ขอขอบคุณเพจประวัติศาสตร์การปืน Firearms History อย่างสูงครับ
https://www.facebook.com/FirearmsHistory/
แม้ว่าปืนกลขนาด .50 cal browning จะเป็นที่ยอมรับและเข้าประจำการในกองทัพสหรัฐฯอย่างเป็นทางการตั้งแต่ช่วงยุคทศวรรษที่ 1930 มาแล้ว อย่างเช่นในตระกูลของ Caliber .50 M2 ที่มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบคือ Caliber .50 M2, water-cooled, Caliber .50 M2, Aircraft และแบบที่รู้จักกันเป็นอย่างดีมากที่สุดคือ Caliber .50 M2, Heavy-barrel หรือ M2HB ที่เข้าประจำการในปี 1933
โดยทั้ง 3 แบบนี้เป็นผลงานการปรับปรุ่งพัฒนาของ Dr. Samuel G. Green และความร่วมมือจากบริษัท Colt ที่นำ M1921 ของ John Browning มาพัฒนาต่อยอดหลังจาก John Browning ได้เสียชีวิตลงในปี 1926
แต่ปัญหาที่พบคือ M2, Aircraft นั้นยังไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของกองทัพอากาศได้ (ณ ขณะนั้นกองทัพอากาศสหรัฐฯได้ใช้ชื่อว่า Air Corps สังกัดกองทัพบกสหรัฐฯ) เนื่องจากอัตราการยิงยังต่ำอยู่ โดยมีอัตราการยิงเพียงแค่ 750-850 นัดต่อนาทีเท่านั้น
ดังนั้นในปี 1937 กองทัพอากาศจึงได้มีการหารือกับกรมสรรพาวุธทหารบกสหรัฐฯ(Ordnance Corps)ที่สนามทดสอบอาวุธ Aberdeen Proving Ground และทีมงานของกองทัพอากาศนำโดย นายพล H.H. Arnold ร้องขอให้กรมสรรพาวุธทหารบกปรับปรุงอัตราการยิงขึ้นรวมไปถึงเพิ่มความเร็วกระสุนจากเดิมให้มากกว่า 2,500 ฟุต/วินาที (762 เมตร/วินาที) ซึ่งก็บรรลุจุดประสงค์ในเรื่องของกระสุนเท่านั้นในปีเดียวกัน ความเร็วกระสุนเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น 2,700 ฟุต/วินาที จากการเปลี่ยนประเภทของดินขับ
ส่วนในเรื่องของการกำหนดคุณลักษณะอัตราการยิงนั้นยังไม่ได้มีความคืบหน้ามากเท่าที่ควรจนถึงเดือนกันยายน 1939 จึงสามารถกำหนดคุณลักษณะได้สำเร็จ นอกจากนี้แล้วยังมีการเพิ่มคุณลักษณะอย่างอื่นเข้าไปด้วยถึง 10 ประการ
1.อัตราการยิงต้องไม่น้อยกว่า 1,000 นัดต่อนาที
2.สามารถเจาะแผ่นเกราะได้ 0.75 นิ้วที่ระยะ 600 หลา
3.ลำกล้องปืนต้องทำให้กระสุนใช้เวลาเดินทาง 600 หลาในเวลา 0.7 วินาทีหรือน้อยกว่านั้น
4.ความยาวตัวปืนโดยรวมต้องไม่เกิน 68 นิ้ว
5.น้ำหนักโดยรวมต้องให้น้อยที่สุดตราบเท่าที่จะไม่รบกวนประสิทธิภาพโดยรวม
6.รูปแบบการยิงต้องเป็นอัตโนมัติเท่านั้น
7.สามารถดัดแปลงให้ป้อนกระสุนได้ทั้งซ้ายมือและขวามือ
8.ระบายความร้อนด้วยอากาศ และส่วนหุ้มลำกล้องปืนต้องไม่รบกวนการไหลของอากาศ
9.ระบบลั่นไกต้องมีทั้งทำงานด้วยมือและไฟฟ้า
10.ส่วนของวงแหวนยึดกล้องปืนต้องขนาดเล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้
11.สามารถใช้ได้กับแท่นยึดแบบตายตัวและอิสระ
