(Nov 15) จีน ชี้! นวัตกรรมต้องไม่นำไปสู่ การผูกขาด : ผู้ดูแลกฎระเบียบจีนชี้ ทางการจะดูแลให้นวัตกรรมทางการเงิน มีการแข่งขันอย่างเท่าเทียม และไม่นำไปสู่การผูกขาดจากผู้ขายเพียงไม่กี่ราย ขณะสำนักงานบริหารจัดการกฎระเบียบตลาด เผยร่างกฎระเบียบต่อต้านการผูกขาด เพื่อดูแลไม่ให้มีการผูกขาดในบรรดาบริษัทที่ทำธุรกิจทางอินเทอร์เน็ต
หัวหน้าฝ่ายควบคุมความเสี่ยงแห่งคณะกรรมการกฎระเบียบภาคธนาคารและประกันของจีน ระบุว่านวัตกรรมไม่ควรบั่นทอนการแข่งขัน หรือปล่อยให้ผู้บุกเบิกนวัตกรรมเป็นอุปสรรคเสียเอง ต่อการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ในอนาคต
เจ้าหน้าที่จีนกล่าวปกป้องบทบาทของผู้ดูแลกฎระเบียบทางการเงิน ในการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน, ดูแลสภาพแวดล้อมด้านการแข่งขันที่เป็นธรรมในตลาด รวมถึงลดความเป็นได้ของการมีธุรกิจที่ใหญ่จนไม่สามารถปล่อยให้ล้มได้
หัวหน้าฝ่ายควบคุมความเสี่ยง ระบุว่า ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาสอนให้รู้ว่าก่อนเกิดวิกฤติการเงินครั้งใหญ่ๆ ตลาดจะฮึกเหิมอย่างไม่มีเหตุผล การมีกฎระเบียบจะช่วยดึงความฮึกเหิมสู่ความมีเหตุผล
การแสดงความเห็นดังกล่าวมีขึ้น หลังจาก Ant Group ต้องระงับแผนนำหุ้นออกจำหน่ายแก่สาธารณชนในตลาดฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ โดย 10 วันก่อนหน้านั้นแจ็ค หม่า วิจารณ์ว่ากฎระเบียนด้านการเงินของจีนขัดขวางการสร้างนวัตกรรม
อ่าน : ส่องนโยบายด้านเทคโนโลยีของ “โจ ไบเดน” ต่อจีน เน้นอ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ!
ด้านสำนักงานบริหารจัดการกฎระเบียบตลาดแห่งรัฐ ได้เปิดเผยร่างแนวทางต่อต้านการผูกขาด เพื่อดูแลไม่ให้เกิดการผูกขาดในธุรกิจที่กระทำอยู่บนอินเทอร์เน็ต อันสะท้อนว่าผู้กำหนดนโยบายของจีนมีความวิตกเกี่ยวกับอำนาจ อิทธิพล และความเสี่ยงของบรรดาแพลตฟอร์มดิจิทัลทั้งหลาย รวมถึงวิธีปฏิบัติของธุรกิจเหล่านี้
ร่างแนวทางระบุว่า พฤติกรรมผูกขาด อย่างการกำหนดให้ผู้ขายทำธุรกรรมกับแพลตฟอร์มเดียว หรือบอกราคาไม่เหมือนกันแก่ลูกค้าแต่ละรายหลังจากดูประวัติการซื้อของและโปรไฟล์ อาจเข้าข่ายผิดกฎหมาย ทั้งยังระบุว่ากิจกรรมอย่างการเสนอส่วนลดอย่างหนักเพื่อขจัดคู่แข่ง หรือการสมคบกันแลกเปลี่ยนข้อมูลละเอียดอ่อนของผู้บริโภค และการตั้งกลุ่มเพื่อกันคู่แข่งออกไป อาจเข้าข่ายผูกขาด
นับเป็นครั้งแรกที่ผู้ดูแลกฎระเบียบ พยายามให้คำจำกัดความเกี่ยวกับแนวปฏิบัติ ที่เข้าข่ายต่อต้านการแข่งขันในหมู่บริษัทที่ทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต และจะมีการนำแนวทางนี้ไปขอความเห็นจากสาธารณชนจนถึงปลายเดือนพ.ย.
