🔴มาลาริน/1พ.ย.ไทยพบโควิด4ราย จากตปท./ชุดจับกุมต่างด้าวก่อนมากทม.ผลเป็นลบ/เข้มชายแดน"พม่า-มาเลเซีย"/โควิดยิ่งหนาวยิ่งแรง


อาทิตย์ 1 พฤศจิกายน 2563

🔴ไทยพบผู้ติดเชื้อ 'โควิด-19' เพิ่ม 4 ราย ยอดผู้ป่วยสะสม 3,784 ราย
 
เมื่อวันที่ 1 พ.ยง 63 เพจเฟซบุ๊ก ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน ว่า ประเทศไทยพบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 4 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมอยู่ที่ 3,784 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมยอดผู้เสียชีวิตคงเดิมที่ 59 ราย รักษาหายเพิ่ม 2 ราย รวมผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว 3,592 ราย
 
ทั้งนี้เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ และมีการเข้า State Quarantine โดย 3 รายได้เดินทางมาจากสหราชอาณาจักร 2 ราย อัฟกานิสถาน 1 รายและรัสเซีย 1 ราย
 
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/905519

🔴กักตัวทั้งกองร้อย!'คฝ.พัทลุง' ชุดจับกุมต่างด้าว-ติดโควิด

🔴โฆษกตร. เผยกักทั้งกองร้อยตำรวจ คฝ.พัทลุง จับต่างด้าวติดโควิด ก่อนมา กทม.ผลเป็นลบ

อาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน 2563 เวลา 06.40 น.



เมื่อวันที่ 1 พ.ย. ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.ต.ยิ่งยศ เทพจำนงค์ โฆษกตร. กล่าวถึงกรณีที่ปรากฎข่าวตำรวจ คฝ.ได้สัมผัสใกล้ชิดกับแรงงานต่างด้าวและพบว่าแรงงานต่างด้าวดังกล่าวเป็นโควิด 19 ว่า พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ได้กำชับ พล.ต.ท.โสภณรัชต์ สิงหจารุ นายแพทย์ใหญ่ (พตร.) ให้ดำเนินการตามมาตรการเกี่ยวกับโควิดโดยเคร่งครัด และให้ตรวจเยี่ยมกำลังพลที่มีโอกาสสัมผัสกับตำรวจ คฝ.(ชุดควบคุมฝูงชน) ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ทั้งเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาด และเป็นสวัสดิการตลอดจนขวัญกำลังใจแก่ข้าราชการตำรวจด้วย

ด้าน พล.ต.ท.โสภณรัชต์ กล่าวว่า ในส่วนของกำลังพล คฝ.ที่เป็นชุดจับกุมแรงงานต่างด้าว ปัจจุบันได้มีการกักตัวในสถานพยาบาลเรียบร้อยแล้ว เบื้องต้นได้ดำเนินการตรวจสอบโควิดแล้ว ปรากฎผลเป็นลบ แต่ในชั้นนี้ยังคงแยกตัวไว้ตามมาตรการและจะได้ทำการทดสอบผลโควิดซ้ำเป็นระยะ ในส่วนของกำลังพล คฝ.ที่เป็นผู้ใกล้ชิดของตำรวจกลุ่มดังกล่าวก็ได้แยกกักตัวและได้ดำเนินการตรวจสอบโควิดแล้วเช่นกัน เบื้องต้นยังไม่ปรากฎผลว่ามีใครมีอาการติดเชื้อแต่อย่างใด

นอกจากนี้ยังได้ไปตรวจเยี่ยมกำลังพล คฝ.พัทลุง ซึ่งพักรักษาตัวอยู่ที่พุทธมณฑล เพื่อตรวจเยี่ยมด้านสุขภาพและสวัสดิการ โดยได้มอบเวชภัณฑ์จำเป็นบางส่วนและแนะนำให้รู้จักการป้องกันตนเองด้วยการใส่หน้ากากอนามัย รวมถึงการล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์อีกด้วย

อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/crime/804318

🔴เข้มชายแดน 2 ประเทศ "พม่า-มาเลเซีย" โควิดพุ่ง!


