สมัยก่อนระหว่างการค้าขายภายในรัฐ(ขายผ่านทางแม่น้ำ) กับ การค้าขายทางทะเล เทียบกันแล้วอันไหนดีกว่ากันครับ

หลังจากที่ผมได้ตั้งกระทู้ที่ชื่อว่า ทำไมสมัยโบราณ เส้นทางขนส่งทางทะเล ถึงหวือหวากว่า เส้นทางขนส่งทางบก ครับ https://ppantip.com/topic/40338742
ขออนุญาตหยิบยกความคิดเห็นที่ 5 HotChoc คัดมาบางส่วนนะครับ
1. ส่งทางเรือนั้นค่าใช้จ่ายถูกกว่าครับ เรือหนึ่งลำลูกเรือยี่สิบสามสิบคนขนของข้ามโลกได้หลายสิบตัน ถ้าส่งทางบกอาจต้องใช้คนและสัตว์เป็นร้อยชีวิต ทีนี้พอเราส่งสินค้าปริมาณมาก ๆ ได้พอหารเฉลี่ยค่าส่งต่อสินค้าหนึ่งหน่วยแล้วการส่งทางทะเลจะถูกกว่ามาก
2. ในสมัยก่อนการเดินทางทางบกยังไม่มีโครงสร้างพื้นฐาน (ถนน สะพาน ทางรถไฟ) ที่ดีเท่าปัจจุบัน อุปสรรคเยอะมากครับ ทางทะเลสมัยก่อนก็ใช่ว่าจะสะดวกแต่ก็ยังดีกว่าทางบก
3. รวดเร็วกว่า ตอนที่โปรตุเกสตั้งสถานีการค้าที่อินเดีย ใช้เวลาเดินทางไปกลับระหว่างลิสบอนกับกัวประมาณ 18 เดือน ถ้าไปกลับทางบกอาจจะถึง 3-4 ปีครับ
4. อันนี้เป็นประเด็นของยุโรปตะวันตก คือการค้าขายกับเอเซียนั้นผ่านพ่อค้าคนกลางหลายต่อ โดนโขกฟันภาษีและกำไรรายทางเยอะมากครับ เช่นเครื่องเทศที่ปลูกในอินโดนีเซียจะมีพ่อค้ามุสลิมพื้นเมืองนำมาขายในอินเดีย ซึ่งก็คิดกำไรไปแล้ว ราชาอินเดียก็คิดค่านำสินค้าเข้ามาขาย จากนั้นพ่อค้าอาหรับมาซื้อต่อไปบวกราคาเข้าไปอีก นำเครื่องเทศเดินทางทางน้ำผ่านทะเลแดงไปขายต่อที่อเล็กซานเดรีย ซึ่งทางมาเมลุคตอนนั้นให้สิทธิในการซื้อขายเครื่องเทศกับรัฐยุโรปตะวันตกบางรัฐเท่านั้นเช่นเวนิซกับเจนัว แน่นอนว่าคิดค่าสัมปทานนี้แพงมหาศาล พ่อค้าเวนิซนำไปขายต่อก็บวกกำไรเข้าไปอีก กว่าเครื่องเทศจะไปถึงโปรตุเกสนี่ราคาแพงขึ้นไปเป็นสิบเท่าได้

แต่ก็มีบางจักรวรรดิที่ไม่ได้เน้น หรือทำการค้าขายภายในทะเลเท่าไหร่ เน้นค้าขายภายในรัฐมากกว่าเช่น จักรวรรดิออสเตรีย กับ ราชวงศ์หมิง

ขออนุญาตหยิบยก กระทู้ ทำไมจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ถึงไม่คิดจะกลืนชาติเลย??? https://ppantip.com/topic/40092438 ของ สมาชิกหมายเลข 5810821 
ขออนุญาตหยิบยกความคิดเห็นที่ 7 HotChoc คัดมาบางส่วนนะครับ
? ทำไมจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ไม่เน้นการค้า
จริง ๆ แล้วทางจักรวรรดิก็เน้นการค้านะครับ มีการจัดตั้งเมืองอิสระ (Free Imperial City) ที่ขึ้นตรงกับจักรวรรดิไม่ผ่านรัฐที่เมืองตั้งอยู่ด้วยซ้ำ เมืองเหล่านี้และเมืองใหญ่อื่นเป็นเมืองค้าขายผ่านทางแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ของเยอรมัน เช่น ไรห์น (โคโลญ โคเบลนซ์ ไมนซ์) วีเซอร์ (เบรเมน) ไมน (แฟรงเฟิร์ต) เอลเบ (ฮัมเบิร์ก แมกเดเบิร์ก เบอร์ลิน เดรสเดน ลงไปถึงปรากในโบฮีเมีย) รวมถึงควบคุมการค้าทั้งในทะเลเหนือ (ลูเบ็ค ฮัมเบิร์ก เบรเมน) หลายเมืองจัดตั้งรวมตัวกันเป็นองค์กรการค้าที่เรียกว่าฮันซา มีเครือข่ายการค้าและอิทธิพลพอ ๆ กับกลุ่มการค้าเมดิซีกับฟุกเกอร์เลยครับ แต่การค้าของเยอรมันไม่ใช่การค้าโพ้นทะเลดังนั้นอาจจะไม่ได้ดูหวือหวาแบบของโปรตุเกส ดัชต์ อังกฤษ มั้ง

