กรมธรรม์ประกันชีวิต นับวันจะมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนคนไทยมากยิ่งขึ้น ทั้งในแง่การสร้างความมั่นคงและเป็นการออมเพื่อเป็นหลักประกันในอนาคต โชคดีที่ว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ได้มีช่องทางการขายใหม่เกิดขึ้น ไม่ว่าช่องทางแบงก์แอสชัวรันส์, เทเลมาร์เก็ตติ้ง หรือช่องทางอินเตอร์เน็ต มาอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการเลือกซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต
อย่างไรก็ดี ด้วยความที่ช่องทางเหล่านี้เป็นช่องทางใหม่สำหรับสังคมไทย ทำให้กรอบกติกา และแนวทางปฏิบัติต่างๆในการเสนอขาย ยังไม่ตกผลึก ยังมีช่องโหว่ให้ต้องปรับปรุงอีกมาก เมื่อเทียบกับช่องทางตัวแทนประกันชีวิตที่ได้ถูกวางกรอบกติกามาเป็นเวลากว่า 60 ปีแล้ว ทำให้สามารถอุดช่องโหว่ที่ไม่ถูกต้อง จนมีมาตรฐานเทียบเคียงกับต่างประเทศ
สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน สนับสนุนให้มีช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลาย เพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชน บนเงื่อนไขว่า ต้องเป็นการแข่งขันที่เป็นธรรม ใช้แนวปฏิบัติ กรอบกติกาและบทลงโทษที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน จึงใคร่ขอเสนอแนะแนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมของการขายผ่านแบงก์แอสชัวรันส์ เพื่อให้มีมาตรฐานเดียวกับต่างประเทศ โดยยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นศูนย์กลาง ดังนี้
1. ให้แยกเคาน์เตอร์แบงก์แอสชัวรันส์ออกจากเคาน์เตอร์ฝากถอนเงิน และมีป้ายชื่อแผนกชัดเจน
มาตรการนี้ช่วยให้ลูกค้าของธนาคารสามารถแยกแยะว่า กรมธรรม์ที่กำลังเสนอขายอยู่นี้ ไม่ใช่การฝากเงิน ที่จะสามารถฝากถอนได้ตลอดเวลา และไม่มีการรับประกันเงินคืนในกรณีที่มีการเวนคืนก่อนกรมธรรม์ครบสัญญา เรื่องนี้นับว่าเป็นเรื่องที่ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนสูงสุดว่า เจ้าหน้าที่ธนาคารมักแนะนำลูกค้าให้ย้ายบัญชีเงินฝาก มาฝากในบัญชีที่อ้างว่าได้ดอกเบี้ยสูงกว่า ซึ่งมีลักษณะเหมือนการฝากเงินทุกประการ ทั้งที่กรมธรรม์ประกันชีวิตมีเงื่อนไขที่แตกต่างออกไป ดังนั้นเคาน์เตอร์แบงก์แอสชัวรันส์นี้ควรมีป้ายระบุชื่อชัดเจนว่าเป็นแผนกผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต ขณะที่บางประเทศ (สิงคโปร์) อาจกำหนดให้พนักงานของแผนกนี้แต่งกายแตกต่างจากพนักงานธนาคารทั่วไปด้วย
2. ให้แบงก์แอสชัวรันส์ขายเฉพาะผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบออมทรัพย์ระยะสั้น (มาเลเซีย)
