Folklore Theory
หลังจากที่ในช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสเขียนรีวิวอัลบั้มลำดับล่าสุดของ
Taylor Swift อย่าง
Folklore ซึ่งระหว่างการเขียนนั้น ก็ได้มีการค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งต่างๆเพื่อนำมาประกอบการตีความหมายเนื้อเพลง รวมถึงเพื่อสอดส่องมุมมองของผู้ฟังจากหลากหลายกลุ่มตั้งแต่แฟนคลับไปจนถึงนักวิจารณ์จากต่างประเทศที่มีต่องานเพลงของเธอชุดนี้ เราจึงได้อ่านพบกับทฤษฎีหนึ่งที่นับว่าน่าสนใจไม่น้อย คือทฤษฎีว่าด้วยเพลงทั้งหมดในอัลบั้ม
Folklore นั้น แท้จริงแล้วมีเรื่องราวที่ต่อเนื่องร้อยเรียงเป็นเรื่องเดียวกันทั้ง 16 เพลง จุดเริ่มต้นมาจากสัมภาษณ์ของตัวเทย์เลอร์เองที่เธอไ่ด้กล่าวถึงกลุ่มเพลงในอัลบั้มที่มีเนื้อหาเชื่อมต่อกันสามเพลงหรือที่เธอเรียกมันว่า
Teenage Love Triangle ได้แก่เพลง
Cardigan Betty และ
August ซึ่งหลังจากนั้นก็ได้มีแฟนคลับท่านหนึ่งทำการปะติดปะต่อเรื่องราวและโพสต์ทฤษฎีดังกล่าวลงในเว็บไซต์ Reddit ซึ่งทฤษฎีนี้ถูกแชร์ลง Twitter ในกาลถัดมา ซึ่งหลังจากที่เราได้เข้าไปอ่านแล้วก็พบว่าค่อนข้างมีความเป็นไปได้สูงที่ทฤษฎีนี้จะเป็นจริง เนื่องจากแต่ละชิ้นส่วนของจิ๊กซอว์เรื่องราวมีการรองรับกันอย่างเป็นเหตุผล สามารถเริ่มต้น ประสาน และจบเรื่องได้อย่างลงตัว
จุดเริ่มต้นของโศกนาฏกรรมรักสามเส้(ร)านี้เกิดในเมืองเซนต์หลุยส์ (อ้างอิงจาก
TLGAD; '
The Last Great American Dynasty') เริ่มต้นด้วยฉากการตกในห้วงภวังค์รักและเกี้ยวพาราสีกันบทฟลอร์เต้นรำใน '
Mirrorball' เกิดเป็นความรักที่เหมือนจะดูสวยงาม แต่ทว่าเหตุการณ์ไม่ได้ราบรื่นอย่างที่วาดฝัน เพราะตัวฝ่ายชายเองกลับมีคู่รักตัวจริงอยู่แล้ว ความรักที่อัดอั้นอยู่ในใจฝ่ายหญิงจึงเป็นได้เพียงแค่สถานะชู้ ส่งผลให้ความสัมพันธ์ในเพลง
'Illicit Affairs' นั้นออกมาในรูปแบบความรักที่ต้องหลบๆซ่อนๆ เล่ามุมมองของชู้หญิงที่เปรียบความรักของเธอกับฝ่ายชาย(เจมส์)ว่าผ่านมาพ้นไปชั่วคราวเสมือนเพลง '
August' ซึ่งเป็นเพลงที่ทำหน้าที่นำเราเข้าสู่
Teenage Love Triangle ที่กล่าวนำไว้ย่อหน้าต้น ไตรภาคของเรื่องสัมพันธ์รักวุ่นๆในไฮสคูล
ถัดจากนั้นเป็นฉากที่ความรักฉบับชู้สาวที่ต้องหลบๆซ่อนๆนั้นถูกเก็บเป็นความลับไม่อยู่อีกต่อไป เมื่อแฟนตัวจริงของเจมส์(เบตตี้)จับได้ว่าฝ่ายชายคบชู้ เธอซึ่งเป็นแฟนตัวจริงจึงออกมาตัดพ้อใน '
