เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ได้มีการเซ็นสัญญาก่อสร้างงานโยธารถไฟความเร็วสูง 5 สัญญา ระยะทางรวม 101 กิโลเมตร มูลค่ารวมกว่า 40,275 ล้านบาท นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงคุณธรรมและลงนามสัญญาการก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) จำนวน 5 สัญญา ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรฟท. และบริษัทคู่สัญญา
รายละเอียดสัญญางานโยธาทั้ง 5 สัญญา
- สัญญาที่ 3-2 งานโยธาสำหรับงานอุโมงค์ (มวกเหล็กและลำตะคอง)
ดำเนินการโดย บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน)
ซึ่งมีจุดเด่นคืองานก่อสร้างอุโมงค์ยาวรวม 8 กิโลเมตร และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 12.23 กิโลเมตร
- สัญญาที่ 3-3 งานโยธาสำหรับช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง
ดำเนินการโดย บริษัท ไทยเอ็นยิเนียร์และอุตสาหกรรม จำกัด
ซึ่งมีงานก่อสร้างสถานีปากช่อง และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 26.10 กิโลเมตร
- สัญญาที่ 3-4 งานโยธาสำหรับช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด
ดำเนินการโดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
ซึ่งมีจุดเด่นคือ มีงานก่อสร้างทางรถไฟระยะทางยาวที่สุดในโครงการ ถึง 37.45 กิโลเมตร
- สัญญาที่ 3-5 งานโยธาสำหรับช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา
ดำเนินการโดย บริษัท กิจการร่วมค้า เอสพีทีเค จำกัด (ซึ่งประกอบด้วย บริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด บริษัท ทิมเซคาร์ตาร์ เอสดีเอ็น บีเอชดีจำกัด และบริษัท บิน่า พูรี่ เอสดีเอ็น บีเอชดี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทจากประเทศมาเลเซีย)
ซึ่งเป็นงานก่อสร้างสถานีนครราชสีมา และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 12.38 กิโลเมตร
- สัญญาที่ 4-7 งานโยธาสำหรับช่วงสระบุรี-แก่งคอย
ดำเนินการโดย บริษัท ซีวิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน)
ซึ่งมีจุดเด่นคืองานก่อสร้างสถานีสระบุรี และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 12.99 กิโลเมตร
รูปแบบการเดินรถไฟความเร็วสูง ในช่วงแรก (ปีที่เปิดให้บริการ) จะเดินรถไฟฟ้าที่ความถี่ 90 นาที/ขบวน (1:30 ชั่วโมง)
ค่าโดยสารในโครงการ จะคิดตามระยะทาง 1.8 บาท/กิโลเมตร และมีค่าแรกเข้าระบบ 80 บาทจากต้นทางกรุงเทพ ไปยังสถานีต่างๆดังนี้
- ดอนเมือง 105 บาท
- อยุธยา 195 บาท
- สระบุรี 278 บาท
- ปากช่อง 393 บาท
- นครราชสีมา 536 บาท
ในปีแรกที่เปิดให้บริการ คาดการณ์จำนวนผู้โดยสารไว้ 5,315 คน/วัน จากผู้โดยสาร กรุงเทพ-โคราช วันละ 20,000 คน/วัน
ระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่ใช้ในโครงการ
Series : Fuxing Hao Model : CR300
ซึ่งรถไฟ Series : Fuxing hao Mode : CR300 ที่จีนพัฒนาเอง 100% ซึ่งเปลี่ยนจากรุ่น CRH380 ซึ่งเป็นรุ่นเก่าที่ใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศ (ของ Siemens เยอรมัน) ความเร็วสูงสุด 250 กม/ชม
ในขบวนรถไฟความเร็วสูง 1 ขบวน มีทั้งหมด 8 ตู้ แบ่งเป็น 2 ชั้น คือ
- First Class (ชั้น 1) อยู่บริเวณหัวขบวนทั้ง 2 ด้าน มี 96 ที่นั่ง
- Second Class (ชั้น 2) ในพื้นที่ 6 ตู้ที่เหลือ มีทั้งหมด 498 ที่นั่ง
รวมผู้โดยสารทั้งหมด 594 ที่นั่ง
และมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น พื้นที่ขายอาหาร สำนักงานเจ้าหน้าที่ พื้นที่เก็บกระเป๋าขนาดใหญ่ และมีห้องน้ำในทุกตู้โดยสาร
งานระบบควบคุม และอาณัติสัญญาณรถไฟ ซึ่งจะเป็นระบบ CTCS-2 พร้อมกับ GSM-R (รองรับการพัฒนาเป็น CTSC-3)
