แห่กู้เงินบริษัทประกันใช้ฉุกเฉิน พิษ “โควิด” ทำครัวเรือนขาดสภาพคล่อง
https://www.prachachat.net/finance/news-549150
“ผู้เอาประกัน” ขาดสภาพคล่องแห่กู้บริษัทประกันชีวิตพุ่ง 24% ผลพวงพิษ “โควิด-19” ทุบเศรษฐกิจแย่ “อลิอันซ์อยุธยาประกันชีวิต” ยอดปล่อยกู้โตสูงสุด ขณะที่ “เอไอเอ” พร้อมให้ลูกค้ากู้-ไม่ห่วงทิ้งกรมธรรม์ ฟาก “กรุงเทพประกันชีวิต” ให้ลูกค้ากู้ชำระกรมธรรม์ที่ทำใหม่ จูงใจปลอดดอกเบี้ย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) พบว่า ช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา (ม.ค.-มิ.ย. 2563) บริษัทประกันมีการปล่อยกู้ผ่านเงินให้กู้โดยมีกรมธรรม์เป็นประกันรวมทั้งสิ้น 176,931 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.01% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน (YOY) ซึ่งคิดเป็นรายได้ดอกเบี้ยของบริษัทประกันประมาณ 4,522 ล้านบาท
โดยบริษัทประกันชีวิตที่มีการปล่อยกู้มากที่สุด 6 อันดับแรก ได้แก่ บริษัท เอไอเอ จำกัด, บมจ.ไทยประกันชีวิต, บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต, บมจ.กรุงไทย-แอกซ่าประกันชีวิต, บมจ.กรุงเทพประกันชีวิต, บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต (ดูตาราง) ซึ่งแต่ละบริษัทจะให้กู้เงินประมาณ 80-90% ตามมูลค่าเวนคืน ส่วนอัตราดอกเบี้ยจะคิดดอกเบี้ยทบต้นในอัตราที่สูงกว่าดอกเบี้ยที่ใช้ในการคำนวณเบี้ยประกันอีกประมาณ 2% ต่อปี
นาย
โจฮัน ดีทอย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายลงทุนเอไอเอ เปิดเผยว่า เงินให้กู้โดยมีกรมธรรม์เป็นประกันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งทางเอไอเอยินดีให้ลูกค้ากู้เงิน เนื่องจากเป็นผลประโยชน์ของผู้เอาประกันเอง โดยเชื่อว่าหลังจากผ่านสถานการณ์โควิด-19 ไปแล้ว น่าจะทำให้ประชาชนเข้าใจว่าการมีประกันชีวิตเป็นเรื่องสำคัญมาก
“เราไม่ได้กังวลว่าลูกค้าจะขาดส่งดอกเบี้ยจนกระทบทำให้กรมธรรม์ขาดอายุ เพราะอย่าลืมว่าแบบประกันบางแบบอัตราดอกเบี้ยที่ทำไว้วันนี้ในอนาคตอาจจะไม่มีแล้ว ลูกค้าคงไม่อยากทิ้ง ซึ่งช่วงที่เหลือของปีนี้ก็ประเมินว่ายอดเงินกู้ก็คงจะเติบโตเพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเบี้ยประกันรวมของบริษัท”
ม.ล.
จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กรุงเทพประกันชีวิต กล่าวว่า บริษัทได้ขออนุมัติจาก คปภ.เพื่อขยายโครงการกู้ยืมเงินระยะสั้น (Bridging Loan) ไปจนถึงสิ้นปีสำหรับลูกค้าที่มีกรมธรรม์ใกล้ครบกำหนดอีก 6 เดือน สามารถถอนเงินออกมาได้โดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเงินกู้ใด ๆ แต่มีข้อเสนอว่าต้องนำเงินที่ได้ไปชำระเบี้ยกรมธรรม์ฉบับใหม่ของตนเองหรือบุคคลในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ ลูก หรือคู่สมรส
“ตอนนี้มีลูกค้าที่ครบกำหนดประมาณ 1-2% เข้ามาใช้ Bridging Loan แต่ถ้าโดยทั่วไปกรมธรรม์ที่ครบกำหนดเราสามารถสร้างความต่อเนื่องให้ลูกค้าซื้อกรมธรรม์ต่อประมาณ 10-20% แล้วแต่ช่องทางขาย” ม.ล.จิรเศรษฐกล่าว
ม.ล.
