🔶️คลังปรับจีดีพีปีนี้ติดลบ 7.7% น้อยลงจากเดิม ปีหน้าฟื้นตัว 4.5%/เฮ!!Fitch คงอันดับความน่าเชื่อถือไทยพื้นฐานศก.ยังแกร่ง

⊙_⊙เพี้ยนลอยคลังปรับจีดีพีปีนี้ติดลบ 7.7% มั่นใจปี 64 ฟื้นตัวโต 4.5% พร้อมออกมาตรการทุกรูปแบบปลุก ศก.สู้โควิด



สศค.ปรับคาดการณ์จีดีพีปี 63 หดตัว -7.7% หดตัวน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ครั้งก่อน -8.5% หลังรัฐผ่อนคลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ออกมาตรการกระตุ้นต่อเนื่อง ส่งออก -7.8% ปรับตัวดีขึ้นจากคาดการณ์ครั้งก่อนที่ –11% ระบุปี 64 เศรษฐกิจกลับมาขยายตัวได้อีกครั้งที่ 4.5% ย้ำฐานะคลังแข็งแกร่ง พร้อมออกมาตรการเสริมรับมือเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงพิษโควิด-19

นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยปี 2563 คาดว่าจะหดตัว 7.7% ต่อปี หดตัวน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้เดือนกรกฎาคม 2563 หดตัว 8.5% ต่อปี โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 และการเริ่มเปิดประเทศ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญฟื้นตัวชัดเจน นำโดยกลุ่มประเทศเอเชียเช่น จีน เวียดนาม ส่งผลให้ภาคการส่งออกสินค้าของไทยปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง การควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ของไทยอยู่ในเกณฑ์ดี สร้างความเชื่อมั่นภาคประชาชน ภาคเอกชนและต่างประเทศ โดยคาดว่าปี 2563 การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจะติดลบ 3.0% ต่อปี และลบ 9.8% ต่อปีตามลำดับ ขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้าจะหดตัว 7.8% ต่อปี ปรับตัวดีขึ้นจากการคาดการณ์ครั้งก่อนที่ลบ 11.0% ต่อปี

ขณะเดียวกันในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ภาครัฐยังได้ดำเนินมาตรการทางการคลังเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ประกอบด้วย โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการคนละครึ่ง และมาตรการช้อปดีมีคืน ซึ่งจะมีส่วนช่วยประคับประคองเศรษฐกิจไทย รักษาระดับการจ้างงาน และสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชนให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในเศรษฐกิจฐานราก โดยคาดว่าการบริโภคและการลงทุนภาครัฐจะขยายตัว 4.0% ต่อปี และ 10.5% ต่อปีตามลำดับ และคาดว่าเศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้วในช่วงไตรมาส 2 ปี 2563 และจะเห็นตัวเลขเศรษฐกิจติดลบน้อยลงในช่วงครึ่งหลังของปี 2563
ส่วนเสถียรภาพเศรษฐกิจไทยคาดว่าอยู่ในระดับที่มั่นคง โดยเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2563 จะติดลบ 0.9% ปรับตัวลดลงจากปีก่อนตามแนวโน้มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ลดลง จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขณะที่เสถียรภาพเศรษฐกิจภายนอกประเทศ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล 14.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 2.8% ของจีดีพี

สำหรับปี 2564 สศค.คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะสามารถกลับมาขยายตัวได้ 4.5% ต่อปี โดยได้รับแรงสนับสนุนจากมูลค่าการส่งออกสินค้าที่กลับมาขยายตัว 6.0% ต่อปี ตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญที่มีแนวโน้มขยายตัว การบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัว 2.6% ต่อปี และการใช้จ่ายภาครัฐทั้งจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 จำนวน 3.3 ล้านล้านบาท และการเบิกจ่ายจากพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563 โดยมีกรอบวงเงินกู้ไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท ที่คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายได้อย่างต่อเนื่อง ด้านเสถียรภาพภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2564 จะอยู่ที่ 1.0% ปรับตัวสูงขึ้น ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ

ทั้งนี้ในการประมาณการเศรษฐกิจไทยจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด อาทิ การระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในประเทศหลายประเทศ ปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์และการเลือกตั้งของสหรัฐฯที่อาจส่งผลต่อทิศทางการค้าและเศรษฐกิจโลก การถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร(Brexit) รวมถึงความเปราะบางของเสถียรภาพระบบการเงินโลกที่อาจสูงขึ้นจากการดำเนินมาตรการการเงินการคลังของแต่ละประเทศ อย่างไรก็ตามเสถียรภาพทางการคลังของไทยยังอยู่ในระดับเข้มแข็ง ทำให้กระทรวงการคลังมีความพร้อมในการออกมาตรการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคต

https://siamrath.co.th/n/193308

#_#เพี้ยนฮัลโหลเฮ!!Fitch คงอันดับความน่าเชื่อถือของไทยพื้นฐานเศรษฐกิจยังแกร่ง


29 ต.ค.2563 นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า....✔

บริษัท Fitch Ratings (Fitch) ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ ไทย (Sovereign Credit Rating)  ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) โดยการคงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Credit Rating) ที่ BBB+ และมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) เนื่องจากประเทศไทยมีความเข้มแข็ง ภาคการคลังและภาคการเงินต่างประเทศอยู่ในระดับสูง ซึ่งมีส่วนช่วยรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง (Shock) และความผันผวนของวิกฤตเศรษฐกิจ รวมทั้งสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี
 
สำหรับภาคการคลังสาธารณะ (Public Finance) มีความแข็งแกร่งเป็นผลจากการบริหารจัดการทางการคลังอย่างรอบคอบและเป็นไปตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เพื่อรักษาวินัยทางการคลัง ทั้งนี้ การขาดดุลงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่เพิ่มขึ้นจากการดำเนินนโยบายการคลังจะทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นในระยะสั้น 
“Fitch เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวและเติบโตในระยะปานกลางได้ โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2564 จะฟื้นตัวขึ้นที่ระดับ 3.8% เป็นผลจากการดำเนินมาตรการทางการคลังของรัฐบาลอย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ไขปัญหาและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 และงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2564 มีผลบังคับใช้แล้ว สร้างความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพการใช้จ่ายของภาครัฐในภาวะที่เศรษฐกิจของประเทศมีความเปราะบางได้”  Fitch ระบุ

ขณะที่ภาคการเงินต่างประเทศ (External Finance) ยังคงมีความเข้มแข็ง โดยมีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล และทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง 

อย่างไรก็ดี ประเด็นที่ Fitch ให้ความสนใจและจะติดตามอย่างใกล้ชิด คือ สัดส่วนหนี้ภาคครัวเรือนต่อจีดีพี และความไม่แน่นอนทางการเมือง ซึ่งอาจมีผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของภาครัฐและการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะปานกลาง

https://www.thaipost.net/main/detail/82212

&_&เพี้ยนปักหมุดFitch Ratings คงอันดับความน่าเชื่อถือไทยที่ BBB+
เผยแพร่: 29 ต.ค. 2563 17:29   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



Fitch Ratings ประกาศคงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยที่ BBB+ ความเข้มแข็งภาคการคลังและภาคการเงินต่างประเทศอยู่ในระดับสูง และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทยอยู่ในระดับมีเสถียรภาพ

https://mgronline.com/stockmarket/detail/9630000112350

ประเทศไทยยังมีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจในระดับ  BBB+ซึ่งเป็นระดับที่น่าเชื่อถือ

เป็นเรื่องดี้ดีอีกข่าวหนึ่งค่ะ.....
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่