือกุเพลียหนักเลย 5555+++
.
.
ขอยกแค่ 5 เคส ก็น่าจะทำให้ผู้อ่านเห็นภาพ ว่าอาชีพฟรีแลนซ์ที่ใครๆ อยากกระโดดลงมามันไม่ง่ายเลย ทุกครั้งที่มีเพื่อนมาปรึกษาว่าอยากลาออกจากงานประจำมาทำอาชีพฟรีแลนซ์ดีมั้ย
.
เฮ้ย! อยากตะโกนใส่หน้าเพื่อนดังๆ ว่าหนีไป ทำงานประจำไปดีแล้ว ทำงานประจำเหนื่อยก็จริงแต่การันตีได้เงินทุกสิ้นเดือนพร้อมสวัสดิการและโบนัสทุกสิ้นปี
.
สำหรับงานฟรีแลนซ์ทำงานเหนื่อยจนอยากร้องขอชีวิตทุกวัน และสิ้นเดือนลูกค้าอาจจะเบี้ยวค่าจ้าง จ่ายช้า หรือไม่จ่ายเลย ไม่มีสวัสดิการ ไม่มีโบนัส สูงสุดคือ เราต้องทำงานจนไม่ได้นอน ไม่มีวันหยุด ไม่มีวันพักใดๆ ขนาดไปหาหมอลูกค้ายังโทรตามงาน
.
.
.
มีคำถาม 4 ข้อ จากเพื่อนที่กำลังทำงานประจำแล้วอยากจะลาออกมาทำอาชีพฟรีแลนซ์ จึงถือโอกาสเขียนเป็นบทความขึ้นมาให้ผู้อ่านท่านอื่นได้อ่านด้วยเลยทีเดียว
.
.
1.] Q : ทักษะอะไรสำคัญที่สุดในการออกมาทำธุรกิจของตนเอง?
A : ทักษะการขาย หมายรวมถึง การขายตัวเอง และ การขายสินค้า
เราเป็นคนหนึ่งที่ตกงานแบบไม่ได้ตั้งตัว พร้อมภาระหนี้สิน ไม่ได้เตรียมพร้อมใดๆ ทั้งสิ้น ทันทีที่รู้ตัวว่ากำลังจะไม่มีรายได้แต่ต้องมีรายจ่ายแน่ๆ เมื่อถึงสิ้นเดือน แว๊บแรกในหัวคือหยิบปากกามาเขียนเลยว่าสิ้นเดือนต้องหาเงินให้ได้เท่าไรเพื่อจะครอบคลุมทุกค่าใช้จ่าย เมื่อได้ตัวเลขออกมาแล้ว ก็โทรไปหาเจ้าหนี้ก่อนเลยบอกตรงๆ ว่าตกงาน แต่จะรีบหาเงินมาชำระหนี้ให้ได้ตามเวลาที่กำหนดทุกสิ้นเดือนเหมือนเดิม
.
ต่อจากนั้นก็เขียนความสามารถทั้งหมดที่เราทำได้ออกมา และก็โทรไปขายตัวเองตามเบอร์โทรที่เมมไว้ในมือถือของเรา โทรไปทั้งหมดเกือบ 20 สาย ได้มา 2 งาน เย้ 5555
ความรู้สึกตอนนั้นคือปลดล๊อค จนเกิดวลีนี้ในสมอง ว่า “ความร้อนเงิน จะทำให้เรากล้าเผชิญกับทุกปัญหาและอุปสรรคเอง” ขอบคุณคุณลูกค้าทั้ง 2 ท่าน อีกครั้ง ที่จ้างงานหนูในวันนั้น ไม่งั้นไม่รอดมาจนถึงทุกวันนี้แน่
.
.
2.] Q : ชีวิตฟรีแลนซ์เหมือนกับภาพที่หลายๆ คนคิดไหมครับ? (ทำงานที่ไหนก็ได้, ไม่ต้องตื่นเช้า, อยากไปไหนก็ไปได้ตลอดเวลา)
A : ภาพที่คนนอกมองเข้ามาจะรู้สึกอิจฉาชีวิตฟรีแลนซ์เพราะคิดไปเองว่าชีวิตฟรีแลนซ์เต็มไปด้วยความอิสระเสรีในชีวิต แต่ความเป็นจริงแล้ว ชีวิตฟรีแลนซ์เต็มไปด้วยการทำงานหนักหามรุ่งหามค่ำ ทำทุกอย่างด้วยตัวเอง
.