จิรเศรษฐกล่าวว่า แนวโน้มยอดเงินกู้กรมธรรม์ของบริษัทอาจจะยังไม่สูงมาก เพราะลูกค้าหลักเป็นลูกค้าที่ซื้อประกันผ่านธนาคาร (แบงก์แอสชัวรันซ์) ซึ่งอาจเป็นกลุ่มที่ไม่มีความจำเป็นในการกู้เงินมากนัก ในขณะที่แนวโน้มยอดเงินกู้ที่เพิ่มขึ้นในตลาดน่าจะเป็นกลุ่มลูกค้าของบางบริษัทที่มีความต้องการใช้เงิน
นาง
ภควิภา เจริญตรา ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารลูกค้า กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต กล่าวว่า เงินให้กู้โดยมีกรมธรรม์เป็นประกัน ถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่บริษัทประกันได้ช่วยลูกค้าที่เดือดร้อน แต่บริษัทเองก็จะไม่พยายามโปรโมตเพราะไม่ต้องการให้ลูกค้ามีภาระจ่ายดอกเบี้ย แต่จะเน้นสนับสนุนให้ออมเงินมากกว่า
นางสาว
ยุวดี เฉลิมศรีภิญโญรัช รองกรรมการผู้จัดการสายงานบริหารการเงิน บมจ.โตเกียวมารีนประกันชีวิต กล่าวว่า พอร์ตเงินให้กู้ของบริษัทปัจจุบันอยู่ที่ 600 ล้านบาท คิดเป็น 2% ของพอร์ตลงทุนรวม 3.3 หมื่นล้านบาท โดยเริ่มเห็นสัญญาณที่ลูกค้าเข้ามาขอกู้เงินมากขึ้น ตั้งแต่มีการระบาดของโควิด-19
“พอมีการล็อกดาวน์ประเทศ ทำให้ประชาชนเริ่มประสบปัญหาการขาดสภาพคล่อง ซึ่งประเมินแนวโน้มช่วงที่เหลือจะยังคงมีลูกค้าเข้ามาขอกู้เงินต่อเนื่อง” นางสาว
ยุวดีกล่าว
นาง
นุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ไทยสมุทรประกันชีวิต กล่าวว่า บริษัทเปิดให้บริการกู้เงินตามกรมธรรม์ผ่านบริการ OCEAN CONNECT ทาง LINE @oceanlife เพื่อให้ลูกค้าที่ขาดสภาพคล่อง แล้วต้องการใช้เงิน ได้รับเงินรวดเร็ว โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกัน
นางภ
ฤตยา สัจจศิลา กรรมการผู้จัดการ บมจ.อาคเนย์ประกันชีวิต กล่าวว่า บริษัทให้ลูกค้ากู้เงินได้สูงสุด 90% ของมูลค่าเงินเวนคืน อัตราดอกเบี้ย 5-8% ต่อปี ถูกกว่าดอกเบี้ยกู้ยืมในรูปแบบอื่น ๆ โดยไม่ต้องมีบุคคลค้ำประกัน และยืดหยุ่นชำระคืนเงินกู้แบบผ่อนชำระเป็นรายงวด
หรือจะปิดยอดทั้งหมดในครั้งเดียวก็ทำได้ โดย ณ สิ้นไตรมาส 2/2563 บริษัทมีมูลค่าเวนคืนที่ให้กู้รวมกันกว่า 8,500 ล้านบาท
"หญิงหน่อย" แนะออก พ.ร.ก.ตั้ง กก.สมานฉันท์ หวังทุกฝ่ายร่วมวง พร้อมวาง 3 แนวทางรองรับผู้ชุมนุม
https://www.matichon.co.th/politics/news_2427800
“หญิงหน่อย” แนะออก พ.ร.ก.ตั้ง กก.สมานฉันท์ หวังทุกฝ่ายร่วมวง พร้อมวาง 3 แนวทางรองรับผู้ชุมนุม
เมื่อวันที่ 5 พ.ย. 63 คุณหญิง
สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานก่อตั้งสถาบันสร้างไทย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก เกี่ยวกับข้อเสนอการหาทางออกให้กับประเทศ โดยมีรายละเอียดคือ
