หลังจาก Google Photos ให้บริการสำรองข้อมูลรูปภาพ “คุณภาพสูง” ฟรี ไม่จำกัด ประกาศเริ่มเรียกเก็บเงินสำหรับพื้นที่เก็บข้อมูล ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 2564 เป็นต้นไป รูปภาพที่อัปโหลดหลังจากวันนั้นจะถูกนับรวมอยู่ในพื้นที่ฟรี 15GB และหากบัญชีผู้ใช้ที่ไม่มีการเข้าใช้งาน เป็นเวลา 2 ปี หรือจัดเก็บข้อมูลเกินขีดจำกัด 15GB อาจถูก Google ลบรูปภาพได้ หลังจากส่งคำเตือนแล้ว
ผู้ใช้งานจะตัดสินใจใช้ Google Photos ต่อไป หรือจะเปลี่ยนไปใช้ผู้ให้บริการพื้นที่เก็บข้อมูลระบบคลาวด์รายอื่น เลือกว่าจะยอมจ่ายค่าธรรมเนียมรายเดือน หรือจะมองหาอุปกรณ์สำรองข้อมูลใช้ในระยะยาวอื่นๆ
คลาวด์สาธารณะ
ผู้ให้บริการจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์ tier-1 ส่วนใหญ่ อย่าง OneDrive, Dropbox หรือ Apple iCloud ถึงจะให้บริการพื้นที่เก็บฟรี แต่ก็ไม่มีเจ้าไหนที่ให้ขนาดพื้นที่จัดเก็บมากกว่า 15GB เท่ากับของ Google เลย ซึ่งหมายความว่าสุดท้ายแล้ว ก็จำเป็นต้องเสียเงินอัปเกรดพื้นที่นั้นอยู่ดี
OneDrive
-ให้พื้นที่ฟรี 5GB มีแพ็กเกจเริ่มต้น 100GB ราคา 69 บาท/เดือน
-พื้นที่ 1TB ราคา 209.99 บาท/เดือน
-มีแพ็กเกจแบบ Family ใช้ได้ 6 คน คนละ 1TB ราคา 289.99 บาท/เดือน
Apple iCloud
-ให้พื้นที่ฟรี 5GB เหมือนกับ OneDrive
-พื้นที่ 50GB ราคา 35 บาท/เดือน
-พื้นที่ 200GB ราคา 99 บาท/เดือน
-พื้นที่ 2TB ราคา 349 บาท/เดือน
Google Drive/Google One
-ให้พื้นที่ฟรี 15GB พื้นที่ 100GB ราคา 70 บาท/เดือน
-พื้นที่ 200GB ราคา 99 บาท/เดือน พื้นที่ 2TB ราคา 350 บาท/เดือน
-พื้นที่ 2TB ราคา 350 บาท/เดือน
Dropbox
-ให้พื้นที่ฟรีเพียง 2GB
-พื้นที่ 2TB ราคา ~301.43/เดือน
-พื้นที่ 3TB ราคา ~500.28/เดือน
เราอาจไม่จำเป็นต้องเลือกคลาวด์แค่เพียงตัวเดียว อาจจะเลือกใช้บริการฟรี หลายๆตัว แต่ถ้าเลือกจ่ายค่าธรรมเนียมรายเดือน เพื่อจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดของคุณบนคลาวด์ เมื่อคำนวณค่าธรรมเนียมสะสมรายปีแล้วนั้นก็ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงเหมือนกัน
External Hard Drive
External Hard Drive ฮาร์ดดิสก์แบบพกพา อาจจะเหมาะกับข้อมูลที่ต้องการเก็บไว้ ไม่ได้นำมาใช้งานบ่อยๆ หากพกพานำไปใช้งานข้างนอก อาจจะไม่สะดวกสำหรับผู้ใช้งานหลายคน มีให้เลือกหลายความจุที่นิยมใช้กันตั้งแต่ 500GB ถึง 8TB ราคาค่อนข้างสูง การโยกย้ายรูปภาพทั้งหมดที่เก็บไว้บนระบบคลาวด์สาธารณะไปยัง External Hard Drive หลายๆ ตัวนั้น ก็มีความยุ่งยากในการใช้งานอยู่ไม่น้อยทีเดียว
NAS คลาวด์ส่วนตัว
การเป็นเจ้าของคลาวด์ส่วนตัวโดยการใช้ Network-Attached Storage (NAS) อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเทราไบต์ (TB) ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายในบ้านหรือสำนักงาน มีความปลอดภัยสูง มีสิทธิ์ความเป็นเจ้าของข้อมูล 100 เปอร์เซ็นต์ มีคุณสมบัติการปกป้องและกู้คืนข้อมูลในตัว มีฟีเจอร์การจัดการภาพถ่ายที่ครอบคลุมอย่าง Google Photos สามารถแชร์และเข้าถึงรูปภาพที่เก็บไว้ได้จากทุกที่ พร้อมกัน ๆ หลายคน ถึงแม้จะมองว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาแพง แต่ก็ลงทุนครั้งเดียวไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
