คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
เห็นบางความเห็นวิจารณ์การตั้งคำถามของคุณเจ้าของกระทู้แล้ว ผมถึงกับต้องส่ายหน้าเลยทีเดียว
แสดงให้เห็นว่าเขาไม่เข้าใจคำถามของคุณ จขกท. ถ้ามีความรู้เกี่ยวกับ linguistics อยู่บ้างก็น่าจะเข้าใจได้ทันทีว่าคุณ จขกท. สงสัยอะไร
คุณ จขกท. อย่าเพิ่งเสียกำลังใจในการตั้งคำถามเลยนะครับ 😃
ตอบคำถามนะครับ
คำที่เป็นเสียง [-ɯaʔ] ไม่มีในภาษาไทยครับ (อ้างอิง กาญจนา นาคสกุล (2556). ระบบเสียงภาษาไทย. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.)
ไม่ทราบว่าคุณ จขกท. ทราบอยู่แล้วหรือเปล่า แต่ยังไงผมก็ขออธิบายคร่าว ๆ ดังนี้ครับ
ในทางภาษาศาสตร์ (linguistics) แล้ว เสียงสระประสมของภาษาไทย ไม่มีการแยกเสียงสั้น-ยาว หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ไม่มีคู่ เอียะ-เอีย เอือะ-เอือ อัวะ-อัว แบบที่หนังสือเรียนภาษาไทยทั่วไปบอก พิสูจน์ได้ทั้งในแง่สัทศาสตร์ (วัดค่าความยาว) และในแง่สัทวิทยา (วิเคราะห์ระบบเสียง)
ความต่างระหว่าง 1) เอีย เอือ อัว กับ 2) เอียะ เอือะ อัวะ คือ 2) จะมีการปิดเส้นเสียง (glottal stop [ʔ]) ต่อท้าย
1) [-ia] [-ɯa] [-ua]
2) [-iaʔ] [-ɯaʔ] [-uaʔ]
นั่นคือ ต่างกันที่มีการปิดเส้นเสียงหรือไม่ ไม่ได้ต่างกันที่เสียงสั้นเสียงยาวแต่อย่างใด
และที่จริงแล้ว ข้อ 2) เป็นส่วนประกอบระหว่างเสียงสระ [-ia] [-ɯa] [-ua] กับเสียงพยัญชนะท้าย (เสียงตัวละกด) เช่นเดียวกับ [-iam] [-ian] [[-iak] "เรียม" "เรียน" "เรียก" เป็นต้น
ส่วนสัทอักษรที่คุณ จขกท. เขียนไว้เพื่อแสดงเสียงยาวว่า [ɯaː ] นั้น ถ้าจากคำอธิบายข้างต้นก็จะตีความได้ว่า ไม่ต้องใส่สัทอักษร [ː ] เพิ่มแต่อย่างใด ยกเว้นกรณีที่ต้องการถอดเสียงตอนที่เราพูดเน้นพยางค์โดยการลากเสียงยาว
กรณีที่ต้องการแสดงการลากเสียงยาวนี้ อาจารย์ภาควิขาภาษาศาสตร์ท่านหนึ่งเคยพูดไว้ว่า ควรเขียนเป็น [ɯːa] มากกว่า [ɯaː ] เพราะในการลากเสียง เราจะลากเสียง [ɯ] ให้ยาวขึ้น ไม่ได้ลากเสียง [a] ให้ยาวขึ้น
แสดงให้เห็นว่าเขาไม่เข้าใจคำถามของคุณ จขกท. ถ้ามีความรู้เกี่ยวกับ linguistics อยู่บ้างก็น่าจะเข้าใจได้ทันทีว่าคุณ จขกท. สงสัยอะไร
คุณ จขกท. อย่าเพิ่งเสียกำลังใจในการตั้งคำถามเลยนะครับ 😃
ตอบคำถามนะครับ
คำที่เป็นเสียง [-ɯaʔ] ไม่มีในภาษาไทยครับ (อ้างอิง กาญจนา นาคสกุล (2556). ระบบเสียงภาษาไทย. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.)
ไม่ทราบว่าคุณ จขกท. ทราบอยู่แล้วหรือเปล่า แต่ยังไงผมก็ขออธิบายคร่าว ๆ ดังนี้ครับ
ในทางภาษาศาสตร์ (linguistics) แล้ว เสียงสระประสมของภาษาไทย ไม่มีการแยกเสียงสั้น-ยาว หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ไม่มีคู่ เอียะ-เอีย เอือะ-เอือ อัวะ-อัว แบบที่หนังสือเรียนภาษาไทยทั่วไปบอก พิสูจน์ได้ทั้งในแง่สัทศาสตร์ (วัดค่าความยาว) และในแง่สัทวิทยา (วิเคราะห์ระบบเสียง)
ความต่างระหว่าง 1) เอีย เอือ อัว กับ 2) เอียะ เอือะ อัวะ คือ 2) จะมีการปิดเส้นเสียง (glottal stop [ʔ]) ต่อท้าย
1) [-ia] [-ɯa] [-ua]
2) [-iaʔ] [-ɯaʔ] [-uaʔ]
นั่นคือ ต่างกันที่มีการปิดเส้นเสียงหรือไม่ ไม่ได้ต่างกันที่เสียงสั้นเสียงยาวแต่อย่างใด
และที่จริงแล้ว ข้อ 2) เป็นส่วนประกอบระหว่างเสียงสระ [-ia] [-ɯa] [-ua] กับเสียงพยัญชนะท้าย (เสียงตัวละกด) เช่นเดียวกับ [-iam] [-ian] [[-iak] "เรียม" "เรียน" "เรียก" เป็นต้น
ส่วนสัทอักษรที่คุณ จขกท. เขียนไว้เพื่อแสดงเสียงยาวว่า [ɯaː ] นั้น ถ้าจากคำอธิบายข้างต้นก็จะตีความได้ว่า ไม่ต้องใส่สัทอักษร [ː ] เพิ่มแต่อย่างใด ยกเว้นกรณีที่ต้องการถอดเสียงตอนที่เราพูดเน้นพยางค์โดยการลากเสียงยาว
กรณีที่ต้องการแสดงการลากเสียงยาวนี้ อาจารย์ภาควิขาภาษาศาสตร์ท่านหนึ่งเคยพูดไว้ว่า ควรเขียนเป็น [ɯːa] มากกว่า [ɯaː ] เพราะในการลากเสียง เราจะลากเสียง [ɯ] ให้ยาวขึ้น ไม่ได้ลากเสียง [a] ให้ยาวขึ้น
แสดงความคิดเห็น
ในภาษาไทยมีคำที่ใช้สระ เอือะ มั้ยครับ