เครื่องสำอาง ใส่ หรือ ไม่ใส่สารกันเสีย Preservative free or not?

เครื่องสำอางต้องใส่สารกันเสียไหม? ถ้าใส่แล้วจะเกิดอะไรบ้าง? ถ้าไม่ใส่ได้ไหม?  วันนี้มาดูกัน!!!


แหล่งข้อมูล: ISO 29621:2017

ต้องบอกก่อนเลยว่าสารกันบูด หรือ สารกันเสีย หรือ Preservative เนี่ย
ไม่ได้เป็นที่นิยมชมชอบในทุกวงการเลยจริงๆ ทั้งอาหารและเครื่องสำอาง
แต่จริงๆแล้วต่อให้สินค้าเครื่องสำอางจะเคลมเกี่ยวกับปราศจากสารกันเสียแค่ไหน
ในความเป็นจริง เค้ามักจะเคลมแค่ว่าปราศจากสารกันเสียชนิดใดชนิดหนึ่งทั้งนั้นแหละ
เช่น Paraben free, MI free , Phenoxyethanol free เป็นต้น

เรามักไม่ค่อยเจอ Product ที่บอกว่าชั้นนี่แหละ Preservative free!!! เพราะว่า Preservative เนี่ยตัวสำคัญของสูตรเลย
ถ้าไม่มีนี่รับรองว่าเชื้อขึ้นฟูกระจาย เบ่งบานปุกปุย ฟูฟ่อง ให้ RD อย่างรักช้ำใจแน่ๆ
เพราะนั้น ต่อให้เคลมว่า Paraben free, MI free , Phenoxyethanol free
สุดท้ายคนคิดสูตรก็จะหาสารกันเสียตัวอื่นใส่อยู่ดีแหละ เพื่อที่จะได้เชื้อแบคทีเรียต่างๆไม่เจริญ ไม่โตในสินค้าค่ะ
แต่เรื่องนี้พูดเดี๋ยวยาวอีก ไว้ว่างๆจะมาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมนะคะ

วันนี้ตั้งใจจะมาพูดเรื่องความเผ็ชของบางสูตรที่เคลมว่า  " Preservative  Free "
ถึงมันจะทำยากแต่มันมีสูตรที่ทำได้แหละ ซึ่งต้องเป็นสูตรที่มีความเสี่ยงในการเกิดเชื้อต่ำมากกๆ นั่นเอง 
ถึงขนาดว่าไม่ใส่ Preservative ก็รอด มัลักษณะสูตร ดังนี้

1. pH น้อยกว่าหรือเท่ากับ 3 เช่น สินค้าพวกช่วยในการผลัดเซลล์ผิวต่างๆ
    ถ้าอธิบายง่ายๆ หน้ายังลอกเชื้อก็ไม่รอดแน่นอน ไม่ไหวหรอกจ้า

2. pH มากกว่าหรือเท่ากับ 10 เช่น พวกผลิตภัณฑ์ยืดผม
    อย่างที่ทุกก็รู้กันว่าน้ำยายืดผมนี่ คือ ที่สุดของความแรง ผมหยิกๆยังตรงแด่วได้ เชื้อก็คือลาโลกแน่นอน

3. สูตร Anhydrous เช่น สูตร Wax, oil ที่ไม่มีน้ำ
   คือ เชื้ออ่ะมันต้องอาศัยน้ำนการดำผุดดำว่ายแล้วก็โต ถ้าไม่มีน้ำน้องเชื้อก็โตไม่ได้ค่า

4. Alcohol มากกว่าหรือเท่ากับ 20%
    ก็อย่างที่เห็นว่าๆ สเปรย์แอลกอฮอล์ เจลแอลกอฮอล์ 70% ก็คือ self preservative ในตัวยังไม่พอ ยังฆ่าเชื้อต่างๆได้อีก โหดแท้