เป็นที่ทราบกันดีว่าธนาคารไม่มีเจ้าหน้าที่ประจำที่จะมาติดตามดูแลกรมธรรม์ระยะยาวที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไป เพราะเจ้าหน้าที่ธนาคารมักมีการโยกย้ายตำแหน่งและสาขา อีกทั้งเจ้าหน้าที่แต่ละคนมักได้รับมอบหมายให้ขายผลิตภัณฑ์แทบทุกชนิดไม่ว่า เงินฝากประจำ พันธบัตร หุ้นกู้ ตั๋วแลกเงิน กองทุนรวม กรมธรรม์ประกันชีวิต ซึ่งแต่ละผลิตภัณฑ์ก็มีหลายแบบ หลายเงื่อนไข ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถทำความเข้าใจในแต่ละผลิตภัณฑ์ได้อย่างลึกซึ้ง
ขณะที่กรมธรรม์ที่เน้นการคุ้มครองเรื่องค่ารักษาพยาบาลและโรคร้ายแรงที่มีรายละเอียดและข้อยกเว้นมากมาย หากผู้เสนอขายไม่ได้ศึกษาข้อมูลมาอย่างดี และเวลาเสนอขายไม่ได้บอกเงื่อนไขที่เป็นสาระสำคัญ อาจนำไปสู่การเข้าใจผิด จนยากแก่การแก้ไขได้ในภายหลัง ดังนั้นผู้เสนอขายผลิตภัณฑ์ที่เน้นการคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล ต้องสามารถอยู่บริการระยะยาว สามารถให้ลูกค้าเข้าถึงได้ และสามารถให้ปรึกษาได้ทันท่วงทีเมื่อมีปัญหา
3. ให้ธนาคารขายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตได้เฉพาะที่ทำการธนาคาร
เจ้าหน้าที่ธนาคารถือเป็นบุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสีย มีอำนาจและอิทธิพลต่อการทำธุรกรรมของลูกค้ากับธนาคาร หากกำหนดให้เจ้าหน้าที่ธนาคารสามารถจู่โจมถึงที่ทำงานหรือบ้านของลูกค้าได้ ลูกค้าย่อมไม่สามารถหลบหลีกหรือบ่ายเบี่ยงได้ ทุกวันนี้ เราก็ได้ข่าวอยู่แล้วว่า เจ้าของธุรกิจหลายคนพยายามหลีกเลี่ยงที่จะไปทำธุรกรรมที่ธนาคารหากไม่จำเป็น แต่จะมอบหมายให้คนรับใช้ หรือคนขับรถไปทำเรื่องแทน เพราะเกรงว่าจะถูกขอร้อง แกมบังคับให้ทำประกันชีวิต ดังนั้น เราควรใจกว้างให้ลูกค้ามีอิสระในการเลือกซื้อประกันชีวิต แทนที่จะถูกล้อมกรอบอย่างทุกวันนี้
4. เข้มงวดให้เฉพาะเจ้าหน้าที่ธนาคารที่มีใบอนุญาตนายหน้าเท่านั้นจึงจะเสนอขายประกันชีวิตได้
เป็นที่ทราบกันดีว่า ทุกวันที้ ธนาคารต่างๆได้มีการมอบหมายให้พนักงานทุกคนเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยผลงานที่ได้จะใช้เป็นเกณฑ์ชี้วัดในจ่ายโบนัสและเลื่อนตำแหน่ง ทั้งที่ทราบดีว่าพนักงานกว่า80%ไม่มีใบอนุญาตนายหน้าประกันชีวิต แต่ธนาคารก็ใช้วิธีให้นำใบสมัครทำประกันชีวิตนั้นไปใส่ไว้ในรหัสของนายหน้าประกันชีวิตที่มีอยู่เพียงสาขาละ 3-4 ท่าน คปภ.ต้องร่วมกับธปท.บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังว่าหากพนักงานคนใดเสนอขายประกันชีวิตโดยไม่มีใบอนุญาตต้องมีความผิดตามพรบ.ประกันชีวิต พศ. 2535 คือ ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือ จำคุกไม่เกิน 2 ปี
ขณะที่ความผิดของธนาคารเอง หากมีการออกประกาศ หรือ ระเบียบให้พนักงานขายประกันชีวิตทั้งที่รู้ว่าพนักงานส่วนใหญ่ไม่มีใบอนุญาตนายหน้า สมควรได้รับโทษ เทียบปรับเป็นเงินสูงถึงครั้งละ10ล้านบาทพร้อมหนังสือตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรจากคปภ. หากพบว่าทำความผิดครั้งที่2 ภายใน 1 ปีให้พักการใช้ใบอนุญาต 1 เดือน หากพบว่าทำความผิดครั้งที่ 3 ภายใน 1 ปี ให้เพิกถอนใบอนุญาต เพราะระดับสำนักงานใหญ่จะอ้างว่าไม่รู้กฏหมายไม่ได้ ซ้ำยังบังคับทางอ้อมให้พนักงานธนาคารร่วมกันฝ่าฝืนพรบ.ประกันชีวิตอีกด้วย