นักวิเคราะห์มองว่านโยบายนี้พุ่งเป้าไปที่บรรดายักษ์ใหญ่เทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ เดลิเวอรีอาหาร หรือเรียกรถ
ทั้งนี้ Alibaba กับ Meituan มีบทบาทมากในชีวิตประจำวันของชาวจีน ซึ่งสั่งอาหารแบบเดลีเวอรีจากสมาร์ทโฟนประมาณ 400 ล้านคน และ 855 ล้านคนช็อปทางออนไลน์
การออกกฎระเบียบของจีนเพื่อกำกับดูแลบรรดายักษ์ใหญ่เทคโนโลยี อาจไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจในบริบทระดับโลก เพราะเมื่อเดือนที่แล้วกระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้ยื่นฟ้องคดีต่อต้านการผูกขาดกับกูเกิล โดยระบุว่ากูเกิล “ดำรงสถานะผูกขาดอย่างผิดกฎหมาย” ในตลาดแพลตฟอร์มค้นข้อมูลออนไลน์และตลาดการโฆษณาบนแพลตฟอร์มดังกล่าว
โดย สุดา มั่งมีดี
Source: Business Today
https://www.businesstoday.co/world/15/11/2020/54147/
จีน เป็นคอมมิวนิสต์ ยังไม่ยอมให้มี การทำธุรกิจผูกขาด ...แต่ดูประเทศ xxx สิครับ มีแต่ธุรกิจจ้าวสัว.. มันต้องปฏิรูป จริงๆ
หัวหน้าฝ่ายควบคุมความเสี่ยงแห่งคณะกรรมการกฎระเบียบภาคธนาคารและประกันของจีน ระบุว่านวัตกรรมไม่ควรบั่นทอนการแข่งขัน หรือปล่อยให้ผู้บุกเบิกนวัตกรรมเป็นอุปสรรคเสียเอง ต่อการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ในอนาคต
เจ้าหน้าที่จีนกล่าวปกป้องบทบาทของผู้ดูแลกฎระเบียบทางการเงิน ในการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน, ดูแลสภาพแวดล้อมด้านการแข่งขันที่เป็นธรรมในตลาด รวมถึงลดความเป็นได้ของการมีธุรกิจที่ใหญ่จนไม่สามารถปล่อยให้ล้มได้
หัวหน้าฝ่ายควบคุมความเสี่ยง ระบุว่า ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาสอนให้รู้ว่าก่อนเกิดวิกฤติการเงินครั้งใหญ่ๆ ตลาดจะฮึกเหิมอย่างไม่มีเหตุผล การมีกฎระเบียบจะช่วยดึงความฮึกเหิมสู่ความมีเหตุผล
การแสดงความเห็นดังกล่าวมีขึ้น หลังจาก Ant Group ต้องระงับแผนนำหุ้นออกจำหน่ายแก่สาธารณชนในตลาดฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ โดย 10 วันก่อนหน้านั้นแจ็ค หม่า วิจารณ์ว่ากฎระเบียนด้านการเงินของจีนขัดขวางการสร้างนวัตกรรม
อ่าน : ส่องนโยบายด้านเทคโนโลยีของ “โจ ไบเดน” ต่อจีน เน้นอ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ!
ด้านสำนักงานบริหารจัดการกฎระเบียบตลาดแห่งรัฐ ได้เปิดเผยร่างแนวทางต่อต้านการผูกขาด เพื่อดูแลไม่ให้เกิดการผูกขาดในธุรกิจที่กระทำอยู่บนอินเทอร์เน็ต อันสะท้อนว่าผู้กำหนดนโยบายของจีนมีความวิตกเกี่ยวกับอำนาจ อิทธิพล และความเสี่ยงของบรรดาแพลตฟอร์มดิจิทัลทั้งหลาย รวมถึงวิธีปฏิบัติของธุรกิจเหล่านี้
ร่างแนวทางระบุว่า พฤติกรรมผูกขาด อย่างการกำหนดให้ผู้ขายทำธุรกรรมกับแพลตฟอร์มเดียว หรือบอกราคาไม่เหมือนกันแก่ลูกค้าแต่ละรายหลังจากดูประวัติการซื้อของและโปรไฟล์ อาจเข้าข่ายผิดกฎหมาย ทั้งยังระบุว่ากิจกรรมอย่างการเสนอส่วนลดอย่างหนักเพื่อขจัดคู่แข่ง หรือการสมคบกันแลกเปลี่ยนข้อมูลละเอียดอ่อนของผู้บริโภค และการตั้งกลุ่มเพื่อกันคู่แข่งออกไป อาจเข้าข่ายผูกขาด
นับเป็นครั้งแรกที่ผู้ดูแลกฎระเบียบ พยายามให้คำจำกัดความเกี่ยวกับแนวปฏิบัติ ที่เข้าข่ายต่อต้านการแข่งขันในหมู่บริษัทที่ทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต และจะมีการนำแนวทางนี้ไปขอความเห็นจากสาธารณชนจนถึงปลายเดือนพ.ย.
นักวิเคราะห์มองว่านโยบายนี้พุ่งเป้าไปที่บรรดายักษ์ใหญ่เทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ เดลิเวอรีอาหาร หรือเรียกรถ
ทั้งนี้ Alibaba กับ Meituan มีบทบาทมากในชีวิตประจำวันของชาวจีน ซึ่งสั่งอาหารแบบเดลีเวอรีจากสมาร์ทโฟนประมาณ 400 ล้านคน และ 855 ล้านคนช็อปทางออนไลน์
การออกกฎระเบียบของจีนเพื่อกำกับดูแลบรรดายักษ์ใหญ่เทคโนโลยี อาจไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจในบริบทระดับโลก เพราะเมื่อเดือนที่แล้วกระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้ยื่นฟ้องคดีต่อต้านการผูกขาดกับกูเกิล โดยระบุว่ากูเกิล “ดำรงสถานะผูกขาดอย่างผิดกฎหมาย” ในตลาดแพลตฟอร์มค้นข้อมูลออนไลน์และตลาดการโฆษณาบนแพลตฟอร์มดังกล่าว
โดย สุดา มั่งมีดี
Source: Business Today
https://www.businesstoday.co/world/15/11/2020/54147/