กสทช กับ ไทยคมนี่เขาเป้นไม้เบื่อไม้เมากันจริงๆ........ทั้งสองฝ่ายนี่เอาเรื่องเก่ามาเล่าใหม่กันทั้งคู่ ผมว่านะ ไทยคม เป็นต่อ เหมือนเอาเครื่องเซียงกง มาให้ คว้านเสื้อสูบ ใช้ไปใช้มา เครื่องน้อค แต่จะฟ้องเอาเครื่องใหม่ 555.
https://www.ryt9.com/s/iq05/3175275
ข่าวหุ้น-การเงิน Thursday November 12, 2020 16:18 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)
นายอนันต์ แก้วร่วมวงศ์ ประธานเจ้าที่บริหาร บมจ.ไทยคม (THCOM) เปิดเผยว่า บริษัทได้ดำเนินการจัดส่งดาวเทียมขึ้นให้บริการครบถ้วนตามเงื่อนไขของสัญญาสัมปทานแล้ว จึงไม่มีหน้าที่ต้องจัดสร้างดาวเทียมดวงใหม่มาทดแทนดาวเทียมไทยคม 5 หรือชดใช้ค่าเสียหายเป็นราคาดาวเทียม ตามข้อเรียกร้องของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) จนทำให้เรื่องดังกล่าวนำไปสู่กระบวนการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ
ขณะที่ปัจจุบันยังมีดาวเทียมอีก 2 ดวงคือไทยคม 4 และ ไทยคม 6 ที่บริษัทได้โอนกรรมสิทธิ์ให้กระทรวงฯแล้ว และยังมีอายุวิศวกรรมเลยระยะเวลาสิ้นสุดสัมปทาน ซึ่งกระทรวงฯสามารถนำไปบริหารจัดการต่อไป
"บริษัทได้ดำเนินการครบถ้วนแล้วโดยรัฐไม่เสียประโยชน์แต่อย่างใด เนื่องจากบริษัทได้นำดาวเทียมขึ้นให้บริการและโอนกรรมสิทธิให้กับกระทรวงแล้วครบถ้วนตั้งแต่จัดส่งดาวเทียมและยังได้ชำระค่าส่วนแบ่งรายได้ของดาวเทียมทั้ง 6 ดวงรวมกันจนถึงปัจจุบันเป็นเงิน 13,792.23 ล้านบาท ขณะที่จำนวนขั้นต่ำที่กำหนดไว้ในสัญญาคือ 1,415 ล้านบาท"นายอนันต์ กล่าว
นายอนันต์ กล่าวอีกว่า บริษัทยังมีส่วนสำคัญในการเสาะแสวงหาวงโคจรให้กับประเทศและช่วยดำเนินการรักษาวงโคจรดาวเทียมไม่ให้ประเทศไทยต้องเสียสิทธิตลอดมาและรัฐยังได้รับการส่งมอบดาวเทียมบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตที่เป็นดาวเทียมดวงแรกของโลกอันถือเป็นชื่อเสียงของประเทศและเป็นประโยชน์ต่อบริการสาธาณะและการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกลทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย
ทั้งนี้ สัญญาสัมปทานดาวเทียมไทยคม เกิดขึ้นมานานเกือบ 30 ปี โดยมีการกำหนดเงื่อนไขในเชิงกรอบดำเนินการ และหลักการปฏิบัติ และมีการอ้างอิงกับแผนดำเนินการที่บริษัทเสนอและกระทรวงฯได้ให้ความเห็นชอบ โดยเน้นความต่อเนื่องของบริการดาวเทียมตลอดอายุสัญญา ในแผนดำเนินการที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา กำหนดให้บริษัทจัดสร้างดาวเทียม 2 ชุด รวม 4 ดวง โดยแต่ละชุดประกอบด้วย ดาวเทียมหลักและดาวเทียมสำรอง และเมื่อสัญญาสิ้นสุดลง ดาวเทียมที่ยังมีอายุวิศวกรรมเหลือใช้งานได้อยู่ กระทรวงฯก็สามารถนำไปบริหารจัดการต่อไป
ในการดำเนินการตามสัญญาจนถึงปัจจุบัน บริษัทได้มีการจัดสร้างและโอนกรรมสิทธิ์ดาวเทียมให้รัฐไปแล้ว 6 ดวง มากกว่าที่กำหนดไว้ในแผน
กรณีการขัดข้องของดาวเทียมไทยคม 5 ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องปลดระวางไปนั้น กระทรวงฯทราบถึงอายุการใช้งานของดาวเทียมไทยคม 5 ตามที่ออกแบบไว้ ในขณะที่ขออนุมัติจัดส่งว่าดาวเทียมไทยคม 5จะครบอายุการใช้งานตามที่ออกแบบไว้ คือ ครบอายุในปี 2561
เมื่อเกิดกรณีการขัดข้องของดาวเทียมไทยคม 5 เนื่องจากการใช้งานเกินกว่าอายุที่กำหนด ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องปลดระวางในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 บริษัทมีการหารือกับกระทรวงฯ และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ล่วงหน้า และแจ้งแผนการปลดระวางให้ทุกฝ่ายทราบและขออนุมัติก่อน นอกจากนั้น บริษัทยังได้นำส่วนแบ่งรายได้จากลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ นำส่งกระทรวงฯเป็นค่าชดเชย รวมถึงเจรจากับบริษัทประกันภัยเพื่อนำเงินสินไหมทดแทนส่งมอบกระทรวงต่อไป
ขณะที่บริษัทยังคงมีดาวเทียมไทยคม 4 และดาวเทียมไทยคม 6 สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องตลอดอายุสัญญาสัมปทาน และเมื่อสัญญาสิ้นสุดลง กระทรวงฯ ก็สามารถนำดาวเทียมทั้งสองดวงไปบริหารจัดการต่อไป ซึ่งเป็นการดำเนินการที่ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาสัมปทานแล้ว