หมายเหตุ ที่ประเทศสิงคโปร์จะใช้วิธีลงโทษธนาคารที่กระทำความผิดกฎหมาย คือปรับทันที 50,000เหรียญสิงคโปร์ จากนั้นจะปรับทุกวันๆละ 5,000 เหรียญ จนกว่าจะแก้ไขความผิดที่เกิดขึ้นได้ครบถ้วน
5. ให้เข้มงวดการส่งเสริมการขายโดยวิธีลดแลกแจกแถม
โดยหลักการ ผู้บริโภคต้องซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตด้วยความรู้ความเข้าใจ หากผู้บริโภคตัดสินใจซื้อด้วยการเห็นแก่ของแถมหรือส่วนลด ปีต่อไป เมื่อไม่มีของแถมแล้ว ลูกค้าเกิดยกเลิกกรมธรรม์ ผู้ที่ขาดทุนสูงสุดคือลูกค้า ขณะที่ผู้ขายรับค่านายหน้าไปแล้ว ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร การเสนอขายโดยไม่ใช้วิธีลดแลกแจกแถม จึงเป็นหนึ่งในจรรยาบรรณของตัวแทนนายหน้าประกันภัย ที่ถือปฏิบัติกันทั่วโลก ในขณะที่ทุกวันนี้ ธนาคารหลายแห่งกลับมีการโฆษณาลดแลกแจกแถมกันอย่างโจ่มครึ่ม ทั้งในสื่อหนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต ใบปลิว และตามเคาน์เตอร์ธนาคาร สมควรที่ทางคปภ.จะควบคุมให้เข้มงวดกว่านี้ หรือมีบทลงโทษที่หนักกว่านี้ (ที่สิงคโปร์จะเข้มงวดเรื่องนี้กับธนาคารเป็นพิเศษ)
6. ห้ามเสนอขายกรมธรรม์แบบสะสมทรัพย์แก่ลูกค้าที่มาขอสินเชื่อ
นับเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผลเลย ที่ผู้มาขอสินเชื่อด้วยดอกเบี้ยที่สูงกว่า แล้วจะนำเงินก้อนนั้น (แม้บางส่วน)มาเก็บออมในกรมธรรม์สะสมทรัพย์ที่ให้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า ในบางประเทศ เช่นญี่ปุ่น จึงมีกฎหมายห้ามมิให้ธนาคารเสนอขายประกันแบบสะสมทรัพย์ก่อนหรือหลังวันอนุมัติสินเชื่อ 6 เดือน ทั้งนี้ให้นับรวมถึงผู้บริหารและพนักงานของบริษัทเอกชนที่ธนาคาครอนุมัติสินเชื่อให้บริษัทต้นสังกัดของเขาเหล่านั้นด้วย
7. ความผิดของพนักงานที่ยินยอมให้พนักงานอื่นใช้ใบอนุญาตนายหน้าของตนส่งงานประกันชีวิต
กรณีที่พนักงานธนาคารที่มีใบอนุญาตนายหน้า ยินยอมให้พนักงานอื่นใช้ชื่อของตนส่งใบสมัครทำประกันชีวิต หากพบว่ามีการปกปิดข้อเท็จจริงในส่วนที่เป็นสาระสำคัญของผู้เอาประกันชีวิตอันเป็นเหตุให้บริษัทประกันชีวิตอาจปฏิเสธการจ่ายสินไหมได้ พนักงานที่มีใบอนุญาตนายหน้าประกันชีวิตย่อมไม่สามารถอ้างว่าตนไม่รู้ไม่เห็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ คปภ.ควรกำหนดโทษให้ชัดเจนว่า หากพบเห็นการกระทำความผิดครั้งที่ 1 ให้ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร หากพบครั้งที่ 2 ภายใน 2 ปี ให้พักการใช้ใบอนุญาต 1 เดือน และหากพบครั้งที่ 3 ภายใน 2 ปีเช่นกัน ให้เพิกถอนใบอนุญาต
8. ความผิดกรณีใช้สินเชื่อต่อรองให้ลูกค้าทำประกันชีวิต
