นมแม่ที่ปั๊มแล้ว เก็บได้นานแค่ไหน มาดูกันเลย

สิ่งที่คุณเเม่สายปั๊มเป็นกังวลกันก็คือ นมแม่ ที่ปั๊มแล้วเก็บได้นานแค่ไหน ยิ่งเป็นคุณเเม่ที่น้ำนมไม่ค่อยจะมี กว่าจะได้เเต่ละออนซ์นั้นเลือดตาเเทบกระเด็น หากเก็บไม่ถูกวิธี เก็บในอุณหภูมิที่สูงเกินไป ลูกก็ไม่สามารถกินได้ สิ่งที่บีบเค้นออกมาถือว่าสูญเปล่า จะดีเเค่ไหน หากคุณเเม่รู้ชัดเเละเคลียร์ตั้งเเต่ตอนนี้ ว่านมเเม่เก็บได้นานเเค่ไหนกันนะ

ก่อนจะปั๊มนมต้องทำอะไรบ้าง

ล้างมือให้สะอาด ฟอกสบู่ทุกครั้งก่อนการปั๊มนม
ถุงเก็บนมเเม่หรือขวดนม ต้องผ่านการ sanitized หรือฆ่าเชื้อโรค โดยนำไปผ่านน้ำอุ่นเเละสบู่
เก็บถุงละหรือขวดนม 1-2 ออนซ์ หรือขึ้นอยู่กับว่าลูกกินเเต่ละครั้งปริมาณเท่าไหร่ค่ะ เเต่การเก็บทีละ 1-2 ออนซ์ จะง่ายต่อการนำมาใช้มากกว่าค่ะ เเต่ไม่ต้องใช้เวลาในการละลายนมนานด้วยค่ะ
หากเก็บนมเเม่ใส่ถุงเเล้วเเช่ช่องเเช่เเข็ง ควรเว้นพื้นที่ที่เป็นอากาศไว้สัก 1 นิ้วค่ะ เพราะว่านมเเม่เมื่อเเข็งจะขยายตัวขึ้นอีก
เขียนวันที่ปั๊มติดกับถุงหรือขวดทุกครั้ง เพื่อง่ายต่อการจัดการค่ะ
ใส่ช่องเเข็งหรือใส่ตู้เย็นให้เร็วที่สุดหลังจากปั๊มเสร็จเเล้ว หากไม่มีตู้เย็นอยู่ใกล้เคียง ให้ใช้กระเป๋าเก็บความเย็นได้ค่ะ
ลูกกินนมเเม่ไม่หมด สามารถเก็บนมเเม่ไว้กินมื้อต่อไป ได้หรือไม่
จริงๆ ก็ควรหลีกเลี่ยงการเก็บนมเเม่ที่ลูกกินไม่หมดค่ะ เนื่องจากปกติเเล้วในปากของลูกนั้นจะมีเเบคทีเรียอยู่ ซึ่งเวลาที่ดูดนมเเบคทีเรียจะปนเปื้อนในขวดนมอยู่เเล้วค่ะ
เเต่อย่างไรก็ตาม ้เข้าใจที่สุดค่ะว่า นมเเม่เเต่ละหยดกว่าจะได้มานั้นอย่างที่บอกคือ เลือดตาเเทบกระเด็นกันเลย ยิ่งคุณเเม่ที่ต้องตื่นกลางดึกเพื่อมาปั๊มนมเเม่ นั่นหมายความว่ายิ่งกว่าหยาดเหงื่อเเรงงานเสียอีก คือเอาทองมาเเลกยังไม่ยอมเลย
บางทฤษฎีก็ให้ความเห็นว่า เเม้จะมีเเบคทีเรียปนเปื้อนในนมเเม่บ้าง เเต่นมเเม่ที่ลูกกินเหลือก็สามารถนำมาให้ลูกกินต่อได้ค่ะ มีการศึกษาพบว่า หากเเช่นมเเม่ในตู้เย็นเป็นเวลา 8 วัน จะมีเเบคทีเรียน้อยกว่า เนื่องจากเซล์ล์ที่มีชีวิตในนมเเม่นั้นจะต่อสู้กับเเบคทีเรียที่ไม่ดีค่ะ
ดังนั้นนมเเม่ที่ลูกกินเหลือ กินไม่หมด สามารถให้ลูกกินต่อได้ค่ะ โดยให้กินเร็วที่สุดได้จะยิ่งดี หรือภายใน 6-8 ชั่วโมงหลังจากนั้น