“การแสวงหาทางออกให้ประเทศ กรณีที่ประธานรัฐสภาเสนอมีการเสนอจัดตั้ง “คณะกรรมการสมานฉันท์” โดยให้สถาบันพระปกเกล้าเป็นผู้ดำเนินการนั้น เห็นว่า “หาก” จะมีการจัดตั้งกรรมการชุดนี้จริง พลเอกประยุทธ์ต้องแสดงความจริงใจที่จะแก้ไขปัญหา และ ต้องการแสวงหาทางออกให้กับประเทศอย่างแท้จริงก่อน โดยต้องออกเป็น “พระราชกำหนด” ในการตั้งคณะกรรมการชุดนี้ และกำหนดระยะเวลาในการทำงานของคณะกรรมการชุดนี้ให้สั้นที่สุด เช่นไม่เกิน 5 เดือน
โดยนำหลักความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional Justic) และความยุติธรรมในเชิงสมานฉันท์ (Retroactive Justice) ที่ทั่วโลกใช้มาใช้เป็นหลักการและแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้ประสบความสำเร็จ เพื่อให้ทุกฝ่ายมีความไว้วางใจที่จะเข้ามาร่วมพูดคุยแสวงหาทางออกให้ประเทศร่วมกัน โดยให้ผู้พูดคุยมั่นใจว่าจะสามารถพูดคุยได้อย่างปลอดภัย และนำข้อเสนอที่เห็นพ้องกันแล้วไปสู่การปฏิบัติจริง
โดยเสนอให้รัฐบาลออกกฎหมายที่มีหลักการสำคัญ ประกอบด้วย
(1) ให้พนักงานสอบสวน อัยการ และผู้พิพากษา พักการดำเนินคดีแก่ผู้ชุมนุมทางการเมืองไว้เป็นการชั่วคราวในระหว่างการพูดคุย หากผู้ชุมนุมถูกควบคุมตัวให้ปล่อยตัว เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้เข้าสู่เวทีเจรจาโดยไม่ต้องพะวงกับการถูกตามจับ หรือถูกออกหมายจับเรื่อยๆ เหมือนเป็นการกลั่นแกล้ง
(2) ให้ผู้ที่พูดคุยเจรจาในเวทีที่รัฐสภาตั้งขึ้นได้รับเอกสิทธิ์คุ้มครองในอันที่จะไม่ถูกฟ้องทั้งในทางแพ่งหรือทางอาญา เพื่อให้เป็นเวทีปลอดภัยที่ทุกฝ่ายจะสามารถพูดคุย และเสนอข้อเรียกร้องอันจะทำให้ทุกเรื่องได้คุยกันในคณะกรรมการ แทนการพูดในที่สาธารณะ ที่ไม่ปลอดภัย และอาจผิดกฎหมาย
(3) เพื่อให้ข้อเสนอของที่ประชุมนำไปสู่การปฏิบัติ โดยมีการกลั่นกรอง ให้นำข้อเสนอของที่ประชุมเข้าพิจารณาในที่ประชุมรัฐสภา หากที่ประชุมเห็นด้วยในประเด็นใดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ หากไม่ปฏิบัติให้เป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
แบบนี้จึงจะเชื่อว่าทุกฝ่ายจะเข้าสู่เวทีพูดคุยโดยไม่มีข้อรังเกียจ
อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญ คือ
“การแก้ไขรัฐธรรมนูญ”
ที่พลเอกประยุทธ์และสมาชิกวุฒิสภาต้องแสดงความจริงใจ และรับผิดชอบต่อปัญหาของรัฐธรรมนูญฉบับสืบทอดอำนาจ ที่ฝ่ายพล.อ.ประยุทธ์ สร้างขึ้น ด้วยการ นำมาร่างแก้ไขทั้ง 7 ร่าง ที่เสนอโดยพรรคฝ่ายค้าน พรรครัฐบาล และร่างของภาคประชาชน ที่ผ่าน ILaw มาพิจารณาในรัฐสภาให้แล้วเสร็จ ทั้ง 3 วาระภายในต้นเดือน”ธันวาคม”
โดยเฉพาะสองมาตราสำคัญ คือ
ม. 256 เพื่อให้มีการเลือกสสร.จากประชาชน และ ม. 272 เพื่อตัดอำนาจ สว. ไม่ให้มีสิทธิ์ในการเลือกนายกรัฐมนตรี อีกต่อไป
ซึ่งหลังการแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านวาระที่ 3 ในต้นเดือนธันวาคม พลเอกประยุทธ์ ควร “เสียสละ”
ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อให้วิกฤติความขัดแย้งของชาติที่มีตัวพลเอกประยุทธ์เป็นศูนย์กลาง ได้ยุติลง
จากนั้นให้เร่งดำเนินการเลือก สสร.