กรณีที่มีการร้องเรียนและสามารถพิสูจน์ได้ว่า มีการใช้สินเชื่อหรือธุรกรรมอื่นใดต่อรองให้ลูกค้าสมัครทำประกันชีวิต ให้ลงโทษพนักงานธนาคารเจ้าของใบอนุญาตนายหน้าเช่นเดียวกับข้อ 7 คือ พบครั้งแรกให้ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร พบครั้งที่ 2 ภานใน 2 ปี ให้พักการใช้ใบอนุญาต 1 เดือน แต่หากพบครั้งที่ 3 ภายใน 2 ปี ให้เพิกถอนใบอนุญาต
สำหรับพนักงานอื่นที่ไม่มีใบอนุญาตแต่เป็นผู้เสนอขายโดยใช้สินเชื่อต่อรอง ให้ลงโทษตามข้อ 4 โทษฐานฝ่าฝืนพรบ.ประกันชีวิต พศ.2535 เสนอขายประกันชีวิตโดยไม่มีใบอนุญาต ให้ปรับไม่เกิน 200,000 บาท และ/หรือจำคุกไม่เกิน 2 ปี
9. ใบเสนอขายประกันชีวิตต้องพิมพ์ตัวอักษรชื่อบริษัทประกันชีวิตไม่เล็กกว่าชื่อธนาคาร
ธนาคารหลายแห่งตั้งใจพิมพ์ใบเสนอขายประกันชีวิต (โบชัวร์ )ให้เห็นชื่อของธนาคารชัดเจน แต่พิมพ์ชื่อของบริษัทประกันชีวิตด้วยตัวอัษรที่เล็ก และอาจลงไว้ในหมายเหตุด้านล่างหรือด้านหลัง เพื่อให้ลูกค้ายึดติดในตราสัญญลักษณ์(แบรนด์)ของตน จนประชาชนมักเข้าใจว่าธนาคารเป็นผู้รับประกัน ทั้งๆที่ธนาคารเป็นเพียงนายหน้าประกันภัย
ทุกวันนี้ ได้ปรากฏว่าธนาคารหลายแห่งมีการสับเปลี่ยนการเป็นนายหน้าให้กับบริษัทประกันชีวิตหลายบริษัท ขึ้นกับว่าบริษัทไหนเสนอผลประโยชน์ที่สูงกว่า โดยที่ลูกค้ายังเข้าใจว่าธนาคารยังเป็นคู่สัญญาของบริษัทประกันที่ตนเอาประกันอยู่
ดังนั้นเพื่อป้องกันความสับสนดังกล่าว คปภ.ควรกำหนดให้ธนาคารต้องพิมพ์ชื่อบริษัทผู้รับประกันด้วยอักษรที่ใหญ่ไม่น้อยกว่าชื่อธนาคารและต้องอยู่ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน
10. ธนาคารในฐานะนายหน้าต้องเสนอขายกรมธรรม์ให้บริษัทประกันชีวิตไม่ต่ำกว่า 3 บริษัท
โดยหลักการ นายหน้าประกันภัยคือผู้แทนของลูกค้าในการเลือกผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายทั้งในแง่บริษัทและรูปแบบกรมธรรม์ (อย่างน้อย 3 ทางเลือก) ดังนั้นคปภ.ควรกำหนดให้นายหน้าแต่ละราย รวมถึงธนาคารที่มีใบอนุญาตนายหน้า ต้องเสนอขายผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ 3 บริษัทประกันชีวิตขึ้นไป โดยกำหนดให้ต้องมีสัดส่วนยอดขายใน 3 บริษัทนี้ไม่ต่ำกว่าบริษัทละ 5% เพราะหากนายหน้าเสนอขายแต่กรมธรรม์จากบริษัทเดียว จะกลายเป็นว่านายหน้านั้นกำลังทำหน้าที่เป็นตัวแทนประกันชีวิตไม่ใช่นายหน้าประกันภัย
ข้อเสนอเหล่านี้ เชื่อว่าจะมีส่วนช่วยให้การขายผ่านช่องทางธนาคารมีมาตรฐานสูงขึ้น ได้รับการยอมรับมากขึ้น ขอให้ทางคปภ.ในฐานะผู้คุมกฎ อยาได้มองว่าเป็นการเสนอความเห็นจากช่องทางตัวแทนประกันชีวิตซึ่งเป็นคู่แข่ง แต่ขอให้ดูที่ความถูกต้องและยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง ทางสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน เชื่อว่าข้อเสนอดังกล่าวจะตรงใจประชาชนส่วนใหญ่ที่ใช้บริการของธนาคาร และมีส่วนช่วยนำพาให้อุตสาหกรรมประกันชีวิตสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว
สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน THAIFA
ข้อเสนอเรื่อง แนวปฏิบัติในการขายประกันผ่านช่องทางแบงก์
อย่างไรก็ดี ด้วยความที่ช่องทางเหล่านี้เป็นช่องทางใหม่สำหรับสังคมไทย ทำให้กรอบกติกา และแนวทางปฏิบัติต่างๆในการเสนอขาย ยังไม่ตกผลึก ยังมีช่องโหว่ให้ต้องปรับปรุงอีกมาก เมื่อเทียบกับช่องทางตัวแทนประกันชีวิตที่ได้ถูกวางกรอบกติกามาเป็นเวลากว่า 60 ปีแล้ว ทำให้สามารถอุดช่องโหว่ที่ไม่ถูกต้อง จนมีมาตรฐานเทียบเคียงกับต่างประเทศ
สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน สนับสนุนให้มีช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลาย เพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชน บนเงื่อนไขว่า ต้องเป็นการแข่งขันที่เป็นธรรม ใช้แนวปฏิบัติ กรอบกติกาและบทลงโทษที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน จึงใคร่ขอเสนอแนะแนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมของการขายผ่านแบงก์แอสชัวรันส์ เพื่อให้มีมาตรฐานเดียวกับต่างประเทศ โดยยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นศูนย์กลาง ดังนี้
1. ให้แยกเคาน์เตอร์แบงก์แอสชัวรันส์ออกจากเคาน์เตอร์ฝากถอนเงิน และมีป้ายชื่อแผนกชัดเจน
มาตรการนี้ช่วยให้ลูกค้าของธนาคารสามารถแยกแยะว่า กรมธรรม์ที่กำลังเสนอขายอยู่นี้ ไม่ใช่การฝากเงิน ที่จะสามารถฝากถอนได้ตลอดเวลา และไม่มีการรับประกันเงินคืนในกรณีที่มีการเวนคืนก่อนกรมธรรม์ครบสัญญา เรื่องนี้นับว่าเป็นเรื่องที่ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนสูงสุดว่า เจ้าหน้าที่ธนาคารมักแนะนำลูกค้าให้ย้ายบัญชีเงินฝาก มาฝากในบัญชีที่อ้างว่าได้ดอกเบี้ยสูงกว่า ซึ่งมีลักษณะเหมือนการฝากเงินทุกประการ ทั้งที่กรมธรรม์ประกันชีวิตมีเงื่อนไขที่แตกต่างออกไป ดังนั้นเคาน์เตอร์แบงก์แอสชัวรันส์นี้ควรมีป้ายระบุชื่อชัดเจนว่าเป็นแผนกผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต ขณะที่บางประเทศ (สิงคโปร์) อาจกำหนดให้พนักงานของแผนกนี้แต่งกายแตกต่างจากพนักงานธนาคารทั่วไปด้วย
2. ให้แบงก์แอสชัวรันส์ขายเฉพาะผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบออมทรัพย์ระยะสั้น (มาเลเซีย)
เป็นที่ทราบกันดีว่าธนาคารไม่มีเจ้าหน้าที่ประจำที่จะมาติดตามดูแลกรมธรรม์ระยะยาวที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไป เพราะเจ้าหน้าที่ธนาคารมักมีการโยกย้ายตำแหน่งและสาขา อีกทั้งเจ้าหน้าที่แต่ละคนมักได้รับมอบหมายให้ขายผลิตภัณฑ์แทบทุกชนิดไม่ว่า เงินฝากประจำ พันธบัตร หุ้นกู้ ตั๋วแลกเงิน กองทุนรวม กรมธรรม์ประกันชีวิต ซึ่งแต่ละผลิตภัณฑ์ก็มีหลายแบบ หลายเงื่อนไข ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถทำความเข้าใจในแต่ละผลิตภัณฑ์ได้อย่างลึกซึ้ง