หากเปลี่ยนมาใช้งาน NAS อาจจะลงทุนเพียงค่าฮาร์ดแวร์เริ่มต้นเท่านั้น อุปกรณ์ NAS แบบ 2 ช่อง พร้อมไดร์ฟความจุ 2 TB อีก 2 ตัว เพื่อการทำ RAID (การป้องกันข้อมูลสูญหายด้วยไดร์ฟ) ราคา ~13,000 บาท
อ้างอิง : Google , Microsoft , Apple , Dropbox , the verge , Synology
พื้นที่ฟรี Google Photos จะไม่ฟรีแล้ว มาดูทางเลือกอื่นๆกันค่ะ
ผู้ใช้งานจะตัดสินใจใช้ Google Photos ต่อไป หรือจะเปลี่ยนไปใช้ผู้ให้บริการพื้นที่เก็บข้อมูลระบบคลาวด์รายอื่น เลือกว่าจะยอมจ่ายค่าธรรมเนียมรายเดือน หรือจะมองหาอุปกรณ์สำรองข้อมูลใช้ในระยะยาวอื่นๆ
คลาวด์สาธารณะ
ผู้ให้บริการจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์ tier-1 ส่วนใหญ่ อย่าง OneDrive, Dropbox หรือ Apple iCloud ถึงจะให้บริการพื้นที่เก็บฟรี แต่ก็ไม่มีเจ้าไหนที่ให้ขนาดพื้นที่จัดเก็บมากกว่า 15GB เท่ากับของ Google เลย ซึ่งหมายความว่าสุดท้ายแล้ว ก็จำเป็นต้องเสียเงินอัปเกรดพื้นที่นั้นอยู่ดี
OneDrive
-ให้พื้นที่ฟรี 5GB มีแพ็กเกจเริ่มต้น 100GB ราคา 69 บาท/เดือน
-พื้นที่ 1TB ราคา 209.99 บาท/เดือน
-มีแพ็กเกจแบบ Family ใช้ได้ 6 คน คนละ 1TB ราคา 289.99 บาท/เดือน
Apple iCloud
-ให้พื้นที่ฟรี 5GB เหมือนกับ OneDrive
-พื้นที่ 50GB ราคา 35 บาท/เดือน
-พื้นที่ 200GB ราคา 99 บาท/เดือน
-พื้นที่ 2TB ราคา 349 บาท/เดือน
Google Drive/Google One
-ให้พื้นที่ฟรี 15GB พื้นที่ 100GB ราคา 70 บาท/เดือน
-พื้นที่ 200GB ราคา 99 บาท/เดือน พื้นที่ 2TB ราคา 350 บาท/เดือน
-พื้นที่ 2TB ราคา 350 บาท/เดือน
Dropbox
-ให้พื้นที่ฟรีเพียง 2GB
-พื้นที่ 2TB ราคา ~301.43/เดือน
-พื้นที่ 3TB ราคา ~500.28/เดือน
เราอาจไม่จำเป็นต้องเลือกคลาวด์แค่เพียงตัวเดียว อาจจะเลือกใช้บริการฟรี หลายๆตัว แต่ถ้าเลือกจ่ายค่าธรรมเนียมรายเดือน เพื่อจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดของคุณบนคลาวด์ เมื่อคำนวณค่าธรรมเนียมสะสมรายปีแล้วนั้นก็ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงเหมือนกัน
External Hard Drive
External Hard Drive ฮาร์ดดิสก์แบบพกพา อาจจะเหมาะกับข้อมูลที่ต้องการเก็บไว้ ไม่ได้นำมาใช้งานบ่อยๆ หากพกพานำไปใช้งานข้างนอก อาจจะไม่สะดวกสำหรับผู้ใช้งานหลายคน มีให้เลือกหลายความจุที่นิยมใช้กันตั้งแต่ 500GB ถึง 8TB ราคาค่อนข้างสูง การโยกย้ายรูปภาพทั้งหมดที่เก็บไว้บนระบบคลาวด์สาธารณะไปยัง External Hard Drive หลายๆ ตัวนั้น ก็มีความยุ่งยากในการใช้งานอยู่ไม่น้อยทีเดียว
การเป็นเจ้าของคลาวด์ส่วนตัวโดยการใช้ Network-Attached Storage (NAS) อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเทราไบต์ (TB) ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายในบ้านหรือสำนักงาน มีความปลอดภัยสูง มีสิทธิ์ความเป็นเจ้าของข้อมูล 100 เปอร์เซ็นต์ มีคุณสมบัติการปกป้องและกู้คืนข้อมูลในตัว มีฟีเจอร์การจัดการภาพถ่ายที่ครอบคลุมอย่าง Google Photos สามารถแชร์และเข้าถึงรูปภาพที่เก็บไว้ได้จากทุกที่ พร้อมกัน ๆ หลายคน ถึงแม้จะมองว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาแพง แต่ก็ลงทุนครั้งเดียวไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
หากเปลี่ยนมาใช้งาน NAS อาจจะลงทุนเพียงค่าฮาร์ดแวร์เริ่มต้นเท่านั้น อุปกรณ์ NAS แบบ 2 ช่อง พร้อมไดร์ฟความจุ 2 TB อีก 2 ตัว เพื่อการทำ RAID (การป้องกันข้อมูลสูญหายด้วยไดร์ฟ) ราคา ~13,000 บาท
อ้างอิง : Google , Microsoft , Apple , Dropbox , the verge , Synology