เพื่อให้เป็นตัวแทนประชาชน มาร่างรัฐธรรมนูน “ฉบับของประชาชน”ให้แล้วเสร็จภายใน 8 เดือน เพื่อคืนอำนาจให้ประชาชนได้มีโอกาสเลือกตั้งใหม่ ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
สังคมที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยย่อมจะมีความแตกต่างทางความคิดเกิดขึ้นได้เสมอ แต่ความเป็นอารยะของสังคมสามารถพิสูจน์ได้จากวิธีจัดการกับความขัดแย้งทางความคิดนั้น
หลายประเทศเคยมีความขัดแย้งทางการเมืองจนนำไปสู่การเข่นฆ่ากลางเมืองแล้ว เช่น ตายนับล้านคนในประเทศรวัลดา หรือตายนับแสนคนในประเทศเซียร่า ลีโอน เป็นต้น ประเทศเหล่านั้นใช้กระบวนการสร้างความปรองดอง (Reconciliation Process) โดยนำหลักในการแสวงหาทางงออกให้กับประเทศ
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
ประธานก่อตั้งสถาบันสร้างไทย
JJNY : แห่กู้เงินบ.ประกันใช้ฉุกเฉิน/"หญิงหน่อย"แนะออกพ.ร.ก.ตั้งกก.สมานฉันท์/"ชวน"ยกหูหาอดีตนายกฯขอโทษ/โฟกัสโพสต์แซ่บ
https://www.prachachat.net/finance/news-549150
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) พบว่า ช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา (ม.ค.-มิ.ย. 2563) บริษัทประกันมีการปล่อยกู้ผ่านเงินให้กู้โดยมีกรมธรรม์เป็นประกันรวมทั้งสิ้น 176,931 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.01% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน (YOY) ซึ่งคิดเป็นรายได้ดอกเบี้ยของบริษัทประกันประมาณ 4,522 ล้านบาท
โดยบริษัทประกันชีวิตที่มีการปล่อยกู้มากที่สุด 6 อันดับแรก ได้แก่ บริษัท เอไอเอ จำกัด, บมจ.ไทยประกันชีวิต, บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต, บมจ.กรุงไทย-แอกซ่าประกันชีวิต, บมจ.กรุงเทพประกันชีวิต, บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต (ดูตาราง) ซึ่งแต่ละบริษัทจะให้กู้เงินประมาณ 80-90% ตามมูลค่าเวนคืน ส่วนอัตราดอกเบี้ยจะคิดดอกเบี้ยทบต้นในอัตราที่สูงกว่าดอกเบี้ยที่ใช้ในการคำนวณเบี้ยประกันอีกประมาณ 2% ต่อปี
นายโจฮัน ดีทอย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายลงทุนเอไอเอ เปิดเผยว่า เงินให้กู้โดยมีกรมธรรม์เป็นประกันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งทางเอไอเอยินดีให้ลูกค้ากู้เงิน เนื่องจากเป็นผลประโยชน์ของผู้เอาประกันเอง โดยเชื่อว่าหลังจากผ่านสถานการณ์โควิด-19 ไปแล้ว น่าจะทำให้ประชาชนเข้าใจว่าการมีประกันชีวิตเป็นเรื่องสำคัญมาก
