ขอขอบคุณเพจ GUN in The World อย่างสูงครับ"
https://www.facebook.com/Supakorngimzaa/?hc_ref=ARSVP07Rd-CFgU5_qUtnwLMw_f0KEuzMrtl4JqDBDueoDXYXpdasmnupVxHVRkYvqMQ&fref=nf
นิว นัมบุ เอ็ม60
ประวัติความเป็นมา
-------------------------------------------------------------------
ในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่สอง เจ้าหน้าที่รักษากฎหมายในญี่ปุ่นนั้นมีเพียงกระบี่ที่เป็นอาวุธประจำกายติดตัวเท่านั้น ศูนย์บัญชาการสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตร (Supreme Commander for the Allied Powers) ได้แนะนำว่าเหล่าผู้รักษากฎหมายของญี่ปุ่นควรจะมีอาวุธปืนติดตัว ตำรวจญี่ปุ่นจึงได้นำ ปืนพก โคลต์ เอ็ม1911 (Colt M1911) และ ปืนลูกโม่ สมิธ & เวสสัน เอ็ม1917 (Smith & Wesson Model 1917) ขนาด .45 เอซีพี (.45 ACP) หรือ 11.43×23มม. และ โคลต์ ออฟฟิเชียล โปลิส ขนาด .38 สเปเชียล (Colt Official Police .38 Special) หรือ 9.1×29มม. โดย ปืนลูกโม่ โคลต์ ออฟฟิเชียล โปลิส ขนาด .38 สเปเชียลนั้นได้รับเสียงตอบรับจากผู้ใช้งานค่อนข้างดีในขณะที่ ปืนพก โคลต์ เอ็ม1911 และ ปืนลูกโม่ สมิธ & เวสสัน เอ็ม1917 ขนาด .45 เอซีพี นั้นถูกมองว่ามีขนาดใหญ่เกินสำหรับสรีระคนญี่ปุ่นโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่หญิง เพื่อตอบสนองต่อปัญหา กองบัญชาการตำรวจแห่งชาติเขตชนบท (National Rural Police Headquarters) และ กรมตำรวจท้องถิ่นฝ่ายพลเรือน (Municipal Police Departments) จึงได้ทำการจัดหา สมิธ & เวสสัน โมเดล 36 (Smith & Wesson Model 36) และ โคลต์ ดิเทคทิฝ สเปเชียว (Colt Detective Special) ขนาด .38 สเปเชียว แต่ปืนทั้งสองรุ่นก็ถูกนำมาใช้งานในระยะสั้นๆเพราะ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และ อุตสาหกรรม หรือ เอ็มไอทีไอ (Ministry of International Trade and Industry ต่อย่อ MITI) ที่มีนโยบายสนับสนุนภาตอุตสาหกรรมอาวุธของญี่ปุ่นญี่ปุ่นจึงเลือกที่จะผลิตอาวุธเองมากกว่าจัดหาจากต่างประเทศ
-------------------------------------------------------------------
**************************************************************
แวะหยุดสักพักเผื่อใครงงตรง กองบัญชาการตำรวจแห่งชาติเขตชนบท และ กรมตำรวจท้องถิ่นฝ่ายพลเรือน นะครับคือ เมื่อก่อนลักษณะการดำเนินการของตำรวจญี่ปุ่นนั้นจะรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลางแต่ในปี ค.ศ. 1947 รัฐบาลญี่ปุ่น ได้ยกเลิกการดำเนินการในลักษณะนี้ แล้วจัดตั้งหน่วยตำรวจที่มีอิสระขึ้นมาแทน เช่น ในเมืองมีประชากรมากกว่า 5,000คน ให้ตั้ง หน่วยงานประจำเมืองที่เรียกว่า กรมตำรวจท้องถิ่นฝ่ายพลเรือน (Municipal Police Department) ส่วนเมืองหรือหมู่บ้านที่มีขนาดเล็กกว่านั้น จะอยู่ภายใต้การดูแลของของ ตำรวจแห่งชาติเขตชนบท (National Rural Police) แต่ภายหลังก็มีปัญหาที่เกิดขึ้นจากการกำหนดโครงสร้างแบบนี้คือ คือ การสนับสนุนเงินแก่ตำรวจท้องถิ่นและการที่แก๊งผู้มีอิทธิพลต่าง ๆ เข้ามามีอำนาจ
