1 ชั่วโมงกับการแสดงนาฏศิลป์ร่วมสมัยโดย Pichet Klunchuen Dance Company จะเปิดเผยสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนที่ชวนให้คิด เกิดความตระหนัก และส่งเสริมให้ทุกคนเข้าถึงสิทธิและเสรีภาพได้อย่างเท่าเทียม
สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องหนัก ซับซ้อน แต่เมื่อศิลปินซึ่งเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติอย่าง “พิเชษฐ กลั่นชื่น” นำประเด็นน่าสนใจเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนมานำเสนอผ่านลีลาการเคลื่อนไหวร่างกายในรูปแบบนาฏศิลป์ร่วมสมัยในการแสดงชุดพิเศษ “7” กลับทำให้กลายเป็นเรื่องที่คนทั่วไปเกิดความตระหนัก สนใจที่จะพูดคุยเพื่อหาทางออกและสร้างแนวปฏิบัติใหม่ในชีวิตประจำวัน
การแสดงนาฏศิลป์ร่วมสมัยชุดพิเศษนี้ สร้างสรรค์ขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของงาน “7 ทศวรรษแห่งสิทธิมนุษยชน” ซึ่งจัดโดยคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ร่วมกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เนื่องในวันสิทธิมนุษยชน 2563 และได้นำสนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชนทั้ง 7 ฉบับที่ประเทศไทยให้สัตยาบันมาเป็นโจทย์ใหญ่ในการออกแบบการแสดงในวันที่ 8 ธันวาคม 2563 นี้
สนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชนทั้ง 7 ฉบับที่ประเทศไทยให้สัตยาบันนั้น เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครอง (1) สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (2) สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (3) สิทธิของสตรีที่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติหรือกีดกันไม่ว่าในรูปแบบใด (4) สิทธิของเด็กที่จะได้รับการคุ้มครองร่างกาย ชีวิต เสรีภาพ และสวัสดิภาพ (5) สิทธิที่จะหลุดพ้นจากการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลทางเชื้อชาติ (6) สิทธิของคนพิการ และ (7) สิทธิที่จะไม่ถูกทรมาน หรือตกเป็นเหยื่อของการกระทำอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี
“โจทย์ครั้งนี้ยากมาก การพูดถึงสิทธิมนุษยชนเพียง 1 ด้านก็ยากแล้ว แต่ในครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เราต้องออกแบบการแสดงที่ครอบคลุมสิทธิมนุษยชนทั้ง 7 เรื่อง และต้องเชื่อมโยงทุกหัวข้อให้เป็นเรื่องเดียวกัน ซึ่งท้าทายมาก เราใช้ศิลปะทำหน้าที่ในการจำลองสถานการณ์จริงในชีวิตประจำวัน ผสานเข้ากับจินตนาการเพื่อสื่อประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนเหล่านี้” พิเชษฐกล่าว
พิเชษฐใช้นกซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอิสระ เสรีภาพที่ทุกคนเข้าใจ มาเป็นตัวเชื่อมการแสดงแต่ละฉาก เพื่อช่วยให้สะท้อนประเด็นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนทั้ง 7 ด้านได้ชัดเจนและต่อเนื่องร้อยเป็นการแสดงชุดเดียวกัน
จากชีวิตจริงสู่เวที
ด้วยทีมนักเต้น 11 คน บนพื้นที่เวทีประมาณ 40 ตารางเมตร การแสดงชุดนี้ต้องสื่อถึงประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนถึง 7 เรื่องใหญ่ ทีมงานจึงต้องใช้เวลาพอสมควรในการศึกษาข้อมูล ลงพื้นที่จริงเพื่อหาข้อมูลเชิงลึก หาประเด็นที่จะนำเสนอให้คนทั่วไปเข้าใจได้