Cardigan' (ซึ่งเธอเปรียบเปรยตัวเองในเพลงว่าถูกมองว่าเป็นคนโง่มาตลอด ไม่รู้เรื่องการที่แฟนตัวเองมีชู้ แต่จริงๆแล้วนั้นเธอแอบรู้มาโดยตลอด เพียงแต่แสร้งปิดหูปิดตาเท่านั้นในท่อน when you are young, they assume you know nothing ที่โทนเสียงจะต่างออกไปทั้งในท่อน Verse1 Verse2 และ Bridge) หลังจากที่โดนเบตตี้ตัดพ้อก็จะเข้าสู่ฉากที่หนุ่มเจมส์พยายามจะตามมาง้อเบตตี้กลับในเพลง '
Betty' ซึ่งจะมีจุดสังเกตว่าทั้งสามเพลงในกลุ่ม
TLT นั้นในสไตล์การเล่าเรื่องรักสามเราผ่านมุมมองของสามตัวละคร โดย เพลง
Augustเปรียบเสมือนมุมมองของชู้หญิง เพลง
Cardiganสำหรับเบตตี้ และเพลง
Bettyสำหรับหนุ่มเจมส์ สำหรับเพลง
Bettyนั้น มีการอ้างอิงวัยของพวกเขาและเธอว่าอายุเพีงแค่ 17 ปี ซึ่งตรงกับช่วงวัยไฮสคูลพอดี แต่ในท้ายที่สุด การคืนดีครั้งนี้ดูเหมือนว่าจะผ่านไปได้อย่างไม่ราบรื่นนัก ความสัมพันธ์ของคู่รักดำเนินไปอย่างระหองระแหงจนถึงจุดแตกหักที่ไปต่อกันไม่ได้ เกิดเป็นเพลงอกหักของคู่รักที่ไม่ยอมปรับความเข้าใจให้ตรงกันอย่าง '
Exile ft.Bon Iver' ส่วนสาวเบตตี้เองนั้นก็ได้ออกมาเหม่อลอยผ่านเพลงที่ไม่สามารถมุฟออนจากคนรักเก่าได้อย่าง
'The 1'
จากนั้นก่อนที่ทั้งคู่จะจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยม เจมส์ได้ขออภัยเบตตี้อีกครั้ง นับเป็นความพยายามครั้งสุดท้ายในการคลายปมเรื่องสามเส้าเราสามคนในเพลง '
This is Me Trying' หลังจากนั้นหนุ่มเจมส์มีความคิดตกผลึกที่จะออกไปจากเมืองเดิม เพื่อมุ่งหมายที่จะลบเรื่องราวอันแสนเศร้าทั้งหมด และได้อาสาไปเป็นทหารเพื่ออุทิศตัวเพื่อชาติรวมถึงเพื่อปกป้องคนที่เขารักผ่านเพลง '
Peace' แต่สุดท้ายเจมส์กลับพลาดท่าถูกยิงเสียเลือดมากในสมรภูมิรบ ในลมหายใจเฮือกสุดท้ายแผ่วๆของเขาถูกสดุดีผ่านบทเพลงใน '
Epiphany' หลังจากเหตุการณ์ในสนามรบ เจมส์ได้เสียชีวิตลง พิธีศพของเจมส์ถูกบรรเลงเป็นเพลง
'My Tears Ricochet' ซึ่งเปรียบเสมือนMessageสุดท้ายของชีวิตเขา ในงานศพนี้เบตตี้ได้มาเข้าร่วมพิธีด้วย ความรู้สึกเศร้า สับสน หมดหนทาง ท่าทางที่ล้มทั้งยืนของเบตตี้ทำให้เกิดเพลงสิ้นหวังหม่นๆอย่าง
'Hoax' และเมื่อทุกอย่างสะสมมากขึ้น มันก็ได้ปะทุออกมาอย่างกราดเกรี้ยวในเพลง
'Mad Woman' ซึ่งแทบจะเปลี่ยนตัวตนของเธอไปเลย
