นิยัตินิยมทางปรัชญา กับ นิยัตินิยมทางสังคมวิทยา
นิยัตินิยมทางปรัชญา
ลัทธินิยัตินิยมสองนัยยะทางปรัชญา คือ หนึ่ง สิ่งทั้งหลายในจักรวาลเป็นไปตามกฎที่ตายตัว (determinism) สอง คือ ลัทธิที่เชื่อว่า เจตจำนของมนุษย์ไม่เป็นไปโดยอิสระ แต่ถูกกำหนดภาวะทางจิตใจและทางวัตถุ ตรงกันข้ามกับ ลัทธิอนิยัตินิยม (indeterminism) คือเป็นลัทธิที่เชื่อว่ามีบางสิ่งในจักรวาลไม่เป็นไปตามกฎที่ตายตัวเชื่อว่ามนุษย์มีเจตจำนงเสรี
แนวคิดเรื่อง นิยัตินิยม concept คือ มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับข้อจำกัดหรือข้อกำหนดที่ถูกลิขิตไว้ให้แล้ว การกระทำและการแสดงออกทางายวาจาใจเป็นการแสดงออกโดยเสรี ตัวอย่างเช่น ขณะเราเป็นมนุษย์มีอยู่นี้เรามีบริบทในเรื่องใดก็ประพฤติปฏิบัติไป ฉะนั้นการกระทำขึ้นอยู่กับอารมณ์ได้, ขึ้นอยู่กับความปรารถนาได้, ถูกผิดไม่ใช่สาระ เพราะปลายทางถูกกำหนดไว้ให้แล้ว เช่น พระเทวทัต ท้ายสุดก็บรรลุธรรมเป็นพระปัจเจกบุคคลได้เช่นกัน
ส่วนแนวคิดเรื่อง กรรมทางพุทธปรัชญา คือ ทำอย่างไรได้ผลเช่นนั้น ดังพุทธภาษิตว่า กมฺมุนา วตฺตตี โลโก สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ผลของการกระทำนั้นๆ จึงส่งผลให้สิ่งที่กระทำมีผลไปด้วย ตามเจตนาทั้งดีและไม่ดี ต่อภพชาติที่เวียนว่ายตายเกิด ศาสนิกจึงเน้นการกระทำ(กรรม)ให้ไปตามทางหลักพุทธจริยศาสตร์ เพื่อให้ได้รับผลที่ตนได้กระทำไว้สูงสุดคือพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงให้เร็วที่สุด
จากแนวคิดทั้งสองจะเห็นได้ว่า นิยัตินิยมทางปรัชญา (determinism) เห็นว่าการกระทำจะดีหรือไม่ดีก็ตาม ผลสุดท้ายก็มีผลลัพท์อยู่ปลายทางแล้ว ซึ่งปลายทางทางนั้นเป็นตัวกำหนดขึ้นโดยมีผู้กำหนด การกระทำจึงไม่เป็นสาระเท่ากับผลลัพท์ที่ถูกกำหนดไว้ ด้วยเหตุนี้จะทำดีก็ได้ไม่ดีก็ได้ ผลลัพท์เท่ากัน ฉะนั้นการกระทำจึงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ระทำเอง กล่าวคือเลือกกระทำในสิ่งที่ต้องการปรารถนาได้
แต่ทางพุทธปรัชญญา ไม่มีผู้กำหนดปลายทางไว้ให้ มีเพียงผู้กระทำนั้นแหละเป็นผู้กำหนดเอง ซึ่งนอกจากจะให้ผู้กระทำเลือกกระทำได้แล้ว ยังชี้ผลของการระทำให้ทราบด้วย เช่น ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่วและชี้ทางพ้นทุกข์เร็วสุด ได้จากผลการกระทำตัวอย่างเช่น ผลของการรักษาศีล ฝึกสมาธิ และเจริญปัญญา
สองแนวคิดนี้อุปมาคล้ายกับชาวสวนปลูกไม้ผลอย่างนี้ โดยมีชาวสวนสองคน สมมุติให้ชาวสวนคนที่หนึ่ง ปลูกไม้ผลชนิดหนึ่งอะไรก็ได้ เมื่อปลูกแล้วก็รอรบผลของไม้ที่ปลูกนั้น (นิยัตินิยม) ส่วนชาวสวนคนที่สอง สมมุติให้ปลูกไม้ผลเช่นกัน เพียงแต่ชาวสวนคนนี้ หมั่นพรวนดิน รดน้ำ ใสปุ๋ย อยู่สม่ำเสมอ (พุทธปรัชญา)