ซึ่งต่อมาจึงมีการแก้กฎหมายเพื่ออนุญาตให้กรมตำรวจท้องถิ่นฝ่ายพลเรือนรวมเข้ากับกองบัญชาการตำรวจแห่งชาติเขตชนบท และ ในปี ค.ศ. 1952-1955 ได้มีการปรับโครงสร้างตำรวจอีกครั้ง ให้มี 2 ระดับ คือหน่วยงานในระดับชาติ ที่เรียกว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (National Police Agency) และ ในระดับจังหวัดที่เรียกว่า กองกำลังตำรวจระดับจังหวัด (Prefecture police Forces) ซึ่งได้ควบรวม ตำรวจท้องถิ่น และ ตำรวจชนบทเข้าด้วยกันเป็นระบบเดียว มี 47 หน่วยเท่ากับจำนวนจังหวัด ซึ่งเป็นพื้นฐานของระบบตำรวจญี่ปุ่นในปัจจุบัน
**************************************************************
ในช่วงปี ค.ศ.1957 ถึง ปี ค.ศ.1959 ชิน-ชูโอะ อินดัซทเรียล (Shin-Chuō Industries ภายหลังแปรสภาพเป็น มินีแบ มิตซูมิ/MinebeaMitsumi) ได้พัฒนาปืนพกมาสามแบบคือ
1.นิว นัมบุ โมเดล 57 (New Nambu Model 57) เป็นปืนพกกึ่งอัตโนมัติใช้กระสุนขนาด 9x19มม. (9MM.) ซึ่งโมเดล57 นั้นพัฒนาตามข้อเรียกร้องของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น (Japan Self Defence Force) แต่ก็มีการเสนอให้ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติเช่นกัน
2.นิว นัมบุ โมเดล 57บี (New Nambu Model 57B) เป็นปืนพกกึ่งอัตโนมัติใช้กระสุนขนาด .32เอซีพี (.32ACP) หรือ 7.65×17มม.
3.นิว นัมบุ โมเดล60 (New Nambu Model 60) เป็นปืนลูกโม่ใช้กระสุนขนาด .38 สเปเชียล (38 Special) หรือ 9.1×29มม.
นิว นัมบุ โมเดล 57 และ นิว นัมบุ โมเดล 57บี นั้นไม่ได้รับการรับเลือกจากตำรวจญี่ปุ่นปืนที่ได้รับเข้าประจำการในหน่วยงานตำรวจของญี่ปุ่นคือ นิว นัมบุ โมเดล60 ซึ่ง) เป็นปืนลูกโม่ใช้กระสุนขนาด .38 สเปเชียลพัฒนาโดยใช้พื้นฐานของ สมิท & เวสสัน โมเดล 37 ชีฟ สเปเชียล (Smith & Wesson model 37 “Chief’s Special”) โดย สมิท & เวสสัน โมเดล 37 ชีฟ สเปเชียล เป็นปืนลูกโม่ที่ใช้กระสุนขนาด.38 สเปเชียล เป็นลูกโม่ที่ใช้โครงปืนขนาดเล็กหรือ เจ-เฟรม (J-Frame) ตามรหัสแยกขนาดโครงปืนของสมิท & เวสสันซึ่ง สมิทแอนด์เวสสัน โมเดล 37 นั้น เป็นการพัฒนามาจาก สมิท & เวสสัน โมเดล 36 แต่ใช้วัสดุอะลูมิเนียมในการทำโครงปืนและโม่ของปืน
นิว นัมบุ เอ็ม60 ได้เข้าสู่สายการผลิตจำนวนมากในช่วงปี ค.ศ.1960 โดย ชิน-ชูโอะ อินดัซทเรียล และ ปิดสายการผลิตลงในช่วงปี ค.ศ.1990 แต่ก็ยังคงเป็นปืนประจำกายของตำรวจญี่ปุ่นมาจนถึงปัจจุบัน
-------------------------------------------------------------------
คุณลักษณะของตัวปืน
-------------------------------------------------------------------
