พอดี หม่าม้าสนใจอยากจะบริจาคร่างกาย
แต่ดิฉันเองเข้าใจว่า
หม่าม้าอายุ 89 แล้วในปีนี้ แม้จะไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ประเภท เบาหวาน ความดันสูง หัวใจ ตับ ไต ปกติ
เดิน กิน ได้เป็นปกติ อาจจะเดินไกล ๆ ไม่ได้แล้ว
อายุขนาด 89 ผ่าตัดต้อกระจกมาแล้ว คงไม่เข้าเกณฑ์ที่จะบริจาคอวัยวะแล้ว
ทีนี้ ก็มาถึงบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่ ?
หม่าม้ายังลังเลนิดนึงเรื่องกระบวนการ
ดิฉันอธิบายตามที่เข้าใจไปว่า มันคือการเรียนรู้ โดยท้ายที่สุดแล้ว ร่างกายจะถูกชำแหละเป็นชิ้น ๆ เพื่อเรียนรู้ และเมื่อเสร็จการเรียนแล้ว
แต่ละร่างของอาจารย์ใหญ่จะถูกรวบรวมในห่อผ้าเฉพาะส่วนกระดูก จากนั้นจึงทำการฌาปนกิจรวมแล้วอัฐิอังคาร คงจะนำไปลอยทั้งหมดไม่ได้บรรจุที่ไหน หรือ หากญาติประสงค์จะรับไปฌาปนกิจเองก็สามารถทำได้
ขอเรียนถามแพทย์ที่ทำงานด้านนี้ ถึงกระบวนการใช้ร่างอาจารย์ใหญ่นิดนึงค่ะว่าที่ดิฉันเข้าใจแบบนี้ถูกต้องไหม
ขอบคุณค่ะ
สอบถามรายละเอียดเรื่องบริจาคร่างกายเพื่อเป็นอาจารย์ใหญ่ค่ะ
แต่ดิฉันเองเข้าใจว่า
หม่าม้าอายุ 89 แล้วในปีนี้ แม้จะไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ประเภท เบาหวาน ความดันสูง หัวใจ ตับ ไต ปกติ
เดิน กิน ได้เป็นปกติ อาจจะเดินไกล ๆ ไม่ได้แล้ว
อายุขนาด 89 ผ่าตัดต้อกระจกมาแล้ว คงไม่เข้าเกณฑ์ที่จะบริจาคอวัยวะแล้ว
ทีนี้ ก็มาถึงบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่ ?
หม่าม้ายังลังเลนิดนึงเรื่องกระบวนการ
ดิฉันอธิบายตามที่เข้าใจไปว่า มันคือการเรียนรู้ โดยท้ายที่สุดแล้ว ร่างกายจะถูกชำแหละเป็นชิ้น ๆ เพื่อเรียนรู้ และเมื่อเสร็จการเรียนแล้ว
แต่ละร่างของอาจารย์ใหญ่จะถูกรวบรวมในห่อผ้าเฉพาะส่วนกระดูก จากนั้นจึงทำการฌาปนกิจรวมแล้วอัฐิอังคาร คงจะนำไปลอยทั้งหมดไม่ได้บรรจุที่ไหน หรือ หากญาติประสงค์จะรับไปฌาปนกิจเองก็สามารถทำได้
ขอเรียนถามแพทย์ที่ทำงานด้านนี้ ถึงกระบวนการใช้ร่างอาจารย์ใหญ่นิดนึงค่ะว่าที่ดิฉันเข้าใจแบบนี้ถูกต้องไหม
ขอบคุณค่ะ