สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
- อาการบาดเจ็บของอวัยวะภายในถ้าไม่รุนแรง ร่างกายสามารถฟื้นฟูเองได้ ไม่มีเหตุให้ผ่าตัดไม่จำเป็นต้องผ่า
ซี่โครงหักโดยปกติก็ปล่อยให้กระดูกประสานเองอยู่แล้วครับ
- พรบ.ขาด ประกันขาด ก็ต้องรับผิดชอบสำรองจ่ายเองไปก่อน จนกว่าจะตรวจสอบได้ว่าจะมีสิทธิ์
เบิกจากจุดไหนได้บ้างครับ ถ้ามีค่อยทำเรื่องเบิกถ้าไม่มีก็ต้องจ่ายเองเต็มๆ
- ก็ต้องดูว่าเป็นค่าอะไร แต่ปกติมันจะมีค่ายาค่าบริการเวชภัณฑ์ที่ไม่ได้อยู่ในบัญชี ตรงนี้ทาง รพ.
จะคิดเพิ่มอยู่แล้วครับถ้าจำเป็น เขาเรียกค่านอกบัญชีส่วนมากก็ยาและเวชภัณฑ์นั่นแหละ
- ปกติครับ ถึงกำหนดจ่ายแล้วไม่มีจ่ายก็ระงับการให้บริการไว้ก่อน ยกเว้นยังเป็นผู้ป่วยวิกฤติ
ต้องดูแลรักษาจนพ้นระยะอันตรายเสียก่อน
ถ้าเป็นบางประเทศเขาเข็นมารอญาติริมถนนหน้า รพ. ญาติไม่มารับก็รอไปแบบนั้น
บางประเทศรอในหวอดได้ แต่ชาร์จเงินเพิ่มอ้วกแตก อันนี้ยังดีหน่อยได้อยู่แถวๆหน้าลิฟท์ไม่ต้องตากแดด
ทุกๆวัน รพ.เขาต้องรีบเคลียร์เตียงเพื่อเพิ่มที่ว่างให้ผู้ป่วยที่อาการหนักกว่าเข้ามารักษาต่อไป
และนี่เป็นอุบัติเหตุจราจร ไม่ใช่เจ็บป่วย ทาง รพ.จึงให้ใช้สิทธิ์ พรบ.ถ้าไม่มีต้องจ่ายเองนะ
ถ้าโคม่ามีแววไม่รอดถึงจะใช้สิทธิ์Usepได้ครับ ถ้าจะใช้สิทธิ์บัตรทองต้องมีความเห็นจากแพทย์ครับ
- สิทธิ์อนาถาสำหรับผู้ป่วยยากไร้ต้องมีการตรวจสอบ ไม่ใช่อยู่ๆใครก็ได้จะไปใช้สิทธิ์
การที่คุณยังมีความสามารถจ่ายได้ในท้ายที่สุด นั่นเป็นสิ่งยืนยันว่ายังไม่ควรได้รับสิทธิ์นั้นครับ
เบื้องต้น ผมก็ยังมองว่าโรงพยาบาลยังไม่ได้ดำเนินการอะไรที่ผิดปกตินะครับ
ซี่โครงหักโดยปกติก็ปล่อยให้กระดูกประสานเองอยู่แล้วครับ
- พรบ.ขาด ประกันขาด ก็ต้องรับผิดชอบสำรองจ่ายเองไปก่อน จนกว่าจะตรวจสอบได้ว่าจะมีสิทธิ์
เบิกจากจุดไหนได้บ้างครับ ถ้ามีค่อยทำเรื่องเบิกถ้าไม่มีก็ต้องจ่ายเองเต็มๆ
- ก็ต้องดูว่าเป็นค่าอะไร แต่ปกติมันจะมีค่ายาค่าบริการเวชภัณฑ์ที่ไม่ได้อยู่ในบัญชี ตรงนี้ทาง รพ.