  
นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุน บริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า สถานการณ์ชายแดนไทยกับเมียนมาและมาเลเซียยังพบการระบาดของโรคโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันป้องกัน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างพฤติกรรมการป้องกัน รวมทั้งช่วยกันสอดส่องเป็นหูเป็นตา เฝ้าระวังบุคคลข้ามแดนทั้งถูกกฎหมายหรือลักลอบข้ามแดน ซึ่งภาครัฐมีฝ่ายปกครอง ตำรวจ ทหาร เฝ้าระวังคุมเข้ม
 
นพ.ธเรศกล่าวอีกว่า ในส่วนของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ได้ขอความร่วมมือไปยังสำนัก-งานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ พร้อมประสานขอความร่วมมือให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครสาธารณสุขประชากรต่างด้าว (อสต.) ทุกพื้นที่ ทุกชุมชนเฝ้าระวัง ป้องกันตามแนวทาง 5 ข้อ ดังนี้ ....✔

✔1.ให้ อสม.และ อสต.เฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องเป็นตาสับปะรด สอดส่อง ดูแล อย่างเข้มข้นร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะพื้นที่ชายแดน ด้วยการค้นหา คัดกรองกลุ่มเสี่ยงแรงงานต่างด้าว เฝ้าระวังผู้ป่วยที่มีอาการหวัด ไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ รับกลิ่น/รสลดลง ร่วมกับร้านขายยาในชุมชน
✔2.ให้ อสม.และ อสต.ปฏิบัติตนเป็นต้นแบบในการป้องกันโรคโควิด-19 โดยสวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่าง
✔3.ให้ อสม.และ อสต.สำรวจพฤติกรรมและให้คำแนะนำ กระตุ้นประชาชนให้มีพฤติกรรมในการป้องกันโรคโควิด-19 ที่เหมาะสม
✔4.ให้ อสม.และ อสต.สำรวจความเครียด ซึมเศร้า เสี่ยงฆ่าตัวตาย และร่วมดูแลสุขภาพจิต คุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจชุมชน ตลอดจนร่วมพัฒนาศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.) และร่วมสร้างตำบลวิถีชีวิตใหม่ปลอดภัยจากโรคโควิด-19 และ
✔5.ให้รายงานผลการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19 ในชุมชน เป็นประจำทุกเดือน

ขณะที่ นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไปกล่าวว่า สถานการณ์โควิด-19 ของไทยขณะนี้ผู้ติดเชื้อรายใหม่ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ และพบผู้ติดเชื้อในประเทศบ้างเล็กน้อย ซึ่งหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่จะเข้าสอบสวนและควบคุมโรคทันทีที่ได้รับแจ้งเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อในชุมชน รวมทั้งกระทรวงสาธารณสุขได้เข้มมาตรการคัดกรอง ตรวจหาเชื้อในผู้เดินทางจากต่างประเทศและนำเข้าสู่ระบบกักตัวจนครบ 14 วัน และแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองผิดกฎหมายก็จะต้องส่งตรวจเชื้อไวรัสโควิด-19 ทุกรายเช่นกัน เพื่อให้สามารถควบคุมจำกัดวงได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ขณะที่ยังไม่มีวัคซีนประชาชนสามารถสร้างวัคซีนป้องกันตัวเองได้ด้วยการสวมหน้ากากผ้า หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่าง และลงทะเบียนเข้า-ออกเมื่อใช้บริการในสถานที่ต่างๆผ่านแอปฯไทยชนะ รวมทั้งช่วงนี้อากาศเปลี่ยน เริ่มหนาวเย็น หลายสถานที่จัดเทศกาลดึงดูดนักท่องเที่ยว มีคนไปเที่ยวจำนวนมาก หากไม่สามารถเลี่ยงได้ ขอให้เข้มมาตรการ การ์ดอย่าตก ความร่วมมือของทุกคนเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะช่วยป้องกันโรคโควิด-19 กลับมาระบาดซ้ำ
   
ต่อมา นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รักษาราชการ แทนอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีตรวจพบแรงงานชายชาวเมียนมา วัย 26 ปี ในพื้นที่ จ.พัทลุง 1 ราย ติดเชื้อโควิด-19 หลังลอบเดินทางมาจากมาเลเซียว่า ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ตรวจเลือดหาภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยรายนี้ ได้แจ้งว่าพบภูมิคุ้มกันในร่างกาย แสดงว่าเป็นการติดเชื้อรายเก่าที่เกิดขึ้นมานานแล้ว และความสามารถในการแพร่เชื้อมีโอกาสน้อยมาก ซึ่งผลการสอบสวนครั้งนี้ คาดว่าผู้ป่วยอาจรับเชื้อมาจากมาเลเซีย ถึงแม้ไม่สามารถระบุแหล่งที่รับเชื้อได้ชัดเจน ส่วนผู้สัมผัสกับผู้ป่วยผลตรวจก็ยังไม่พบเชื้อแต่อย่างใด

https://www.thairath.co.th/news/society/1966280?cx_testId=0&cx_testVariant=cx_0&cx_artPos=1&cx_rec_section=news&cx_rec_topic=foreign#cxrecs_s