ขณะที่กรมธรรม์ที่เน้นการคุ้มครองเรื่องค่ารักษาพยาบาลและโรคร้ายแรงที่มีรายละเอียดและข้อยกเว้นมากมาย หากผู้เสนอขายไม่ได้ศึกษาข้อมูลมาอย่างดี และเวลาเสนอขายไม่ได้บอกเงื่อนไขที่เป็นสาระสำคัญ อาจนำไปสู่การเข้าใจผิด จนยากแก่การแก้ไขได้ในภายหลัง ดังนั้นผู้เสนอขายผลิตภัณฑ์ที่เน้นการคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล ต้องสามารถอยู่บริการระยะยาว สามารถให้ลูกค้าเข้าถึงได้ และสามารถให้ปรึกษาได้ทันท่วงทีเมื่อมีปัญหา
3. ให้ธนาคารขายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตได้เฉพาะที่ทำการธนาคาร
เจ้าหน้าที่ธนาคารถือเป็นบุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสีย มีอำนาจและอิทธิพลต่อการทำธุรกรรมของลูกค้ากับธนาคาร หากกำหนดให้เจ้าหน้าที่ธนาคารสามารถจู่โจมถึงที่ทำงานหรือบ้านของลูกค้าได้ ลูกค้าย่อมไม่สามารถหลบหลีกหรือบ่ายเบี่ยงได้ ทุกวันนี้ เราก็ได้ข่าวอยู่แล้วว่า เจ้าของธุรกิจหลายคนพยายามหลีกเลี่ยงที่จะไปทำธุรกรรมที่ธนาคารหากไม่จำเป็น แต่จะมอบหมายให้คนรับใช้ หรือคนขับรถไปทำเรื่องแทน เพราะเกรงว่าจะถูกขอร้อง แกมบังคับให้ทำประกันชีวิต ดังนั้น เราควรใจกว้างให้ลูกค้ามีอิสระในการเลือกซื้อประกันชีวิต แทนที่จะถูกล้อมกรอบอย่างทุกวันนี้
4. เข้มงวดให้เฉพาะเจ้าหน้าที่ธนาคารที่มีใบอนุญาตนายหน้าเท่านั้นจึงจะเสนอขายประกันชีวิตได้
เป็นที่ทราบกันดีว่า ทุกวันที้ ธนาคารต่างๆได้มีการมอบหมายให้พนักงานทุกคนเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยผลงานที่ได้จะใช้เป็นเกณฑ์ชี้วัดในจ่ายโบนัสและเลื่อนตำแหน่ง ทั้งที่ทราบดีว่าพนักงานกว่า80%ไม่มีใบอนุญาตนายหน้าประกันชีวิต แต่ธนาคารก็ใช้วิธีให้นำใบสมัครทำประกันชีวิตนั้นไปใส่ไว้ในรหัสของนายหน้าประกันชีวิตที่มีอยู่เพียงสาขาละ 3-4 ท่าน คปภ.ต้องร่วมกับธปท.บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังว่าหากพนักงานคนใดเสนอขายประกันชีวิตโดยไม่มีใบอนุญาตต้องมีความผิดตามพรบ.ประกันชีวิต พศ. 2535 คือ ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือ จำคุกไม่เกิน 2 ปี
ขณะที่ความผิดของธนาคารเอง หากมีการออกประกาศ หรือ ระเบียบให้พนักงานขายประกันชีวิตทั้งที่รู้ว่าพนักงานส่วนใหญ่ไม่มีใบอนุญาตนายหน้า สมควรได้รับโทษ เทียบปรับเป็นเงินสูงถึงครั้งละ10ล้านบาทพร้อมหนังสือตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรจากคปภ. หากพบว่าทำความผิดครั้งที่2 ภายใน 1 ปีให้พักการใช้ใบอนุญาต 1 เดือน หากพบว่าทำความผิดครั้งที่ 3 ภายใน 1 ปี ให้เพิกถอนใบอนุญาต เพราะระดับสำนักงานใหญ่จะอ้างว่าไม่รู้กฏหมายไม่ได้ ซ้ำยังบังคับทางอ้อมให้พนักงานธนาคารร่วมกันฝ่าฝืนพรบ.ประกันชีวิตอีกด้วย
