ยศเชี้อพระวงศ์แบบมลายู - เจ้านายฝ่ายใต้ตอนล่าง

ยศเจ้านายฝ่ายเหนือเรามักได้ยินกันบ่อยแล้ว มาดูยศเจ้านายมลายูทางใต้กันครับ ส่วนใหญ่จะนำหน้าชื่อว่า ตนกู ,ต่วน, กู, นิ

ลำดับยศเชื้อพระวงศ์แบบมลายู

(1) ต่วนกู, ถือเป็นยศชั้นสูงสุดหมายถึงพระราชาหรือองค์ประมุขสูงสุด

(2) ตนกู,เติงกู,เต็งกู,อังกู,ตุนกู,ต่วน,กู, ตูแว,ตูวัน เป็นยศชั้นเดียวกันทั้งหมด เสียงเรียกจะเพี้ยนไปถามท้องถิ่นนั้นๆ ถือเป็นยศรองลงมา เที่ยบยศชั้นเจ้าฟ้าถึงหม่อมเจ้า  เพราะถือว่ายังคงเป็น เจ้า ส่วนยศ"ตูแว"พบที่ปัตตานีเท่านั้นและยอมรับกันทางภาษาศาสตร์ว่าน่าจะเป็นคำดังเดิมที่สุด

- ต่วน,กู, ตูแว,ตูวัน, ใช้ในรัฐกลันตันและปัตตานีเท่านั้น แต่ยศนี้จะนิยมใช้ในปัตตานีมากกว่า  ปัจจุบันในรัฐกลันตันนิยมใช้เป็น เต็งกู แทนในขณะที่ ยศ หลง ไม่เป็นที่นิยมใช้  ถูกยกเลิกไปแล้ว

(3) นิ,วัน เป็นยศชั้นสุดท้าย และถือว่าเป็นสามัญชนแล้ว ไม่ถือว่าเป็นเจ้าเหมือนยศที่กล่าวมาข้างต้น ยศ นิ เป็นการให้เกียรติสำหรับผู้สืบเชื้อสายเจ้าทางมารดาโดยบิดาเป็นสามัญชน เช่น ฝ่ายหญิงเป็นตนกู หรือ ต่วน สมรสกับชายสามัญชน บุตรที่เกิดมาใช้ยศ นิ เป็นต้น

ส่วนคำนำหน้า แว,เจ๊ะ,อิง-เจ๊ะ,เจ๊ะปวน ถือว่าเป็นยศใช้เพื่อยกย่องคนธรรมดาที่มีเกียรติ คล้ายกับ คุณหญิงพรทิพย์ ขณะเดียวกัน ยศ วัน บางครั้งก็ใช้เพื่อยกย่องคนธรรมดาเช่นกัน อาทิ นายวันมูฮัมหมัดนอร์ และยศ เจ๊ะปวน ก็มักนิยมใช้สำหรับ พระมเหสี หรือ พระชายา ที่เป็นสามัญชน เช่น เจ๊ะปวน โซฟี หลุย์ โยฮันน์สัน พระชายาในมกุฎราชกุมารแห่งรัฐกลันตัน หรือ เจ๊ะปวนมาเรียม หรือนามเดิม เรียม เพศยนาวิน พระยาชาในตวนกู ซัยยิด ปุตราแห่งเปอร์ลิสเป็นต้น 

แต่เดิมนั้นยศ หลง, ตวน, นิ,วัน หรือ หวัน เป็นยศดั้งเดิม สมัยยุคแรกๆของการใช้ยศ เทียบเท่ากับยศชั้นที่2 คือ ตนกู เติงกู เต็งกู ตุนกู มีใช้เฉพาะในรัฐกลันตันและปัตตานีเท่านั้น ปัจจุบันเชื้อพระวงศ์ในรัฐกลันตันไม่นิยมใช้ยศ หลง,นิ,ตวน แต่จะใช้ ตนกู,เต็งกู แทนยศแบบเก่า แต่ก็ยังมีส่วนน้อยที่ยังใช้ยศแบบเก่าอยู่บ้าง แต่ในปัตตานียังนิยมใช้ ตวน,ตูแว,นิ แบบเดิมอยู่  
   
- เมื่อเปรียบเทียบกับยศพระมหากษัตริย์ไทยสมัยยุคก่อนก็ใช้ยศ ขุน หรือ พญา เช่น พ่อขุนรามคำแหง ในราชวงศ์พระร่วง เมื่อกาลเวลาผ่านไปก็มีการเปลี่ยนแปลงยศตามยุคสมัยเป็นต้น

