ผมเกิดมาพูดสำเนียงสุโขทัย กับสำเนียงภาคกลางก็ไม่ได้สังเกตอะไร จนกระทั่งลองพูดไปพูดมามีเสียงสองเสียงที่ฟังเหมือนมันไม่ใช่วรรณยุกต์ทั้ง 5 เสียงของภาษาไทยปกติ
คำว่า มด (แมลงชนิดหนึ่ง) สำเนียงบ้านผมศรีสัชนาลัยจะเรียกว่า ม้ด คือผมไม่รู้จะเขียนออกมายังไง มันต้องฟังเอง 5555 แต่มันไม่ใช่เสียงวรรณยุกต์โทแบบภาคกลาง มันคือเสียงที่เหมือนจะสูงกว่าเสียงเอก แต่ก็ไม่ถึงโท เหมือนอยู่ตรงกลางของเอกกับโท ในชีวิตประจำวันเท่าที่นึกออกจะมีสองคำคือ ม้ด (แมลง) ล้ด (ปริมาณน้อยลง) ค้ด (คดเคี้ยว) นอกนั้นจะออกเสียงเป็นไม้ตรี เช่น กด ก็ออกเป็น ก๊ด พูดปดก็ออกเป็น พูดป๊ด ผมก็ไม่รู้ว่ามันเทียบได้กับวรรญุกต์อะไร แต่ผมว่ามันคือเสียงวรรณยุกต์อีกแบบหนึ่งแน่ ๆ อีกเสียงหนึ่งผมไม่แน่ว่ามันคือเสียงจัตวาหรือเปล่า แต่มันจะมีการลากเสียงตวัดขึ้นมากกว่าจัตวานิดหนึ่ง ใช้เวลาจะสื่อถึงอะไรซักอย่างที่มีอันเดียว เช่น ขอยืมเงินซักหมื่น คนสุโขทัยจะพูดว่า "ข่อยืมเงินซักหมื๋น(อืน)" คือลากเสียงขึ้นจมูกไปอีกชั้นสูงกว่าจัตวา
ตอนแรกผมก็เทียบเป็นเสียงโทกับจัตวา แต่พอไปเรียนไกลบ้าน ไปสอนเพื่อนพูดภาษสุโขทัย ปรากฏว่าคนที่พูดกลาง เหนือ ใต้ ไม่สามารถออกเสียงสองเสียงที่ว่าได้ มันจะเพี้ยน ต้องฝึกนานมากกว่าจะเหมือน (เหมือนชาวต่างชาติเพิ่งฝึกวรรณยุกต์ใหม่ ๆ) ในขณะที่เพื่อนที่มาจากสุโขทัยขนาดไม่เคยพูดก็ยังออกเสียงได้เข้าหู ถูกต้อง แต่ที่แปลกใจคือเพื่อนคนอีสานออกเสียงกึ่งเอกกึ่งโทที่ว่านี้ได้ ผมก็เลยสรุปว่ามันคือเสียงวรรณยุกต์ที่ไม่มีในภาษาไทยปกติ เพราะคนไทยไม่ว่าจะภาคไหนก็คงไม่ออกเสียงวรรณยุกต์ทั้ง 5 เสียงเพี้ยนแน่ ๆ
แล้วการเปลี่ยนเสียงเอกของภาคกลางเป็นจัตวา (สี่ ---> สี) เปลี่ยนจัตวาของภาคกลางเป็นเสียงเอก (สี ----> สี่) มันสอนยากมาก สำเนียงสุโขทัยเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ภาษากลางไปมั่วมาก ฝึกยากมาก 55555
ทั้งนี้ผมก็ไม่รู้ว่าผมมโนไปเองแต่อยากฟังความเห็นคนที่พูดสำเนียงสุโขทัยว่าคิดยังไงครับ
คนที่พูดสำเนียงสุโขทัยรู้สึกไหมว่ามันมีเสียงวรรณยุกต์เพิ่มจากสำเนียงภาคกลางมาเสียงหนึ่งหรือเปล่าครับ
คำว่า มด (แมลงชนิดหนึ่ง) สำเนียงบ้านผมศรีสัชนาลัยจะเรียกว่า ม้ด คือผมไม่รู้จะเขียนออกมายังไง มันต้องฟังเอง 5555 แต่มันไม่ใช่เสียงวรรณยุกต์โทแบบภาคกลาง มันคือเสียงที่เหมือนจะสูงกว่าเสียงเอก แต่ก็ไม่ถึงโท เหมือนอยู่ตรงกลางของเอกกับโท ในชีวิตประจำวันเท่าที่นึกออกจะมีสองคำคือ ม้ด (แมลง) ล้ด (ปริมาณน้อยลง) ค้ด (คดเคี้ยว) นอกนั้นจะออกเสียงเป็นไม้ตรี เช่น กด ก็ออกเป็น ก๊ด พูดปดก็ออกเป็น พูดป๊ด ผมก็ไม่รู้ว่ามันเทียบได้กับวรรญุกต์อะไร แต่ผมว่ามันคือเสียงวรรณยุกต์อีกแบบหนึ่งแน่ ๆ อีกเสียงหนึ่งผมไม่แน่ว่ามันคือเสียงจัตวาหรือเปล่า แต่มันจะมีการลากเสียงตวัดขึ้นมากกว่าจัตวานิดหนึ่ง ใช้เวลาจะสื่อถึงอะไรซักอย่างที่มีอันเดียว เช่น ขอยืมเงินซักหมื่น คนสุโขทัยจะพูดว่า "ข่อยืมเงินซักหมื๋น(อืน)" คือลากเสียงขึ้นจมูกไปอีกชั้นสูงกว่าจัตวา
ตอนแรกผมก็เทียบเป็นเสียงโทกับจัตวา แต่พอไปเรียนไกลบ้าน ไปสอนเพื่อนพูดภาษสุโขทัย ปรากฏว่าคนที่พูดกลาง เหนือ ใต้ ไม่สามารถออกเสียงสองเสียงที่ว่าได้ มันจะเพี้ยน ต้องฝึกนานมากกว่าจะเหมือน (เหมือนชาวต่างชาติเพิ่งฝึกวรรณยุกต์ใหม่ ๆ) ในขณะที่เพื่อนที่มาจากสุโขทัยขนาดไม่เคยพูดก็ยังออกเสียงได้เข้าหู ถูกต้อง แต่ที่แปลกใจคือเพื่อนคนอีสานออกเสียงกึ่งเอกกึ่งโทที่ว่านี้ได้ ผมก็เลยสรุปว่ามันคือเสียงวรรณยุกต์ที่ไม่มีในภาษาไทยปกติ เพราะคนไทยไม่ว่าจะภาคไหนก็คงไม่ออกเสียงวรรณยุกต์ทั้ง 5 เสียงเพี้ยนแน่ ๆ
แล้วการเปลี่ยนเสียงเอกของภาคกลางเป็นจัตวา (สี่ ---> สี) เปลี่ยนจัตวาของภาคกลางเป็นเสียงเอก (สี ----> สี่) มันสอนยากมาก สำเนียงสุโขทัยเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ภาษากลางไปมั่วมาก ฝึกยากมาก 55555
ทั้งนี้ผมก็ไม่รู้ว่าผมมโนไปเองแต่อยากฟังความเห็นคนที่พูดสำเนียงสุโขทัยว่าคิดยังไงครับ