เก็บนมเเม่ได้นานเเค่ไหน
จริงๆ เเล้วควรเเช่นมเเม่ที่ปั๊มเเล้วไว้ในตู้เย็นทันทีหลังจากที่ปั๊มเสร็จค่ะ เเต่คุณเเม่ที่ปั๊มนมเเม่ที่ทำงาน บางทีการหาตู้เย็นก็เป็นเรื่องยากค่ะ ซึ่งการเก็บนมเเม่นั้นจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิเป็นสำคัญค่ะ
นมเเม่ที่อยู่ในอุณหภูมิห้องถ้าในหน้าหนาว (ที่หนาวจริงๆ นะคะ) ได้อยู่นาน 6-8 ชั่วโมง เเต่ถ้าร้อนๆ เเบบปกติอาจจะได้นานเพียง 4 ชั่วโมง เเต่อาจจะน้อยกว่านั้นก็ได้ค่ะ
นมเเม่ที่อยู่ในกระเป๋าเก็บความเย็น (ที่มี ice pack หรือ ก้อนน้ำเเข็งให้ความเย็นสีฟ้าหรือน้ำเงิน) จะอยู่ได้นาน 24 ชั่วโมง
นมเเม่ที่เเช่ในตู้เย็นจะเก็บได้นาน 3-8 วันค่ะ เเต่ควรให้ลูกกินให้เร็วที่สุดคือนำไปเเช่เเข็งต่อภายใน 3 วันนะคะ ส่วนนมเเม่ที่นำมาลาะลายน้ำเเข็งเเล้วควรให้ลูกกินให้หมดภายใน 24 ชั่วโมงค่ะ เเละไม่ควรนำไปเเช่เเข็งอีกรอบค่ะ
นมเเม่ที่เเช่ในช่องเเช่เเข็งหรือ Freezer สามารถเก็บได้นาน 6 เดือน
ส่วนนมเเม่ที่เเช่ในตู้เเช่เย็นที่มีอุณหภูมิต่ำมาก อาจจะอยู่ได้นาน 6-12 เดือนเลยค่ะ

วิธีละลายนมเเม่
นำนมเเม่ที่เเช่เเข็งออกมาวางในช่องเเช่เย็น หรือให้น้ำก๊อกไหลผ่าน เพื่อให้นมเเม่เพิ่มอุณหภูมิขึ้นทีละนิด จนกว่านมเเม่จะไม่เย็นเเล้ว (เเต่ก็ไม่ร้อน)
ห้ามนำนมเเม่เข้าในไมโครเวฟเด็ดขาด เพราะอาจทำอันตรายจากการลวกปากลูกได้ การเวฟนมเเม่ยังทำลายสารเเอนตี้บอดี้ในนมเเม่อีกด้วย
อย่างไรก็ตามการให้นมเเม่สดๆ จากเต้านั้นดีที่สุด เนื่องจากไม่เหม็นหืน (ลูกกินเเน่ๆ) เเละสารอาหารยังอยู่ครบถ้วน เมื่อนำนมเเม่เข้าตู้เย็นหรือเเช่ช่องเเข็ง เเม้สารอาหารบางส่วนจะหายไป เเต่ก็ยังเป็นอาหารที่ดีที่สุดต่อลูกอยู่ดีค่ะ
ที่มา mamanatural
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
จะให้นมแม่ วีคเเรก ต้องรู้อะไรบ้าง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://th.theasianparent.com/นมแม่-ที่ปั๊มแล้วเก็บได้นานแค่ไหน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่