เตือนผู้บริโภค เผยผลทดสอบเครื่องดื่มผสมวิตามินซี ที่ไม่มีวิตามินซี เจอถึง 8 แบรนด์ดัง


เว็บไซต์ “มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค” เผยผลทดสอบปริมาณวิตามินซีในเครื่องดื่มผสมวิตามินซี จำนวน 47 ตัวอย่างที่วางจำหน่ายทั่วไปตามท้องตลาด พบมีปริมาณวิตามินซีไม่ตรงตามที่แจ้งบนฉลากสินค้า และมีถึง 8 แบรนด์ดังที่ไม่พบปริมาณวิตามินซี พร้อมแนะให้กินผักผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวเพื่อให้ได้วิตามินซีเช่นกัน

เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. เว็บไซต์ “มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค” ได้ออกมาเผยผลทดสอบปริมาณวิตามินซีในเครื่องดื่มผสมวิตามินซี จำนวน 47 ตัวอย่าง ที่วางจำหน่ายทั่วไปตามท้องตลาด พบมีปริมาณวิตามินซีไม่ตรงตามที่แจ้งบนฉลากสินค้า และมีถึง 8 ตัวอย่างที่ไม่พบปริมาณวิตามินซี แนะผู้บริโภครับประทานวิตามินซีจากผักหรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม ฝรั่ง หรือลูกหม่อน

สำหรับ เครื่องดื่มผสมวิตามินซี ที่ตรวจไม่พบปริมาณวิตามินซี จำนวน 8 ตัวอย่าง ได้แก่

1) ยันฮี วิตามิน ซี วอเตอร์ Yanhee VITAMIN C WATER กราสเจลลี่ (เครื่องดื่มผสมน้ำเฉาก๊วยสกัดและวิตามินซี)ขนาด 460 มล.(วันผลิต 07-10-2020 / 07-10-2021)

2) นูริชเมท Nurish Mate ขนมเยลลีบุก และคาราจีแนน ผสมคอลลาเจน วิตามินซี และน้ำองุ่นขาว 15% กลิ่นสตรอว์เบอร์รี และพีช ขนาด 150 มล.(วันผลิต 11-08-2020 / 10-08-2021)

3) มีมิกซ์ เครื่องดื่มเข้มข้นกลิ่นส้มผสมวิตามิน ขนาด 48 มล. (วันผลิต12-06-2019 / 12-06-2021)

4) มีมิกซ์ เครื่องดื่มเข้มข้นกลิ่นเบอร์รีเลมอนผสมวิตามิน ขนาด 48 มล. (วันผลิต 07-03-2019 / 07-03-2021)

5) เครื่องดื่มรสมะนาวเลมอน ตรามินิ Lemonade Vitamin C200 ขนาด 345 มล. (วันผลิต 00-00-0000 / 03-10-2021)

6) เฟสต้า-ซี เดลี่ ไฟเบอร์ ลิ้นจี่ เฟลเวอร์ เครื่องดื่มน้ำรสลิ้นจี่ 12% ผสมวิตามินซี และใยอาหาร 100 ขนาด มล.(วันผลิต 02-09-2019 / 01-03-2021)

7) มินิ พิงค์ เลม่อนเนด เครื่องดี่มรสเลมอนผสมเบอร์รี ขนาด 345 มล. (วันผลิต 00-00-00 / 26-08-21)

และ 8) ดี.อาร์.ดริ้งค์ D.R.DRINK เจนไม วิตามิน วอเตอร์ เครื่องดื่มผสมวิตามินซี วิตามินบี 3 บี 6 บี 12 ไบโอติน กรดโฟลิก แซฟฟลาเวอร์ และแคลเซียมจากสาหร่ายลิโทรามเนียน ขนาด 500 มล. (วันผลิต 09-11-2020 / 09-11-2021)

เมื่อเปรียบเทียบปริมาณวิตามินซีกับคำกล่าวอ้างบนฉลาก มากกว่าหรือน้อยกว่า ร้อยละ 30 บนฉลากพบว่า มีผลิตภัณฑ์จำนวน 37 ตัวอย่าง มีปริมาณวิตามินซีไม่ตรงตามที่แจ้งบนฉลาก มีทั้งปริมาณมากและน้อยกว่าที่อ้างบนฉลาก

ทั้งนี้ ปริมาณวิตามินซีที่แนะนำให้บริโภคต่อวันตาม Thai RDI* (Thai Recommended Daily Intakes คือ ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป) อยู่ที่ 60 มิลลิกรัม โดยวิตามินซีสามารถสลายตัวได้ง่ายหากสัมผัสกับแสงหรือความร้อน แหล่งอาหารสำคัญที่ผู้บริโภคสามารถเลือกบริโภคเพื่อให้ได้วิตามินซี คือ ผักผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม, ฝรั่ง หรือ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี และหม่อน

อย่างไรก็ตาม การรับประทานวิตามินซีปริมาณสูงอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นนิ่วในไตได้

ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก MGR ONLINE เป็นอย่างสูง
https://mgronline.com/onlinesection/detail/9630000128206



สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 10
ต่อให้วิตามินซี สลายไปเองได้ ก็ไม่น่าจะถูกต้องนะคะ

เพราะผู้ซื้อเข้าใจจากการโฆษณาชัดแจ้ง ว่ามีวิตามินซี และควรจะมีตามที่เขียนไว้ข้างขวด

หรือถ้า วิตามินซีหายไปได้ ก็ต้องระบุวันหมดอายุ ของผลิตภัณฑืให้ถูกต้อง

บอกข้อมูลให้ครบถ้วน เช่น เป็นวิตามินที่ใส่ อาจไม่ใช่วิตามีที่มีในขวด ตอนผู้บริโภคซื้อ ผู้บริโภคจะได้เลือกได้ถูกต้อง
ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 1
ฝากกดบวกกดถูกใจกระทู้ เพื่อเป็นการช่วยเตือนภัยสมาชิกห้องอื่นไปในตัวด้วยนะคะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่