ทำไมราชวงศ์หมิงถึงไม่นำนโยบายการค้าทางทะเลแบบสมัยซ่งใต้มาใช้ครับ https://ppantip.com/topic/37826384
ขออนุญาตหยิบยกความคิดเห็นที่ 1 digimontamer
ส่วนหนึ่งผมมองว่า ในสมัยหมิงนั้นได้มีการพัฒนาระบบโครงข่ายการค้าด้วยคลองต้าหยุนเหอและเครือข่ายจนสมบูรณ์แบบมากขึ้น มีความสะดวก สบาย และปลอดภัยมากกว่าไปทำการค้าทางทะเลครับ
อีกทั้งในช่วงกลางราชวงศ์หมิง มีการรบกวนจากโจรสลัดญี่ปุ่นในทะเลจีนตะวันออกและทะเลจีนใต้อยู่ ทำให้การค้าโดยเอกชนนั้นกระทำได้ไม่สะดวกครับ เมื่อการค้าในแผ่นดินให้ผลกำไรและความปลอดภัยมากกว่า ก็ไม่แปลกที่จีนจะหันไปพัฒนาการค้าภายในแทนที่จะขยายการค้าขนาดใหญ่ออกไปข้างนอกครับ

จะเห็นว่าสองประเทศ ออสเตรีย ราชวงศ์หมิงจะใช้ระบบเครือขายแม่น้ำ สายแม่น้ำใหญ่ในการค้าขาย คล้ายๆ กับกรุงศรีอยุธยาที่อาศัยแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งปลอดภัย สะดวก สบาย ทางทะเลที่จะเจอพายุ สะดวกน้อยกว่า หรือโจรสลัดมาบุกปล้น จนขนาดบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลแลนด์ยังมีตั้งตลาดหุ้นขึ้นมาเลย https://www.longtunman.com/3192 เลยสงสัยว่าระหว่างการค้าภายในรัฐตามสายแม่น้ำภายในประเทศ กับ การค้าทางทะเลในสมัยก่อนคิดว่าอันไหนดีกว่ากันครับ และสร้างรายได้ได้มากกว่าครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ขึ้นกับว่าสินค้าที่ต้องการคืออะไรและสร้างมูลค่าได้มากแค่ไหนหน่ะครับ

อย่างการค้าเครื่องเทศจากเอเชียไปยุโรปนั้น อย่างไรสเปนหรือโปรตุเกศก็ต้องการค้าขายทางทะเลอยู่แล้ว เพราะแหล่งวัตถุดิบอยู่ไกล หากค้าขายทางบกก็ต้องผ่านพ่อค้าคนกลางหลายต่อ ทำให้เครื่องเทศที่ต้นทางราคาไม่แพงมากกลายเป็นของที่มูลค่ามากกว่าทองได้เมื่อไปถึงยุโรป

สำหรับจีนนั้น จีนเปิดเมืองท่าทางใต้เอาไว้ค้าขายกับต่างชาติในรูปแบบการผูกขาดโดยราชสำนักหน่ะครับ ส่วนการค้าภายในประเทศ ก็จะใช้ในการกระจายสินค้าต่างประเทศจากเมืองท่าไปยังเมืองสำคัญต่างๆ ซึ่งกระทำได้สะดวกกว่าการเดินเรือเลียบชายฝั่งจากกวางโจวหรือเฉวียนโจว ขึ้นมาทางภาคเหนือของจีนครับ

กรณีนี้คล้ายๆอยุธยานั่นแล อยุธยาเป็นศูนย์รวมการค้าทางแม่น้ำ ที่หัวเมืองตอนในของแผ่นดินขนของที่อยากจะขายผ่านทางเครือข่ายแม่น้ำมาลงสินค้าที่อยุธยา และให้พ่อค้าในอยุธยาหรือราชสำนักเอาไปขายต่อผ่านทางทะเลอีกทอดหนึ่ง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่