“เราไม่ได้กังวลว่าลูกค้าจะขาดส่งดอกเบี้ยจนกระทบทำให้กรมธรรม์ขาดอายุ เพราะอย่าลืมว่าแบบประกันบางแบบอัตราดอกเบี้ยที่ทำไว้วันนี้ในอนาคตอาจจะไม่มีแล้ว ลูกค้าคงไม่อยากทิ้ง ซึ่งช่วงที่เหลือของปีนี้ก็ประเมินว่ายอดเงินกู้ก็คงจะเติบโตเพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเบี้ยประกันรวมของบริษัท”
ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กรุงเทพประกันชีวิต กล่าวว่า บริษัทได้ขออนุมัติจาก คปภ.เพื่อขยายโครงการกู้ยืมเงินระยะสั้น (Bridging Loan) ไปจนถึงสิ้นปีสำหรับลูกค้าที่มีกรมธรรม์ใกล้ครบกำหนดอีก 6 เดือน สามารถถอนเงินออกมาได้โดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเงินกู้ใด ๆ แต่มีข้อเสนอว่าต้องนำเงินที่ได้ไปชำระเบี้ยกรมธรรม์ฉบับใหม่ของตนเองหรือบุคคลในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ ลูก หรือคู่สมรส
“ตอนนี้มีลูกค้าที่ครบกำหนดประมาณ 1-2% เข้ามาใช้ Bridging Loan แต่ถ้าโดยทั่วไปกรมธรรม์ที่ครบกำหนดเราสามารถสร้างความต่อเนื่องให้ลูกค้าซื้อกรมธรรม์ต่อประมาณ 10-20% แล้วแต่ช่องทางขาย” ม.ล.จิรเศรษฐกล่าว
ม.ล.จิรเศรษฐกล่าวว่า แนวโน้มยอดเงินกู้กรมธรรม์ของบริษัทอาจจะยังไม่สูงมาก เพราะลูกค้าหลักเป็นลูกค้าที่ซื้อประกันผ่านธนาคาร (แบงก์แอสชัวรันซ์) ซึ่งอาจเป็นกลุ่มที่ไม่มีความจำเป็นในการกู้เงินมากนัก ในขณะที่แนวโน้มยอดเงินกู้ที่เพิ่มขึ้นในตลาดน่าจะเป็นกลุ่มลูกค้าของบางบริษัทที่มีความต้องการใช้เงิน
นางภควิภา เจริญตรา ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารลูกค้า กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต กล่าวว่า เงินให้กู้โดยมีกรมธรรม์เป็นประกัน ถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่บริษัทประกันได้ช่วยลูกค้าที่เดือดร้อน แต่บริษัทเองก็จะไม่พยายามโปรโมตเพราะไม่ต้องการให้ลูกค้ามีภาระจ่ายดอกเบี้ย แต่จะเน้นสนับสนุนให้ออมเงินมากกว่า
นางสาวยุวดี เฉลิมศรีภิญโญรัช รองกรรมการผู้จัดการสายงานบริหารการเงิน บมจ.โตเกียวมารีนประกันชีวิต กล่าวว่า พอร์ตเงินให้กู้ของบริษัทปัจจุบันอยู่ที่ 600 ล้านบาท คิดเป็น 2% ของพอร์ตลงทุนรวม 3.3 หมื่นล้านบาท โดยเริ่มเห็นสัญญาณที่ลูกค้าเข้ามาขอกู้เงินมากขึ้น ตั้งแต่มีการระบาดของโควิด-19
“พอมีการล็อกดาวน์ประเทศ ทำให้ประชาชนเริ่มประสบปัญหาการขาดสภาพคล่อง ซึ่งประเมินแนวโน้มช่วงที่เหลือจะยังคงมีลูกค้าเข้ามาขอกู้เงินต่อเนื่อง” นางสาวยุวดีกล่าว