5. Filling Temperature (อุณหภูมิในการบรรจุ) มากกว่าหรือเท่ากับ 65 องศาเซลเซียส เช่นสินค้ Lip balm, Lipstick, Brush cream
   ก็คือใช้อุณหภูมิสูงในการกรอกผลิตภัณฑ์ที่ลงสู่ Packaging เหมือนฆ่าเชื้อกลายๆ ระหว่างบรรจุ ก็เลยมีความเสี่ยงต่ำในการเกิดเชื้อนั่นเอง

6. Water activity (ปริมาณน้ำที่เชื้อสามารถใช้ในการเจริญเติบโต) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.75
    ซึ่งอันนี้ต้องคำนวณ แต่ถ้าจะพูดง่ายๆ คือ สูตรที่มีน้ำน้อยมากกกกกกกก น้อยจริงๆ มีเหมือนไม่มี ก็จะความเสี่ยงในการเกิดเชื้อต่ำนั่นเอง
    เหมือนแบบมีน้อยขนาดนี้ เชื้อบอกว่าไม่มาอยู่ก็ได้ เราหิวน้ำ T^T

7. Organic solvent เช่น น้ำยาทาเล็บ คือบอกเลยว่าสารละลายพวกนี้เป็นอะไรที่โหดมาก ค่อนข้างแรง เราเองยังไม่ไหวเลย เชื้อหรอไม่ได้กินหรอกค่ะ

8. Alkaline compound บางชนิดและระบุเปอร์เซนต์ เช่น สีย้อมผม พวกนี้ความเป็นด่างสูงมาก เซลผนังของตัวเชื้อไปหมดเลยจ้าา

9. Aluminum chlorohydrate และเกลืออื่นๆ มากกว่าหรือเท่ากับ 25%ก็คือพวกนี้อยู่ในผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นกายนั่นเอง

10. Hydrogen peroxide มากกว่าหรือเท่ากับ 3% เช่นน้ำยากัดสีผม ก็นะหนังศีรษะยังถลอกเลยนะ
    แถมในต่างประเทศช่วงที่แอลกอฮอล์ขาดตลาดเค้าก็เอาอันนี้แหละฆ่าเชื้อวัสดุพื้นผิวต่างๆ เช่น ช่วง COVID-19 ระบาดเยอะๆ
   จะสังเกตว่าผลิตภัณฑ์ที่เคลม Preservative free ได้เนี่ย ตัวสินค้าก็คือมีความโหดพอตัว ไมว่าจะ pH สูงหรือต่ำ
    มากๆ เป็น Solvent เป็น alcohol สูงๆ เรียกได้ว่าสูตรที่ดูจะโหดน้อยสุดน่าจะเปนพวกการกรอกร้อนๆ สูตรไม่มีน้ำนั่นเอง

ที่เราๆยังใช้กันได้สบายๆ จริงๆอันนี้เป็นแค่ตัวอย่างที่ทาง ISO เค้ายกตัวอย่างให้ดูคร่าว ๆ
ในทางเครื่องสำอางยังมีสูตรอีกเยอะที่เข้าเงื่อนไข Preservative free ได้แหละ 
แต่ที่ตอนต้นรักบอกว่าน้อยมาก เพราะเราไม่ค่อยเจอใน Skincare เอง
พราะ Skincare ยังไง้ยังไงก็ต้องมัน้ำในสูตร เลยทำให้ไม่ค่อยเจอเคลมนี้แหละก๊าบบ
ส่วนสาเหตุที่สูตรพวกนี้ทำแบบนี้ได้เพราะสังเกตดูว่าสภาวะแวดล้อมและองค์ประกอบของสูตรไม่ได้เอื้อให้น้องโตเท่าไหร่
ความเสี่ยงการเกิดเชื้อค่อนข้างต่ำ เลยเป็นสาเหตุให้สูตรเหล่านี้เข้ารอบชนะเลิศและเคลม Preservative free ได้นั่นเองจ้า

ยังไงก็ตาม หากหลีกเลี่ยงการใส่สารกันเสียได้ เราก็จะเลี่ยงการแพ้สารเคมีบางตัวไปได้อีกหนึ่งอย่างนะคะ 
วันนี้ฝากไว้เท่านี้ค่า

#เภสัชกรรัก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่