แต่ว่าตั้งแต่ช่วง 1937 เป็นต้นมาหลังจากการหารือที่ Aberdeen Proving Ground ไปแล้ว แม้จะไม่มีคุณลักษณะที่ถูกกำหนดอย่างชัดเจน กรมสรรพาวุธที่ Springfield และ บริษัทก็ได้พัฒนาตัวปืนใหม่ๆเรื่อยมาจนถึงเดือนมกราคม 1940 และ Colt เป็นเจ้าแรกที่ทำเสร็จส่งไปทดสอบที่ Aberdeen Proving Ground แต่ว่าไม่ประสบความสำเร็จนนัก เนื่องจากอัตราชิ้นส่วนเสียหายและขัดลำกล้องสูง อัตราการยิงต่ำกว่าเท่าที่ควรแต่ว่าใกล้เคียงกับคุณลักษณะที่กำหนดไว้คือเฉลี่ย 997 นัด/นาที
ยกเว้นทางกรมสรรพาวุธ Springfield เท่านั้นที่ยังไม่มีการส่งเข้าทดสอบโดยเฝ้ารอและเก็บข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อศึกษาต่อ
ดังนั้นกระบอกที่สองที่ได้ส่งเข้าทดสอบเดือนพฤษภาคม 1940 ก็จะเป็นความร่วมมือระหว่าง Springfield และ Colt ที่ปรับปรุงในเรื่องของน้ำหนักลำกล้องเหลือ 9.5 ปอนด์(4.275 กิโลกรัม) เพิ่มแหนบสปริงรับแรงถีบถอยหลังเข้าไปเป็นสองตัว แต่ว่าผลสรุปก็เป็นเช่นเดิมอัตราชิ้นส่วนเสียหายและขัดลำกล้องยังคงสูงอยู่ อัตราการยิงต่ำกว่าเท่าที่ควรเหลือเพียงแค่ 750 นัด/นาทีเท่านั้น
ตามมาด้วยการปรับปรุงส่งเข้าทดสอบครั้งที่ 3 ในเดือนพฤศจิกายน 1940 และครั้งที่ 4ในเดือนกันยายน 1941 แต่ผลก็ยังล้มเหลวเช่นเดิม Colt จึงได้ถอนตัวออกจากการร่วมพัฒนา โดยปืนกระบอกที่เข้าร่วมการพัฒนาและล้มเหลวทั้งหมด 4 ครั้งจึงได้ชื่อรหัสพัฒนาอย่างเป็นทางการว่า T21
ฉะนั้นแล้วจึงได้มีการกำหนดเกณฑ์ตัดสินใหม่ในเรื่องของชิ้นส่วนที่เสียหายและจำนวนการขัดลำกล้องเข้าไปใหม่ โดยจะต้องมีชิ้นส่วนที่เสียหายที่ทำให้ตัวปืนขัดลำกล้องน้อยกว่า 1 ครั้ง และอัตราการขัดลำกล้องทั่วไปน้อยกว่า 5 ครั้ง ที่อัตราการยิง 1,200 นัด/นาที และตัวปืนต้องมีอายุการใช้งานไม่ต่ำกว่า 5,000 นัด และแบ่งออกเป็นสองฝ่ายพัฒนาคือ บริษัทแรกจะต้องพัฒนาภายใต้ข้อกำหนดว่าจะต้องมีชิ้นส่วนที่ใช้งานร่วมกับ M2 ได้มากที่สุด ส่วนบริษัทที่ 2 สามารถทำการออกแบบพัฒนาได้อย่างอิสระไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของชิ้นส่วน
ดังนั้นในต้นปี 1942 บริษัทแรกที่ไดเข้าร่วมคือ High Standard Manufacturing เข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาหลังจาก Colt ได้ถอนตัวออกไปแล้ว เมื่อถึงเดือนสิงหาคม 1942 ก็ได้ส่งปืนของตนเองเข้าทดสอบในนาม T22 แต่ผลการทดสอบก็ยังล้มเหลวเช่นเดิม โดยยิงไปได้เพียง 500 นัดปืนก็หมดสภาพ แต่ว่าสามารถทำให้อัตราการยิงคงที่เกินกว่า 1,000 นัด/นาทีได้สำเร็จ
แม้ว่า T22 จะล้มเหลวก็ตาม แต่ก็ทำให้มีความเชื่อมั่นว่ายังสามารถที่จะปรับปรุงปืนให้ดีขึ้นไปได้อีก เพราะประสบความสำเร็จในเรื่องอัตราการยิงที่คงที่ไปแล้ว
กรมสรรพาวุธทหารบกจึงได้มอบหมายและทำสัญญาพัฒนาต่อไปแก้ High Stand Manufacturing ในเดือนกันยายนปี 1942