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ไทยสมุทรประกันชีวิต กล่าวว่า บริษัทเปิดให้บริการกู้เงินตามกรมธรรม์ผ่านบริการ OCEAN CONNECT ทาง LINE @oceanlife เพื่อให้ลูกค้าที่ขาดสภาพคล่อง แล้วต้องการใช้เงิน ได้รับเงินรวดเร็ว โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกัน
นางภฤตยา สัจจศิลา กรรมการผู้จัดการ บมจ.อาคเนย์ประกันชีวิต กล่าวว่า บริษัทให้ลูกค้ากู้เงินได้สูงสุด 90% ของมูลค่าเงินเวนคืน อัตราดอกเบี้ย 5-8% ต่อปี ถูกกว่าดอกเบี้ยกู้ยืมในรูปแบบอื่น ๆ โดยไม่ต้องมีบุคคลค้ำประกัน และยืดหยุ่นชำระคืนเงินกู้แบบผ่อนชำระเป็นรายงวด
หรือจะปิดยอดทั้งหมดในครั้งเดียวก็ทำได้ โดย ณ สิ้นไตรมาส 2/2563 บริษัทมีมูลค่าเวนคืนที่ให้กู้รวมกันกว่า 8,500 ล้านบาท
"หญิงหน่อย" แนะออก พ.ร.ก.ตั้ง กก.สมานฉันท์ หวังทุกฝ่ายร่วมวง พร้อมวาง 3 แนวทางรองรับผู้ชุมนุม
https://www.matichon.co.th/politics/news_2427800
“หญิงหน่อย” แนะออก พ.ร.ก.ตั้ง กก.สมานฉันท์ หวังทุกฝ่ายร่วมวง พร้อมวาง 3 แนวทางรองรับผู้ชุมนุม
เมื่อวันที่ 5 พ.ย. 63 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานก่อตั้งสถาบันสร้างไทย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก เกี่ยวกับข้อเสนอการหาทางออกให้กับประเทศ โดยมีรายละเอียดคือ
“การแสวงหาทางออกให้ประเทศ กรณีที่ประธานรัฐสภาเสนอมีการเสนอจัดตั้ง “คณะกรรมการสมานฉันท์” โดยให้สถาบันพระปกเกล้าเป็นผู้ดำเนินการนั้น เห็นว่า “หาก” จะมีการจัดตั้งกรรมการชุดนี้จริง พลเอกประยุทธ์ต้องแสดงความจริงใจที่จะแก้ไขปัญหา และ ต้องการแสวงหาทางออกให้กับประเทศอย่างแท้จริงก่อน โดยต้องออกเป็น “พระราชกำหนด” ในการตั้งคณะกรรมการชุดนี้ และกำหนดระยะเวลาในการทำงานของคณะกรรมการชุดนี้ให้สั้นที่สุด เช่นไม่เกิน 5 เดือน
โดยนำหลักความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional Justic) และความยุติธรรมในเชิงสมานฉันท์ (Retroactive Justice) ที่ทั่วโลกใช้มาใช้เป็นหลักการและแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้ประสบความสำเร็จ เพื่อให้ทุกฝ่ายมีความไว้วางใจที่จะเข้ามาร่วมพูดคุยแสวงหาทางออกให้ประเทศร่วมกัน โดยให้ผู้พูดคุยมั่นใจว่าจะสามารถพูดคุยได้อย่างปลอดภัย และนำข้อเสนอที่เห็นพ้องกันแล้วไปสู่การปฏิบัติจริง
โดยเสนอให้รัฐบาลออกกฎหมายที่มีหลักการสำคัญ ประกอบด้วย
(1) ให้พนักงานสอบสวน อัยการ และผู้พิพากษา พักการดำเนินคดีแก่ผู้ชุมนุมทางการเมืองไว้เป็นการชั่วคราวในระหว่างการพูดคุย หากผู้ชุมนุมถูกควบคุมตัวให้ปล่อยตัว เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้เข้าสู่เวทีเจรจาโดยไม่ต้องพะวงกับการถูกตามจับ หรือถูกออกหมายจับเรื่อยๆ เหมือนเป็นการกลั่นแกล้ง