หลังจากเรื่องราวทั้งหมดผ่านพ้น เบตตี้ตัดสินใจละทิ้งชีวิตเดิมของเธอและเดินทางด้วยรถไฟยามบ่ายออกจากเมืองเซนต์หลุยส์ จุดหมายของเธอมุ่งไปที่โร้ดไอส์แลนด์ เธอได้ใช้ชีวิตของเธออยู่ที่นั่นโดยไม่ได้หวนกลับไปเมืองเดิมที่เธอจากมาอีกเลย จนเมื่อเหตุการณ์ทั้งหมดนั้นได้ผ่านไปหลายสิบปี เข้าสู่ช่วงชีวิตของเทย์ เลอร์สวิฟท์ โดยเล่าข้ามมาถึงช่วงที่ตัวเทย์เลอร์เองได้เติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ และได้นึกย้อนกลับไปถึงวัยเด็กของเธอ สมัยที่ใช้ชีวิตอยู่ใน
Pensylvania และรำลึกความหลังที่เธอพอจะนึกได้ผ่านบทเพลง
'Seven' และเปลี่ยนมามองที่ปัจจุบัน เธอได้เล่ามุมมองความรักครั้งสุดท้ายและเรื่องราวพรหมลิขิตของเธอและแฟนหนุ่มคนปัจจุบัน
Joe Alwyn ผ่านเพลงสุดโรแมนติกอย่าง
'Invisible Strings'
ขมวดปมท้ายสุดใน '
TLGAD' ที่มาคาบเกี่ยวกับความจริงที่เทย์เลอร์ได้ตัดสินใจซื้อคฤหาสน์ริมหาดใน
Rhode Island ซึ่งเป็นบ้านเก่าที่มีประวัติศาสตร์ในช่วง 50 ปีก่อน โดยบ้านหลังนี้เคยมีเจ้าของชื่อ
Rebekha Harkness ซึ่งเธอผู้นี้ได้เดินทางมาจากต่างรัฐและมาแต่งงานกับเศรษฐีน้ำมัน
Bill Harkness เธอจึงได้กลายเป็นเศรษฐีรายใหม่ไปโดยปริยาย (เพลงได้อ้างว่าตัว
Rebekha เองนั้นเป็นหม้ายมาก่อนด้วยจากท่อนหนึ่งในเพลงที่ชาวเมืองซุบซิบกันว่า 'And the town said, "How did a middle-class divorcée do it?') จากนั้นสามีเศรษฐีของเธอได้เสียชีวิตลงและมรดกซึ่งได้แก่บ้านและทรัพย์สินจากสามีก็ได้ตกเป็นสมบัติของจนเธอ กลายเป็นเศรษฐีนีม่ายที่ร่ำรวยมาก ตลอดช่วงชีวิตการแต่งงานของเธอตกเป็นที่ซุบซิบของคนในแวดวงสังคมทั้งในเรื่องของชื่อเสียงและชื่อเสียจนแม้กระทั่งสามีเธอเสียชีวิตก็มีวายตกเป็นเป้าในชาวบ้านนินทาว่าเธอเป็นสาเหตุที่ทำให้สามีเธอเองตาย ซึ่งเทย์เลอร์ก็เปรียบตัวเธอกับรีเบคก้าว่ามีความคล้ายกันในจุดนี้ จุดที่ถูกสังคมยัดเยียดความผิดให้มากเกินไปในจุดที่อาจจะไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง และมุมมองของสตรีก็ตกเป็นที่ถูกเพ่งเล็งเหลื่อมล้ำจากบุรุษซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคม และเป็นเช่นนี้มาตลอดในช่วง 50 ปีที่แม้ว่าจะผ่านการเปลี่ยนผ่านยุคสู่ยุคของเธอ(เทย์)และเธอ(รีเบคก้า) เรื่องราวทั้งหมดนี้เป็นแรงบันดาลใจให้เธอแต่งเพลงนี้ขึ้นมาเพื่อปิดท้ายเรื่องราวอัลบั้ม
Folklore ให้จบอย่างสมบูรณ์ โดยที่ตัวรีเบคก้านั้น เป็นที่เรียกกันอีกนามหนึ่งว่า
BETTY )
เรื่องราว storyline นี้ จัดเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจที่ได้นำมาแบ่งปันกัน แล้วท่านมีความคิดเห็นอย่างไรสำหรับความเป็นไปได้จากการร้องเรียงเรื่องราวจากเพลงของเธอในอัลบั้มนี้เช่นนี้