พิเชษฐกล่าวว่าการคิดคอนเซ็ปต์การแสดงแต่ละตอน จะจับประเด็นหลักของแต่ละสนธิสัญญาขึ้นมา และหามุมที่น่าสนใจ เช่น เรื่องคนไร้บ้าน ที่คนทั่วไปมักมองว่าคนพวกนี้ขี้เกียจ สกปรก แต่เมื่อไปคุยกับเขาจริงๆ แล้ว จึงพบว่าคนไร้บ้านต้องทำตัวให้สกปรกไว้เพื่อไม่ให้โจรอยากเข้าใกล้ นอนกลางวันเพราะตอนกลางคืนอันตรายอาจถูกคนทำร้ายได้ บางคนเล่าว่าเขาเคยถูกทำร้าย ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ถูกย่ำยีเกียรติและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ คนเหล่านี้จึงเลือกใช้ชีวิตในวิถีที่จะสามารถปกป้องสิทธิและดูแลตัวเองได้ ทีม Pichet Klunchuen Dance Company จะหยิบยกประเด็นเหล่านี้ออกมานำเสนอด้วยลีลาการเคลื่อนไหวร่างกายของนักเต้น
ผสานศิลปะการแสดงทุกรูปแบบ
ในการแสดงทั้ง 7 ฉาก ทีมนักเต้นจะใช้เทคนิคการแสดงที่หลากหลาย ผสมผสานทั้งเทคนิคการรำไทยกับการเต้นแบบตะวันตก เพื่อสร้างการแสดงร่วมสมัยที่มุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์ให้คนดู
ในเรื่องของสิทธิสตรี พิเชษฐหยิบยกนางในวรรณคดี 3 คนจากเรื่องรามเกียรติ์มาสะท้อนให้เห็นปัญหาด้านสิทธิสตรีที่ปรากฏในเรื่องแต่ไม่มีใครหยิบยกมาพูดถึง ไม่ว่าจะเป็นนางสีดาที่ต้องถูกกักขังในผอบฝังดินนานถึง 16 ปี นางเบญกายที่ถูกข่มขืนในสงคราม และนางสำมนักขาที่ถูกตัดหูตัดจมูกเพราะความรัก ซึ่งท่าเต้นจะมีกลิ่นอายศิลปะแบบคลาสสิกและการรำไทยแบบดั้งเดิม
ส่วนในประเด็นคนพิการ ต้องศึกษาจากการสังเกตการใช้ชีวิตของคนพิการบนรถเข็น ดูว่าเคลื่อนไหวร่างกายอย่างไร และนำภาษาร่างกายเฉพาะของคนพิการมาสร้างเป็นลีลาท่าเต้น เพื่อให้คนดูได้เห็นและรู้สึกร่วมไปกับการแสดง
เครื่องแต่งกายสะท้อนบุคลิก
นอกจากลีลาท่าเต้นที่เป็นหัวใจในการเล่าเรื่องแล้ว ในการแสดงชุด “7” ยังได้โบ ปิยพร พงษ์ทอง นักออกแบบแฟชั่นรุ่นใหม่ มาเป็นหัวแรงใหญ่ในการออกแบบและตัดเย็บเครื่องแต่งกายนักแสดงที่จะช่วยสะท้อนบุคลิกของตัวละครในแต่ละฉาก เพื่อช่วยให้สื่อสารได้ชัดเจนมีสีสันมากขึ้น
ปิยพรเล่าว่า “การออกแบบชุดเพื่อการแสดง จะเป็นการผสานทักษะการออกแบบแฟชั่น กับความเข้าใจในเรื่องละคร แต่ละชุดออกแบบตามเรื่องราวที่ต้องการจะสื่อ เช่น ในฉากที่พูดถึงกลุ่มชาติพันธุ์จะใช้เสื้อผ้าเป็นท้องฟ้าและมีนกที่แต่ละตัวมีสีขนไม่เหมือนกัน ส่วนชุดคนไร้บ้าน จะมีกระเป๋า มีข้าวของเครื่องใช้เยอะ เหมือนเป็นบ้านเคลื่อนที่ มีกรงนกครอบศีรษะที่สะท้อนให้เห็นว่าคนกลุ่มนี้ถูกกักขังไม่มีอิสระ เสรีภาพ”
ดูละครย้อนดูโลก
พิเชษฐกล่าวว่า เรื่องราวต่างๆ ที่สื่อออกมาในการแสดงเพื่อรำลึก 7 ทศวรรษแห่งสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงเท่านั้น
“การทำโชว์แต่ละชุด เหมือนกับเราต้องจัดการทางความคิดและอารมณ์ของคนดู ว่าเราจะเล่นเกมกับเขาอย่างไร ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน หลายเรื่องมีความอ่อนไหวและรุนแรง เราพยายามประนีประนอมเพื่อสร้างสรรค์งานศิลปะการแสดงที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ แต่สถานการณ์ในสังคมจริง รุนแรงกว่าสิ่งที่ผมนำเสนอออกมาบนเวทีนี้มาก หวังว่าคนที่ดูแล้วคงจะมองเห็นประเด็นที่เราต้องการสื่อและหันมาตระหนักเรื่องสิทธิมนุษยชนกันมากขึ้น”
คณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ร่วมกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม จะจัดการแสดงชุด “7” เพียง 2 รอบเท่านั้น คือ รอบสื่อมวลชนและแขกรับเชิญในวันที่ 7 ธันวาคม และรอบประชาชนทั่วไปในวันที่ 8 ธันวาคม 2563 เวลา 18.00-20.30 น. ที่สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ
ผู้ที่สนใจกรุณาสำรองที่นั่งฟรีได้ที่
