คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ปัจจัยสำคัญมีดังนี้ครับ
1) ปลายยุคราชวงศ์ถังนั้น เหล่าขุนศึกประจำเจี่ยตู้สือมีอำนาจมากมายมหาศาล พวกเขากุมกองทัพและเศรษฐกิจภายในเจี่ยตู้สือของตนเอง ทำให้เขาสามารถควบคุมทรัพยากรทั้งหมดในเขตปกครองเพื่อใช้ตามอำเภอใจได้ อันนำมาซึ่งการสั่งสมอำนาจทางทหารแล้วก่อการต่อต้านราชสำนักครับ
จะพบว่าเมื่อราชวงศ์ถังสิ้นสุดลงโดยน้ำมือของจูเวิน และเขาก็ก่อตั้งราชวงศ์เหลียง (โฮ่วเหลียง) ขึ้นมาพร้อมๆกับตั้งตนเป็นจักรพรรดินั้น เหล่าขุนศึกที่กุมอำนาจหัวเมืองหลายคนไม่เอาจูเวินครับ ทำให้อำนาจของราชวงศ์เหลียงควบคุมได้แค่บางส่วนของภาคเหนือเท่านั้น ในดินแดนอื่นๆ เหล่าขุนศึกต่างตั้งตัวเป็นอ๋อง หรือ ไม่ยอมรับอำนาจราชสำนัก และจูเวินก็อายุไม่ยืนพอจะไปไล่ปราบพวกเขาครับ
ราชวงศ์เหลียงของจูเวินยืนยงต่อมาอีกสิบกว่าปีหลังเขาตาย แต่ก็มีสภาพที่ง่อนแง่นมาก และสุดท้ายก็พ่ายแพ้ต่อหลี่ชุนชี่ ที่เป็นขุนศึกแห่งจิ้นไป
หลี่ชุนชี่สามารถสถาปนาอำนาจปกครองในจีนเหนือขึ้นมาได้ และควบคุมดินแดนส่วนใหญ่ของจีนเหนือเอาไว้ แต่หลี่ชุนชี่ก็ประสบปัญหาเดียวกับจูเวินคือ เขาก่อตั้งราชวงศ์โฮ่วถังขึ้นมาปกครองแผ่นดิน ทว่าอำนาจตามหัวเมืองยังอยู่กับพวกขุนศึก แถมหลี่ชุนชี่ก็ครองราชย์ต่อหลังตั้งราชวงศ์ได้แค่ 3 ปี ก็โดนรัฐประหาร และทายาททางการเมืองของเขาก็ชิงอำนาจกัน ทำให้พวกขุนศึกเรืองอำนาจ ราชสำนักอ่อนแอลงไปอีก
2) มีการแทรกแซงภายนอกโดย จักรวรรดิชี่ตาน ที่เข้มแข็งมาก ตัวอย่างชัดเจนเลยคือ สือจิ้งถัง เขายอมปวารณาตัวเป็นลูกบุญธรรมของเยลู่เต๋อกวง จักรพรรดิแห่งเหลียว และพอสือจิ้งถังขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งราชวงศ์โฮ่วจิ้น โดยการโค่นจักรพรรดิถังเขาก็เรียกเยลู่เต๋อกวงว่า จักรพรรดิพระบิดา นะครับ
พอสือจิ้งถังตาย ลูกบุญธรรมอย่าง สือฉงกุ้ย ก็ขึ้นเป็นจักรพรรดิโฮ่วจิ้นแทน นโยบายของเขาที่มีต่อต้าเหลียวก็ชักจะเปลี่ยน ทำให้กองทัพเหลียวตัดสินใจบุกลงใต้พิชิตโฮ่วจิ้น จนนำมาซึ่งความพินาศของโฮ่วจิ้นและตามด้วยการปกครองระยะสั้นๆโดยราชสำนักชี่ตาน ก่อนที่หลิวจื้อหย่วนจะก่อการขับไล่พวกชี่ตานออกไปแล้วสถาปนาราชวงศ์โฮ่วฮั่นขึ้นมา