นิว นัมบุ โมเดล60/เอ็ม60 เป็นปืนลูกโม่ขนาดกระสุน .38 สเปเชียลพัฒนาโดยใช้พื้นฐานของ สมิท & เวสสัน โมเดล 37 ชีฟ สเปเชียล ความแตกต่างระหว่าง นิว นัมบุ โมเดล60 และ สมิท & เวสสัน โมเดล 37 คือโครงปืนและโม่ของ นิว นัมบุ โมเดล60 จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าของ สมิท & เวสสัน โมเดล 37 เนื่องจากในช่วงระหว่างพัฒนานั้น ชิน-ชูโอะ อินดัซทเรียล ได้มีการนำปืนลูกโม่ที่ใช้โครงปืนขนาดกลางหรือ เค-เฟรม(K-Frame) ตามรหัสแยกขนาดโครงปืนของสมิทแอนด์เวสสันซึ่ง ถ้าจัดตาม สมิท & เวสสัน นิว นัมบุ โมเดล60 จะอยู่กึ่งกลางระหว่างปืนลูกโม่ โครง เจ และ โครง เค
ไกปืนเป็นแบบ ดับเบิ้ลแอ็คชั่น/ซิงเกิ้ลแอ็คชั่น (Double action/Single action)สามารถยิงได้ในขณะที่ยังไม่ขึ้นนก (ดับเบิ้ลแอ็คชั่น) และ ยิงได้ในขณะที่ขึ้นนก/ง้างนกแล้ว (ซิงเกิ้ลแอ็คชั่น) การขึ้นนกจะทำให้ตัวโม่ของปืนหมุนและบรรจุกระสุนลูกใหม่ในรังเพลิง เมื่อเหนี่ยวไก นกจะสับลงมาที่ท้ายปลอกกระสุนปืนก็จะทำการยิงกระสุนออกไป บรรจุกระสุนในโม่ได้ 5 นัด ปืนทำด้วยเหล็กทั้งกระบอกต่างจาก สมิท & เวสสัน โมเดล 37 ที่เป็นอะลูมีเนียม ทำให้มีความทนทานกว่าแต่ก็แลกมากับน้ำหนักที่มากกว่าเช่นกัน (นัมบุหนัก 0.68 กิโลกรัม สมิธ หนัก 0.43 กิโลกรัม) ด้ามปืนทำจากวัสดุพลาสติกสีน้ำตาล และ มีหูกวินไว้คล้องเชือกคล้องปืนอยู่บริเวณด้ามปืน
-------------------------------------------------------------------
รุ่นต่างๆของตัวปืน
-------------------------------------------------------------------
1.นิว นัมบุ โมเดล60 รุ่นลำกล้องขนาด 2 นิ้ว (New Nambu M60 Revolver 2Inch barrel)
2.นิว นัมบุ โมเดล60 รุ่นลำกล้องขนาด 3 นิ้ว (New Nambu M60 Revolver 3Inch barrel)
3.นิว นัมบุ โมเดล60 ซากุระ (New Nambu m60 Sakura) เป็นรุ่นใช้สำหรับการกีฬาความยาวลำกล้องอยู่ที่ 6 นิ้ว ด้ามปืนออกแบบสำหรับใช้ในการแข่งยิงเป้าโดยเฉพาะ ศูนย์หลังเป็นศูนย์สะพานสามารถจัดปรับได้ รุ่นนี้มีการส่งออกไปขายในทวีปยุโรป
-------------------------------------------------------------------
ความเห็นส่วนตัว
-------------------------------------------------------------------
เป็นปืนลูกโม่ที่คนทั่วโลกส่วนใหญ่จะเห็นในสื่อบันเทิงจากประเทศญี่ปุ่นมากกว่าที่จะได้จับต้องและยิงมันแม้แต่รุ่นส่งออกอย่างซากุระก็ยังหายิงได้ยาก สำหรับการหาปืนมาทดแทนนั้นหน่วยงานตำรวจของญี่ปุ่นนั้นได้เคยมีแผนจะทดแทน นิม นัมบุ เอ็ม60 ด้วยปืนพกกึ่งอัตโนมัติทั้งหมดแต่ก็ยกเลิกไปมีการจัดหาปืนพก ซิกซาวเออร์ พี230 และ มีการจัดหา ซากุระ เอ็ม360เจ (SAKURA M360J) ซึ่งเป็นการผลิตร่วมกันระหว่าง สมิท & เวสสัน และ มินีแบ มิตซูมิ แต่ก็จัดหาในจำนวนไม่มากและใช้งานในตำรวจนอกเครื่องแบบเท่านั้น คงต้องดูต่อไปว่าประเทศที่มีอาชญากรรมเกี่ยวกับอาวุธปืนต่ำแบบญี่ปุ่นนั้นจะทำอย่างไรต่อไป…..