สรุปสองแนวคิดนี้ไม่เป็นเรื่องเดียวกัน เพราะเรื่องเดียวกันคือทุกสิ่งเป็นเรื่องเดียวกันรวมถึงผลแห่งการกระทำด้วย แต่นิยัตินิยมทางปรัชญา (determinism) ไม่พูดถึงเรื่องผลแห่งการกระทำ เพียงให้แนวว่าบุคคลกระทำอะไรที่อยากทำได้ปลายทางมีผู้กำหนดไว้ ส่วนนิยัตินิยมพุทธปรัชญาให้แนวว่าผู้กำหนดคือผู้กระทำเอง
นิยัตินิยมทางสังคมวิทยา*
ตามพจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน อธิบายว่า นิยัตินิยม, คติตัวกำหนด (determinism) หมายถึง แนวคิดที่ว่าพฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ทางสังคมเปลี่ยนแปลงไปเพราะมีสิ่งอื่นเป็นตัวกำหนด เช่น ถ้ามีเทคโนโลยีเป็นตัวกำหนด เรียกว่า คติตัวกำหนดทางเทคโนโลยี (technological determinism) ถ้ามีลักษณะทางชีววิทยาหรือทางพันธุกรรมเป็นตัวกำหนด เรียกว่า คติตัวกำหนดทางชีววิทยา (biological determinism) ถ้ามีเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนด เรียกว่า คติตัวกำหนดทางเศรษฐกิจ (economic determinism) ซึ่งพจนานุกรมฉบับดังกล่าว อธิบายว่า คติตัวกำหนดทางเศรษฐกิจ (economic determinism) หมายถึง แนวคิดที่ว่าปรากฏการณ์ทางสังคมมีรากเหง้าอยู่ที่ความสัมพันธ์ในการผลิต เป็นจุดยืนทางปรัชญาหรือทฤษฎีของสำนักมาร์กซิสต์
ความสัมพันธ์แห่งการผลิตเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งบรรดาโครงสร้างส่วนบนตั้งอยู่ เช่น กฎหมายและการเมืองตั้งอยู่ โครงสร้างพื้นฐานนี้ยังเป็นตัวก่อรูปก่อร่างแก่ความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างชั้นชนขึ้น ผลที่ติดตามมาคือทำให้เกิดสำนึกทางสังคมที่สอดคล้องกันตามชั้นชนทางเศรษฐกิจเป็นชั้นๆ ไป ดังนั้น มากซ์จึงเขียนไว้ว่า วิถีการผลิตในชีวิตด้านวัตถุเป็นเงื่อนไขแก่กระบวนการชีวิตในด้านสังคม การเมือง และด้านความคิดโดยทั่วไป
ข้อเสนอเช่นนี้เป็นที่มาของการถกเถียงเรื่องการกำหนดโดยเศรษฐกิจ หรือน้ำหนักมากน้อยของปัจจัยทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า ชีวิตทางสังคม การเมือง และสำนึกทางสังคมของบุคคล ถูกกำหนดจากฐานะของคนคนนั้นในโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ทัศนะดังกล่าวท้าทายต่อหลักการแห่งเจตจำนงเสรีและความเป็นตัวเองของบุคคล ดังนั้น จึงถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก
ในอีกแง่หนึ่งอาจพิจารณาว่าความสัมพันธ์ในการผลิตเป็นเพียงปัจจัยที่เป็นตัวจำกัดหรือเป็นเพียงเงื่อนไขกว้าง ๆ ในพัฒนาการของโครงสร้างส่วนบน ภายหลังจากมรณกรรมของมากซ์ประเด็นนี้ได้รับการอรรถาธิบายเพิ่มเติมว่า ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจมิได้มีผลกำหนดโดยตรงอย่างอัตโนมัติต่อความสัมพันธ์ทางสังคมแต่อย่างใดเพียงแต่มีอิทธิพลอย่างสำคัญ ซึ่งประเด็นสำคัญของข้อถกเถียงคือ เรื่องความคิดและศักยภาพที่ปัจเจกบุคคลซึ่งเป็นอิสรชนจะมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้เพียงใด
..............
