เลือกตั้งพม่า ๒๐๒๐

๑๕ พ.ย.๖๓ กกต.พม่า ได้ออก Press Release ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ ๓ (๘ พ.ย.๖๓) ครบทุกสภา 


ซึ่งปรากฏว่า พรรค NLD ของนางอองซานซูจี ได้เสียงข้างมาก และเกินกึ่งหนึ่ง ในสภาระดับชาติทั้ง ๒ สภา สามารถเป็นประธานสภา และจัดตั้งรัฐบาลชุดต่อไปได้ เป็นครั้งที่ ๒ คือ

     - สภา Pyithu Hluttaw  มี ส.ส.แต่งตั้งจากทหาร ๑๑๐ ที่นั่ง กับ ส.ส.เลือกตั้ง ๓๓๐ ที่นั่ง  ซึ่งมาจาก ๓๓๐ อำเภอในพม่า  อำเภอละ ๑ ที่นั่ง  แต่ไม่มีการเลือกตั้ง ๑๕ ที่นั่ง เพราะเป็นพื้นที่ที่ กกต.ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ จึงเหลือให้เลือกตั้ง ๓๑๕ ที่นั่ง  ซึ่ง NLD ได้ ๒๕๘ ที่นั่ง  มากกว่าครั้งก่อน ๓ ที่นั่ง   ส่วน USDP ซึ่งเป็นพรรคคู่แข่ง ได้ ๒๖ ที่นั่ง  ลดลงจากเดิม ๔ ที่นั่ง
     - สภา Amyotha Hluttaw  มี ส.ส.แต่งตั้งจากทหาร ๕๖ ที่นั่ง กับ ส.ส.เลือกตั้ง ๑๖๘ ที่นั่ง  ซึ่งมาจาก ๗ ภาค ๗ รัฐ   ภาค/รัฐละ ๑๒ ที่นั่ง แต่ไม่มีการเลือกตั้ง ๗ ที่นั่ง  เพราะเป็นพื้นที่ที่ กกต.ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้  จึงเหลือให้เลือกตั้ง ๑๖๑ ที่นั่ง  ซึ่ง NLD ได้ ๑๓๘ ที่นั่ง มากกว่าครั้งก่อน ๓ ที่นั่ง ส่วน USDP  ได้ ๗ ที่นั่ง   ลดลงจากเดิม ๔ ที่นั่ง


Press Release

อย่างไรก็ตาม แม้พรรค NLD จะได้เป็นรัฐบาลและมีเสียงข้างมากในสภาสหภาพ  ก็ยังไม่สามารถแก้รัฐธรรมนูญ ได้ตามความต้องการ  เพราะมีเสียงเพียง ๖๑% แม้จะได้เสียงจากพรรคพันธมิตร  ก็ยังไม่ถึง ๗๕% ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด



หลังจากนี้ ผู้สมัคร ส.ส.ทุกคน จะต้องยื่นรายการค่าใช้จ่ายต่อ กกต.ภายใน ๓๐ วัน   ผู้ที่ไม่ยื่นรายการหรือยื่นรายการเท็จ จะถูกปรับให้ขาดคุณสมบัติเป็น ส.ส.  ถ้าได้รับเลือกตั้ง  ก็จะถูกถอนชื่อออก และเลื่อนผู้ที่ได้คะแนนรองลงไป ขึ้นมาเป็นแทน

ส่วนผู้ที่ต้องการคัดค้านการเลือกตั้ง  สามารถยื่นคัดค้านได้ภายใน ๔๕ วัน

ฉะนั้น การเลือกประธานสภา และประธานาธิบดี   ตลอดจนจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่   ต้องรอไปถึงต้นปี ๒๕๖๔
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่