ด้วยความที่ผู้เขียนนิยมชมชอบในความรู้แขนงโหราศาสตร์ จึงจำเป็นต้องศึกษาเรื่องปฏิทิน ได้พบว่าผู้แปลและผลิตปฏิทินจากตะวันตกนำมาใช้ทางโหราศาสตร์ช้านาน ยังขาดความรู้ความเข้าใจธรรมชาติของโลกจริง เขาสนใจแต่คำนวนตามสูตรฟ้าโบราณจนขาดการเทียบกับโลกจริง ทั้งที่ต้นขั้วประวัติศาสตร์เดิมก็แสดงไว้ แต่ไม่ได้รับการใส่ใจนำพาเพื่อพัฒนา วิทยาศาสตร์สมัยใหม่คำนวนได้ถูกต้องแม่นยำ ก็ไม่ได้รับการนำมาใช้งาน
วันนี้จะมาพูดเรื่องความเพี้ยนในการแปลความหมายของปฏิทิน มีผลต่อแนวคิดทางโหราศาสตร์ภาคทฤษฏีและปฏิบัติ
ก่อนอื่นดูตารางด้านล่างนี้แสดงความหมายของ 12 เดือน (
https://en.wikipedia.org/wiki/Roman_calendar)
พอจะเห็นอะไรหรือยังนะ? ลองอ่านอธิบายด้านล่างสิว่าเข้าใจตรงกัน?
ตัวอย่างที่ 1 เดือน March
การตั้งแต่ชื่อเดือนที่รับมาจากปฏิทินยุโรปโบราณ เช่น เดือน “มีนาคม” ในภาษาของสยาม มีความหมายถึง “เดือนปลา” แต่แท้จริงแล้วในคำว่า “March” ทางต้นขั้วยุโรป ท่านแปลว่า “Month of Mars” ซึ่งหมายถึงเดือนแห่งดาวอังคาร หรือเทพเจ้าแห่งสงคราม ในเดือนนี้หาได้เกี่ยวข้องกับปลาแต่ประการใด แนวคิดเบื้องหลังของผู้คิดค้นปฏิทินยุคโรมัน คือ แสดง จุดวิษุวัต (equinox) หรือ จุดราตรีเสมอภาค ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กลางวันและกลางคืนยาวนานเท่ากัน (โดยในเดือน March จะเรียกว่า “Spring Equinox หรือ March equinox“) เป็น วันแรกที่เข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ (ฤดูร้อน)
แนวคิด คือ ความร้อนใหญ่ หมายถึง พลังของพระอาทิตย์ เป็น ธาตุไฟ ที่ให้พลังเผาพลาญ พลังแห่งการก้าวเคลื่อนเติบโต และการเกิดใหม่ เป็นต้น ฉะนั้น ณ วันที่เป็นวิษุวัต นั้น จึงให้เป็นจุดเริ่มต้นราศีเมษ ซึ่งเป็นราศีที่แทนด้วยจุดสูงสุดของร่างกาย คือ “ศรีษะ”
(มิใช่ดาวอัศวินี อย่างที่ทางโหรภารตะดั้งเดิมใช้ในอดีตเมื่อ 2,300 กว่าปีที่ผ่านมา (และยังมีสอนให้ใช้ในปัจจุบัน) เพราะตัวจุดวิศุวัตมันร่นถอยไปเรื่อยๆ มีผลให้ฤดูกาลต่างๆร่นและมาเร็วขึ้นกว่าเดิม จึงจำเป็นต้องร่นปฏิทินตามยุคสมัย ใช้เหมือนเดิมมิได้)
ฉะนั้นหากใช้คำว่า “มีนาคม” ซึ่งแปลว่า “เดือนปลา” จะให้ความหมายเชิงฤดูกาลว่าอย่างไร?
