เคล็ดลับจำพยัญชนะเกาหลี
แท้จริงแล้ว รูปร่างพยัญชนะเกาหลี คือ ส่วนต่างๆของปากเราที่ใช้ออกเสียงนั้นๆครับ
1. ㄱ
ลองพูดคำว่า “คอ” ดูครับ สังเกตุปากตัวเอง เราเอาลิ้นดันขึ้นเพดานปาก ซึ่งก็เลยออกมาเป็น ㄱ โดยขีดบน คือ เพดานปาก และ ขีดขวา คือ ช่องคอเรา (จินตนาการว่าเราหันหน้าไปทางซ้าย)
ส่วน ㅋ ㄲ ก็สร้างมาจากพื้นฐานของ ㄱ
2. ㄴ
คำว่า “นอ” เราเอาลิ้นแตะเพดานปากก่อนแล้วปล่อยลิ้นลงมา เหมือนสะพานกลที่คอยปิดเปิดให้เรือผ่าน ก็เลยเป็น ㄴ ขีดล่างคือลิ้นเราเอง ส่วนขีดซ้ายคือช่องคอ หรือจินตนาการง่ายๆ ก็คือสะพานปิดกับเปิดเลยครับ
ส่วน “ทอ” คล้ายกัน แต่ดันเสียงไปสูงกว่า เลยมีเส้นบนอีกอัน เป็น ㄷ
และอิงพื้นฐานเดิมในการพัฒนาต่อเป็น ㅌ ㄸ
3. ㅁ
คำว่า “มอ” เราเปิดปากกว้างเต็มที่ เลยเป็น ㅁ ง่ายๆเลยครับ
ส่วนคำว่า “พอ” เรายังใช้หลักเดิมก็คือปล่อยเสียงออกจากกลางปาก แต่คราวนี้เรามีการบีบกระพุ้งแก้มเล็กน้อย และกดเสียงลงนิดลง อักษรเลยแคบลง เลยสี่เหลี่ยมอยผู้ด้านล่าง เป็น ㅂ. เช่นกัน “พ่อ” ดันสูงขึ้น เลยเป็น ㅍ
ด้วยรูปแบบเดิม มันยังได้ก่อเกิด ㅃ ไปอีก
4. ㅅ
คำว่า “ซอ” เราดึงลิ้นลง แต่คราวนี้ไม่ได้แตะเพดานปาก และยังมีการห่อลิ้นเล็กน้อย เลยเป็น ㅅ รูปร่างลิ้นตอนห่อ ถ้านึกไม่ออก ลองคิดถึง ลิ้นน้องแมว
เช่นเดิม “ชอ” คือ ลิ้นที่สูงขึ้น และ “ช่อ” คือสูงขึ้นไปอีก เลยเป็น ㅈ และ ㅊ ตามลำดับ
นอกจากนี้มันยังได้แปลงรูปไปเป็น ㅆ ㅉ ไปอีก
5. ㅇ
คำว่า “ออ” มาจากลำคอตรงๆเพียงเท่านั้น เลยเป็น ㅇ สัญลักษณ์แทนลำคอกลมๆของเรา
“ฮอ” ก็มาจากแหล่งเดียวกัน แต่มีการดันเสียงขึ้น จึงเป็น ㅎ, 2 ขีดเหนือวงกลมแทนการยกเสียง
6. ㄹ
คำว่า “รอ” นั่นเอง แต่ไม่ได้กระดกลิ้นชัดเจนเหมือนไทย ลองนึกถึงคำอังกฤษดีกว่า เช่น ROLL
จะค้นพบว่าเรามีการดันเสียงขึ้นเหมือน “คอ” จึงเป็น ㄱ แต่ก็ต่างกันตรงที่ “คอ” เราดันขึ้นแล้วอ้าปาก แต่ “รอ” เราดันขึ้นแล้วยกปากล่างขึ้น เป็นการดึงลิ้นขึ้นมาช่วยส่งเสียงออกไปข้างบนต่อ, นี่คือเอกลักษณ์จาก “นอ” มี ㄴ เข้าไปอีกตัว เลยประกอบร่างเป็น ㄹ ครับ
แชร์ได้ แต่ขอความร่วมมือ ใส่เครดิตด้วยนะครับ
