กรณ์ จาติกวณิช มองเศรษฐกิจไม่ดีส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาโครงสร้าง

กรณ์ จาติกวณิช อดีตรองหัวหน้าตามภารกิจ พรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้โพสบนเฟสบุ๊คส่วนตัวว่า

สิ้นปีนี้เราพอสรุปได้ว่าปัญหาเศรษฐกิจปีหน้าท้าทายแน่นอน และการที่รัฐมนตรีแต่ละกระทรวงต่างคิดเองทำเองอย่างขยันขันแข็งจะไม่ช่วยอะไรมากนักหากยุทธศาสตร์ไม่ชัดเจนและสอดคล้องกัน
มีคนถามว่าที่บาทแข็งแสดงว่าเศรษฐกิจต้องดีไม่ใช่หรือ
คำตอบคือไม่ใช่เสมอไป และตอนนี้ไม่ใช่แน่นอน - เหตุผลหลักที่บาทแข็งเป็นเพราะดุลบัญชีเดินสะพัดเราเกินดุลอย่างมาก ซึ่งล่าสุดเดือนพฤศจิกายนเราเกินดุล 3.4 พันล้านดอลลาร์ ทั้งๆที่การส่งออกติดลบกว่า 7% ซึ่งเป็นเพราะการนำเข้าเราลดลงมากกว่า คือกว่า 9% ซึ่งเป็นสัญญาณไม่ดีเพราะที่ลดหนักที่สุดคือการนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบ และก็สอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะยานยนต์ลดลงกว่า 21% เทียบกับปีที่แล้ว
การใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมเราลดลงเหลือเพียง 63.2% ซึ่งตํ่ามาก และการบริโภคภายในประเทศก็ลดลง 
ที่น่าจะเป็นตัวช่วยเร็วๆนี้คือการใช้เงินภาครัฐ เพราะปีนี้งบประมาณออกช้า จึงทำให้เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาการใช้งบรัฐลดลงเกือบ 30% จากปีก่อนหน้านี้! อาทิตย์หน้างบปี 63 ก็จะผ่านแล้วสถานการณ์น่าจะดีขึ้น แต่ปัญหาคืองบส่วนใหญ่เป็นงบรายจ่ายประจำ อิมแพคจริงๆจึงค่อนข้างน้อย
เราโทษเรื่องเศรษฐกิจโลก/สงครามการค้า ฯลฯ ได้ แต่เราต้องยอมรับว่าปัญหาทั้งหมดไม่เป็นเพียงเพราะเงื่อนไขจากภายนอก ถ้าเป็นเช่นนั้นประเทศอื่นก็ควรมีปัญหาเหมือนเรา แต่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเราช้ากว่าเกือบทุกประเทศเพื่อนบ้านเรา ผมเชื่อว่าปัญหาเราเป็นปัญหาโครงสร้างที่ยังไม่มีใครแก้ไขจริงจัง โครงสร้างนี้ทำให้การพัฒนา อำนาจ และการเข้าถึงทรัพยากรกระจุกตัว คนไทยส่วนใหญ่ไม่มีส่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ต้องแก้ตรงนี้โดยเร็วครับ จึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดนวัตกรรม และเกิดการลงทุน
ผมเอาใจช่วยรัฐบาลนะครับ มีรัฐมนตรีท่านหนึ่งที่มีแนวคิดที่สอดคล้องกับสิ่งที่ผมอยากจะเห็น

ที่มา:

facebook.com/KornChatikavanijD

https://www.peniaphobia.com/economy/thai-economy/%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%93%e0%b9%8c-%e0%b8%88%e0%b8%b2%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%81%e0%b8%a7%e0%b8%93%e0%b8%b4%e0%b8%8a-%e0%b9%80%e0%b8%a8%e0%b8%a3%e0%b8%a9%e0%b8%90%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%88/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่