THCOM ยันไม่มีหน้าที่สร้างดาวเทียมแทนไทยคม 5 ย้ำทำครบเงื่อนไขสัญญาสัมปทาน
https://www.ryt9.com/s/iq05/3175275
ข่าวหุ้น-การเงิน Thursday November 12, 2020 16:18 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)
นายอนันต์ แก้วร่วมวงศ์ ประธานเจ้าที่บริหาร บมจ.ไทยคม (THCOM) เปิดเผยว่า บริษัทได้ดำเนินการจัดส่งดาวเทียมขึ้นให้บริการครบถ้วนตามเงื่อนไขของสัญญาสัมปทานแล้ว จึงไม่มีหน้าที่ต้องจัดสร้างดาวเทียมดวงใหม่มาทดแทนดาวเทียมไทยคม 5 หรือชดใช้ค่าเสียหายเป็นราคาดาวเทียม ตามข้อเรียกร้องของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) จนทำให้เรื่องดังกล่าวนำไปสู่กระบวนการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ
ขณะที่ปัจจุบันยังมีดาวเทียมอีก 2 ดวงคือไทยคม 4 และ ไทยคม 6 ที่บริษัทได้โอนกรรมสิทธิ์ให้กระทรวงฯแล้ว และยังมีอายุวิศวกรรมเลยระยะเวลาสิ้นสุดสัมปทาน ซึ่งกระทรวงฯสามารถนำไปบริหารจัดการต่อไป
"บริษัทได้ดำเนินการครบถ้วนแล้วโดยรัฐไม่เสียประโยชน์แต่อย่างใด เนื่องจากบริษัทได้นำดาวเทียมขึ้นให้บริการและโอนกรรมสิทธิให้กับกระทรวงแล้วครบถ้วนตั้งแต่จัดส่งดาวเทียมและยังได้ชำระค่าส่วนแบ่งรายได้ของดาวเทียมทั้ง 6 ดวงรวมกันจนถึงปัจจุบันเป็นเงิน 13,792.23 ล้านบาท ขณะที่จำนวนขั้นต่ำที่กำหนดไว้ในสัญญาคือ 1,415 ล้านบาท"นายอนันต์ กล่าว
นายอนันต์ กล่าวอีกว่า บริษัทยังมีส่วนสำคัญในการเสาะแสวงหาวงโคจรให้กับประเทศและช่วยดำเนินการรักษาวงโคจรดาวเทียมไม่ให้ประเทศไทยต้องเสียสิทธิตลอดมาและรัฐยังได้รับการส่งมอบดาวเทียมบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตที่เป็นดาวเทียมดวงแรกของโลกอันถือเป็นชื่อเสียงของประเทศและเป็นประโยชน์ต่อบริการสาธาณะและการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกลทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย
ทั้งนี้ สัญญาสัมปทานดาวเทียมไทยคม เกิดขึ้นมานานเกือบ 30 ปี โดยมีการกำหนดเงื่อนไขในเชิงกรอบดำเนินการ และหลักการปฏิบัติ และมีการอ้างอิงกับแผนดำเนินการที่บริษัทเสนอและกระทรวงฯได้ให้ความเห็นชอบ โดยเน้นความต่อเนื่องของบริการดาวเทียมตลอดอายุสัญญา ในแผนดำเนินการที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา กำหนดให้บริษัทจัดสร้างดาวเทียม 2 ชุด รวม 4 ดวง โดยแต่ละชุดประกอบด้วย ดาวเทียมหลักและดาวเทียมสำรอง และเมื่อสัญญาสิ้นสุดลง ดาวเทียมที่ยังมีอายุวิศวกรรมเหลือใช้งานได้อยู่ กระทรวงฯก็สามารถนำไปบริหารจัดการต่อไป
ในการดำเนินการตามสัญญาจนถึงปัจจุบัน บริษัทได้มีการจัดสร้างและโอนกรรมสิทธิ์ดาวเทียมให้รัฐไปแล้ว 6 ดวง มากกว่าที่กำหนดไว้ในแผน กรณีการขัดข้องของดาวเทียมไทยคม 5 ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องปลดระวางไปนั้น กระทรวงฯทราบถึงอายุการใช้งานของดาวเทียมไทยคม 5 ตามที่ออกแบบไว้ ในขณะที่ขออนุมัติจัดส่งว่าดาวเทียมไทยคม 5จะครบอายุการใช้งานตามที่ออกแบบไว้ คือ ครบอายุในปี 2561
เมื่อเกิดกรณีการขัดข้องของดาวเทียมไทยคม 5 เนื่องจากการใช้งานเกินกว่าอายุที่กำหนด ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องปลดระวางในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 บริษัทมีการหารือกับกระทรวงฯ และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ล่วงหน้า และแจ้งแผนการปลดระวางให้ทุกฝ่ายทราบและขออนุมัติก่อน นอกจากนั้น บริษัทยังได้นำส่วนแบ่งรายได้จากลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ นำส่งกระทรวงฯเป็นค่าชดเชย รวมถึงเจรจากับบริษัทประกันภัยเพื่อนำเงินสินไหมทดแทนส่งมอบกระทรวงต่อไป
ขณะที่บริษัทยังคงมีดาวเทียมไทยคม 4 และดาวเทียมไทยคม 6 สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องตลอดอายุสัญญาสัมปทาน และเมื่อสัญญาสิ้นสุดลง กระทรวงฯ ก็สามารถนำดาวเทียมทั้งสองดวงไปบริหารจัดการต่อไป ซึ่งเป็นการดำเนินการที่ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาสัมปทานแล้ว