ตั้งแต่ หางาน-ขายงานเอง เตรียมพรีเซ็นต์-รายงานเอง ทำงานเอง ร่างสัญญาจ้างเอง ทำบัญชีเอง วางบิล-เก็บเงินเอง ทวงเงินลูกค้าเอง ค่อยรับโทรศัพท์ลูกค้าตอนงานมีปัญหาเอง ประสานงานกับแผนกอื่นเอง ภาระงานทั้งหมดต่อลูกค้าเพียงหนึ่งรายเท่านั้น
.
ถ้าอยากได้รายได้ที่มากขึ้นก็ต้องรับลูกค้าเพิ่มอีก รับงานให้มากที่สุดเท่าที่ทำไหว และยังคงคุณภาพงานให้อยู่ในเกณฑ์ KPI ที่ตกลงกับลูกค้าไว้ อย่าลืมว่า ชีวิตฟรีแลนซ์จะถูกประเมินผลงานจากความสำเร็จของงานไม่ใช่แค่งานเสร็จเพียงอย่างเดียว
.
และสิ่งสำคัญที่สุด เราต้องทำอย่างไรก็ได้ให้ลูกค้ารู้สึกว่าเราเป็นโลกทั้งใบของเขา คือขาดเราไม่ได้นั้นเอง ผลงานเชิงประจักษ์จับต้องได้ลูกค้าต้องเห็นสิ่งนั้น แล้วลูกค้าจะจ้างเราไปเรื่อยๆ ขอต่อสัญญาตลอด
.
อีกสิ่งที่ขาดไม่ได้ถ้าอยากทำอาชีพฟรีแลนซ์ด้วยความสบายใจคือ ซื้อประกันสุขภาพ เตรียมรอเอาไว้เลย พร้อมกับทุกครั้งที่ได้รายได้มาแนะนำให้แบ่งเงิน 50% มาออม สำรองไว้ในวันที่เราอาจตกงานกระทันหัน
.
.
3.] Q : เคยท้อแท้ที่สุดตอนไหนครับ? แล้วทำอย่างไรจึงจะผ่านช่วงเวลานั้นได้?
A : ท้อแท้สุดตอนตกงาน รู้สึกว่า นี่เราทำงานแย่ขนาดนั้นเลยหรอ แต่ด้วยภาระหนี้สินที่ต้องหามาจ่ายให้ทันสิ้นเดือนก็ทำให้เวลาทุกข์ใจมีไม่มาก แล้วก็ให้กำลังใจตัวเองด้วยการทำงานเพื่อพิสูจน์ตัวเองว่า เราไม่ได้แย่หรอก แค่เราไม่เหมาะกับที่นี่ก็เท่านั้น ก็เริ่มมีกำลังใจมากขึ้น มั่นใจในตัวเองมากขึ้นมากๆ ว่าทุกงานทำได้เอาอยู่ จนถึงทุกวันนี้ก็เข้าใจการทำงานร่วมกับผู้อื่นมากขึ้นว่า เราต้องเลือกผู้ร่วมงานที่เคมีตรงกับเราด้วยถึงงานนั้นจะสำเร็จได้ไม่ยากนัก
.
.
4.] Q : ถ้าฝากถึงคนที่กำลังออกมาทำธุรกิจของตนเอง อยากฝากว่าอะไรครับ?
A : อยากฝาก 3 ข้อนี้
1.มีงานเสริมที่สร้างรายได้ให้เราเท่ากับหรือมากกว่ารายได้จากงานประจำต่อเนื่องมาอย่างน้อย 1 ปี
2.มีเงินสำรองอย่างน้อย 24 เดือน
3.ถ้าเป็นไปได้ควรมีหนี้สินน้อยที่สุด หรือไม่มีเลย จะดีมาก
.
.
ถ้ามีครบ 3 ข้อนี้ ค่อนข้างปลอดภัย สบายใจ ลดความกดดันได้เยอะมาก ถ้าจะลาออกมาเป็นฟรีแลนซ์หรือทำธุรกิจส่วนตัวก็ตามที
.
ขอให้ผู้อ่านทุกท่านสุขภาพแข็งแรงสู้โรคโควิดและยังคงมีรายได้อย่างสม่ำเสมอนะคะ
.