ในภายหลังเมื่อโฮ่วฮั่นต้องล่าถอยไปจากจงหยวน และไปก่อตั้งแคว้นเป่ยฮั่นทางตอนเหนือของซานซี กองทัพชี่ตานก็ยังช่วยพิทักษ์เป่ยฮั่นต่อมาอีกนับสิบปีครับ
นอกจากนี้กองทัพชี่ตานยังมีทีท่าจะบุกลงใต้ตลอดเวลาหลายสิบปีในช่วง ห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการรุกลงใต้รวบรวมแผ่นดินของอาณาจักรในตอนเหนือ
3)
1) ปลายยุคราชวงศ์ถังนั้น เหล่าขุนศึกประจำเจี่ยตู้สือมีอำนาจมากมายมหาศาล พวกเขากุมกองทัพและเศรษฐกิจภายในเจี่ยตู้สือของตนเอง ทำให้เขาสามารถควบคุมทรัพยากรทั้งหมดในเขตปกครองเพื่อใช้ตามอำเภอใจได้ อันนำมาซึ่งการสั่งสมอำนาจทางทหารแล้วก่อการต่อต้านราชสำนักครับ
จะพบว่าเมื่อราชวงศ์ถังสิ้นสุดลงโดยน้ำมือของจูเวิน และเขาก็ก่อตั้งราชวงศ์เหลียง (โฮ่วเหลียง) ขึ้นมาพร้อมๆกับตั้งตนเป็นจักรพรรดินั้น เหล่าขุนศึกที่กุมอำนาจหัวเมืองหลายคนไม่เอาจูเวินครับ ทำให้อำนาจของราชวงศ์เหลียงควบคุมได้แค่บางส่วนของภาคเหนือเท่านั้น ในดินแดนอื่นๆ เหล่าขุนศึกต่างตั้งตัวเป็นอ๋อง หรือ ไม่ยอมรับอำนาจราชสำนัก และจูเวินก็อายุไม่ยืนพอจะไปไล่ปราบพวกเขาครับ
ราชวงศ์เหลียงของจูเวินยืนยงต่อมาอีกสิบกว่าปีหลังเขาตาย แต่ก็มีสภาพที่ง่อนแง่นมาก และสุดท้ายก็พ่ายแพ้ต่อหลี่ชุนชี่ ที่เป็นขุนศึกแห่งจิ้นไป
หลี่ชุนชี่สามารถสถาปนาอำนาจปกครองในจีนเหนือขึ้นมาได้ และควบคุมดินแดนส่วนใหญ่ของจีนเหนือเอาไว้ แต่หลี่ชุนชี่ก็ประสบปัญหาเดียวกับจูเวินคือ เขาก่อตั้งราชวงศ์โฮ่วถังขึ้นมาปกครองแผ่นดิน ทว่าอำนาจตามหัวเมืองยังอยู่กับพวกขุนศึก แถมหลี่ชุนชี่ก็ครองราชย์ต่อหลังตั้งราชวงศ์ได้แค่ 3 ปี ก็โดนรัฐประหาร และทายาททางการเมืองของเขาก็ชิงอำนาจกัน ทำให้พวกขุนศึกเรืองอำนาจ ราชสำนักอ่อนแอลงไปอีก
2) มีการแทรกแซงภายนอกโดย จักรวรรดิชี่ตาน ที่เข้มแข็งมาก ตัวอย่างชัดเจนเลยคือ สือจิ้งถัง เขายอมปวารณาตัวเป็นลูกบุญธรรมของเยลู่เต๋อกวง จักรพรรดิแห่งเหลียว และพอสือจิ้งถังขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งราชวงศ์โฮ่วจิ้น โดยการโค่นจักรพรรดิถังเขาก็เรียกเยลู่เต๋อกวงว่า จักรพรรดิพระบิดา นะครับ