(2) ให้ผู้ที่พูดคุยเจรจาในเวทีที่รัฐสภาตั้งขึ้นได้รับเอกสิทธิ์คุ้มครองในอันที่จะไม่ถูกฟ้องทั้งในทางแพ่งหรือทางอาญา เพื่อให้เป็นเวทีปลอดภัยที่ทุกฝ่ายจะสามารถพูดคุย และเสนอข้อเรียกร้องอันจะทำให้ทุกเรื่องได้คุยกันในคณะกรรมการ แทนการพูดในที่สาธารณะ ที่ไม่ปลอดภัย และอาจผิดกฎหมาย
(3) เพื่อให้ข้อเสนอของที่ประชุมนำไปสู่การปฏิบัติ โดยมีการกลั่นกรอง ให้นำข้อเสนอของที่ประชุมเข้าพิจารณาในที่ประชุมรัฐสภา หากที่ประชุมเห็นด้วยในประเด็นใดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ หากไม่ปฏิบัติให้เป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
แบบนี้จึงจะเชื่อว่าทุกฝ่ายจะเข้าสู่เวทีพูดคุยโดยไม่มีข้อรังเกียจ
อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญ คือ
“การแก้ไขรัฐธรรมนูญ”
ที่พลเอกประยุทธ์และสมาชิกวุฒิสภาต้องแสดงความจริงใจ และรับผิดชอบต่อปัญหาของรัฐธรรมนูญฉบับสืบทอดอำนาจ ที่ฝ่ายพล.อ.ประยุทธ์ สร้างขึ้น ด้วยการ นำมาร่างแก้ไขทั้ง 7 ร่าง ที่เสนอโดยพรรคฝ่ายค้าน พรรครัฐบาล และร่างของภาคประชาชน ที่ผ่าน ILaw มาพิจารณาในรัฐสภาให้แล้วเสร็จ ทั้ง 3 วาระภายในต้นเดือน”ธันวาคม”
โดยเฉพาะสองมาตราสำคัญ คือ
ม. 256 เพื่อให้มีการเลือกสสร.จากประชาชน และ ม. 272 เพื่อตัดอำนาจ สว. ไม่ให้มีสิทธิ์ในการเลือกนายกรัฐมนตรี อีกต่อไป
ซึ่งหลังการแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านวาระที่ 3 ในต้นเดือนธันวาคม พลเอกประยุทธ์ ควร “เสียสละ”
ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อให้วิกฤติความขัดแย้งของชาติที่มีตัวพลเอกประยุทธ์เป็นศูนย์กลาง ได้ยุติลง
จากนั้นให้เร่งดำเนินการเลือก สสร.
เพื่อให้เป็นตัวแทนประชาชน มาร่างรัฐธรรมนูน “ฉบับของประชาชน”ให้แล้วเสร็จภายใน 8 เดือน เพื่อคืนอำนาจให้ประชาชนได้มีโอกาสเลือกตั้งใหม่ ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
สังคมที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยย่อมจะมีความแตกต่างทางความคิดเกิดขึ้นได้เสมอ แต่ความเป็นอารยะของสังคมสามารถพิสูจน์ได้จากวิธีจัดการกับความขัดแย้งทางความคิดนั้น
หลายประเทศเคยมีความขัดแย้งทางการเมืองจนนำไปสู่การเข่นฆ่ากลางเมืองแล้ว เช่น ตายนับล้านคนในประเทศรวัลดา หรือตายนับแสนคนในประเทศเซียร่า ลีโอน เป็นต้น ประเทศเหล่านั้นใช้กระบวนการสร้างความปรองดอง (Reconciliation Process) โดยนำหลักในการแสวงหาทางงออกให้กับประเทศ
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
ประธานก่อตั้งสถาบันสร้างไทย