🔴ไขรหัสทำไมยิ่งหนาว “โควิด-19” ยิ่งแผลงฤทธิ์


✔ช่วงฤดูหนาว โรคระบาดจากไวรัส โดยเฉพาะโควิด-19 ติดต่อกันได้ง่าย และหลายประเทศมีโอกาสเสี่ยงสูง

✔สหรัฐอเมริกาโควิด-19 ช่วงฤดูหนาวระบาดหนัก ทำสถิติ 30 ต.ค. 2563 วันเดียว มีผู้ติดเชื้อ 101,461 ราย
✔ยุโรปเร่งล็อกดาวน์ เคอร์ฟิวหลายประเทศ คุมเข้มขอให้ผ่านพ้นเวลาเสี่ยงโควิด-19 ช่วงฤดูหนาว
✔กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ของไทยย้ำอย่ากังวล แต่เตือนการ์ดอย่าตก ต้องป้องกันเต็มที่ 100%

🔴ความรู้สึกกับฤดูหนาวที่กำลังมาถึงในปีนี้ ช่างแตกต่างจากทุกปีที่ผ่านมา เพราะปีนี้เราเผชิญกับโควิด-19 กันทั่วโลกมาเกือบตลอดปี และยิ่งหน้าหนาวแบบนี้หลายคนยิ่งกังวล เพราะโดยพื้นฐานของเชื้อไวรัสชอบความหนาว อยู่นาน อยู่ทน โดยมีงานวิจัยของต่างประเทศออกมาเป็นระยะที่ระบุว่า ในช่วงนี้โควิด-19 ช่วงฤดูหนาว จะยิ่งแผลงฤทธิ์ และมีโอกาสพบผู้ป่วยมากขึ้น สาเหตุที่ยิ่งหนาวยิ่งแพร่ระบาดกว่าเดิม เพราะโครงสร้างเจ้าไวรัสมีอายุอยู่ได้นานในสภาพอากาศหนาวเย็น และยังมีเรื่องพฤติกรรมของผู้คนที่มีความเสี่ยงมากขึ้นด้วย

✔ตัวอย่างพฤติกรรม เช่น บางพื้นที่ที่มีอากาศหนาวจัด ผู้คนมักจะหลบเข้าตัวอาคารต่างๆ ซึ่งหมายถึงต้องสัมผัสลูกบิดประตู ที่จับเปิดและปิดประตูของอาคารกันบ่อยขึ้น นี่คือโอกาสที่เชื้อโรคที่ติดอยู่บนพื้นผิวสัมผัส ที่มาจากคนใดคนหนึ่งที่อาจมีเชื้อโควิด-19 จะแพร่ไปสู่คนอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น

🍟สาเหตุเสี่ยงรับเชื้อไวรัส โควิด-19 ช่วงฤดูหนาว ได้ง่าย
 
นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยกับไทยรัฐออนไลน์ว่า ในฤดูหนาวมีโอกาสเสี่ยงในการระบาดของโรคได้ง่ายกว่าฤดูอื่น ทั้งโควิด-19 และโรคอื่นที่เกิดจากเชื้อไวรัสอย่างไข้หวัดใหญ่ เหตุผลหลักๆ คือ ธรรมชาติของโรคทางเดินหายใจส่วนใหญ่ในช่วงอากาศเย็น ถ้าไม่รักษาความอบอุ่นในร่างกายให้ดี จะมีโอกาสติดเชื้อได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นเพราะอายุของไวรัส ที่ยิ่งอากาศเย็น ยิ่งอยู่ได้นาน จะเห็นได้ว่าเมื่อนำเชื้อจากคนไข้ไปตรวจ ต้องใส่ในภาชนะที่เก็บความเย็น ประมาณ 4-8 องศาเซลเซียส เพื่อไม่ให้ไวรัสตายก่อนถึงเวลาตรวจสอบเชื้อ
  