เคล็ดลับสุดง่ายในการจำพยัญชนะเกาหลี มองมันให้เป็นภาพ แล้วทุกอย่างจะไม่ยากเลย
แท้จริงแล้ว รูปร่างพยัญชนะเกาหลี คือ ส่วนต่างๆของปากเราที่ใช้ออกเสียงนั้นๆครับ
1. ㄱ
ลองพูดคำว่า “คอ” ดูครับ สังเกตุปากตัวเอง เราเอาลิ้นดันขึ้นเพดานปาก ซึ่งก็เลยออกมาเป็น ㄱ โดยขีดบน คือ เพดานปาก และ ขีดขวา คือ ช่องคอเรา (จินตนาการว่าเราหันหน้าไปทางซ้าย)
ส่วน ㅋ ㄲ ก็สร้างมาจากพื้นฐานของ ㄱ
2. ㄴ
คำว่า “นอ” เราเอาลิ้นแตะเพดานปากก่อนแล้วปล่อยลิ้นลงมา เหมือนสะพานกลที่คอยปิดเปิดให้เรือผ่าน ก็เลยเป็น ㄴ ขีดล่างคือลิ้นเราเอง ส่วนขีดซ้ายคือช่องคอ หรือจินตนาการง่ายๆ ก็คือสะพานปิดกับเปิดเลยครับ
ส่วน “ทอ” คล้ายกัน แต่ดันเสียงไปสูงกว่า เลยมีเส้นบนอีกอัน เป็น ㄷ
และอิงพื้นฐานเดิมในการพัฒนาต่อเป็น ㅌ ㄸ
3. ㅁ
คำว่า “มอ” เราเปิดปากกว้างเต็มที่ เลยเป็น ㅁ ง่ายๆเลยครับ
ส่วนคำว่า “พอ” เรายังใช้หลักเดิมก็คือปล่อยเสียงออกจากกลางปาก แต่คราวนี้เรามีการบีบกระพุ้งแก้มเล็กน้อย และกดเสียงลงนิดลง อักษรเลยแคบลง เลยสี่เหลี่ยมอยผู้ด้านล่าง เป็น ㅂ. เช่นกัน “พ่อ” ดันสูงขึ้น เลยเป็น ㅍ
ด้วยรูปแบบเดิม มันยังได้ก่อเกิด ㅃ ไปอีก
4. ㅅ
คำว่า “ซอ” เราดึงลิ้นลง แต่คราวนี้ไม่ได้แตะเพดานปาก และยังมีการห่อลิ้นเล็กน้อย เลยเป็น ㅅ รูปร่างลิ้นตอนห่อ ถ้านึกไม่ออก ลองคิดถึง ลิ้นน้องแมว
เช่นเดิม “ชอ” คือ ลิ้นที่สูงขึ้น และ “ช่อ” คือสูงขึ้นไปอีก เลยเป็น ㅈ และ ㅊ ตามลำดับ
นอกจากนี้มันยังได้แปลงรูปไปเป็น ㅆ ㅉ ไปอีก
5. ㅇ
คำว่า “ออ” มาจากลำคอตรงๆเพียงเท่านั้น เลยเป็น ㅇ สัญลักษณ์แทนลำคอกลมๆของเรา
“ฮอ” ก็มาจากแหล่งเดียวกัน แต่มีการดันเสียงขึ้น จึงเป็น ㅎ, 2 ขีดเหนือวงกลมแทนการยกเสียง
6. ㄹ
คำว่า “รอ” นั่นเอง แต่ไม่ได้กระดกลิ้นชัดเจนเหมือนไทย ลองนึกถึงคำอังกฤษดีกว่า เช่น ROLL
จะค้นพบว่าเรามีการดันเสียงขึ้นเหมือน “คอ” จึงเป็น ㄱ แต่ก็ต่างกันตรงที่ “คอ” เราดันขึ้นแล้วอ้าปาก แต่ “รอ” เราดันขึ้นแล้วยกปากล่างขึ้น เป็นการดึงลิ้นขึ้นมาช่วยส่งเสียงออกไปข้างบนต่อ, นี่คือเอกลักษณ์จาก “นอ” มี ㄴ เข้าไปอีกตัว เลยประกอบร่างเป็น ㄹ ครับ
แชร์ได้ แต่ขอความร่วมมือ ใส่เครดิตด้วยนะครับ