ส.อ.ท.จี้รัฐห้ามการ์ดตกคุมโควิด-19 ไม่ใช่เข้มปชช.อย่างเดียว
https://www.matichon.co.th/economy/news_2467766
นาย
เกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงการท่องเที่ยวช่วงวันหยุดยาว 10-14 ธันวาคม 2563 และการท่องเที่ยวเทศกาลปีใหม่ ว่า จากมาตรการของภาครัฐที่ออกมากระตุ้นและส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ เชื่อว่าประชาชนจะออกมาท่องเที่ยวคึกคักมากขึ้น เนื่องจากเดือนธันวาคม ถือเป็นเดือนแห่งการท่องเที่ยว (ไฮซีซั่น) และเข้าสู่ฤดูหนาวอย่างเป็นทางการ ยิ่งมีส่วนช่วยทำให้ประชาชนออกมาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอีกด้วย คาดว่าสถานที่ยอดฮิตที่จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปพัก อาทิ เขาค้อ เขาใหญ่ ภูเก็ต พัทยา สมุย ภูทับเบิก เชียงราย และน่าน
นาย
เกรียงไกร กล่าวว่า สำหรับ จ.เชียงใหม่ ที่เดิมเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตในช่วงฤดูท่องเที่ยว แต่จากประเด็นที่นักท่องเที่ยวต่างด้าวลักลอบเข้ามาตามแนวช่องทางธรรมชาติ และเข้ามาแพร่เชื้อโควิด-19 ในบางพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ ทำให้นักท่องเที่ยวจำนวนหนึ่งเปลี่ยนแผนไปเที่ยวจังหวัดใกล้เคียง หรือจังหวัดท่องเที่ยวอื่น เพราะรู้สึกปลอดภัยมากกว่า มองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ช่วยกันสอดส่องดูแลให้เข้มข้น อาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอก 2 และเป็นผลลบกับเศรษฐกิจไทยได้
นาย
เกรียงไกร กล่าวว่า แม้วัคซีนรักษาโควิด-19 จะมีความเป็นไปได้แล้วถึง 3 ตัว ได้ผลดีกว่า 90% แต่กว่าจะเริ่มออกมาใช้ได้อย่างเร็วที่สุดคาดว่าจะเป็นช่วงกลางปี 2564 ดังนั้น นอกจากประชาชนห้ามการ์ดตกแล้ว เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่บริเวณชายแดน ทั้งลาว เมียนมา กัมพูชา และมาเลเซีย ก็ไม่ควรการ์ดตกเช่นกัน อยากให้คิดถึงผลประโยชน์ของคนในประเทศเป็นสำคัญ เพราะหากมีการไปแพร่เชื้อในสถานที่ท่องเที่ยวมากกว่า 1 จังหวัด จะยิ่งส่งผลให้การหมุนเวียนทางเศรษฐกิจที่เริ่มจะดีขึ้นแย่ลงไปอีก รัฐต้องดูแล
ไอลอว์ เปิด 4 ข้อ หาก บิ๊กตู่ พ้นนายกฯ คดีอยู่บ้านหลวง แต่ระบอบ คสช.ยังอยู่!
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_5446500
ไอลอว์ เปิด 4 ข้อ หาก บิ๊กตู่ พ้นนายกฯ คดีอยู่บ้านหลวง แต่ระบอบ คสช.ยังอยู่!
ไอลอว์ (ILAW ) รายงานว่า วันนี้(2 ธ.ค.) เป็นวันชี้ชะตา พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่าจะต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหรือไม่
จากกรณีอาศัยอยู่ในบ้านพักทหาร ทั้งที่เกษียณอายุราชการ และอาจเข้าข่ายเป็นการกระทำอันเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
โดยผลของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ จะเป็นบรรทัดฐานสำคัญต่อ "
อภิสิทธิ์" ของบรรดาอดีตผู้นำเหล่าทัพในการเข้าพักบ้านหลวงหลังเกษียณแต่ยังดำรงตำแหน่งทางการเมือง
อีกทั้ง คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญจะมีผลต่อการดำรงตำแหน่งของ พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา และบรรดาคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลคสช.
โดยตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 มาตรา 170 (5) กำหนดว่า
ถ้ารัฐมนตรีกระทำการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 186 หรือ มาตรา 187 หรือ รัฐมนตรีกระทำการอันเป็นการกระทำต้องห้ามตามมาตรา 184 ที่ว่าด้วยการกระทำอันเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ให้ความเป็นรัฐมนตรีของบุคคลนั้นสิ้นสุดลง
ดังนั้น ถ้าหากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า การที่ พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังคงพักอาศัยในบ้านพักทหารโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายทั้งที่ได้เกษียณและพ้นจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกมาตั้งแต่ปี 2557 เข้าข่ายเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ สถานะความเป็นนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.
ประยุทธ์ ก็จะสิ้นสุดลง
อีกทั้ง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 167 ยังกำหนดด้วยว่า รัฐมนตรีทั้งคณะต้องพ้นจากตำแหน่งเมื่อความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามมาตรา 170
ดังนั้น ถ้า พล.อ.
ประยุทธ์ ต้องสิ้นสุดสถานะความเป็นนายกรัฐมนตรี บรรดารัฐมนตรีที่ประยุทธ์เป็นคนเสนอชื่อแต่งตั้งก็จะต้องพ้นจากตำแหน่งด้วย แต่ให้อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่
นอกจากนี้ ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 มาตรา 160 ยังกำหนดเรื่องคุณสมบัติของรัฐมนตรีไว้ด้วยว่า ต้องไม่เป็นผู้เคยพ้นจากตําแหน่ง เพราะเหตุกระทําการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 186 หรือ มาตรา 187 มาแล้วยังไม่ถึง 2 ปี นับถึงวันแต่งตั้ง
หรือหมายความว่า ถ้า พล.อ.ประยุทธ์ ถูกวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งจากคดีพักบ้านหลวงจะต้องเว้นวรรคทางการเมืองเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปี
อย่างไรก็ดี แม้จะมีความเป็นไปได้ว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยให้การ "
พักบ้านหลวง" ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นการกระทำอันเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ และทำให้สถานะความเป็นรัฐมนตรีของ พล.อ.
ประยุทธ์ สิ้นสุดลง
แต่ทว่า ภายใต้รัฐธรรมนูญ ปี 2560 ก็ยังคงมีกลไกในการพยุงระบอบคสช. ให้ยังดำรงต่อไปได้ กล่าวคือ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญอาจจะเป็นการเปลี่ยนตัวบุคคล แต่ไม่ได้เปลี่ยนระบอบคสช. แต่อย่างใด
โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้ระบอบคสช. ยังคงดำรงต่อไปได้ ก็คือ การที่รัฐธรรมนูญ ปี 2560 มาตรา 269 กำหนดให้ ส.ว.ชุดแรก มาจากการคัดเลือกโดยคสช. จำนวน 250 คน และในมาตรา 272 กำหนดว่า การให้ความเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งนายกฯ ต้องมาจากที่ประชุมร่วมของรัฐสภา หรือหมายความว่า ส.ว. 250 คน ของคสช. ยังคงมีอำนาจร่วมเลือกนายกฯ
และที่ผ่านมา ส.ว. ชุดนี้ก็เป็นตัวแปรสำคัญในการเลือกนายกฯ และทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ ยังรักษาตำแหน่งนายกฯ ไว้ได้หลังการเลือกตั้ง
นอกจากนี้ มาตรา 272 ในบทเฉพาะกาลก็มีทางเลือกพิเศษเอาไว้ ในกรณีที่ไม่สามารถเลือกนายกฯ จากบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอได้ ให้ใช้การลงมติของ ส.ส. + ส.ว. ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของรัฐสภา หรือเกือบ 500 เสียง ก็จะเปิดทางให้มีการเสนอชื่อ "นายกฯ คนนอก" หรือ การเสนอให้ใครก็ได้มาดำรงตำแหน่งนายกฯ ก็ได้