-------------------------------------------------------------------
คุณลักษณะโดยรวม
-------------------------------------------------------------------
1.ประเทศผู้ผลิต : ญี่ปุ่น
2.ผลิตโดย : ชิน-ชูโอะ อินดัซทเรียล/มินีแบ มิตซูมิ
3.ขนาดกระสุน : 38 สเปเชียล/9.1×29มม.
4.น้ำหนัก : 0.68 กิโลกรัม/0.85 กิโลกรัม ในรุ่นซากุระ
5 ความยาวลำกล้อง : 2,3,6 นิ้ว
6 ระยะยิงไกลสุด : 50 เมตร
-------------------------------------------------------------------
ขอบคุณที่ติดตามหากมีข้อผิดพลาดประการใดขอให้ชี้แจงและขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยสวัสดีครับ
แหล่งอ้างอิง
-------------------------------------------------------------------
https://en.wikipedia.org/wiki/New_Nambu_M60
https://modernfirearms.net/.../japan.../new-nambu-m60-eng/
https://www.npa.go.jp/english/index.htm
https://ameblo.jp/annefreaks123/entry-12067545870.html
https://www.minebeamitsumi.com/.../aboutus/history/...
https://en.wikipedia.org/wiki/Law_enforcement_in_Japan
https://doyouknowjapan.com/police/
สวัสดีครับ
สารานุกรมปืนตอนที่ 438 นิว นัมบุ เอ็ม60
https://www.facebook.com/Supakorngimzaa/?hc_ref=ARSVP07Rd-CFgU5_qUtnwLMw_f0KEuzMrtl4JqDBDueoDXYXpdasmnupVxHVRkYvqMQ&fref=nf
นิว นัมบุ เอ็ม60
ประวัติความเป็นมา
-------------------------------------------------------------------
ในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่สอง เจ้าหน้าที่รักษากฎหมายในญี่ปุ่นนั้นมีเพียงกระบี่ที่เป็นอาวุธประจำกายติดตัวเท่านั้น ศูนย์บัญชาการสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตร (Supreme Commander for the Allied Powers) ได้แนะนำว่าเหล่าผู้รักษากฎหมายของญี่ปุ่นควรจะมีอาวุธปืนติดตัว ตำรวจญี่ปุ่นจึงได้นำ ปืนพก โคลต์ เอ็ม1911 (Colt M1911) และ ปืนลูกโม่ สมิธ & เวสสัน เอ็ม1917 (Smith & Wesson Model 1917) ขนาด .45 เอซีพี (.45 ACP) หรือ 11.43×23มม. และ โคลต์ ออฟฟิเชียล โปลิส ขนาด .38 สเปเชียล (Colt Official Police .38 Special) หรือ 9.1×29มม. โดย ปืนลูกโม่ โคลต์ ออฟฟิเชียล โปลิส ขนาด .38 สเปเชียลนั้นได้รับเสียงตอบรับจากผู้ใช้งานค่อนข้างดีในขณะที่ ปืนพก โคลต์ เอ็ม1911 และ ปืนลูกโม่ สมิธ & เวสสัน เอ็ม1917 ขนาด .45 เอซีพี นั้นถูกมองว่ามีขนาดใหญ่เกินสำหรับสรีระคนญี่ปุ่นโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่หญิง เพื่อตอบสนองต่อปัญหา กองบัญชาการตำรวจแห่งชาติเขตชนบท (National Rural Police Headquarters) และ กรมตำรวจท้องถิ่นฝ่ายพลเรือน (Municipal Police Departments) จึงได้ทำการจัดหา สมิธ & เวสสัน โมเดล 36 (Smith & Wesson Model 