จนถึงสิ้นปี 1942 ก็ไม่ได้มียังไม่ประสบความสำเร็จตรงตามในคุณลักษณะที่กำหนดเอาและยังพบปัญหาโครงสร้างของตัวปืนยังไม่แข็งแรงพอ แม้ว่าจะใกล้เคียงเป้าหมายที่กำหนดไว้ก็ตามอย่างเช่นเรื่องของ อายุการใช้งานที่ถือได้ว่าปรับปรุงขึ้นมากเป็น 2,000-3,000 นัด และอัตราการยิงโดยเฉลี่ยใกล้เคียง 1,200 โดยอยู่ที่ 1,100 นัด/นาที ทำให้มีบริษัที่สองเข้ามามีส่วนร่วมคือ General Motors โดยบริษัทลูกคือ Frigidaire ได้สัญญาการพัฒนาเพิ่มเติมไปพัฒนา
และก็จะเป็นเช่นนี้ไปอีกจนถึงปลายปี 1943 จึงประสบความสำเร็จในเรื่องอายุของการใช้งานขั้นต่ำ 5,000 นัดและอัตราการยิง เฉลี่ยน 1,200 นัด/นาที แต่ปัญหาเรื่องการขัดลำกล้องและชิ้นส่วนเสียหายกับเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก โดยอัตราการขัดลำกล้องเพิ่มเป็น 30-40 นัด ต่อ 5,000 นัด และชิ้นส่วนเสียหายเป็น 7-10 นัดต่อ 5,000 นัด
กระนั้นก็ยังมีการทดลองอยู่ต่อเนื่องจนถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญคือ T22E6 ที่แม้ว่าในตอนแรกต้นเดือนธันวาคม 1943 จะทำได้แย่มากในการทดสอบ โดยยิงไปได้เพียง 400 นัดเท่านั้นลูกเลื่อนก็แตกร้าว แต่เมื่อเปลี่ยนชิ้นส่วนของลูกเลื่อนใหม่ให้เบาลงแล้วทำการยิงทดสอบใหม่ในปลายเดือนธันวาคม 1943 ก็สามารถบรรลุข้อกำหนดอายุการใช้งานขั้นต่ำได้ 5,000 นัดได้ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ อัตราการขัดลำกล้องและชิ้นส่วนเสียหายลดลงเหลือเพียงแค่ 10 กว่านัดเท่านั้น
ทำให้มีคำสั่งซื้อและส่งไปทดสอบในหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องด้วยคือ กรมสรรพาวุธกองทัพเรือ และกองทัพอากาศในเดือนมกราคม 1944 ซึ่งสถานะการพัฒนาในตอนนี้จะทำให้อัตราการขัดลำกล้องเหลือเพียงแค่ 1-5 นัดแล้ว
แต่ก็ไม่ได้มีการยอมรับเข้าประจำการแต่อย่างใด แม้ว่ากรมสรรพาวุธกองทัพบกจะนำชิ้นส่วนการพัฒนาบ้างอย่างไปใช้กับ T36(M2A1) และ T25E3(M3) ในตอนหลัง และคัดค้านการเสนอปรับปรุงเพิ่มเติมโดยกรมสรรพาวุธกองทัพเรือในเดือนสิงหาคม 1944 ที่ได้เพิ่มคุณลักษณะอีก 4 ประการเข้าไปด้วย อย่างเช่น การลดแรงที่ต้องใช้ในการดึงลูกเลื่อนถอยหลัง หรือการสั่งให้ออกแบบเข็มแทงชนวนใหม่
โดยสาเหตุที่ยังไม่ได้นำเข้าประจำการนั้นมาจากการที่ว่ายังคงต้องการให้มีชิ้นส่วนที่สามารถเปลี่ยนกับ M2 ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้อยู่
ซึ่งในกรณีนี้ทาง High Standard Manufacturing ก็มีแผนสำรองเช่นกัน โดยพัฒนาชุดดัดแปลง Conversion kits สำหรับ M2 มาตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม 1944 แล้ว ในรหัสว่า T27