ซึ่งหากพิจารณาจากเสียงของพรรครัฐบาล และเสียงของ ส.ว.ชุดพิเศษนี้ ก็ไม่ได้ถือว่า เป็นทางเลือกที่ยากจนเกินไป
อ่าน
JJNY : ส.อ.ท.จี้รัฐห้ามการ์ดตก/ไอลอว์เปิด4ข้อ หากตู่พ้นนายกฯ/คุก32ด. วัชระหมิ่นอดีตสนช./ชูวิทย์แขวะผศ.ดร.แนะเด็กแก้ผ้า
https://www.matichon.co.th/economy/news_2467766
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงการท่องเที่ยวช่วงวันหยุดยาว 10-14 ธันวาคม 2563 และการท่องเที่ยวเทศกาลปีใหม่ ว่า จากมาตรการของภาครัฐที่ออกมากระตุ้นและส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ เชื่อว่าประชาชนจะออกมาท่องเที่ยวคึกคักมากขึ้น เนื่องจากเดือนธันวาคม ถือเป็นเดือนแห่งการท่องเที่ยว (ไฮซีซั่น) และเข้าสู่ฤดูหนาวอย่างเป็นทางการ ยิ่งมีส่วนช่วยทำให้ประชาชนออกมาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอีกด้วย คาดว่าสถานที่ยอดฮิตที่จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปพัก อาทิ เขาค้อ เขาใหญ่ ภูเก็ต พัทยา สมุย ภูทับเบิก เชียงราย และน่าน
นายเกรียงไกร กล่าวว่า สำหรับ จ.เชียงใหม่ ที่เดิมเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตในช่วงฤดูท่องเที่ยว แต่จากประเด็นที่นักท่องเที่ยวต่างด้าวลักลอบเข้ามาตามแนวช่องทางธรรมชาติ และเข้ามาแพร่เชื้อโควิด-19 ในบางพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ ทำให้นักท่องเที่ยวจำนวนหนึ่งเปลี่ยนแผนไปเที่ยวจังหวัดใกล้เคียง หรือจังหวัดท่องเที่ยวอื่น เพราะรู้สึกปลอดภัยมากกว่า มองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ช่วยกันสอดส่องดูแลให้เข้มข้น อาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอก 2 และเป็นผลลบกับเศรษฐกิจไทยได้
นายเกรียงไกร กล่าวว่า แม้วัคซีนรักษาโควิด-19 จะมีความเป็นไปได้แล้วถึง 3 ตัว ได้ผลดีกว่า 90% แต่กว่าจะเริ่มออกมาใช้ได้อย่างเร็วที่สุดคาดว่าจะเป็นช่วงกลางปี 2564 ดังนั้น นอกจากประชาชนห้ามการ์ดตกแล้ว เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่บริเวณชายแดน ทั้งลาว เมียนมา กัมพูชา และมาเลเซีย ก็ไม่ควรการ์ดตกเช่นกัน อยากให้คิดถึงผลประโยชน์ของคนในประเทศเป็นสำคัญ เพราะหากมีการไปแพร่เชื้อในสถานที่ท่องเที่ยวมากกว่า 1 จังหวัด จะยิ่งส่งผลให้การหมุนเวียนทางเศรษฐกิจที่เริ่มจะดีขึ้นแย่ลงไปอีก รัฐต้องดูแล
ไอลอว์ เปิด 4 ข้อ หาก บิ๊กตู่ พ้นนายกฯ คดีอยู่บ้านหลวง แต่ระบอบ คสช.ยังอยู่!
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_5446500
ไอลอว์ เปิด 4 ข้อ หาก บิ๊กตู่ พ้นนายกฯ คดีอยู่บ้านหลวง แต่ระบอบ คสช.ยังอยู่!
ไอลอว์ (ILAW ) รายงานว่า วันนี้(2 ธ.ค.) เป็นวันชี้ชะตา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่าจะต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหรือไม่
จากกรณีอาศัยอยู่ในบ้านพักทหาร ทั้งที่เกษียณอายุราชการ และอาจเข้าข่ายเป็นการกระทำอันเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
โดยผลของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ จะเป็นบรรทัดฐานสำคัญต่อ "อภิสิทธิ์" ของบรรดาอดีตผู้นำเหล่าทัพในการเข้าพักบ้านหลวงหลังเกษียณแต่ยังดำรงตำแหน่งทางการเมือง
อีกทั้ง คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญจะมีผลต่อการดำรงตำแหน่งของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และบรรดาคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลคสช.
โดยตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 มาตรา 170 (5) กำหนดว่า ถ้ารัฐมนตรีกระทำการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 186 หรือ มาตรา 187 หรือ รัฐมนตรีกระทำการอันเป็นการกระทำต้องห้ามตามมาตรา 184 ที่ว่าด้วยการกระทำอันเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ให้ความเป็นรัฐมนตรีของบุคคลนั้นสิ้นสุดลง
ดังนั้น ถ้าหากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า การที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังคงพักอาศัยในบ้านพักทหารโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายทั้งที่ได้เกษียณและพ้นจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกมาตั้งแต่ปี 2557 เข้าข่ายเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ สถานะความเป็นนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ ก็จะสิ้นสุดลง
อีกทั้ง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 167 ยังกำหนดด้วยว่า รัฐมนตรีทั้งคณะต้องพ้นจากตำแหน่งเมื่อความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามมาตรา 170
ดังนั้น ถ้า พล.อ.ประยุทธ์ ต้องสิ้นสุดสถานะความเป็นนายกรัฐมนตรี บรรดารัฐมนตรีที่ประยุทธ์เป็นคนเสนอชื่อแต่งตั้งก็จะต้องพ้นจากตำแหน่งด้วย แต่ให้อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่
นอกจากนี้ ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 มาตรา 160 ยังกำหนดเรื่องคุณสมบัติของรัฐมนตรีไว้ด้วยว่า ต้องไม่เป็นผู้เคยพ้นจากตําแหน่ง เพราะเหตุกระทําการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 186 หรือ มาตรา 187 มาแล้วยังไม่ถึง 2 ปี นับถึงวันแต่งตั้ง หรือหมายความว่า ถ้า พล.อ.ประยุทธ์ ถูกวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งจากคดีพักบ้านหลวงจะต้องเว้นวรรคทางการเมืองเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปี
อย่างไรก็ดี แม้จะมีความเป็นไปได้ว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยให้การ "พักบ้านหลวง" ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นการกระทำอันเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ และทำให้สถานะความเป็นรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ สิ้นสุดลง
แต่ทว่า ภายใต้รัฐธรรมนูญ ปี 2560 ก็ยังคงมีกลไกในการพยุงระบอบคสช. ให้ยังดำรงต่อไปได้ กล่าวคือ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญอาจจะเป็นการเปลี่ยนตัวบุคคล แต่ไม่ได้เปลี่ยนระบอบคสช. แต่อย่างใด
โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้ระบอบคสช. ยังคงดำรงต่อไปได้ ก็คือ การที่รัฐธรรมนูญ ปี 2560 มาตรา 269 กำหนดให้ ส.ว.ชุดแรก มาจากการคัดเลือกโดยคสช. จำนวน 250 คน และในมาตรา 272 กำหนดว่า การให้ความเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งนายกฯ ต้องมาจากที่ประชุมร่วมของรัฐสภา หรือหมายความว่า ส.ว. 250 คน ของคสช. ยังคงมีอำนาจร่วมเลือกนายกฯ
และที่ผ่านมา ส.ว. ชุดนี้ก็เป็นตัวแปรสำคัญในการเลือกนายกฯ และทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ ยังรักษาตำแหน่งนายกฯ ไว้ได้หลังการเลือกตั้ง
นอกจากนี้ มาตรา 272 ในบทเฉพาะกาลก็มีทางเลือกพิเศษเอาไว้ ในกรณีที่ไม่สามารถเลือกนายกฯ จากบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอได้ ให้ใช้การลงมติของ ส.ส. + ส.ว. ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของรัฐสภา หรือเกือบ 500 เสียง ก็จะเปิดทางให้มีการเสนอชื่อ "นายกฯ คนนอก" หรือ การเสนอให้ใครก็ได้มาดำรงตำแหน่งนายกฯ ก็ได้ ซึ่งหากพิจารณาจากเสียงของพรรครัฐบาล และเสียงของ ส.ว.ชุดพิเศษนี้ ก็ไม่ได้ถือว่า เป็นทางเลือกที่ยากจนเกินไป
อ่าน