36) และ โคลต์ ดิเทคทิฝ สเปเชียว (Colt Detective Special) ขนาด .38 สเปเชียว แต่ปืนทั้งสองรุ่นก็ถูกนำมาใช้งานในระยะสั้นๆเพราะ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และ อุตสาหกรรม หรือ เอ็มไอทีไอ (Ministry of International Trade and Industry ต่อย่อ MITI) ที่มีนโยบายสนับสนุนภาตอุตสาหกรรมอาวุธของญี่ปุ่นญี่ปุ่นจึงเลือกที่จะผลิตอาวุธเองมากกว่าจัดหาจากต่างประเทศ
-------------------------------------------------------------------
**************************************************************
แวะหยุดสักพักเผื่อใครงงตรง กองบัญชาการตำรวจแห่งชาติเขตชนบท และ กรมตำรวจท้องถิ่นฝ่ายพลเรือน นะครับคือ เมื่อก่อนลักษณะการดำเนินการของตำรวจญี่ปุ่นนั้นจะรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลางแต่ในปี ค.ศ. 1947 รัฐบาลญี่ปุ่น ได้ยกเลิกการดำเนินการในลักษณะนี้ แล้วจัดตั้งหน่วยตำรวจที่มีอิสระขึ้นมาแทน เช่น ในเมืองมีประชากรมากกว่า 5,000คน ให้ตั้ง หน่วยงานประจำเมืองที่เรียกว่า กรมตำรวจท้องถิ่นฝ่ายพลเรือน (Municipal Police Department) ส่วนเมืองหรือหมู่บ้านที่มีขนาดเล็กกว่านั้น จะอยู่ภายใต้การดูแลของของ ตำรวจแห่งชาติเขตชนบท (National Rural Police) แต่ภายหลังก็มีปัญหาที่เกิดขึ้นจากการกำหนดโครงสร้างแบบนี้คือ คือ การสนับสนุนเงินแก่ตำรวจท้องถิ่นและการที่แก๊งผู้มีอิทธิพลต่าง ๆ เข้ามามีอำนาจ
ซึ่งต่อมาจึงมีการแก้กฎหมายเพื่ออนุญาตให้กรมตำรวจท้องถิ่นฝ่ายพลเรือนรวมเข้ากับกองบัญชาการตำรวจแห่งชาติเขตชนบท และ ในปี ค.ศ. 1952-1955 ได้มีการปรับโครงสร้างตำรวจอีกครั้ง ให้มี 2 ระดับ คือหน่วยงานในระดับชาติ ที่เรียกว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (National Police Agency) และ ในระดับจังหวัดที่เรียกว่า กองกำลังตำรวจระดับจังหวัด (Prefecture police Forces) ซึ่งได้ควบรวม ตำรวจท้องถิ่น และ ตำรวจชนบทเข้าด้วยกันเป็นระบบเดียว มี 47 หน่วยเท่ากับจำนวนจังหวัด ซึ่งเป็นพื้นฐานของระบบตำรวจญี่ปุ่นในปัจจุบัน
**************************************************************
ในช่วงปี ค.ศ.1957 ถึง ปี ค.ศ.1959 ชิน-ชูโอะ อินดัซทเรียล (Shin-Chuō Industries ภายหลังแปรสภาพเป็น มินีแบ มิตซูมิ/MinebeaMitsumi) ได้พัฒนาปืนพกมาสามแบบคือ
1.นิว นัมบุ โมเดล 57 (New Nambu Model 57) เป็นปืนพกกึ่งอัตโนมัติใช้กระสุนขนาด 9x19มม. (9MM.) ซึ่งโมเดล57 นั้นพัฒนาตามข้อเรียกร้องของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น (Japan Self Defence Force) แต่ก็มีการเสนอให้ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติเช่นกัน
2.นิว นัมบุ โมเดล 57บี (New Nambu Model 57B) เป็นปืนพกกึ่งอัตโนมัติใช้กระสุนขนาด .32เอซีพี (.32ACP) หรือ 7.65×17มม.
