70 ปีก่อน ที่สำนักงานโทรศัพ จะมีตู้มีเเบบในภาพนี้ ตู้เเบบนี้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสียงโทรศัพไปยังปลายทางได้

กระทู้คำถาม
ยังไงครับ

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
สมัยแรกไม่ใช่ระบบอัตโนมัติ เลยต้องเชื่อมเสียงต้นทางกับปลายทางให้คุยกันได้ ยังไม่มีระบบการหมุนหมายเลข
จึงต้องมีหนุ่ม ๆ สาว ๆ Operator นั่งอยู่ด้วย คอยเสียบไปสายไปทางตามที่ร้องขอ
AIS dtac true CAT TOT นั้น ศัพท์ในวงการโทรคมนาคม ในข่าวภาษาไทยเราใช้คำว่าผู้ให้บริการ แต่ภาษาอังกฤษ ยังใช้ Operator ติดมาจนทุกวันนี้

การที่ต้องลากสายไปรวมกัน ก่อนไปหาผู้รับอีกทาง เป็นที่มาของภาษาไทยคำว่า "ชุมสาย" นั่นเองครับ เพราะสายจะลากไปชุมนุมกันที่ศูนย์กลาง สายสัญญาณผสมกัน ทั้งโทรศัพท์ และโทรเลข...
ยุคนั้น โทรศัพท์สามารถดักฟังเสียง โดยการเอาอุปกรณ์ไปจิ้มที่สายฟังเสียงได้เลยจริง ๆ
เมื่อขยายใหญ่ขึ้น ลูกค้าเยอะ เบอร์เยอะ เแต่ละท้องถิ่น เป็นหลายหมื่นหลายแสน ก็เริ่มมีชุมสายท้องถิ่น ประจำจังหวัด ประจำภาค
เมื่อ 35-40 ปีก่อน โทรทางไกลจากภาคเหนือมากทม. ยังต้องใช้คนต่อแบบนี้อยู่เลยครับ สาว ๆ TOT จะนั่งรับ แล้วต่อให้

ส่วนภาษาอังกฤษใช้คำว่า telephone exchange เน้นว่าเป็นจุดที่สัญาณเข้าไปเปลี่ยนเส้นทางไปหาผู้รับ
(คำนี้ทั้งไทย ทั้งอังกฤษยังติดมายุคมือถือยุคแรก โดยใช้คำว่า "ชุมสายโทรศัพท์เคลื่อนที่" หรือ mobile telephone exchange)


ที่ Boston

ของ Sweden


ส่วนอันนี้ เป็นการต่อสาย
ในชุมสายมือถือรุ่นแรก และตามสถานีรุ่นแรก ก้ยังเป็นแบบนี้เช่นกัน







มีขนาดเล็ก ตามบริษัท ตามโรงแรม ด้วยเรียกว่า "ตู้สาขา" PBX (Private Branch Exchange) รุ่น Switch Board
ผมมาเรียนกทม. แล้ว หอพักนักศึกษาที่ผมอยู่ (แถวลาดกระบัง) ก็มีคนนั่งผลัดเปลี่ยนเวรมานั่งคอยเสียบก่อนต่อออกไปภายนอก เพราะใช้แค่ 2-3 เบอร์ แต่รองรับเป็น 60-80 ห้อง
แม้แต่ในวังที่อังกฤษ ก็จะมีคนรับคอยต่อแบบนี้
แต่แผนกเยอะ ก็เจ้าหน้าที่เยอะ





ต่อมาพัฒนาเป้นระบบอัตโนมัติ เรียกว่า "ตู้สาขาอัตโนมัติ" PABX (Private Automatic Branch Exchange)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่