https://engage.eu/hrd2020/ และอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 7 ทศวรรษแห่งสิทธิมนุษยชน / 7 DECADES OF HUMAN RIGHTS
“พิเชษฐ กลั่นชื่น” ตีแผ่ปัญหาสิทธิมนุษยชน ใน “7” นาฏศิลป์ร่วมสมัยชุดพิเศษรำลึกถึงวันสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องหนัก ซับซ้อน แต่เมื่อศิลปินซึ่งเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติอย่าง “พิเชษฐ กลั่นชื่น” นำประเด็นน่าสนใจเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนมานำเสนอผ่านลีลาการเคลื่อนไหวร่างกายในรูปแบบนาฏศิลป์ร่วมสมัยในการแสดงชุดพิเศษ “7” กลับทำให้กลายเป็นเรื่องที่คนทั่วไปเกิดความตระหนัก สนใจที่จะพูดคุยเพื่อหาทางออกและสร้างแนวปฏิบัติใหม่ในชีวิตประจำวัน
การแสดงนาฏศิลป์ร่วมสมัยชุดพิเศษนี้ สร้างสรรค์ขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของงาน “7 ทศวรรษแห่งสิทธิมนุษยชน” ซึ่งจัดโดยคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ร่วมกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เนื่องในวันสิทธิมนุษยชน 2563 และได้นำสนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชนทั้ง 7 ฉบับที่ประเทศไทยให้สัตยาบันมาเป็นโจทย์ใหญ่ในการออกแบบการแสดงในวันที่ 8 ธันวาคม 2563 นี้
สนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชนทั้ง 7 ฉบับที่ประเทศไทยให้สัตยาบันนั้น เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครอง (1) สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (2) สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (3) สิทธิของสตรีที่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติหรือกีดกันไม่ว่าในรูปแบบใด (4) สิทธิของเด็กที่จะได้รับการคุ้มครองร่างกาย ชีวิต เสรีภาพ และสวัสดิภาพ (5) สิทธิที่จะหลุดพ้นจากการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลทางเชื้อชาติ (6) สิทธิของคนพิการ และ (7) สิทธิที่จะไม่ถูกทรมาน หรือตกเป็นเหยื่อของการกระทำอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี
“โจทย์ครั้งนี้ยากมาก การพูดถึงสิทธิมนุษยชนเพียง 1 ด้านก็ยากแล้ว แต่ในครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เราต้องออกแบบการแสดงที่ครอบคลุมสิทธิมนุษยชนทั้ง 7 เรื่อง และต้องเชื่อมโยงทุกหัวข้อให้เป็นเรื่องเดียวกัน ซึ่งท้าทายมาก เราใช้ศิลปะทำหน้าที่ในการจำลองสถานการณ์จริงในชีวิตประจำวัน ผสานเข้ากับจินตนาการเพื่อสื่อประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนเหล่านี้” พิเชษฐกล่าว
พิเชษฐใช้นกซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอิสระ เสรีภาพที่ทุกคนเข้าใจ มาเป็นตัวเชื่อมการแสดงแต่ละฉาก เพื่อช่วยให้สะท้อนประเด็นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนทั้ง 7 ด้านได้ชัดเจนและต่อเนื่องร้อยเป็นการแสดงชุดเดียวกัน
ด้วยทีมนักเต้น 11 คน บนพื้นที่เวทีประมาณ 40 ตารางเมตร การแสดงชุดนี้ต้องสื่อถึงประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนถึง 7 เรื่องใหญ่ ทีมงานจึงต้องใช้เวลาพอสมควรในการศึกษาข้อมูล ลงพื้นที่จริงเพื่อหาข้อมูลเชิงลึก หาประเด็นที่จะนำเสนอให้คนทั่วไปเข้าใจได้