พอสือจิ้งถังตาย ลูกบุญธรรมอย่าง สือฉงกุ้ย ก็ขึ้นเป็นจักรพรรดิโฮ่วจิ้นแทน นโยบายของเขาที่มีต่อต้าเหลียวก็ชักจะเปลี่ยน ทำให้กองทัพเหลียวตัดสินใจบุกลงใต้พิชิตโฮ่วจิ้น จนนำมาซึ่งความพินาศของโฮ่วจิ้นและตามด้วยการปกครองระยะสั้นๆโดยราชสำนักชี่ตาน ก่อนที่หลิวจื้อหย่วนจะก่อการขับไล่พวกชี่ตานออกไปแล้วสถาปนาราชวงศ์โฮ่วฮั่นขึ้นมา
ในภายหลังเมื่อโฮ่วฮั่นต้องล่าถอยไปจากจงหยวน และไปก่อตั้งแคว้นเป่ยฮั่นทางตอนเหนือของซานซี กองทัพชี่ตานก็ยังช่วยพิทักษ์เป่ยฮั่นต่อมาอีกนับสิบปีครับ
นอกจากนี้กองทัพชี่ตานยังมีทีท่าจะบุกลงใต้ตลอดเวลาหลายสิบปีในช่วง ห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการรุกลงใต้รวบรวมแผ่นดินของอาณาจักรในตอนเหนือ
3)
แสดงความคิดเห็น
ปัจจัยอะไร ยุคห้าวงศ์สิบรัฐ ทำไมถึงมีหลายราชวงศ์ หลายรัฐ ผลัดกันครองอำนาจไม่สามารถสร้างฐานอำนาจได้เท่า ราชวงศ์ฮั่น ครับ
รัฐต่าง ๆ
ห้าวงศ์
ราชวงศ์ทั้งห้า ซึ่งเรียกว่า ห้าวงศ์ (五代) นั้น ประกอบด้วย
เหลียงยุคหลัง (後梁) ก่อตั้งเมื่อ 1 มิถุนายน ค.ศ. 907 สิ้นสุดลงใน ค.ศ. 923
ถังยุคหลัง (後唐) ดำรงอยู่ตั้งแต่ ค.ศ. 923–936
จิ้นยุคหลัง (後晉) ดำรงอยู่ตั้งแต่ ค.ศ. 936–947
ฮั่นยุคหลัง (後漢) ดำรงอยู่ตั้งแต่ ค.ศ. 947–951 หรือ 979)
โจวยุคหลัง (後周) ดำรงอยู่ตั้งแต่ ค.ศ. 951–960
สิบรัฐ
รัฐทั้งสิบ ซึ่งเรียกว่า สิบรัฐ (十國) นั้น ประกอบด้วย
อู๋ใต้ (南吳) ดำรงอยู่ตั้งแต่ ค.ศ. 907–937
อู๋เยฺว่ (吳越) ดำรงอยู่ตั้งแต่ ค.ศ. 907–978
หมิ่น (閩) ดำรงอยู่ตั้งแต่ ค.ศ. 909–945
ฉู่ใต้ (南楚) ดำรงอยู่ตั้งแต่ ค.ศ. 907–951
ฮั่นใต้ (南漢) ดำรงอยู่ตั้งแต่ ค.ศ. 917–971
ฉู่เดิม (前蜀) ดำรงอยู่ตั้งแต่ ค.ศ. 907–925
ฉู่ยุคหลัง (後蜀) ดำรงอยู่ตั้งแต่ ค.ศ. 934–965
จิงหนาน (荊南) ดำรงอยู่ตั้งแต่ ค.ศ. 924–963
ถังใต้ (南唐) ดำรงอยู่ตั้งแต่ ค.ศ. 937–975
ฮั่นเหนือ (北漢) ดำรงอยู่ตั้งแต่ ค.ศ. 951–979
จะเห็นว่ามีหลายรัฐ หลายราชวงศ์ทั้งหลายผลัดกันขึ้นมาครองอำนาจ มาเป็นใหญ่เป็นช่วงๆ เลยสงสัยว่าทำไมถึงไม่สามารถตั้งราก หรือสร้างรากฐานอำนาจให้มั่นคงไม่ได้ สุดท้ายคนที่จัดการได้คือ ราชวงศ์ซ่งของ จักรพรรดิซ่งไท่จู่ ที่มีเหตุการณ์ ซ่งไท่จู่ กับ จอกเหล้ายึดกำลังทหาร มีส่วนสำคัญที่ทำให้ราชวงศ์ซ่งอยู่รอดไหมครับ