รายละเอียดเพิ่มเติม รูปเส้นทางดูได้จากลิงค์นี้
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/1080880232350455
เซ็นแล้วสัญญาก่อสร้างงานโยธารถไฟความเร็วสูง 5 สัญญา ระยะทางรวม 101 กิโลเมตร มูลค่ารวมกว่า 40,275 ล้านบาท
รายละเอียดสัญญางานโยธาทั้ง 5 สัญญา
- สัญญาที่ 3-2 งานโยธาสำหรับงานอุโมงค์ (มวกเหล็กและลำตะคอง)
ดำเนินการโดย บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน)
ซึ่งมีจุดเด่นคืองานก่อสร้างอุโมงค์ยาวรวม 8 กิโลเมตร และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 12.23 กิโลเมตร
- สัญญาที่ 3-3 งานโยธาสำหรับช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง
ดำเนินการโดย บริษัท ไทยเอ็นยิเนียร์และอุตสาหกรรม จำกัด
ซึ่งมีงานก่อสร้างสถานีปากช่อง และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 26.10 กิโลเมตร
- สัญญาที่ 3-4 งานโยธาสำหรับช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด
ดำเนินการโดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
ซึ่งมีจุดเด่นคือ มีงานก่อสร้างทางรถไฟระยะทางยาวที่สุดในโครงการ ถึง 37.45 กิโลเมตร
- สัญญาที่ 3-5 งานโยธาสำหรับช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา
ดำเนินการโดย บริษัท กิจการร่วมค้า เอสพีทีเค จำกัด (ซึ่งประกอบด้วย บริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด บริษัท ทิมเซคาร์ตาร์ เอสดีเอ็น บีเอชดีจำกัด และบริษัท บิน่า พูรี่ เอสดีเอ็น บีเอชดี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทจากประเทศมาเลเซีย)
ซึ่งเป็นงานก่อสร้างสถานีนครราชสีมา และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 12.38 กิโลเมตร
- สัญญาที่ 4-7 งานโยธาสำหรับช่วงสระบุรี-แก่งคอย
ดำเนินการโดย บริษัท ซีวิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน)
ซึ่งมีจุดเด่นคืองานก่อสร้างสถานีสระบุรี และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 12.99 กิโลเมตร
รูปแบบการเดินรถไฟความเร็วสูง ในช่วงแรก (ปีที่เปิดให้บริการ) จะเดินรถไฟฟ้าที่ความถี่ 90 นาที/ขบวน (1:30 ชั่วโมง)
ค่าโดยสารในโครงการ จะคิดตามระยะทาง 1.8 บาท/กิโลเมตร และมีค่าแรกเข้าระบบ 80 บาทจากต้นทางกรุงเทพ ไปยังสถานีต่างๆดังนี้
- ดอนเมือง 105 บาท
- อยุธยา 195 บาท
- สระบุรี 278 บาท
- ปากช่อง 393 บาท
- นครราชสีมา 536 บาท
ในปีแรกที่เปิดให้บริการ คาดการณ์จำนวนผู้โดยสารไว้ 5,315 คน/วัน จากผู้โดยสาร กรุงเทพ-โคราช วันละ 20,000 คน/วัน
ระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่ใช้ในโครงการ
Series : Fuxing Hao Model : CR300
ซึ่งรถไฟ Series : Fuxing hao Mode : CR300 ที่จีนพัฒนาเอง 100% ซึ่งเปลี่ยนจากรุ่น CRH380 ซึ่งเป็นรุ่นเก่าที่ใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศ (ของ Siemens เยอรมัน) ความเร็วสูงสุด 250 กม/ชม
ในขบวนรถไฟความเร็วสูง 1 ขบวน มีทั้งหมด 8 ตู้ แบ่งเป็น 2 ชั้น คือ
- First Class (ชั้น 1) อยู่บริเวณหัวขบวนทั้ง 2 ด้าน มี 96 ที่นั่ง
- Second Class (ชั้น 2) ในพื้นที่ 6 ตู้ที่เหลือ มีทั้งหมด 498 ที่นั่ง
รวมผู้โดยสารทั้งหมด 594 ที่นั่ง
และมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น พื้นที่ขายอาหาร สำนักงานเจ้าหน้าที่ พื้นที่เก็บกระเป๋าขนาดใหญ่ และมีห้องน้ำในทุกตู้โดยสาร
งานระบบควบคุม และอาณัติสัญญาณรถไฟ ซึ่งจะเป็นระบบ CTCS-2 พร้อมกับ GSM-R (รองรับการพัฒนาเป็น CTSC-3)
รายละเอียดเพิ่มเติม รูปเส้นทางดูได้จากลิงค์นี้ https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/1080880232350455