จะคิดเพิ่มอยู่แล้วครับถ้าจำเป็น เขาเรียกค่านอกบัญชีส่วนมากก็ยาและเวชภัณฑ์นั่นแหละ
- ปกติครับ ถึงกำหนดจ่ายแล้วไม่มีจ่ายก็ระงับการให้บริการไว้ก่อน ยกเว้นยังเป็นผู้ป่วยวิกฤติ
ต้องดูแลรักษาจนพ้นระยะอันตรายเสียก่อน
ถ้าเป็นบางประเทศเขาเข็นมารอญาติริมถนนหน้า รพ. ญาติไม่มารับก็รอไปแบบนั้น
บางประเทศรอในหวอดได้ แต่ชาร์จเงินเพิ่มอ้วกแตก อันนี้ยังดีหน่อยได้อยู่แถวๆหน้าลิฟท์ไม่ต้องตากแดด
ทุกๆวัน รพ.เขาต้องรีบเคลียร์เตียงเพื่อเพิ่มที่ว่างให้ผู้ป่วยที่อาการหนักกว่าเข้ามารักษาต่อไป
และนี่เป็นอุบัติเหตุจราจร ไม่ใช่เจ็บป่วย ทาง รพ.จึงให้ใช้สิทธิ์ พรบ.ถ้าไม่มีต้องจ่ายเองนะ
ถ้าโคม่ามีแววไม่รอดถึงจะใช้สิทธิ์Usepได้ครับ ถ้าจะใช้สิทธิ์บัตรทองต้องมีความเห็นจากแพทย์ครับ
- สิทธิ์อนาถาสำหรับผู้ป่วยยากไร้ต้องมีการตรวจสอบ ไม่ใช่อยู่ๆใครก็ได้จะไปใช้สิทธิ์
การที่คุณยังมีความสามารถจ่ายได้ในท้ายที่สุด นั่นเป็นสิ่งยืนยันว่ายังไม่ควรได้รับสิทธิ์นั้นครับ
เบื้องต้น ผมก็ยังมองว่าโรงพยาบาลยังไม่ได้ดำเนินการอะไรที่ผิดปกตินะครับ
แสดงความคิดเห็น
พยาบาล/ผู้ช่วยพยาบาล ในโรงพยาบาลลำพูน ทำแบบนี้ได้หรือ? และค่าใช้จ่ายในโรงบาล
ส่วนน้องชายผม มีอาการเจ็บผ่านในช่วงท้อง จากที่สอบถามพยาบาล บอกว่า
น้องมีอาการ ตับ และ ม้าม ฉีก ซี่โครงหักเล็กน้อย และมีหัวโน
อาการทั้งหมด ไม่มีการผ่าตัด รักษาตามอาการครับ น้องรักษาอยู่ 6 ถึงให้ออก
แต่ต้องบอกก่อนนะครับว่า รถที่น้องขี่เป็นของเพื่อน ซึ่งภาษี+พ.ร.บ ของรถที่เกิดเหตุนั้นขาด หมดอายุ
การใช้สิทธิรักษาจากประกันจึงใช้ไม่ได้ เราต้องจ่ายเองก่อน 3 หมื่นบาทแรก ส่วนเกินนั้นบัตรทองจ่าย ตามสิทธิ
น้องรักษาในโรงพยาบาลลำพูนครับ เป็นห้องรวม เตียงสามัญ อาหารสามัญ
ซึ่งจากรายค่าใช้บางรายการ มีค่าบริการที่แพงกว่า ตามที่ สธ.ประกาศ (ผมเพิ่งได้มาดู/ศึกษาข้อมูลหลังจากน้องออก รพ.)
อยากรู้ว่าในส่วนที่แพงกว่าประกาศ สธ.นั้น เขาเรียกเก็บอะไรเพิ่ม??
และวันสุดท้ายของการรักษา ทางพยาบาล บอกว่า หากภายในเวลาทำการ ไม่สามารถจ่าย 3หมื่นแรกได้ ในเวลาทำการ
ก็ไม่ให้พักรักษาตัวใน IPD หรือถ้าจะอยู่ต่อ เขาจะคิดเพิ่มอีกวันละ 1500 บาท??????
ซึ่งตอนนั้นน้องอยู่กับแม่ และเงินที่จ่ายนั้นอยู่กับผม
และเมื่อไปจ่ายไม่ทันตามเวลาทำการ อย่างที่เขาบอก
เขาก็ให้น้องชาย และแม่ ออกจากเตียงผู้ป่วย และให้ไปนอนอยู่หน้าลิฟต์ ซึ่งติดกับทางเดินเข้า-ออกของ IPD ชั้นนั้น
สภาพที่ผมเห็นแล้วคือหดหู่มาก น้องชายยังมีอาการเจ็บ ช่องท้องอยู่ จากการเกิดอุบัติเหตุ
สภาพที่เห็นคือ แม่ต้องหาเสื่อ มาปูให้น้องนอนกับพื้นหน้าลิฟต์ เห็นแล้วหดหู่มากครับ
จากนั้นผมก็ไปทำเรื่องจ่ายตังอะไรต่างๆให้เสร็จ
แต่ก่อนหน้านี้แม่ผมก็ขอใช้ กองทุน สำหรับคนที่ไม่มีตังจ่าย ทาง รพ. บอกไม่ให้ใช้ ต้องหามาจ่าย ด้วยเงินสดเท่านั้น??
บุคลากรทางการแพทย์ทำแบบนี้กับผู้ป่วยได้หรอครับ???