อาจมีผู้โต้แย้งว่า ที่เรียกว่า มีนาคม เพราะ ดวงอาทิตย์โคจรในกลุ่มดาวราศีมีน ก็พอใช้ตอบได้ แต่ในเดือนที่เข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ มิได้มีเพียงแต่ปลาที่สดใสชื่นบาน ทั้งกลุ่มดาวจักรราศีแท้จริงแล้วก็มิได้มีจริง เป็นการเชื่อมต่อรูปทรงจากดาวสู่ดาวให้เกิดรูปทรงราศีบางครั้งเป็นการเชื่อมจากดาวกับกาแลคซี่ด้วยซ้ำ เหมือนสมัยอนุบาลครูให้ลากตามเส้นประ จึงจินตนาการได้มากมาย ผู้เขียนเห็นว่าพอจะใช้เรียนเอาจำได้ แต่เอาจริงตามปฏิกิริยาของโลกต้องถอดลึกความหมายอีกชั้นหนึ่งได้แล้ว)
โดยแท้จริงสรรพสัตว์ใช้ชีวิตเชื่อมโยงกับ “ฤดูกาล” (ร้อนแดด, เย็นลม, และเปียกฝน) บนผิวโลก มากกว่ากลุ่มดาวซึ่งคนโบราณจินตนาการลากเส้นเป็นรูปทรงขึ้นเอง โดยหากเราลองพิจารณาดู จุดดาวแต่ละดาวห่างไกลกันนับสิบนับร้อยปีแสงทั้งในแนวลึกแนวขนาน จะสัมพันธ์เป็นเนื้อเดียวกันได้อย่างไร? มันเป็นจุดเส้นประสมมุติ
เมื่อสรรพสัตว์ใช้ชีวิตเชื่อมโยงกับฤดูกาล March equinox (วันวิษุวัต) เริ่มต้นขึ้นนั่นแหละ คือ จุดแท้ของการตั้งต้นราศีฤดูกาลของชีวิต
Marte, en la puerta de París de la ciudad de Lille.
ตัวอย่างที่ 2 เดือน April
April แปลว่า Month of Apru (Aphrodite) ซึ่งเป็นเดือนของเทพธิดากรีกโบราณ เป็นตัวแทนของ ความรัก, ความงาม, ความพึงพอใจ, สุขารมณ์และการให้กำเนิด ภาคโรมัน คือ วีนัส
ฉะนั้นมันเกี่ยวข้องกับดาวศุกร์ ซึ่งเป็นเกษตรบดีของราศีพฤษภ มิใช้ในการแปลของสยามประเทศแต่โบราณนานมา แปล “เมษายน” เป็นเดือนเมษ เป็นจุดเริ่มต้น
อาจมีผู้ไม่เข้าใจแย้งว่า อันนั้นเป็นของยุโรป อันนี้เป็นของสยามประเทศ ตำแหน่งดาวต่างกันได้
ก็ต้องอธิบายว่ามิใช่เช่นนั้น เพราะไม่ว่าจะอยู่ตรงที่ใดในโลก ตำแหน่งดาวเทียบกับแนวเส้นสุริยะวิถี ตำแหน่งองศาดาวแสดงใกล้เคียงกันหมดทุกจุดในโลก ซึ่งผู้แย้งสามารถไปศึกษาดาราศาสตร์ฟ้าจริงได้ด้วยตนเองเพื่อพิสูจน์
Aphrodite of the Syracuse type. Parian marble, Roman copy of the 2nd century CE after a Greek original of the 4th century BC; neck, head and left arm are restorations by Antonio Canova. Found at Baiae, Southern Italy.
ตัวอย่างที่ 3 เดือน May
May มีความหมายถึง Month of Maia หรือเป็นเดือนของเทพธิดา Maia ซึ่งเป็นแม่ของ Hermes ผู้นำสาร (Messenger) มีการพบหลักฐานรูปปั้น Maia และ Hermes และมักพบภาพและรูปปั้นเป็นคู่ (เมถุน)
มิได้ แปลว่า “พฤษภาคม” แบบปฏิทินโบราณ 2,300 ปีที่แล้วใช้
Mercury and Maia[8] inside a silver cup dedicated by the freedman P. Aelius Eutychus (late 2nd century AD), from a Gallo-Roman religious site
Hermes and Maia, detail from an Attic red-figure amphora (c. 500 BC)
ตัวอย่างที่ 4 เดือน June
June หมายถึง Month of Juno ซึ่งเป็นเดือนของเทพธิดา Juno มิได้เกี่ยวกับราศีเมถุนแต่ประการใด เทพธิดาองค์นี้เป็นเทพีผู้พิทักษ์ที่ปรึกษาของรัฐ เป็นภรรยาของเซอุส เป็นพระราชินี หรือหญิงที่สูงสุด จึงเป็นผู้หญิงแกร่ง มีความสามารถ
Juno Sospita, a plaster cast based on an original in the Vatican Museums
ปฏิทินแปลความมาผิด จะใช้กับโหราศาสตร์ฟ้าจริงปัจจุบันให้เที่ยงตรง ย่อมเป็นไปได้ยาก
ปฏิทินปัจจุบันนับวันผิดจากปรากฏการณ์จริงบนฟ้ามานานมากแล้ว
เป็นที่ทราบกันดีในผู้สนใจโหราศาสตร์ปัจจุบันว่า การตัดวันเพื่อข้ามราศี จะไม่ตรงกับวันที่ 1 ของเดือน สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะระบบปฏิทินของยุโรปเองก็มิได้ร่นวันที่ตามจุดวิศุวัตมานับร้อยนับพันกว่าปีแล้ว
ถ้าคำนวนจากจุดวิศุวัต วันนี้ควรเป็นวันที่เท่าไหร่?