TAYLOR SWIFT : FOLKLORE THEORY ' หรือว่าเพลงในอัลบั้มนี้จะเป็นเรื่องเดียวกันทั้งหมด? '
หลังจากที่ในช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสเขียนรีวิวอัลบั้มลำดับล่าสุดของ Taylor Swift อย่าง Folklore ซึ่งระหว่างการเขียนนั้น ก็ได้มีการค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งต่างๆเพื่อนำมาประกอบการตีความหมายเนื้อเพลง รวมถึงเพื่อสอดส่องมุมมองของผู้ฟังจากหลากหลายกลุ่มตั้งแต่แฟนคลับไปจนถึงนักวิจารณ์จากต่างประเทศที่มีต่องานเพลงของเธอชุดนี้ เราจึงได้อ่านพบกับทฤษฎีหนึ่งที่นับว่าน่าสนใจไม่น้อย คือทฤษฎีว่าด้วยเพลงทั้งหมดในอัลบั้ม Folklore นั้น แท้จริงแล้วมีเรื่องราวที่ต่อเนื่องร้อยเรียงเป็นเรื่องเดียวกันทั้ง 16 เพลง จุดเริ่มต้นมาจากสัมภาษณ์ของตัวเทย์เลอร์เองที่เธอไ่ด้กล่าวถึงกลุ่มเพลงในอัลบั้มที่มีเนื้อหาเชื่อมต่อกันสามเพลงหรือที่เธอเรียกมันว่า Teenage Love Triangle ได้แก่เพลง Cardigan Betty และ August ซึ่งหลังจากนั้นก็ได้มีแฟนคลับท่านหนึ่งทำการปะติดปะต่อเรื่องราวและโพสต์ทฤษฎีดังกล่าวลงในเว็บไซต์ Reddit ซึ่งทฤษฎีนี้ถูกแชร์ลง Twitter ในกาลถัดมา ซึ่งหลังจากที่เราได้เข้าไปอ่านแล้วก็พบว่าค่อนข้างมีความเป็นไปได้สูงที่ทฤษฎีนี้จะเป็นจริง เนื่องจากแต่ละชิ้นส่วนของจิ๊กซอว์เรื่องราวมีการรองรับกันอย่างเป็นเหตุผล สามารถเริ่มต้น ประสาน และจบเรื่องได้อย่างลงตัว
จุดเริ่มต้นของโศกนาฏกรรมรักสามเส้(ร)านี้เกิดในเมืองเซนต์หลุยส์ (อ้างอิงจาก TLGAD; 'The Last Great American Dynasty') เริ่มต้นด้วยฉากการตกในห้วงภวังค์รักและเกี้ยวพาราสีกันบทฟลอร์เต้นรำใน 'Mirrorball' เกิดเป็นความรักที่เหมือนจะดูสวยงาม แต่ทว่าเหตุการณ์ไม่ได้ราบรื่นอย่างที่วาดฝัน เพราะตัวฝ่ายชายเองกลับมีคู่รักตัวจริงอยู่แล้ว ความรักที่อัดอั้นอยู่ในใจฝ่ายหญิงจึงเป็นได้เพียงแค่สถานะชู้ ส่งผลให้ความสัมพันธ์ในเพลง 'Illicit Affairs' นั้นออกมาในรูปแบบความรักที่ต้องหลบๆซ่อนๆ เล่ามุมมองของชู้หญิงที่เปรียบความรักของเธอกับฝ่ายชาย(เจมส์)ว่าผ่านมาพ้นไปชั่วคราวเสมือนเพลง 'August' ซึ่งเป็นเพลงที่ทำหน้าที่นำเราเข้าสู่ Teenage Love Triangle ที่กล่าวนำไว้ย่อหน้าต้น ไตรภาคของเรื่องสัมพันธ์รักวุ่นๆในไฮสคูล