#nuchainukoolblog
"#ก่อนคิดลาออกมาทำฟรีแลนซ์ต้องเตรียมใจอะไรบ้าง"
"#ก่อนคิดลาออกมาทำฟรีแลนซ์ต้องเตรียมใจอะไรบ้าง"
.
ตลอดระยะเวลา 4 ปี ที่ทำอาชีพฟรีแลนซ์มา ได้สัมผัสทุกแง่มุมของอาชีพนี้ค่อนข้างลึกซึ้งมากๆ มีทั้งมุมที่ชอบและไม่ชอบผสมกันอยู่ มุมที่ชอบมากๆ คือ เราสามารถมีรายได้ได้ไม่จำกัดจะรับงานมากแค่ไหนก็ได้ ตราบใดที่เราทำไหว ก็รับไปรัวๆ ยิ่งเราทำงานดีลูกค้าจะแนะนำบอกปากต่อปากจนเราทำไม่ไหว พอเรามีลูกค้าเยอะก็ถึงเวลาเล่นตัวขึ้นค่าจ้างได้ตามที่เราต้องการ แต่ชีวิตไม่ง่ายขนาดนั้นกว่าจะเรียกค่าตัวได้ต้องข้ึนเขาลงเขามาเป็น 100 ลูก
.
.
ครั้งแรกที่รับงานในนามฟรีแลนซ์ ค่าจ้างถ่ายงาน Pre-Wedding 1 วัน ราคา 2,000 บาท มีทีมงาน 4 คน กล้อง 2 ตัว (ช่างภาพฝีมือระดับเทพ) คำถามคือทำไมรับงานนี้ ก็เพราะคนรู้จักจ้างนะซิ กดค่าจ้างซะ กุเครียด 555555 เข็ดหลาบถึงวันนี้
.
.
ครั้งที่สองรับงานเขียนบทความ 500 คำ 50 บาท เขียนกันจนนิ้วล๊อค แบบอดหลับอดนอนมากๆ ปวดหลังสุดๆ เขียนแบบไม่ต้องคิดอะไรทั้งนั้น แค่ปั่นให้ทันก็เก่งแล้ว 5555 เคยปั่นบทความได้มากสุดคือ 20 บท รวม 10,000 คำ ได้ค่าจ้าง 1,000 บาท/วัน ดีใจมากๆ แบงค์พันใบนั้นไปกดที่ตู้ ATM มากอดอยู่ 3 วัน ไม่ใช้เลย ภูมิใจสุดๆ
.
.
ครั้งที่สามรับงานตัดต่อคลิปวิดีโอ 3 คลิป คลิปละ 1 นาที ได้ค่าจ้าง 1,200 บาท งานนี้เริ่มดีขึ้นในแง่เวลาทำงานน้อยลงกับค่าจ้างที่ได้รับ
.
.
ครั้งที่สี่รับงานยิง FB Ads เดือนละ 1,800 บาท ลูกค้าโทรหาทุกวันวันละอย่างต่ำ 3 ครั้ง ตลอดระยะเวลา 30 วัน สายแรกจะมาตอน 7 โมงเช้า สายสุดท้ายตอนเที่ยงคืน (ตกค่าจ้างวันละ 60 บาท) กินข้าวยังไม่พอเลย รับงานนี้มาก็แทบไม่ได้ทำงานอื่นอีกเลย เพราะต้องคอยรับสายโทรศัพท์เพื่ออธิบายว่า ads เป็นอย่างไร แล้วต้องปรับปรุง ads อย่างไรให้ยอดขายเพิ่มขึ้น [งานนี้ทำให้เราเติบโตในสายอาชีพการทำโฆษณา FB มาจนถึงทุกวันนี้] ถ้าว่างจะเล่าให้ฟังถึงความยากลำบากกว่าจะมีวันนี้
.
.
ครั้งที่ห้ารับงานยิง FB Ads เดือนละ 27,000 บาท โห้ดูเยอะกว่าทุกๆ Job ก่อนหน้านี้ ชีวิตน่าจะมาถูกทางละ แต่เปล่าเลย ตอนจบโคตรพลิกล๊อค ลูกค้าต่อขอแบ่งจ่าย 3 งวด สุดท้ายมาจบที่ ราคา 27,000 บาท ดูแลตลอดชีพ แย่กว่าจ๊อบแรกอีก มากกว่ากุเครียดคือกุเพลียหนักเลย 5555+++
.