หมายเหตุ ที่ประเทศสิงคโปร์จะใช้วิธีลงโทษธนาคารที่กระทำความผิดกฎหมาย คือปรับทันที 50,000เหรียญสิงคโปร์ จากนั้นจะปรับทุกวันๆละ 5,000 เหรียญ จนกว่าจะแก้ไขความผิดที่เกิดขึ้นได้ครบถ้วน
5. ให้เข้มงวดการส่งเสริมการขายโดยวิธีลดแลกแจกแถม
โดยหลักการ ผู้บริโภคต้องซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตด้วยความรู้ความเข้าใจ หากผู้บริโภคตัดสินใจซื้อด้วยการเห็นแก่ของแถมหรือส่วนลด ปีต่อไป เมื่อไม่มีของแถมแล้ว ลูกค้าเกิดยกเลิกกรมธรรม์ ผู้ที่ขาดทุนสูงสุดคือลูกค้า ขณะที่ผู้ขายรับค่านายหน้าไปแล้ว ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร การเสนอขายโดยไม่ใช้วิธีลดแลกแจกแถม จึงเป็นหนึ่งในจรรยาบรรณของตัวแทนนายหน้าประกันภัย ที่ถือปฏิบัติกันทั่วโลก ในขณะที่ทุกวันนี้ ธนาคารหลายแห่งกลับมีการโฆษณาลดแลกแจกแถมกันอย่างโจ่มครึ่ม ทั้งในสื่อหนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต ใบปลิว และตามเคาน์เตอร์ธนาคาร สมควรที่ทางคปภ.จะควบคุมให้เข้มงวดกว่านี้ หรือมีบทลงโทษที่หนักกว่านี้ (ที่สิงคโปร์จะเข้มงวดเรื่องนี้กับธนาคารเป็นพิเศษ)
6. ห้ามเสนอขายกรมธรรม์แบบสะสมทรัพย์แก่ลูกค้าที่มาขอสินเชื่อ
นับเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผลเลย ที่ผู้มาขอสินเชื่อด้วยดอกเบี้ยที่สูงกว่า แล้วจะนำเงินก้อนนั้น (แม้บางส่วน)มาเก็บออมในกรมธรรม์สะสมทรัพย์ที่ให้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า ในบางประเทศ เช่นญี่ปุ่น จึงมีกฎหมายห้ามมิให้ธนาคารเสนอขายประกันแบบสะสมทรัพย์ก่อนหรือหลังวันอนุมัติสินเชื่อ 6 เดือน ทั้งนี้ให้นับรวมถึงผู้บริหารและพนักงานของบริษัทเอกชนที่ธนาคาครอนุมัติสินเชื่อให้บริษัทต้นสังกัดของเขาเหล่านั้นด้วย
7. ความผิดของพนักงานที่ยินยอมให้พนักงานอื่นใช้ใบอนุญาตนายหน้าของตนส่งงานประกันชีวิต
กรณีที่พนักงานธนาคารที่มีใบอนุญาตนายหน้า ยินยอมให้พนักงานอื่นใช้ชื่อของตนส่งใบสมัครทำประกันชีวิต หากพบว่ามีการปกปิดข้อเท็จจริงในส่วนที่เป็นสาระสำคัญของผู้เอาประกันชีวิตอันเป็นเหตุให้บริษัทประกันชีวิตอาจปฏิเสธการจ่ายสินไหมได้ พนักงานที่มีใบอนุญาตนายหน้าประกันชีวิตย่อมไม่สามารถอ้างว่าตนไม่รู้ไม่เห็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ คปภ.ควรกำหนดโทษให้ชัดเจนว่า หากพบเห็นการกระทำความผิดครั้งที่ 1 ให้ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร หากพบครั้งที่ 2 ภายใน 2 ปี ให้พักการใช้ใบอนุญาต 1 เดือน และหากพบครั้งที่ 3 ภายใน 2 ปีเช่นกัน ให้เพิกถอนใบอนุญาต
8. ความผิดกรณีใช้สินเชื่อต่อรองให้ลูกค้าทำประกันชีวิต
กรณีที่มีการร้องเรียนและสามารถพิสูจน์ได้ว่า มีการใช้สินเชื่อหรือธุรกรรมอื่นใดต่อรองให้ลูกค้าสมัครทำประกันชีวิต ให้ลงโทษพนักงานธนาคารเจ้าของใบอนุญาตนายหน้าเช่นเดียวกับข้อ 7 คือ พบครั้งแรกให้ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร พบครั้งที่ 2 ภานใน 2 ปี ให้พักการใช้ใบอนุญาต 1 เดือน แต่หากพบครั้งที่ 3 ภายใน 2 ปี ให้เพิกถอนใบอนุญาต