ถัดจากนั้นเป็นฉากที่ความรักฉบับชู้สาวที่ต้องหลบๆซ่อนๆนั้นถูกเก็บเป็นความลับไม่อยู่อีกต่อไป เมื่อแฟนตัวจริงของเจมส์(เบตตี้)จับได้ว่าฝ่ายชายคบชู้ เธอซึ่งเป็นแฟนตัวจริงจึงออกมาตัดพ้อใน 'Cardigan' (ซึ่งเธอเปรียบเปรยตัวเองในเพลงว่าถูกมองว่าเป็นคนโง่มาตลอด ไม่รู้เรื่องการที่แฟนตัวเองมีชู้ แต่จริงๆแล้วนั้นเธอแอบรู้มาโดยตลอด เพียงแต่แสร้งปิดหูปิดตาเท่านั้นในท่อน when you are young, they assume you know nothing ที่โทนเสียงจะต่างออกไปทั้งในท่อน Verse1 Verse2 และ Bridge) หลังจากที่โดนเบตตี้ตัดพ้อก็จะเข้าสู่ฉากที่หนุ่มเจมส์พยายามจะตามมาง้อเบตตี้กลับในเพลง 'Betty' ซึ่งจะมีจุดสังเกตว่าทั้งสามเพลงในกลุ่ม TLT นั้นในสไตล์การเล่าเรื่องรักสามเราผ่านมุมมองของสามตัวละคร โดย เพลงAugustเปรียบเสมือนมุมมองของชู้หญิง เพลงCardiganสำหรับเบตตี้ และเพลงBettyสำหรับหนุ่มเจมส์ สำหรับเพลงBettyนั้น มีการอ้างอิงวัยของพวกเขาและเธอว่าอายุเพีงแค่ 17 ปี ซึ่งตรงกับช่วงวัยไฮสคูลพอดี แต่ในท้ายที่สุด การคืนดีครั้งนี้ดูเหมือนว่าจะผ่านไปได้อย่างไม่ราบรื่นนัก ความสัมพันธ์ของคู่รักดำเนินไปอย่างระหองระแหงจนถึงจุดแตกหักที่ไปต่อกันไม่ได้ เกิดเป็นเพลงอกหักของคู่รักที่ไม่ยอมปรับความเข้าใจให้ตรงกันอย่าง 'Exile ft.Bon Iver' ส่วนสาวเบตตี้เองนั้นก็ได้ออกมาเหม่อลอยผ่านเพลงที่ไม่สามารถมุฟออนจากคนรักเก่าได้อย่าง 'The 1'
จากนั้นก่อนที่ทั้งคู่จะจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยม เจมส์ได้ขออภัยเบตตี้อีกครั้ง นับเป็นความพยายามครั้งสุดท้ายในการคลายปมเรื่องสามเส้าเราสามคนในเพลง 'This is Me Trying' หลังจากนั้นหนุ่มเจมส์มีความคิดตกผลึกที่จะออกไปจากเมืองเดิม เพื่อมุ่งหมายที่จะลบเรื่องราวอันแสนเศร้าทั้งหมด และได้อาสาไปเป็นทหารเพื่ออุทิศตัวเพื่อชาติรวมถึงเพื่อปกป้องคนที่เขารักผ่านเพลง 'Peace' แต่สุดท้ายเจมส์กลับพลาดท่าถูกยิงเสียเลือดมากในสมรภูมิรบ ในลมหายใจเฮือกสุดท้ายแผ่วๆของเขาถูกสดุดีผ่านบทเพลงใน 'Epiphany' หลังจากเหตุการณ์ในสนามรบ เจมส์ได้เสียชีวิตลง พิธีศพของเจมส์ถูกบรรเลงเป็นเพลง 'My Tears Ricochet' ซึ่งเปรียบเสมือนMessageสุดท้ายของชีวิตเขา ในงานศพนี้เบตตี้ได้มาเข้าร่วมพิธีด้วย ความรู้สึกเศร้า สับสน หมดหนทาง ท่าทางที่ล้มทั้งยืนของเบตตี้ทำให้เกิดเพลงสิ้นหวังหม่นๆอย่าง 'Hoax' และเมื่อทุกอย่างสะสมมากขึ้น มันก็ได้ปะทุออกมาอย่างกราดเกรี้ยวในเพลง 'Mad Woman' ซึ่งแทบจะเปลี่ยนตัวตนของเธอไปเลย