ตัวอย่าง เชื้อพระวงศ์ที่ใช้ยศเก่าในราชวงศ์กลันตัน

1 วันดาอิม
2 หลงยูนุส 
3 หลงมูฮัมหมัด หรือ สุลต่านมูฮัมหมัดที่1
4 หลงสนิ หรือ ต่วนสนิ สุลต่านมูฮัมหมัดที่2
5 ต่วนไซนัลอาบิดิน โอรสใน สุลต่านมูฮัมหมัดชาร์ที่3 เป็นต้น

ยศแบบมลายูจะเป็นแบบพ่อไปสู่ลูก เช่น พระบิดา(พ่อ)ใช้ยศชั้นไหน โอรส-ธิดา(ลูก)ก็ใช้ยศนั้นตาม เช่น พระบิดายศ ตนกู นามว่า ตนกูไซนัล อาบิดิน โอรส ก็จะใช้ยศ ตนกู ตามพระบิดา เช่น ตกูอามีน เป็นต้น (พ่อเป็นเจ้าลูกก็เป็นเจ้านั้นเอง)

แต่หากฝ่ายหญิงได้สมรสกับชายที่ยศชั้นต่ำกว่าหรือสามัญชน บุตร-ธิดา จะลดยศลงมาหนึ่งชั้น เช่น ฝ่ายหญิงเป็น"ต่วน" ส่วนฝ่ายชายเป็นสามัญชน บุตรธิดาที่เกิดก็จะเป็นยศ นิ แต่หากฝ่ายชายเป็นยศ นิ และฝ่ายหญิงเป็นเจ้ายศ ต่วน หรือสามัญชน บุตรธิดาที่เกิดก็จะใช้ยศ นิ ตามฝ่ายชาย(บิดา) 

เจ้านายทางใต้มลายู ปัตตานี ยะลา นราธิวาส มาเลเซีย-อินโดนีเซีย จะไม่มีนามสกุลตายตัว บ่งบอกถึงสายราชสกุลนั้นๆเหมือน นามสกุลพระราชทาน ณ อยุธยา, ณ พัทลุง อย่างที่เราเคยได้ยินกัน แต่จะดูกันที่ยศบ่งบอกความเป็นเชื้อสาย ส่วนตำแหน่งใดนั้นก็ว่ากันอีกที สำหรับ3จังหวัดชายแดนใต้ไม่มี ณ ปัตตานี ณ สายบุรี ณ ยะลา เจ้านายมลายูที่ได้รับนามสกุลพระราชทานหลักๆมีอยู่ 3 นามสกุลที่ตรวจสอบได้ คือ อับดุลละบุตร สนิบุตร และสนูบุตร ตามประกาศราชกิจจานุเบกษาและข้อมูลนามสกุลพระราชทานของวังพญาไท แต่บางส่วนก็ใช้ชื่อพระยาเป็นนามสกุล เช่น สุริยะทุนทร มาจากพระยาสุริยสุนทรบวรภักดี ศรีมหารายา เจ้าเมืองสายบุรี พิพิธภักดี มาจากชื่อบิดา คือ พระพิพิธภักดี

อีกอย่างมลายูไม่มีธรรมเนียมการใช้นามสกุลด้วย จึงไม่มีสกุลตายตัว 

ชาวมลายู มาเลย์ และไทยเชื้อสายมลายู ไม่มีธรรมเนียมการใช้นามสกุล แต่จะอ้างอิงชื่อบิดาเป็นหลัก โดยใช้คำว่า”บิน” bin หรือ binti ซึ่งแปลว่า “บุตรของ...” หรือ “son of....” นำหน้าใช้เป็นนามสกุล เลยไม่มีนามสกุลตายตัวอย่างที่เราใช้กัน
ปัจจุบันชาวมาเลเซียเองก็ยังไม่มีธรรมเนียมการใช้นามสกุล แต่จะอ้างอิงการเป็นบุตรของใคร ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนคือ ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด
- บิดาของท่านชื่อ Mohamad bin Iskandar (โมฮัมหมัดบุตรของอีสกานดาร์)
- ท่านจึงมีชื่อว่า Mahathir bin Mohamad (มหาเธร์บุตรของโมฮัมหมัด)
- บุตรชายของท่านชื่อ Mokhzani bin Mahathir (ม้อคซานี่บุตรของมหาเธร์)
- บุตรสาวของท่านชื่อ Marina binti Mahathir (มารีน่าบุตรีของมหาเธร์)
แต่มักจะเขียนโดยละคำว่า”bin” หรือ “binti” ไว้ในฐานที่เข้าใจ
- ถ้าผู้ชายจะใช้ Bin และตามด้วยชื่อฝ่ายพ่อ
- ถ้าผู้หญิงจะใช้ Binti ตามด้วยชื่อพ่อ
เหล่านี้ได้รับอิทธิพลจากอาหรับ
ปัจจุบันไทยเชื้อสายมลายูส่วนใหญ่ก็ใช้นามสกุลกันแล้วแต่ก็ยังมีบางส่วนที่ยังใช้ bin หรือ binti
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่