แต่ก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จเช่นเดิม แถมยังมีปัญหาหนักมากจนถึงขั้นที่ Aberdeen Proving Ground ประเมินว่าเป็นชุด conversion kit ที่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อผู้ใช้เพราะมีในบ้างกรณีที่ปืนเกิดระเบิดขึ้นในระหว่างการทดสอบ
จากความล้มเหลวทั้งหมดนี้ ทำให้กรมสรรพาวุธทหารบกต้องพุ่งเป้าไปที่การพัฒนาของบริษัท Frigidaire,General Motors แทน ซึ่งได้รหัสพัฒนาว่า T25 ตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคม 1943แล้ว โดยเน้นศึกษาข้อบกพร่องและจุดอ่อนของ M2 นำมาออกแบบใหม่โดยทั้งหมด อย่างเช่นในส่วนของโครงปืน และแผ่นรับแรงสะท้อนถอยหลัง แต่กว่าจะพัฒนาสำเร็จและส่งปืนกระบอกแรกเข้าทดสอบก็ล่าช้าไปจนถึงเดือนมีนาคม 1944
ส่วนผลการทดสอบนั้นก็ออกมาค่อนข้างดี โดยมีอายุการใช้งานของตัวปืนอยู่ที่ 2,000-3,000 นัด และอัตราการยิงที่ 1,250 นัด/นาที แต่ก็ยังคงมีปัญหาขัดลำกล้องและชิ้นส่วนที่เสียหายอยู่บ่อยครั้งเกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้
แต่ก็ปรับปรุงอย่างต่อในในรุ่น T25E2 และ T25E3 ที่เป็นนำชิ้นส่วนบางอย่างเช่น ลูกเลื่อน,Top cover และ booster ของ T22E6 ที่พัฒนาโดย High Standard Manufacturing มาใช้งาน
ผลการทดสอบก็ประสบความสำเร็จอย่างเห็นได้ชัด
อัตราการขัดกล้องและชิ้นส่วนเสียหายเหลือแต่ 8 นัดต่อ 5,000 นัด
และเพื่อให้เป็นการแน่ใจถึงประสิทธิภาพและปรับปรุงเพิ่มเติมในขั้นตอนสุดท้ายจึงได้มีการทดสอบอีกครั้งในเดือนตุลาคม 1944 โดยประสิทธิภาพในการทดสอบครั้งนี้ก็สามารถผ่านเกณฑ์การทดสอบที่ตั้งไว้ทุกประการ
เมื่อผลเป็นที่แน่ชัดถึงความสำเร็จแล้วกรมสรรพาวุธทหารบกจึงได้ส่งมอบให้ กรมสรรพาวุธทหารเรือและหน่วยงานของกองทัพอากาศพิจารณาภายใต้คณะกรรมธิการร่วม ซึ่งผลก็ออกมาเป็นอย่างดี จึงมีคำสั่งให้ผลิตล็อตแรกเป็นจำนวน 1,100 กระบอก เพื่อส่งให้ฝ่ายอุตสาหกรรมและโรงงานอุตสาหกรรมอาวุธอื่นๆศึกษาวิธีการผลิต และ 100 กระบอกที่เหลือเพื่อเป็นการทดสอบเก็บข้อมูลทางวิศวกรรมเป็นรอบสุดท้าย
นอกจากนี้แล้วกองทัพเรือก็มีการสั่งผลิตเพื่อเอาไปทดสอบใช้จริงในสนามเป็นจำนวน 1,000 กระบอก ในช่วงเดือนธันวาคม 1944 และในช่วงเวลาสุดท้ายอีก 4 เดือน ก็จะเป็นการทดสอบเพื่อเข้าประจำการจริง
หน่วยงานแรกที่ร้องขอ T25E3 เข้าประจำการคือ กองทัพอากาศ ในนาม Caliber .50 M3, Aircraft และเข้าสู่สายการผลิตในเดือนเมษายน 1945 จนกระทั้งถึงจบสงครามโลกครั้งที่มีเพียง 2,400 กระบอกเท่านั้นที่ถูกผลิตออกมา
"ไม่ว่าจะเป็นโครงปืน ลูกเลื่อน extractor เข็มแทงชนวน Buffer, Buffer spring จึงไม่แปลกใจเลยครับว่าทำให้ใช้เวลาเกือบๆ 5 ปีกว่าจะทำออกมาได้สำเร็จ ที่สำคัญคือมีการตั้งมาตรฐานทดสอบสูงมากๆ เพราะเป็นปืนกลอากาศยานเป็นหลักที่ไม่สามารถซ่อมแก้ไขได้ขณะกำลังบินอยู่"
สวัสดีครับ