พิเชษฐกล่าวว่าการคิดคอนเซ็ปต์การแสดงแต่ละตอน จะจับประเด็นหลักของแต่ละสนธิสัญญาขึ้นมา และหามุมที่น่าสนใจ เช่น เรื่องคนไร้บ้าน ที่คนทั่วไปมักมองว่าคนพวกนี้ขี้เกียจ สกปรก แต่เมื่อไปคุยกับเขาจริงๆ แล้ว จึงพบว่าคนไร้บ้านต้องทำตัวให้สกปรกไว้เพื่อไม่ให้โจรอยากเข้าใกล้ นอนกลางวันเพราะตอนกลางคืนอันตรายอาจถูกคนทำร้ายได้ บางคนเล่าว่าเขาเคยถูกทำร้าย ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ถูกย่ำยีเกียรติและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ คนเหล่านี้จึงเลือกใช้ชีวิตในวิถีที่จะสามารถปกป้องสิทธิและดูแลตัวเองได้ ทีม Pichet Klunchuen Dance Company จะหยิบยกประเด็นเหล่านี้ออกมานำเสนอด้วยลีลาการเคลื่อนไหวร่างกายของนักเต้น
ผสานศิลปะการแสดงทุกรูปแบบ
ในการแสดงทั้ง 7 ฉาก ทีมนักเต้นจะใช้เทคนิคการแสดงที่หลากหลาย ผสมผสานทั้งเทคนิคการรำไทยกับการเต้นแบบตะวันตก เพื่อสร้างการแสดงร่วมสมัยที่มุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์ให้คนดู
ในเรื่องของสิทธิสตรี พิเชษฐหยิบยกนางในวรรณคดี 3 คนจากเรื่องรามเกียรติ์มาสะท้อนให้เห็นปัญหาด้านสิทธิสตรีที่ปรากฏในเรื่องแต่ไม่มีใครหยิบยกมาพูดถึง ไม่ว่าจะเป็นนางสีดาที่ต้องถูกกักขังในผอบฝังดินนานถึง 16 ปี นางเบญกายที่ถูกข่มขืนในสงคราม และนางสำมนักขาที่ถูกตัดหูตัดจมูกเพราะความรัก ซึ่งท่าเต้นจะมีกลิ่นอายศิลปะแบบคลาสสิกและการรำไทยแบบดั้งเดิม
ส่วนในประเด็นคนพิการ ต้องศึกษาจากการสังเกตการใช้ชีวิตของคนพิการบนรถเข็น ดูว่าเคลื่อนไหวร่างกายอย่างไร และนำภาษาร่างกายเฉพาะของคนพิการมาสร้างเป็นลีลาท่าเต้น เพื่อให้คนดูได้เห็นและรู้สึกร่วมไปกับการแสดง
เครื่องแต่งกายสะท้อนบุคลิก
นอกจากลีลาท่าเต้นที่เป็นหัวใจในการเล่าเรื่องแล้ว ในการแสดงชุด “7” ยังได้โบ ปิยพร พงษ์ทอง นักออกแบบแฟชั่นรุ่นใหม่ มาเป็นหัวแรงใหญ่ในการออกแบบและตัดเย็บเครื่องแต่งกายนักแสดงที่จะช่วยสะท้อนบุคลิกของตัวละครในแต่ละฉาก เพื่อช่วยให้สื่อสารได้ชัดเจนมีสีสันมากขึ้น
ปิยพรเล่าว่า “การออกแบบชุดเพื่อการแสดง จะเป็นการผสานทักษะการออกแบบแฟชั่น กับความเข้าใจในเรื่องละคร แต่ละชุดออกแบบตามเรื่องราวที่ต้องการจะสื่อ เช่น ในฉากที่พูดถึงกลุ่มชาติพันธุ์จะใช้เสื้อผ้าเป็นท้องฟ้าและมีนกที่แต่ละตัวมีสีขนไม่เหมือนกัน ส่วนชุดคนไร้บ้าน จะมีกระเป๋า มีข้าวของเครื่องใช้เยอะ เหมือนเป็นบ้านเคลื่อนที่ มีกรงนกครอบศีรษะที่สะท้อนให้เห็นว่าคนกลุ่มนี้ถูกกักขังไม่มีอิสระ เสรีภาพ”
ดูละครย้อนดูโลก
พิเชษฐกล่าวว่า เรื่องราวต่างๆ ที่สื่อออกมาในการแสดงเพื่อรำลึก 7 ทศวรรษแห่งสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงเท่านั้น
“การทำโชว์แต่ละชุด เหมือนกับเราต้องจัดการทางความคิดและอารมณ์ของคนดู ว่าเราจะเล่นเกมกับเขาอย่างไร ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน หลายเรื่องมีความอ่อนไหวและรุนแรง เราพยายามประนีประนอมเพื่อสร้างสรรค์งานศิลปะการแสดงที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ แต่สถานการณ์ในสังคมจริง รุนแรงกว่าสิ่งที่ผมนำเสนอออกมาบนเวทีนี้มาก หวังว่าคนที่ดูแล้วคงจะมองเห็นประเด็นที่เราต้องการสื่อและหันมาตระหนักเรื่องสิทธิมนุษยชนกันมากขึ้น”
คณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ร่วมกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม จะจัดการแสดงชุด “7” เพียง 2 รอบเท่านั้น คือ รอบสื่อมวลชนและแขกรับเชิญในวันที่ 7 ธันวาคม และรอบประชาชนทั่วไปในวันที่ 8 ธันวาคม 2563 เวลา 18.00-20.30 น. ที่สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ
ผู้ที่สนใจกรุณาสำรองที่นั่งฟรีได้ที่ https://engage.eu/hrd2020/ และอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 7 ทศวรรษแห่งสิทธิมนุษยชน / 7 DECADES OF HUMAN RIGHTS