ภาพแสดงตำแหน่งของดาวอาทิตย์บนเส้นสุริยะวิถี
ผมเขียนกระทู้นี้ขึ้นในวันที่ 15 ธันวาคม 2563 เวลา 22:45 น. ดาวอาทิตย์ โคจรเป็นระยะทางราว 264 องศา จากจุดวิศุวัต ซึ่งราศีหนึ่งได้ระยะ 30 องศา พระอาทิตย์จึงโคจรในราศีธนู มาประมาณแล้ว 24 องศา หรือราว 24 วัน
ฉะนั้น ควรจะเป็นประมาณ วันที่ 24 ธันวาคม มิใช่ 15 ธันวาคม ตามปฏิทินแสดงสากลปัจจุบัน
เราควรทำอะไรกับปฏิทินที่ยังไม่ตรง
เราควรช่วยกันสนับสนุนการทำปฏิทินให้ตรงกับจุดเริ่มแต่ละราศี ซึ่งจะช่วยการวัดคำนวนมีความชัดเจนถูกต้องมากขึ้น ทั้งช่วยผู้คนศึกษาเรียนรู้ง่าย เพื่อนำไปใช้พัฒนาชีวิตของเขาเอง
โลกมันเปลี่ยนไปแล้ว ต้องพัฒนาตนเองตาม, ของเก่าควรอนุรักษ์ตามยุคสมัย - เอกโหรา
ปล. สำหรับปฏิทินจันทรคติเองก็พบผิดพลาด ในการคำนวนตัดจันทรคติเพื่อกำหนดพิธีกรรมสำคัญทางศาสนาและเทศกาลท้องถิ่นเช่นกัน ไว้จะเขียนให้อ่าน
ปฏิทินโหรความหมายรากฐานผิด ก็ใช้ทำนายกัน? – เอกโหรา
วันนี้จะมาพูดเรื่องความเพี้ยนในการแปลความหมายของปฏิทิน มีผลต่อแนวคิดทางโหราศาสตร์ภาคทฤษฏีและปฏิบัติ
ก่อนอื่นดูตารางด้านล่างนี้แสดงความหมายของ 12 เดือน (https://en.wikipedia.org/wiki/Roman_calendar)
พอจะเห็นอะไรหรือยังนะ? ลองอ่านอธิบายด้านล่างสิว่าเข้าใจตรงกัน?