สำหรับพนักงานอื่นที่ไม่มีใบอนุญาตแต่เป็นผู้เสนอขายโดยใช้สินเชื่อต่อรอง ให้ลงโทษตามข้อ 4 โทษฐานฝ่าฝืนพรบ.ประกันชีวิต พศ.2535 เสนอขายประกันชีวิตโดยไม่มีใบอนุญาต ให้ปรับไม่เกิน 200,000 บาท และ/หรือจำคุกไม่เกิน 2 ปี
9. ใบเสนอขายประกันชีวิตต้องพิมพ์ตัวอักษรชื่อบริษัทประกันชีวิตไม่เล็กกว่าชื่อธนาคาร
ธนาคารหลายแห่งตั้งใจพิมพ์ใบเสนอขายประกันชีวิต (โบชัวร์ )ให้เห็นชื่อของธนาคารชัดเจน แต่พิมพ์ชื่อของบริษัทประกันชีวิตด้วยตัวอัษรที่เล็ก และอาจลงไว้ในหมายเหตุด้านล่างหรือด้านหลัง เพื่อให้ลูกค้ายึดติดในตราสัญญลักษณ์(แบรนด์)ของตน จนประชาชนมักเข้าใจว่าธนาคารเป็นผู้รับประกัน ทั้งๆที่ธนาคารเป็นเพียงนายหน้าประกันภัย
ทุกวันนี้ ได้ปรากฏว่าธนาคารหลายแห่งมีการสับเปลี่ยนการเป็นนายหน้าให้กับบริษัทประกันชีวิตหลายบริษัท ขึ้นกับว่าบริษัทไหนเสนอผลประโยชน์ที่สูงกว่า โดยที่ลูกค้ายังเข้าใจว่าธนาคารยังเป็นคู่สัญญาของบริษัทประกันที่ตนเอาประกันอยู่
ดังนั้นเพื่อป้องกันความสับสนดังกล่าว คปภ.ควรกำหนดให้ธนาคารต้องพิมพ์ชื่อบริษัทผู้รับประกันด้วยอักษรที่ใหญ่ไม่น้อยกว่าชื่อธนาคารและต้องอยู่ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน
10. ธนาคารในฐานะนายหน้าต้องเสนอขายกรมธรรม์ให้บริษัทประกันชีวิตไม่ต่ำกว่า 3 บริษัท
โดยหลักการ นายหน้าประกันภัยคือผู้แทนของลูกค้าในการเลือกผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายทั้งในแง่บริษัทและรูปแบบกรมธรรม์ (อย่างน้อย 3 ทางเลือก) ดังนั้นคปภ.ควรกำหนดให้นายหน้าแต่ละราย รวมถึงธนาคารที่มีใบอนุญาตนายหน้า ต้องเสนอขายผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ 3 บริษัทประกันชีวิตขึ้นไป โดยกำหนดให้ต้องมีสัดส่วนยอดขายใน 3 บริษัทนี้ไม่ต่ำกว่าบริษัทละ 5% เพราะหากนายหน้าเสนอขายแต่กรมธรรม์จากบริษัทเดียว จะกลายเป็นว่านายหน้านั้นกำลังทำหน้าที่เป็นตัวแทนประกันชีวิตไม่ใช่นายหน้าประกันภัย
ข้อเสนอเหล่านี้ เชื่อว่าจะมีส่วนช่วยให้การขายผ่านช่องทางธนาคารมีมาตรฐานสูงขึ้น ได้รับการยอมรับมากขึ้น ขอให้ทางคปภ.ในฐานะผู้คุมกฎ อยาได้มองว่าเป็นการเสนอความเห็นจากช่องทางตัวแทนประกันชีวิตซึ่งเป็นคู่แข่ง แต่ขอให้ดูที่ความถูกต้องและยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง ทางสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน เชื่อว่าข้อเสนอดังกล่าวจะตรงใจประชาชนส่วนใหญ่ที่ใช้บริการของธนาคาร และมีส่วนช่วยนำพาให้อุตสาหกรรมประกันชีวิตสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว
สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน THAIFA