สารานุกรมปืนตอนที่ 434 พัฒนาการของปืนกลหนักอัตราการยิงสูงในตระกูล Browning .50 caliber
https://www.facebook.com/FirearmsHistory/
แม้ว่าปืนกลขนาด .50 cal browning จะเป็นที่ยอมรับและเข้าประจำการในกองทัพสหรัฐฯอย่างเป็นทางการตั้งแต่ช่วงยุคทศวรรษที่ 1930 มาแล้ว อย่างเช่นในตระกูลของ Caliber .50 M2 ที่มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบคือ Caliber .50 M2, water-cooled, Caliber .50 M2, Aircraft และแบบที่รู้จักกันเป็นอย่างดีมากที่สุดคือ Caliber .50 M2, Heavy-barrel หรือ M2HB ที่เข้าประจำการในปี 1933
โดยทั้ง 3 แบบนี้เป็นผลงานการปรับปรุ่งพัฒนาของ Dr. Samuel G. Green และความร่วมมือจากบริษัท Colt ที่นำ M1921 ของ John Browning มาพัฒนาต่อยอดหลังจาก John Browning ได้เสียชีวิตลงในปี 1926
แต่ปัญหาที่พบคือ M2, Aircraft นั้นยังไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของกองทัพอากาศได้ (ณ ขณะนั้นกองทัพอากาศสหรัฐฯได้ใช้ชื่อว่า Air Corps สังกัดกองทัพบกสหรัฐฯ) เนื่องจากอัตราการยิงยังต่ำอยู่ โดยมีอัตราการยิงเพียงแค่ 750-850 นัดต่อนาทีเท่านั้น
ดังนั้นในปี 1937 กองทัพอากาศจึงได้มีการหารือกับกรมสรรพาวุธทหารบกสหรัฐฯ(Ordnance Corps)ที่สนามทดสอบอาวุธ Aberdeen Proving Ground และทีมงานของกองทัพอากาศนำโดย นายพล H.H. Arnold ร้องขอให้กรมสรรพาวุธทหารบกปรับปรุงอัตราการยิงขึ้นรวมไปถึงเพิ่มความเร็วกระสุนจากเดิมให้มากกว่า 2,500 ฟุต/วินาที (762 เมตร/วินาที) ซึ่งก็บรรลุจุดประสงค์ในเรื่องของกระสุนเท่านั้นในปีเดียวกัน ความเร็วกระสุนเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น 2,700 ฟุต/วินาที จากการเปลี่ยนประเภทของดินขับ
ส่วนในเรื่องของการกำหนดคุณลักษณะอัตราการยิงนั้นยังไม่ได้มีความคืบหน้ามากเท่าที่ควรจนถึงเดือนกันยายน 1939 จึงสามารถกำหนดคุณลักษณะได้สำเร็จ นอกจากนี้แล้วยังมีการเพิ่มคุณลักษณะอย่างอื่นเข้าไปด้วยถึง 10 ประการ
1.อัตราการยิงต้องไม่น้อยกว่า 1,000 นัดต่อนาที
2.สามารถเจาะแผ่นเกราะได้ 0.75 นิ้วที่ระยะ 600 หลา
3.ลำกล้องปืนต้องทำให้กระสุนใช้เวลาเดินทาง 600 หลาในเวลา 0.7 วินาทีหรือน้อยกว่านั้น
4.ความยาวตัวปืนโดยรวมต้องไม่เกิน 68 นิ้ว
5.น้ำหนักโดยรวมต้องให้น้อยที่สุดตราบเท่าที่จะไม่รบกวนประสิทธิภาพโดยรวม
6.รูปแบบการยิงต้องเป็นอัตโนมัติเท่านั้น
7.สามารถดัดแปลงให้ป้อนกระสุนได้ทั้งซ้ายมือและขวามือ
8.ระบายความร้อนด้วยอากาศ และส่วนหุ้มลำกล้องปืนต้องไม่รบกวนการไหลของอากาศ
9.ระบบลั่นไกต้องมีทั้งทำงานด้วยมือและไฟฟ้า
10.ส่วนของวงแหวนยึดกล้องปืนต้องขนาดเล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้
11.สามารถใช้ได้กับแท่นยึดแบบตายตัวและอิสระ