ตัวอย่างที่ 1 เดือน March
การตั้งแต่ชื่อเดือนที่รับมาจากปฏิทินยุโรปโบราณ เช่น เดือน “มีนาคม” ในภาษาของสยาม มีความหมายถึง “เดือนปลา” แต่แท้จริงแล้วในคำว่า “March” ทางต้นขั้วยุโรป ท่านแปลว่า “Month of Mars” ซึ่งหมายถึงเดือนแห่งดาวอังคาร หรือเทพเจ้าแห่งสงคราม ในเดือนนี้หาได้เกี่ยวข้องกับปลาแต่ประการใด แนวคิดเบื้องหลังของผู้คิดค้นปฏิทินยุคโรมัน คือ แสดง จุดวิษุวัต (equinox) หรือ จุดราตรีเสมอภาค ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กลางวันและกลางคืนยาวนานเท่ากัน (โดยในเดือน March จะเรียกว่า “Spring Equinox หรือ March equinox“) เป็น วันแรกที่เข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ (ฤดูร้อน)
แนวคิด คือ ความร้อนใหญ่ หมายถึง พลังของพระอาทิตย์ เป็น ธาตุไฟ ที่ให้พลังเผาพลาญ พลังแห่งการก้าวเคลื่อนเติบโต และการเกิดใหม่ เป็นต้น ฉะนั้น ณ วันที่เป็นวิษุวัต นั้น จึงให้เป็นจุดเริ่มต้นราศีเมษ ซึ่งเป็นราศีที่แทนด้วยจุดสูงสุดของร่างกาย คือ “ศรีษะ”
(มิใช่ดาวอัศวินี อย่างที่ทางโหรภารตะดั้งเดิมใช้ในอดีตเมื่อ 2,300 กว่าปีที่ผ่านมา (และยังมีสอนให้ใช้ในปัจจุบัน) เพราะตัวจุดวิศุวัตมันร่นถอยไปเรื่อยๆ มีผลให้ฤดูกาลต่างๆร่นและมาเร็วขึ้นกว่าเดิม จึงจำเป็นต้องร่นปฏิทินตามยุคสมัย ใช้เหมือนเดิมมิได้)
ฉะนั้นหากใช้คำว่า “มีนาคม” ซึ่งแปลว่า “เดือนปลา” จะให้ความหมายเชิงฤดูกาลว่าอย่างไร?
อาจมีผู้โต้แย้งว่า ที่เรียกว่า มีนาคม เพราะ ดวงอาทิตย์โคจรในกลุ่มดาวราศีมีน ก็พอใช้ตอบได้ แต่ในเดือนที่เข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ มิได้มีเพียงแต่ปลาที่สดใสชื่นบาน ทั้งกลุ่มดาวจักรราศีแท้จริงแล้วก็มิได้มีจริง เป็นการเชื่อมต่อรูปทรงจากดาวสู่ดาวให้เกิดรูปทรงราศีบางครั้งเป็นการเชื่อมจากดาวกับกาแลคซี่ด้วยซ้ำ เหมือนสมัยอนุบาลครูให้ลากตามเส้นประ จึงจินตนาการได้มากมาย ผู้เขียนเห็นว่าพอจะใช้เรียนเอาจำได้ แต่เอาจริงตามปฏิกิริยาของโลกต้องถอดลึกความหมายอีกชั้นหนึ่งได้แล้ว)
โดยแท้จริงสรรพสัตว์ใช้ชีวิตเชื่อมโยงกับ “ฤดูกาล” (ร้อนแดด, เย็นลม, และเปียกฝน) บนผิวโลก มากกว่ากลุ่มดาวซึ่งคนโบราณจินตนาการลากเส้นเป็นรูปทรงขึ้นเอง โดยหากเราลองพิจารณาดู จุดดาวแต่ละดาวห่างไกลกันนับสิบนับร้อยปีแสงทั้งในแนวลึกแนวขนาน จะสัมพันธ์เป็นเนื้อเดียวกันได้อย่างไร? มันเป็นจุดเส้นประสมมุติ
เมื่อสรรพสัตว์ใช้ชีวิตเชื่อมโยงกับฤดูกาล March equinox (วันวิษุวัต) เริ่มต้นขึ้นนั่นแหละ คือ จุดแท้ของการตั้งต้นราศีฤดูกาลของชีวิต
Marte, en la puerta de París de la ciudad de Lille.
ตัวอย่างที่ 2 เดือน April
April แปลว่า Month of Apru (Aphrodite) ซึ่งเป็นเดือนของเทพธิดากรีกโบราณ เป็นตัวแทนของ ความรัก, ความงาม, ความพึงพอใจ, สุขารมณ์และการให้กำเนิด ภาคโรมัน คือ วีนัส
ฉะนั้นมันเกี่ยวข้องกับดาวศุกร์ ซึ่งเป็นเกษตรบดีของราศีพฤษภ มิใช้ในการแปลของสยามประเทศแต่โบราณนานมา แปล “เมษายน” เป็นเดือนเมษ เป็นจุดเริ่มต้น
อาจมีผู้ไม่เข้าใจแย้งว่า อันนั้นเป็นของยุโรป อันนี้เป็นของสยามประเทศ ตำแหน่งดาวต่างกันได้
ก็ต้องอธิบายว่ามิใช่เช่นนั้น เพราะไม่ว่าจะอยู่ตรงที่ใดในโลก ตำแหน่งดาวเทียบกับแนวเส้นสุริยะวิถี ตำแหน่งองศาดาวแสดงใกล้เคียงกันหมดทุกจุดในโลก ซึ่งผู้แย้งสามารถไปศึกษาดาราศาสตร์ฟ้าจริงได้ด้วยตนเองเพื่อพิสูจน์
Aphrodite of the Syracuse type. Parian marble, Roman copy of the 2nd century CE after a Greek original of the 4th century BC; neck, head and left arm are restorations by Antonio Canova. Found at Baiae, Southern Italy.