.
ขอยกแค่ 5 เคส ก็น่าจะทำให้ผู้อ่านเห็นภาพ ว่าอาชีพฟรีแลนซ์ที่ใครๆ อยากกระโดดลงมามันไม่ง่ายเลย ทุกครั้งที่มีเพื่อนมาปรึกษาว่าอยากลาออกจากงานประจำมาทำอาชีพฟรีแลนซ์ดีมั้ย
.
เฮ้ย! อยากตะโกนใส่หน้าเพื่อนดังๆ ว่าหนีไป ทำงานประจำไปดีแล้ว ทำงานประจำเหนื่อยก็จริงแต่การันตีได้เงินทุกสิ้นเดือนพร้อมสวัสดิการและโบนัสทุกสิ้นปี
.
สำหรับงานฟรีแลนซ์ทำงานเหนื่อยจนอยากร้องขอชีวิตทุกวัน และสิ้นเดือนลูกค้าอาจจะเบี้ยวค่าจ้าง จ่ายช้า หรือไม่จ่ายเลย ไม่มีสวัสดิการ ไม่มีโบนัส สูงสุดคือ เราต้องทำงานจนไม่ได้นอน ไม่มีวันหยุด ไม่มีวันพักใดๆ ขนาดไปหาหมอลูกค้ายังโทรตามงาน
.
.
.
มีคำถาม 4 ข้อ จากเพื่อนที่กำลังทำงานประจำแล้วอยากจะลาออกมาทำอาชีพฟรีแลนซ์ จึงถือโอกาสเขียนเป็นบทความขึ้นมาให้ผู้อ่านท่านอื่นได้อ่านด้วยเลยทีเดียว
.
.
1.] Q : ทักษะอะไรสำคัญที่สุดในการออกมาทำธุรกิจของตนเอง?
A : ทักษะการขาย หมายรวมถึง การขายตัวเอง และ การขายสินค้า
เราเป็นคนหนึ่งที่ตกงานแบบไม่ได้ตั้งตัว พร้อมภาระหนี้สิน ไม่ได้เตรียมพร้อมใดๆ ทั้งสิ้น ทันทีที่รู้ตัวว่ากำลังจะไม่มีรายได้แต่ต้องมีรายจ่ายแน่ๆ เมื่อถึงสิ้นเดือน แว๊บแรกในหัวคือหยิบปากกามาเขียนเลยว่าสิ้นเดือนต้องหาเงินให้ได้เท่าไรเพื่อจะครอบคลุมทุกค่าใช้จ่าย เมื่อได้ตัวเลขออกมาแล้ว ก็โทรไปหาเจ้าหนี้ก่อนเลยบอกตรงๆ ว่าตกงาน แต่จะรีบหาเงินมาชำระหนี้ให้ได้ตามเวลาที่กำหนดทุกสิ้นเดือนเหมือนเดิม
.
ต่อจากนั้นก็เขียนความสามารถทั้งหมดที่เราทำได้ออกมา และก็โทรไปขายตัวเองตามเบอร์โทรที่เมมไว้ในมือถือของเรา โทรไปทั้งหมดเกือบ 20 สาย ได้มา 2 งาน เย้ 5555
ความรู้สึกตอนนั้นคือปลดล๊อค จนเกิดวลีนี้ในสมอง ว่า “ความร้อนเงิน จะทำให้เรากล้าเผชิญกับทุกปัญหาและอุปสรรคเอง” ขอบคุณคุณลูกค้าทั้ง 2 ท่าน อีกครั้ง ที่จ้างงานหนูในวันนั้น ไม่งั้นไม่รอดมาจนถึงทุกวันนี้แน่
.
.
2.] Q : ชีวิตฟรีแลนซ์เหมือนกับภาพที่หลายๆ คนคิดไหมครับ? (ทำงานที่ไหนก็ได้, ไม่ต้องตื่นเช้า, อยากไปไหนก็ไปได้ตลอดเวลา)
A : ภาพที่คนนอกมองเข้ามาจะรู้สึกอิจฉาชีวิตฟรีแลนซ์เพราะคิดไปเองว่าชีวิตฟรีแลนซ์เต็มไปด้วยความอิสระเสรีในชีวิต แต่ความเป็นจริงแล้ว ชีวิตฟรีแลนซ์เต็มไปด้วยการทำงานหนักหามรุ่งหามค่ำ ทำทุกอย่างด้วยตัวเอง
.