แต่ว่าตั้งแต่ช่วง 1937 เป็นต้นมาหลังจากการหารือที่ Aberdeen Proving Ground ไปแล้ว แม้จะไม่มีคุณลักษณะที่ถูกกำหนดอย่างชัดเจน กรมสรรพาวุธที่ Springfield และ บริษัทก็ได้พัฒนาตัวปืนใหม่ๆเรื่อยมาจนถึงเดือนมกราคม 1940 และ Colt เป็นเจ้าแรกที่ทำเสร็จส่งไปทดสอบที่ Aberdeen Proving Ground แต่ว่าไม่ประสบความสำเร็จนนัก เนื่องจากอัตราชิ้นส่วนเสียหายและขัดลำกล้องสูง อัตราการยิงต่ำกว่าเท่าที่ควรแต่ว่าใกล้เคียงกับคุณลักษณะที่กำหนดไว้คือเฉลี่ย 997 นัด/นาที
ยกเว้นทางกรมสรรพาวุธ Springfield เท่านั้นที่ยังไม่มีการส่งเข้าทดสอบโดยเฝ้ารอและเก็บข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อศึกษาต่อ
ดังนั้นกระบอกที่สองที่ได้ส่งเข้าทดสอบเดือนพฤษภาคม 1940 ก็จะเป็นความร่วมมือระหว่าง Springfield และ Colt ที่ปรับปรุงในเรื่องของน้ำหนักลำกล้องเหลือ 9.5 ปอนด์(4.275 กิโลกรัม) เพิ่มแหนบสปริงรับแรงถีบถอยหลังเข้าไปเป็นสองตัว แต่ว่าผลสรุปก็เป็นเช่นเดิมอัตราชิ้นส่วนเสียหายและขัดลำกล้องยังคงสูงอยู่ อัตราการยิงต่ำกว่าเท่าที่ควรเหลือเพียงแค่ 750 นัด/นาทีเท่านั้น
ตามมาด้วยการปรับปรุงส่งเข้าทดสอบครั้งที่ 3 ในเดือนพฤศจิกายน 1940 และครั้งที่ 4ในเดือนกันยายน 1941 แต่ผลก็ยังล้มเหลวเช่นเดิม Colt จึงได้ถอนตัวออกจากการร่วมพัฒนา โดยปืนกระบอกที่เข้าร่วมการพัฒนาและล้มเหลวทั้งหมด 4 ครั้งจึงได้ชื่อรหัสพัฒนาอย่างเป็นทางการว่า T21
ฉะนั้นแล้วจึงได้มีการกำหนดเกณฑ์ตัดสินใหม่ในเรื่องของชิ้นส่วนที่เสียหายและจำนวนการขัดลำกล้องเข้าไปใหม่ โดยจะต้องมีชิ้นส่วนที่เสียหายที่ทำให้ตัวปืนขัดลำกล้องน้อยกว่า 1 ครั้ง และอัตราการขัดลำกล้องทั่วไปน้อยกว่า 5 ครั้ง ที่อัตราการยิง 1,200 นัด/นาที และตัวปืนต้องมีอายุการใช้งานไม่ต่ำกว่า 5,000 นัด และแบ่งออกเป็นสองฝ่ายพัฒนาคือ บริษัทแรกจะต้องพัฒนาภายใต้ข้อกำหนดว่าจะต้องมีชิ้นส่วนที่ใช้งานร่วมกับ M2 ได้มากที่สุด ส่วนบริษัทที่ 2 สามารถทำการออกแบบพัฒนาได้อย่างอิสระไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของชิ้นส่วน
ดังนั้นในต้นปี 1942 บริษัทแรกที่ไดเข้าร่วมคือ High Standard Manufacturing เข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาหลังจาก Colt ได้ถอนตัวออกไปแล้ว เมื่อถึงเดือนสิงหาคม 1942 ก็ได้ส่งปืนของตนเองเข้าทดสอบในนาม T22 แต่ผลการทดสอบก็ยังล้มเหลวเช่นเดิม โดยยิงไปได้เพียง 500 นัดปืนก็หมดสภาพ แต่ว่าสามารถทำให้อัตราการยิงคงที่เกินกว่า 1,000 นัด/นาทีได้สำเร็จ
แม้ว่า T22 จะล้มเหลวก็ตาม แต่ก็ทำให้มีความเชื่อมั่นว่ายังสามารถที่จะปรับปรุงปืนให้ดีขึ้นไปได้อีก เพราะประสบความสำเร็จในเรื่องอัตราการยิงที่คงที่ไปแล้ว
กรมสรรพาวุธทหารบกจึงได้มอบหมายและทำสัญญาพัฒนาต่อไปแก้ High Stand Manufacturing ในเดือนกันยายนปี 1942