ตัวอย่างที่ 3 เดือน May
May มีความหมายถึง Month of Maia หรือเป็นเดือนของเทพธิดา Maia ซึ่งเป็นแม่ของ Hermes ผู้นำสาร (Messenger) มีการพบหลักฐานรูปปั้น Maia และ Hermes และมักพบภาพและรูปปั้นเป็นคู่ (เมถุน)
มิได้ แปลว่า “พฤษภาคม” แบบปฏิทินโบราณ 2,300 ปีที่แล้วใช้
Mercury and Maia[8] inside a silver cup dedicated by the freedman P. Aelius Eutychus (late 2nd century AD), from a Gallo-Roman religious site
Hermes and Maia, detail from an Attic red-figure amphora (c. 500 BC)
ตัวอย่างที่ 4 เดือน June
June หมายถึง Month of Juno ซึ่งเป็นเดือนของเทพธิดา Juno มิได้เกี่ยวกับราศีเมถุนแต่ประการใด เทพธิดาองค์นี้เป็นเทพีผู้พิทักษ์ที่ปรึกษาของรัฐ เป็นภรรยาของเซอุส เป็นพระราชินี หรือหญิงที่สูงสุด จึงเป็นผู้หญิงแกร่ง มีความสามารถ
Juno Sospita, a plaster cast based on an original in the Vatican Museums
ปฏิทินแปลความมาผิด จะใช้กับโหราศาสตร์ฟ้าจริงปัจจุบันให้เที่ยงตรง ย่อมเป็นไปได้ยาก
ปฏิทินปัจจุบันนับวันผิดจากปรากฏการณ์จริงบนฟ้ามานานมากแล้ว
เป็นที่ทราบกันดีในผู้สนใจโหราศาสตร์ปัจจุบันว่า การตัดวันเพื่อข้ามราศี จะไม่ตรงกับวันที่ 1 ของเดือน สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะระบบปฏิทินของยุโรปเองก็มิได้ร่นวันที่ตามจุดวิศุวัตมานับร้อยนับพันกว่าปีแล้ว
ถ้าคำนวนจากจุดวิศุวัต วันนี้ควรเป็นวันที่เท่าไหร่?
ภาพแสดงตำแหน่งของดาวอาทิตย์บนเส้นสุริยะวิถี
ผมเขียนกระทู้นี้ขึ้นในวันที่ 15 ธันวาคม 2563 เวลา 22:45 น. ดาวอาทิตย์ โคจรเป็นระยะทางราว 264 องศา จากจุดวิศุวัต ซึ่งราศีหนึ่งได้ระยะ 30 องศา พระอาทิตย์จึงโคจรในราศีธนู มาประมาณแล้ว 24 องศา หรือราว 24 วัน
ฉะนั้น ควรจะเป็นประมาณ วันที่ 24 ธันวาคม มิใช่ 15 ธันวาคม ตามปฏิทินแสดงสากลปัจจุบัน
เราควรทำอะไรกับปฏิทินที่ยังไม่ตรง
เราควรช่วยกันสนับสนุนการทำปฏิทินให้ตรงกับจุดเริ่มแต่ละราศี ซึ่งจะช่วยการวัดคำนวนมีความชัดเจนถูกต้องมากขึ้น ทั้งช่วยผู้คนศึกษาเรียนรู้ง่าย เพื่อนำไปใช้พัฒนาชีวิตของเขาเอง
โลกมันเปลี่ยนไปแล้ว ต้องพัฒนาตนเองตาม, ของเก่าควรอนุรักษ์ตามยุคสมัย - เอกโหรา
ปล. สำหรับปฏิทินจันทรคติเองก็พบผิดพลาด ในการคำนวนตัดจันทรคติเพื่อกำหนดพิธีกรรมสำคัญทางศาสนาและเทศกาลท้องถิ่นเช่นกัน ไว้จะเขียนให้อ่าน