3.นิว นัมบุ โมเดล60 (New Nambu Model 60) เป็นปืนลูกโม่ใช้กระสุนขนาด .38 สเปเชียล (38 Special) หรือ 9.1×29มม.
นิว นัมบุ โมเดล 57 และ นิว นัมบุ โมเดล 57บี นั้นไม่ได้รับการรับเลือกจากตำรวจญี่ปุ่นปืนที่ได้รับเข้าประจำการในหน่วยงานตำรวจของญี่ปุ่นคือ นิว นัมบุ โมเดล60 ซึ่ง) เป็นปืนลูกโม่ใช้กระสุนขนาด .38 สเปเชียลพัฒนาโดยใช้พื้นฐานของ สมิท & เวสสัน โมเดล 37 ชีฟ สเปเชียล (Smith & Wesson model 37 “Chief’s Special”) โดย สมิท & เวสสัน โมเดล 37 ชีฟ สเปเชียล เป็นปืนลูกโม่ที่ใช้กระสุนขนาด.38 สเปเชียล เป็นลูกโม่ที่ใช้โครงปืนขนาดเล็กหรือ เจ-เฟรม (J-Frame) ตามรหัสแยกขนาดโครงปืนของสมิท & เวสสันซึ่ง สมิทแอนด์เวสสัน โมเดล 37 นั้น เป็นการพัฒนามาจาก สมิท & เวสสัน โมเดล 36 แต่ใช้วัสดุอะลูมิเนียมในการทำโครงปืนและโม่ของปืน
นิว นัมบุ เอ็ม60 ได้เข้าสู่สายการผลิตจำนวนมากในช่วงปี ค.ศ.1960 โดย ชิน-ชูโอะ อินดัซทเรียล และ ปิดสายการผลิตลงในช่วงปี ค.ศ.1990 แต่ก็ยังคงเป็นปืนประจำกายของตำรวจญี่ปุ่นมาจนถึงปัจจุบัน
-------------------------------------------------------------------
คุณลักษณะของตัวปืน
-------------------------------------------------------------------
นิว นัมบุ โมเดล60/เอ็ม60 เป็นปืนลูกโม่ขนาดกระสุน .38 สเปเชียลพัฒนาโดยใช้พื้นฐานของ สมิท & เวสสัน โมเดล 37 ชีฟ สเปเชียล ความแตกต่างระหว่าง นิว นัมบุ โมเดล60 และ สมิท & เวสสัน โมเดล 37 คือโครงปืนและโม่ของ นิว นัมบุ โมเดล60 จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าของ สมิท & เวสสัน โมเดล 37 เนื่องจากในช่วงระหว่างพัฒนานั้น ชิน-ชูโอะ อินดัซทเรียล ได้มีการนำปืนลูกโม่ที่ใช้โครงปืนขนาดกลางหรือ เค-เฟรม(K-Frame) ตามรหัสแยกขนาดโครงปืนของสมิทแอนด์เวสสันซึ่ง ถ้าจัดตาม สมิท & เวสสัน นิว นัมบุ โมเดล60 จะอยู่กึ่งกลางระหว่างปืนลูกโม่ โครง เจ และ โครง เค
ไกปืนเป็นแบบ ดับเบิ้ลแอ็คชั่น/ซิงเกิ้ลแอ็คชั่น (Double action/Single action)สามารถยิงได้ในขณะที่ยังไม่ขึ้นนก (ดับเบิ้ลแอ็คชั่น) และ ยิงได้ในขณะที่ขึ้นนก/ง้างนกแล้ว (ซิงเกิ้ลแอ็คชั่น) การขึ้นนกจะทำให้ตัวโม่ของปืนหมุนและบรรจุกระสุนลูกใหม่ในรังเพลิง เมื่อเหนี่ยวไก นกจะสับลงมาที่ท้ายปลอกกระสุนปืนก็จะทำการยิงกระสุนออกไป บรรจุกระสุนในโม่ได้ 5 นัด ปืนทำด้วยเหล็กทั้งกระบอกต่างจาก สมิท & เวสสัน โมเดล 37 ที่เป็นอะลูมีเนียม ทำให้มีความทนทานกว่าแต่ก็แลกมากับน้ำหนักที่มากกว่าเช่นกัน (นัมบุหนัก 0.68 กิโลกรัม สมิธ หนัก 0.43 กิโลกรัม) ด้ามปืนทำจากวัสดุพลาสติกสีน้ำตาล และ มีหูกวินไว้คล้องเชือกคล้องปืนอยู่บริเวณด้ามปืน
