mis·an·thro·py
/məˈsanTHrəpē/
Learn to pronounce
noun
a dislike of humankind.
"the streak of misanthropy in his nature"
แปลคร่าวๆก็คือคนที่ไม่ชอบคน ไม่ชอบมนุษย์
เกลียดมนุษย์
“the misanthrope, as an essentially solitary man, is not man at all: he must be a beast or god”-Aristotle
อาการชิงชังความเป็นมนุษย์ที่เรียกกันว่า misanthropy นั้นแม้จะมีที่มา หรือจุดอ้างอิงที่ยาวไกลกว่าศตวรรษที่ 17 จนกระทั่งสามารถสืบย้อนไปถึงปรัชญาความคิดในยุคแรกเริ่มอารยธรรม (ดังเช่นบทสนทนา Phaedo ของเพลโต หรือปรัชญาการเมืองของอริสโตเติล) หากก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า คำนี้เริ่มเป็นที่รู้จักแพร่หลาย หรือถูกนำมากล่าวอ้างอิงซ้ำๆ ก็เพราะบทละครหัสนาฏกรรม Le misanthrope ou l'Atrabilaire amoureux (1666) ของโมลิแยร์ (Molière)
misanthrope มาจากคำในภาษากรีก μῖσος (misos-เกลียดชัง) และคำว่า ἄνθρωπος (anthrōpos-มนุษย์) ที่เริ่มพบว่ามีการใช้เป็นครั้งแรกๆ ในช่วงกลางของศตวรรษที่ 16
หากกล่าวเฉพาะมุมมองทางปรัชญา อาการชิงชังมนุษย์ถือว่าแตกต่างจากการมองโลกในแง่ร้าย (pessimism) ตรงที่พวก misanthropist นั้นจำกัดการมองในแง่ร้ายก็สำหรับมนุษย์ด้วยกันเท่านั้น ซึ่งลักษณาการดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่ได้แฝงฝังอยู่ในตัวละครเอกของ Le misanthrope ผู้มีนามว่า อัลแซสต์ (Alceste) อย่างสนิทแนบแน่น
อัลแซสต์ไม่เพียงไม่ไว้เนื้อเชื่อใจมนุษย์ หากแต่ยังรังเกียจกิจกรรมทางสังคมทั้งปวง ดังที่เขาได้กล่าวไว้ในองก์แรกของละครว่า “ไม่ พวกนั้นเหมือนกันทั้งหมด และข้าเกลียดคนทุกคน เพราะบางส่วน ชั่วร้ายและฉ้อฉล และบางส่วนก็ปล่อยให้พวกชั่วร้ายได้ใช้ประโยชน์ และมิได้ประณามหยามหมิ่นพวกสามานย์ที่ดลใจผู้มีคุณธรรม” ถึงขนาดที่เขาประกาศออกมาว่า “บางครา ข้าถึงกับปรารถนาจะไปอาศัยอยู่ในที่ร้างไร้ห่างไกลมนุษย์”
https://www.facebook.com/beingandtime/photos/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8Cthe-misanthrope-as-an-essentially-solitary-man-is-not-man-at-all-he-/609774489139531/
ไม่ชอบสังคม อยากลาออก อยากหนีไปที่เงียบๆคนเดียว อาการนี้คือ Misanthropy
คุณไม่ชอบสังคมที่ทำงานหรือจริงๆแล้วคุณเป็น Misanthropy
/məˈsanTHrəpē/
Learn to pronounce
noun
a dislike of humankind.
"the streak of misanthropy in his nature"
แปลคร่าวๆก็คือคนที่ไม่ชอบคน ไม่ชอบมนุษย์
เกลียดมนุษย์
“the misanthrope, as an essentially solitary man, is not man at all: he must be a beast or god”-Aristotle
อาการชิงชังความเป็นมนุษย์ที่เรียกกันว่า misanthropy นั้นแม้จะมีที่มา หรือจุดอ้างอิงที่ยาวไกลกว่าศตวรรษที่ 17 จนกระทั่งสามารถสืบย้อนไปถึงปรัชญาความคิดในยุคแรกเริ่มอารยธรรม (ดังเช่นบทสนทนา Phaedo ของเพลโต หรือปรัชญาการเมืองของอริสโตเติล) หากก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า คำนี้เริ่มเป็นที่รู้จักแพร่หลาย หรือถูกนำมากล่าวอ้างอิงซ้ำๆ ก็เพราะบทละครหัสนาฏกรรม Le misanthrope ou l'Atrabilaire amoureux (1666) ของโมลิแยร์ (Molière)
misanthrope มาจากคำในภาษากรีก μῖσος (misos-เกลียดชัง) และคำว่า ἄνθρωπος (anthrōpos-มนุษย์) ที่เริ่มพบว่ามีการใช้เป็นครั้งแรกๆ ในช่วงกลางของศตวรรษที่ 16
หากกล่าวเฉพาะมุมมองทางปรัชญา อาการชิงชังมนุษย์ถือว่าแตกต่างจากการมองโลกในแง่ร้าย (pessimism) ตรงที่พวก misanthropist นั้นจำกัดการมองในแง่ร้ายก็สำหรับมนุษย์ด้วยกันเท่านั้น ซึ่งลักษณาการดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่ได้แฝงฝังอยู่ในตัวละครเอกของ Le misanthrope ผู้มีนามว่า อัลแซสต์ (Alceste) อย่างสนิทแนบแน่น
อัลแซสต์ไม่เพียงไม่ไว้เนื้อเชื่อใจมนุษย์ หากแต่ยังรังเกียจกิจกรรมทางสังคมทั้งปวง ดังที่เขาได้กล่าวไว้ในองก์แรกของละครว่า “ไม่ พวกนั้นเหมือนกันทั้งหมด และข้าเกลียดคนทุกคน เพราะบางส่วน ชั่วร้ายและฉ้อฉล และบางส่วนก็ปล่อยให้พวกชั่วร้ายได้ใช้ประโยชน์ และมิได้ประณามหยามหมิ่นพวกสามานย์ที่ดลใจผู้มีคุณธรรม” ถึงขนาดที่เขาประกาศออกมาว่า “บางครา ข้าถึงกับปรารถนาจะไปอาศัยอยู่ในที่ร้างไร้ห่างไกลมนุษย์”
https://www.facebook.com/beingandtime/photos/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8Cthe-misanthrope-as-an-essentially-solitary-man-is-not-man-at-all-he-/609774489139531/
ไม่ชอบสังคม อยากลาออก อยากหนีไปที่เงียบๆคนเดียว อาการนี้คือ Misanthropy