ตั้งแต่ หางาน-ขายงานเอง เตรียมพรีเซ็นต์-รายงานเอง ทำงานเอง ร่างสัญญาจ้างเอง ทำบัญชีเอง วางบิล-เก็บเงินเอง ทวงเงินลูกค้าเอง ค่อยรับโทรศัพท์ลูกค้าตอนงานมีปัญหาเอง ประสานงานกับแผนกอื่นเอง ภาระงานทั้งหมดต่อลูกค้าเพียงหนึ่งรายเท่านั้น
.
ถ้าอยากได้รายได้ที่มากขึ้นก็ต้องรับลูกค้าเพิ่มอีก รับงานให้มากที่สุดเท่าที่ทำไหว และยังคงคุณภาพงานให้อยู่ในเกณฑ์ KPI ที่ตกลงกับลูกค้าไว้ อย่าลืมว่า ชีวิตฟรีแลนซ์จะถูกประเมินผลงานจากความสำเร็จของงานไม่ใช่แค่งานเสร็จเพียงอย่างเดียว
.
และสิ่งสำคัญที่สุด เราต้องทำอย่างไรก็ได้ให้ลูกค้ารู้สึกว่าเราเป็นโลกทั้งใบของเขา คือขาดเราไม่ได้นั้นเอง ผลงานเชิงประจักษ์จับต้องได้ลูกค้าต้องเห็นสิ่งนั้น แล้วลูกค้าจะจ้างเราไปเรื่อยๆ ขอต่อสัญญาตลอด
.
อีกสิ่งที่ขาดไม่ได้ถ้าอยากทำอาชีพฟรีแลนซ์ด้วยความสบายใจคือ ซื้อประกันสุขภาพ เตรียมรอเอาไว้เลย พร้อมกับทุกครั้งที่ได้รายได้มาแนะนำให้แบ่งเงิน 50% มาออม สำรองไว้ในวันที่เราอาจตกงานกระทันหัน
.
.
3.] Q : เคยท้อแท้ที่สุดตอนไหนครับ? แล้วทำอย่างไรจึงจะผ่านช่วงเวลานั้นได้?
A : ท้อแท้สุดตอนตกงาน รู้สึกว่า นี่เราทำงานแย่ขนาดนั้นเลยหรอ แต่ด้วยภาระหนี้สินที่ต้องหามาจ่ายให้ทันสิ้นเดือนก็ทำให้เวลาทุกข์ใจมีไม่มาก แล้วก็ให้กำลังใจตัวเองด้วยการทำงานเพื่อพิสูจน์ตัวเองว่า เราไม่ได้แย่หรอก แค่เราไม่เหมาะกับที่นี่ก็เท่านั้น ก็เริ่มมีกำลังใจมากขึ้น มั่นใจในตัวเองมากขึ้นมากๆ ว่าทุกงานทำได้เอาอยู่ จนถึงทุกวันนี้ก็เข้าใจการทำงานร่วมกับผู้อื่นมากขึ้นว่า เราต้องเลือกผู้ร่วมงานที่เคมีตรงกับเราด้วยถึงงานนั้นจะสำเร็จได้ไม่ยากนัก
.
.
4.] Q : ถ้าฝากถึงคนที่กำลังออกมาทำธุรกิจของตนเอง อยากฝากว่าอะไรครับ?
A : อยากฝาก 3 ข้อนี้
1.มีงานเสริมที่สร้างรายได้ให้เราเท่ากับหรือมากกว่ารายได้จากงานประจำต่อเนื่องมาอย่างน้อย 1 ปี
2.มีเงินสำรองอย่างน้อย 24 เดือน
3.ถ้าเป็นไปได้ควรมีหนี้สินน้อยที่สุด หรือไม่มีเลย จะดีมาก
.
.
ถ้ามีครบ 3 ข้อนี้ ค่อนข้างปลอดภัย สบายใจ ลดความกดดันได้เยอะมาก ถ้าจะลาออกมาเป็นฟรีแลนซ์หรือทำธุรกิจส่วนตัวก็ตามที
.
ขอให้ผู้อ่านทุกท่านสุขภาพแข็งแรงสู้โรคโควิดและยังคงมีรายได้อย่างสม่ำเสมอนะคะ
.
#nuchainukoolblog