หลังจากเรื่องราวทั้งหมดผ่านพ้น เบตตี้ตัดสินใจละทิ้งชีวิตเดิมของเธอและเดินทางด้วยรถไฟยามบ่ายออกจากเมืองเซนต์หลุยส์ จุดหมายของเธอมุ่งไปที่โร้ดไอส์แลนด์ เธอได้ใช้ชีวิตของเธออยู่ที่นั่นโดยไม่ได้หวนกลับไปเมืองเดิมที่เธอจากมาอีกเลย จนเมื่อเหตุการณ์ทั้งหมดนั้นได้ผ่านไปหลายสิบปี เข้าสู่ช่วงชีวิตของเทย์ เลอร์สวิฟท์ โดยเล่าข้ามมาถึงช่วงที่ตัวเทย์เลอร์เองได้เติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ และได้นึกย้อนกลับไปถึงวัยเด็กของเธอ สมัยที่ใช้ชีวิตอยู่ใน Pensylvania และรำลึกความหลังที่เธอพอจะนึกได้ผ่านบทเพลง 'Seven' และเปลี่ยนมามองที่ปัจจุบัน เธอได้เล่ามุมมองความรักครั้งสุดท้ายและเรื่องราวพรหมลิขิตของเธอและแฟนหนุ่มคนปัจจุบัน Joe Alwyn ผ่านเพลงสุดโรแมนติกอย่าง 'Invisible Strings'
ขมวดปมท้ายสุดใน 'TLGAD' ที่มาคาบเกี่ยวกับความจริงที่เทย์เลอร์ได้ตัดสินใจซื้อคฤหาสน์ริมหาดใน Rhode Island ซึ่งเป็นบ้านเก่าที่มีประวัติศาสตร์ในช่วง 50 ปีก่อน โดยบ้านหลังนี้เคยมีเจ้าของชื่อ Rebekha Harkness ซึ่งเธอผู้นี้ได้เดินทางมาจากต่างรัฐและมาแต่งงานกับเศรษฐีน้ำมัน Bill Harkness เธอจึงได้กลายเป็นเศรษฐีรายใหม่ไปโดยปริยาย (เพลงได้อ้างว่าตัว Rebekha เองนั้นเป็นหม้ายมาก่อนด้วยจากท่อนหนึ่งในเพลงที่ชาวเมืองซุบซิบกันว่า 'And the town said, "How did a middle-class divorcée do it?') จากนั้นสามีเศรษฐีของเธอได้เสียชีวิตลงและมรดกซึ่งได้แก่บ้านและทรัพย์สินจากสามีก็ได้ตกเป็นสมบัติของจนเธอ กลายเป็นเศรษฐีนีม่ายที่ร่ำรวยมาก ตลอดช่วงชีวิตการแต่งงานของเธอตกเป็นที่ซุบซิบของคนในแวดวงสังคมทั้งในเรื่องของชื่อเสียงและชื่อเสียจนแม้กระทั่งสามีเธอเสียชีวิตก็มีวายตกเป็นเป้าในชาวบ้านนินทาว่าเธอเป็นสาเหตุที่ทำให้สามีเธอเองตาย ซึ่งเทย์เลอร์ก็เปรียบตัวเธอกับรีเบคก้าว่ามีความคล้ายกันในจุดนี้ จุดที่ถูกสังคมยัดเยียดความผิดให้มากเกินไปในจุดที่อาจจะไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง และมุมมองของสตรีก็ตกเป็นที่ถูกเพ่งเล็งเหลื่อมล้ำจากบุรุษซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคม และเป็นเช่นนี้มาตลอดในช่วง 50 ปีที่แม้ว่าจะผ่านการเปลี่ยนผ่านยุคสู่ยุคของเธอ(เทย์)และเธอ(รีเบคก้า) เรื่องราวทั้งหมดนี้เป็นแรงบันดาลใจให้เธอแต่งเพลงนี้ขึ้นมาเพื่อปิดท้ายเรื่องราวอัลบั้ม Folklore ให้จบอย่างสมบูรณ์ โดยที่ตัวรีเบคก้านั้น เป็นที่เรียกกันอีกนามหนึ่งว่า BETTY )