“เป็นข้อเท็จจริงที่ว่าหน้าหนาวมีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น ถามว่ามีความเสี่ยงหรือไม่ ตอบได้ว่าใช่ มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น แต่ไม่ต้องกังวล ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว และอย่าตื่นตระหนก เพราะมีวิธีป้องกันตามมาตรการอย่างที่ปฏิบัติมาและขอให้ทำให้ได้อย่าง 100% ทั้งการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือเป็นประจำด้วยสบู่ และหากสัมผัสพื้นผิววัตถุต่างๆ ในที่สาธารณะ โต๊ะ เก้าอี้ ประตู ก็จำไว้เสมอว่าอย่าสัมผัส หน้า ตา จมูก ปาก โอกาสเสี่ยงก็จะลดลง”

ส่วนข้อสงสัยที่ว่า เชื้อไวรัส ที่อยู่ในฝอยละลองของเสมหะ น้ำลาย ที่ผู้ไอจามออกมา ในสภาวะอากาศเย็นจะลอยได้ไกลขึ้นหรือไม่นั้น นายแพทย์ศุภกิจ อธิบายว่าฝอยละอองน้ำลาย และเสมหะจะลอยไปได้ไกลแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับความแรงของการไอ หรือจามของแต่ละคนมากกว่าสภาพอากาศที่หนาวเย็น อย่างไรก็ตามการเว้นระยะห่างประมาณ 1-2 เมตร ก็ต้องปฏิบัติอยู่ เพื่อปลอดภัยจากฝอยละอองของผู้ที่อาจมีเชื้อโรค

นายแพทย์ศุภกิจย้ำว่า ประเทศไทยเองมีอากาศร้อน แม้จะเข้าสู่ฤดูหนาวก็ยังมีแสงแดด อุณหภูมิก็ไม่ได้ลดต่ำจนเกินไป ดังนั้นความเสี่ยงจากอากาศที่เปลี่ยนแปลงจึงไม่มาก แต่ความเสี่ยงจะเป็นเรื่องพฤติกรรมของแต่ละคนมากกว่า ดังนั้นการป้องกันอย่าง 100% จึงยังมีความสำคัญที่สุด
สำหรับสภาพอากาศแบบไหนที่โควิด-19 ไม่สามารถอยู่ได้ ประเด็นนี้มีผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยคอนเนคติกัตที่สำรวจในช่วง 4 เดือนแรกของการระบาด ก่อนที่หลายประเทศจะเริ่มมาตรการคุ้มเข้ม พบว่าโควิด-19 มีการะบาดสูงแพร่ะกระจายอย่างรวดเร็วในประเทศที่มีแสงแดดน้อย เมื่อเทียบกับประเทศที่ร้อน และแดดแรง
  
ที่ฝรั่งเศส โดยประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง ก็คุมเข้ม โดยอนุญาตให้ประชาชนออกจากบ้านได้ต่อเมื่อไปทำงานสำคัญ หรือไปหาหมอ ปิดร้านอาหาร และสถานบันเทิง ที่สเปนเองก็มีการประกาศเคอร์ฟิวเวลา 23.00 น. จนถึง 06.00 น. และห้ามรวมตัวกันเกิน 6 คน ที่อิตาลี ที่วิกฤติหนักมาตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา ขณะนี้เพิ่มมาตรการคุมเข้ม โดยสั่งให้ร้านอาหาร และสถานบันเทิง ปิดเวลา 6 โมงเย็น ปิดโรงหนัง สถานที่ออกกำลังกาย และประกาศเคอร์ฟิวหลายพื้นที่

ส่วนที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ยังคงวิกฤติหนัก  ท่ามกลางอุณหภูมิประมาณ 10 องศาเซลเซียส ความหนาวแผ่ไปทั่วประเทศ ผู้คนจำนวนมากออกมารวมตัวกันในบางจุดในช่วงใกล้เลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ จนล่าสุดกระทรวงสาธารณสุขของสหรัฐฯ ออกมารายงานเมื่อวันที่ 30 ต.ค. 2563 ว่ามีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ภายใน 24 ชั่วโมงสูงถึง 101,461 ราย ทำสถิติสูงสุดในการระบาดแต่ละวันนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ทำให้มีผู้ติดเชื้อสะสมทั่วประเทศอยู่ที่ 9.3 ล้านราย เสียชีวิต 235,159 ศพ โดยรัฐเทกซัส แคลิฟอร์เนีย และฟลอริดา เป็น 3 รัฐที่มีการระบาดสูงสุด
 
 
https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/1965710
 



ประเทศไทยยังปลอดภัยจากโควิดค่ะ.....นานาเยี่ยม
 
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่