จนถึงสิ้นปี 1942 ก็ไม่ได้มียังไม่ประสบความสำเร็จตรงตามในคุณลักษณะที่กำหนดเอาและยังพบปัญหาโครงสร้างของตัวปืนยังไม่แข็งแรงพอ แม้ว่าจะใกล้เคียงเป้าหมายที่กำหนดไว้ก็ตามอย่างเช่นเรื่องของ อายุการใช้งานที่ถือได้ว่าปรับปรุงขึ้นมากเป็น 2,000-3,000 นัด และอัตราการยิงโดยเฉลี่ยใกล้เคียง 1,200 โดยอยู่ที่ 1,100 นัด/นาที ทำให้มีบริษัที่สองเข้ามามีส่วนร่วมคือ General Motors โดยบริษัทลูกคือ Frigidaire ได้สัญญาการพัฒนาเพิ่มเติมไปพัฒนา
และก็จะเป็นเช่นนี้ไปอีกจนถึงปลายปี 1943 จึงประสบความสำเร็จในเรื่องอายุของการใช้งานขั้นต่ำ 5,000 นัดและอัตราการยิง เฉลี่ยน 1,200 นัด/นาที แต่ปัญหาเรื่องการขัดลำกล้องและชิ้นส่วนเสียหายกับเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก โดยอัตราการขัดลำกล้องเพิ่มเป็น 30-40 นัด ต่อ 5,000 นัด และชิ้นส่วนเสียหายเป็น 7-10 นัดต่อ 5,000 นัด
กระนั้นก็ยังมีการทดลองอยู่ต่อเนื่องจนถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญคือ T22E6 ที่แม้ว่าในตอนแรกต้นเดือนธันวาคม 1943 จะทำได้แย่มากในการทดสอบ โดยยิงไปได้เพียง 400 นัดเท่านั้นลูกเลื่อนก็แตกร้าว แต่เมื่อเปลี่ยนชิ้นส่วนของลูกเลื่อนใหม่ให้เบาลงแล้วทำการยิงทดสอบใหม่ในปลายเดือนธันวาคม 1943 ก็สามารถบรรลุข้อกำหนดอายุการใช้งานขั้นต่ำได้ 5,000 นัดได้ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ อัตราการขัดลำกล้องและชิ้นส่วนเสียหายลดลงเหลือเพียงแค่ 10 กว่านัดเท่านั้น
ทำให้มีคำสั่งซื้อและส่งไปทดสอบในหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องด้วยคือ กรมสรรพาวุธกองทัพเรือ และกองทัพอากาศในเดือนมกราคม 1944 ซึ่งสถานะการพัฒนาในตอนนี้จะทำให้อัตราการขัดลำกล้องเหลือเพียงแค่ 1-5 นัดแล้ว
แต่ก็ไม่ได้มีการยอมรับเข้าประจำการแต่อย่างใด แม้ว่ากรมสรรพาวุธกองทัพบกจะนำชิ้นส่วนการพัฒนาบ้างอย่างไปใช้กับ T36(M2A1) และ T25E3(M3) ในตอนหลัง และคัดค้านการเสนอปรับปรุงเพิ่มเติมโดยกรมสรรพาวุธกองทัพเรือในเดือนสิงหาคม 1944 ที่ได้เพิ่มคุณลักษณะอีก 4 ประการเข้าไปด้วย อย่างเช่น การลดแรงที่ต้องใช้ในการดึงลูกเลื่อนถอยหลัง หรือการสั่งให้ออกแบบเข็มแทงชนวนใหม่
โดยสาเหตุที่ยังไม่ได้นำเข้าประจำการนั้นมาจากการที่ว่ายังคงต้องการให้มีชิ้นส่วนที่สามารถเปลี่ยนกับ M2 ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้อยู่
ซึ่งในกรณีนี้ทาง High Standard Manufacturing ก็มีแผนสำรองเช่นกัน โดยพัฒนาชุดดัดแปลง Conversion kits สำหรับ M2 มาตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม 1944 แล้ว ในรหัสว่า T27