* -
http://www.royin.go.th/?knowledges=%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1
>>>>> ลัทธินิยัตินิยม determinism
นิยัตินิยมทางปรัชญา
ลัทธินิยัตินิยมสองนัยยะทางปรัชญา คือ หนึ่ง สิ่งทั้งหลายในจักรวาลเป็นไปตามกฎที่ตายตัว (determinism) สอง คือ ลัทธิที่เชื่อว่า เจตจำนของมนุษย์ไม่เป็นไปโดยอิสระ แต่ถูกกำหนดภาวะทางจิตใจและทางวัตถุ ตรงกันข้ามกับ ลัทธิอนิยัตินิยม (indeterminism) คือเป็นลัทธิที่เชื่อว่ามีบางสิ่งในจักรวาลไม่เป็นไปตามกฎที่ตายตัวเชื่อว่ามนุษย์มีเจตจำนงเสรี
แนวคิดเรื่อง นิยัตินิยม concept คือ มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับข้อจำกัดหรือข้อกำหนดที่ถูกลิขิตไว้ให้แล้ว การกระทำและการแสดงออกทางายวาจาใจเป็นการแสดงออกโดยเสรี ตัวอย่างเช่น ขณะเราเป็นมนุษย์มีอยู่นี้เรามีบริบทในเรื่องใดก็ประพฤติปฏิบัติไป ฉะนั้นการกระทำขึ้นอยู่กับอารมณ์ได้, ขึ้นอยู่กับความปรารถนาได้, ถูกผิดไม่ใช่สาระ เพราะปลายทางถูกกำหนดไว้ให้แล้ว เช่น พระเทวทัต ท้ายสุดก็บรรลุธรรมเป็นพระปัจเจกบุคคลได้เช่นกัน
ส่วนแนวคิดเรื่อง กรรมทางพุทธปรัชญา คือ ทำอย่างไรได้ผลเช่นนั้น ดังพุทธภาษิตว่า กมฺมุนา วตฺตตี โลโก สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ผลของการกระทำนั้นๆ จึงส่งผลให้สิ่งที่กระทำมีผลไปด้วย ตามเจตนาทั้งดีและไม่ดี ต่อภพชาติที่เวียนว่ายตายเกิด ศาสนิกจึงเน้นการกระทำ(กรรม)ให้ไปตามทางหลักพุทธจริยศาสตร์ เพื่อให้ได้รับผลที่ตนได้กระทำไว้สูงสุดคือพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงให้เร็วที่สุด
จากแนวคิดทั้งสองจะเห็นได้ว่า นิยัตินิยมทางปรัชญา (determinism) เห็นว่าการกระทำจะดีหรือไม่ดีก็ตาม ผลสุดท้ายก็มีผลลัพท์อยู่ปลายทางแล้ว ซึ่งปลายทางทางนั้นเป็นตัวกำหนดขึ้นโดยมีผู้กำหนด การกระทำจึงไม่เป็นสาระเท่ากับผลลัพท์ที่ถูกกำหนดไว้ ด้วยเหตุนี้จะทำดีก็ได้ไม่ดีก็ได้ ผลลัพท์เท่ากัน ฉะนั้นการกระทำจึงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ระทำเอง กล่าวคือเลือกกระทำในสิ่งที่ต้องการปรารถนาได้
แต่ทางพุทธปรัชญญา ไม่มีผู้กำหนดปลายทางไว้ให้ มีเพียงผู้กระทำนั้นแหละเป็นผู้กำหนดเอง ซึ่งนอกจากจะให้ผู้กระทำเลือกกระทำได้แล้ว ยังชี้ผลของการระทำให้ทราบด้วย เช่น ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่วและชี้ทางพ้นทุกข์เร็วสุด ได้จากผลการกระทำตัวอย่างเช่น ผลของการรักษาศีล ฝึกสมาธิ และเจริญปัญญา
สองแนวคิดนี้อุปมาคล้ายกับชาวสวนปลูกไม้ผลอย่างนี้ โดยมีชาวสวนสองคน สมมุติให้ชาวสวนคนที่หนึ่ง ปลูกไม้ผลชนิดหนึ่งอะไรก็ได้ เมื่อปลูกแล้วก็รอรบผลของไม้ที่ปลูกนั้น (นิยัตินิยม) ส่วนชาวสวนคนที่สอง สมมุติให้ปลูกไม้ผลเช่นกัน เพียงแต่ชาวสวนคนนี้ หมั่นพรวนดิน รดน้ำ ใสปุ๋ย อยู่สม่ำเสมอ (พุทธปรัชญา)