-------------------------------------------------------------------
รุ่นต่างๆของตัวปืน
-------------------------------------------------------------------
1.นิว นัมบุ โมเดล60 รุ่นลำกล้องขนาด 2 นิ้ว (New Nambu M60 Revolver 2Inch barrel)
2.นิว นัมบุ โมเดล60 รุ่นลำกล้องขนาด 3 นิ้ว (New Nambu M60 Revolver 3Inch barrel)
3.นิว นัมบุ โมเดล60 ซากุระ (New Nambu m60 Sakura) เป็นรุ่นใช้สำหรับการกีฬาความยาวลำกล้องอยู่ที่ 6 นิ้ว ด้ามปืนออกแบบสำหรับใช้ในการแข่งยิงเป้าโดยเฉพาะ ศูนย์หลังเป็นศูนย์สะพานสามารถจัดปรับได้ รุ่นนี้มีการส่งออกไปขายในทวีปยุโรป
-------------------------------------------------------------------
ความเห็นส่วนตัว
-------------------------------------------------------------------
เป็นปืนลูกโม่ที่คนทั่วโลกส่วนใหญ่จะเห็นในสื่อบันเทิงจากประเทศญี่ปุ่นมากกว่าที่จะได้จับต้องและยิงมันแม้แต่รุ่นส่งออกอย่างซากุระก็ยังหายิงได้ยาก สำหรับการหาปืนมาทดแทนนั้นหน่วยงานตำรวจของญี่ปุ่นนั้นได้เคยมีแผนจะทดแทน นิม นัมบุ เอ็ม60 ด้วยปืนพกกึ่งอัตโนมัติทั้งหมดแต่ก็ยกเลิกไปมีการจัดหาปืนพก ซิกซาวเออร์ พี230 และ มีการจัดหา ซากุระ เอ็ม360เจ (SAKURA M360J) ซึ่งเป็นการผลิตร่วมกันระหว่าง สมิท & เวสสัน และ มินีแบ มิตซูมิ แต่ก็จัดหาในจำนวนไม่มากและใช้งานในตำรวจนอกเครื่องแบบเท่านั้น คงต้องดูต่อไปว่าประเทศที่มีอาชญากรรมเกี่ยวกับอาวุธปืนต่ำแบบญี่ปุ่นนั้นจะทำอย่างไรต่อไป…..
-------------------------------------------------------------------
คุณลักษณะโดยรวม
-------------------------------------------------------------------
1.ประเทศผู้ผลิต : ญี่ปุ่น
2.ผลิตโดย : ชิน-ชูโอะ อินดัซทเรียล/มินีแบ มิตซูมิ
3.ขนาดกระสุน : 38 สเปเชียล/9.1×29มม.
4.น้ำหนัก : 0.68 กิโลกรัม/0.85 กิโลกรัม ในรุ่นซากุระ
5 ความยาวลำกล้อง : 2,3,6 นิ้ว
6 ระยะยิงไกลสุด : 50 เมตร
-------------------------------------------------------------------
ขอบคุณที่ติดตามหากมีข้อผิดพลาดประการใดขอให้ชี้แจงและขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยสวัสดีครับ
แหล่งอ้างอิง
-------------------------------------------------------------------
https://en.wikipedia.org/wiki/New_Nambu_M60
https://modernfirearms.net/.../japan.../new-nambu-m60-eng/
https://www.npa.go.jp/english/index.htm
https://ameblo.jp/annefreaks123/entry-12067545870.html
https://www.minebeamitsumi.com/.../aboutus/history/...
https://en.wikipedia.org/wiki/Law_enforcement_in_Japan
https://doyouknowjapan.com/police/