แต่ก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จเช่นเดิม แถมยังมีปัญหาหนักมากจนถึงขั้นที่ Aberdeen Proving Ground ประเมินว่าเป็นชุด conversion kit ที่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อผู้ใช้เพราะมีในบ้างกรณีที่ปืนเกิดระเบิดขึ้นในระหว่างการทดสอบ
จากความล้มเหลวทั้งหมดนี้ ทำให้กรมสรรพาวุธทหารบกต้องพุ่งเป้าไปที่การพัฒนาของบริษัท Frigidaire,General Motors แทน ซึ่งได้รหัสพัฒนาว่า T25 ตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคม 1943แล้ว โดยเน้นศึกษาข้อบกพร่องและจุดอ่อนของ M2 นำมาออกแบบใหม่โดยทั้งหมด อย่างเช่นในส่วนของโครงปืน และแผ่นรับแรงสะท้อนถอยหลัง แต่กว่าจะพัฒนาสำเร็จและส่งปืนกระบอกแรกเข้าทดสอบก็ล่าช้าไปจนถึงเดือนมีนาคม 1944
ส่วนผลการทดสอบนั้นก็ออกมาค่อนข้างดี โดยมีอายุการใช้งานของตัวปืนอยู่ที่ 2,000-3,000 นัด และอัตราการยิงที่ 1,250 นัด/นาที แต่ก็ยังคงมีปัญหาขัดลำกล้องและชิ้นส่วนที่เสียหายอยู่บ่อยครั้งเกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้
แต่ก็ปรับปรุงอย่างต่อในในรุ่น T25E2 และ T25E3 ที่เป็นนำชิ้นส่วนบางอย่างเช่น ลูกเลื่อน,Top cover และ booster ของ T22E6 ที่พัฒนาโดย High Standard Manufacturing มาใช้งาน
ผลการทดสอบก็ประสบความสำเร็จอย่างเห็นได้ชัด
อัตราการขัดกล้องและชิ้นส่วนเสียหายเหลือแต่ 8 นัดต่อ 5,000 นัด
และเพื่อให้เป็นการแน่ใจถึงประสิทธิภาพและปรับปรุงเพิ่มเติมในขั้นตอนสุดท้ายจึงได้มีการทดสอบอีกครั้งในเดือนตุลาคม 1944 โดยประสิทธิภาพในการทดสอบครั้งนี้ก็สามารถผ่านเกณฑ์การทดสอบที่ตั้งไว้ทุกประการ
เมื่อผลเป็นที่แน่ชัดถึงความสำเร็จแล้วกรมสรรพาวุธทหารบกจึงได้ส่งมอบให้ กรมสรรพาวุธทหารเรือและหน่วยงานของกองทัพอากาศพิจารณาภายใต้คณะกรรมธิการร่วม ซึ่งผลก็ออกมาเป็นอย่างดี จึงมีคำสั่งให้ผลิตล็อตแรกเป็นจำนวน 1,100 กระบอก เพื่อส่งให้ฝ่ายอุตสาหกรรมและโรงงานอุตสาหกรรมอาวุธอื่นๆศึกษาวิธีการผลิต และ 100 กระบอกที่เหลือเพื่อเป็นการทดสอบเก็บข้อมูลทางวิศวกรรมเป็นรอบสุดท้าย
นอกจากนี้แล้วกองทัพเรือก็มีการสั่งผลิตเพื่อเอาไปทดสอบใช้จริงในสนามเป็นจำนวน 1,000 กระบอก ในช่วงเดือนธันวาคม 1944 และในช่วงเวลาสุดท้ายอีก 4 เดือน ก็จะเป็นการทดสอบเพื่อเข้าประจำการจริง
หน่วยงานแรกที่ร้องขอ T25E3 เข้าประจำการคือ กองทัพอากาศ ในนาม Caliber .50 M3, Aircraft และเข้าสู่สายการผลิตในเดือนเมษายน 1945 จนกระทั้งถึงจบสงครามโลกครั้งที่มีเพียง 2,400 กระบอกเท่านั้นที่ถูกผลิตออกมา
"ไม่ว่าจะเป็นโครงปืน ลูกเลื่อน extractor เข็มแทงชนวน Buffer, Buffer spring จึงไม่แปลกใจเลยครับว่าทำให้ใช้เวลาเกือบๆ 5 ปีกว่าจะทำออกมาได้สำเร็จ ที่สำคัญคือมีการตั้งมาตรฐานทดสอบสูงมากๆ เพราะเป็นปืนกลอากาศยานเป็นหลักที่ไม่สามารถซ่อมแก้ไขได้ขณะกำลังบินอยู่"