สรุปสองแนวคิดนี้ไม่เป็นเรื่องเดียวกัน เพราะเรื่องเดียวกันคือทุกสิ่งเป็นเรื่องเดียวกันรวมถึงผลแห่งการกระทำด้วย แต่นิยัตินิยมทางปรัชญา (determinism) ไม่พูดถึงเรื่องผลแห่งการกระทำ เพียงให้แนวว่าบุคคลกระทำอะไรที่อยากทำได้ปลายทางมีผู้กำหนดไว้ ส่วนนิยัตินิยมพุทธปรัชญาให้แนวว่าผู้กำหนดคือผู้กระทำเอง
นิยัตินิยมทางสังคมวิทยา*
ตามพจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน อธิบายว่า นิยัตินิยม, คติตัวกำหนด (determinism) หมายถึง แนวคิดที่ว่าพฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ทางสังคมเปลี่ยนแปลงไปเพราะมีสิ่งอื่นเป็นตัวกำหนด เช่น ถ้ามีเทคโนโลยีเป็นตัวกำหนด เรียกว่า คติตัวกำหนดทางเทคโนโลยี (technological determinism) ถ้ามีลักษณะทางชีววิทยาหรือทางพันธุกรรมเป็นตัวกำหนด เรียกว่า คติตัวกำหนดทางชีววิทยา (biological determinism) ถ้ามีเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนด เรียกว่า คติตัวกำหนดทางเศรษฐกิจ (economic determinism) ซึ่งพจนานุกรมฉบับดังกล่าว อธิบายว่า คติตัวกำหนดทางเศรษฐกิจ (economic determinism) หมายถึง แนวคิดที่ว่าปรากฏการณ์ทางสังคมมีรากเหง้าอยู่ที่ความสัมพันธ์ในการผลิต เป็นจุดยืนทางปรัชญาหรือทฤษฎีของสำนักมาร์กซิสต์
ความสัมพันธ์แห่งการผลิตเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งบรรดาโครงสร้างส่วนบนตั้งอยู่ เช่น กฎหมายและการเมืองตั้งอยู่ โครงสร้างพื้นฐานนี้ยังเป็นตัวก่อรูปก่อร่างแก่ความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างชั้นชนขึ้น ผลที่ติดตามมาคือทำให้เกิดสำนึกทางสังคมที่สอดคล้องกันตามชั้นชนทางเศรษฐกิจเป็นชั้นๆ ไป ดังนั้น มากซ์จึงเขียนไว้ว่า วิถีการผลิตในชีวิตด้านวัตถุเป็นเงื่อนไขแก่กระบวนการชีวิตในด้านสังคม การเมือง และด้านความคิดโดยทั่วไป
ข้อเสนอเช่นนี้เป็นที่มาของการถกเถียงเรื่องการกำหนดโดยเศรษฐกิจ หรือน้ำหนักมากน้อยของปัจจัยทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า ชีวิตทางสังคม การเมือง และสำนึกทางสังคมของบุคคล ถูกกำหนดจากฐานะของคนคนนั้นในโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ทัศนะดังกล่าวท้าทายต่อหลักการแห่งเจตจำนงเสรีและความเป็นตัวเองของบุคคล ดังนั้น จึงถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก
ในอีกแง่หนึ่งอาจพิจารณาว่าความสัมพันธ์ในการผลิตเป็นเพียงปัจจัยที่เป็นตัวจำกัดหรือเป็นเพียงเงื่อนไขกว้าง ๆ ในพัฒนาการของโครงสร้างส่วนบน ภายหลังจากมรณกรรมของมากซ์ประเด็นนี้ได้รับการอรรถาธิบายเพิ่มเติมว่า ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจมิได้มีผลกำหนดโดยตรงอย่างอัตโนมัติต่อความสัมพันธ์ทางสังคมแต่อย่างใดเพียงแต่มีอิทธิพลอย่างสำคัญ ซึ่งประเด็นสำคัญของข้อถกเถียงคือ เรื่องความคิดและศักยภาพที่ปัจเจกบุคคลซึ่งเป็นอิสรชนจะมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้เพียงใด
* - http://www.royin.go.th/?knowledges=%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1