JJNY : 4in1 แบงก์ชาติชี้คนระวังใช้จ่าย/นายกฯญี่ปุ่นเลือกเยือนเวียดนาม/ส่งออกข้าวยังอ่วม/ทวีซัดกมธ.เลิกประวิงเวลา

'แบงก์ชาติ'ชี้คนระวังใช้จ่าย ฉุดภาคธุรกิจยังซบ
https://www.dailynews.co.th/economic/798846
 
แบงก์ชาติ สำรวจภาคธุรกิจรับผลกระทบโควิด-19 ในเดือนก.ย. พบว่า หลายอุตสาหกรรมยังเจอผลกระทบจากกำลังซื้ออ่อนแอ เหตุคนระวังการใช้จ่าย 

 
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ผลสำรวจเรื่องผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ต่อภาคธุรกิจไทยในเดือน ก.ย.63 ภาพรวมของภาวะธุรกิจในหลายกลุ่มอุตสาหกรรมยังคงต่ำกว่าช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 ค่อนข้างมาก จากกำลังซื้อที่ยังคงอ่อนแอเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ผู้บริโภคในประเทศยังคงระมัดระวังการใช้จ่ายในสินค้าฟุ่มเฟือยและมาตรการปิดประเทศที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
 
ทำให้ธุรกิจโดยเฉพาะในภาคที่ไม่ใช่การผลิตยังฟื้นตัวได้ไม่ดีนัก โดยธุรกิจการค้าและอสังหาฯ ยังต้องพึ่งพาการทำโปรโมชั่นค่อนข้างมากเพื่อพยุงยอดขาย ส่วนธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวส่วนใหญ่ยอดขายยังฟื้นตัวได้ไม่ถึง 50% อย่างไรก็ตามธุรกิจการบริการทางการเงินและธุรกิจสาธารณูปโภคเป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่ทำให้ภาคบริการในภาพรวมฟื้นตัวได้ดี
 
ด้านธุรกิจในภาคการผลิตมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวได้เร็วกว่าภาคที่ไม่ใช่การผลิตอย่างชัดเจน โดย 15% ของผู้ผลิตรายงานว่า ระดับการผลิตฟื้นตัวกลับมาเท่ากับช่วงก่อนการแพร่ระบาดแล้ว อีกทั้งผู้ผลิตส่วนใหญ่ยังเชื่อมั่นว่าระดับการผลิตจะสามารถฟื้นตัวกลับไปสู่ระดับเดิมภายในครึ่งหลังของปี 64
 
ขณะที่ธุรกิจในภาคที่ไม่ใช่การผลิตส่วนใหญ่มองว่าธุรกิจจะมีแนวโน้มฟื้นตัวหลังปี 64 ไปแล้ว แต่อย่างไรก็ตามมีเพียง 2.4% ของธุรกิจโดยรวมที่เชื่อว่าระดับการผลิต ยอดขายจะไม่สามารถฟื้นตัวกลับไปสู่ระดับเดิมได้อีก
 
"การผลิตและยอดขายที่อยู่ในระดับต่ำกว่าเดิมและมีแนวโน้มที่จะลากยาวไปถึงครึ่งหลังของปี 64 เป็นอย่างน้อย ทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่สำรองสภาพคล่องเผื่อฉุกเฉินและวัตถุดิบคงคลังเพิ่มขึ้น"
  
รายงานข่าว ระบุอีกว่า การฟื้นตัวที่เปราะบางทำให้หลายธุรกิจยังคงจ้างงานต่ำกว่าในช่วงก่อนการแพร่ระบาด ทั้งในด้านจำนวนแรงงานและชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อคน สอดคล้องกับที่ธุรกิจจำนวนหนึ่งรายงานว่ายังคงมีการใช้นโยบายปรับเปลี่ยนการจ้างงานอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะธุรกิจในภาคที่ไม่ใช่การผลิตที่มีการปรับลดการจ้างงานเพิ่มขึ้นในเดือน ก.ย. โดยเฉพาะการให้สลับกันมาทำงานและการลดชั่วโมงการทำงาน 
  
ด้านธุรกิจในภาคการผลิตมีการปลดคนงานเพิ่มขึ้นบ้าง นำโดยกลุ่มผลิตเคมี ปิโตรเลียม ยางและพลาสติก และ กลุ่มผลิตสิ่งทอและเครื่องแต่งกาย
 
"ธุรกิจ 2 ใน 3 มีแผนการจ้างงานในระยะยาวที่เปลี่ยนแปลงไป โดยจะเน้นเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแรงงานต่อคนมากกว่าที่จะจ้างแรงงานเพิ่ม รวมทั้งมีแนวโน้มที่จะนำระบบ ออโอเมชั่น และเอไอ มาใช้ในการผลิตและการให้บริการเพื่อลดการพึ่งพาแรงงานในระยะยาว ทำให้ระยะข้างหน้ามีความเสี่ยงว่าตลาดแรงงานจะฟื้นตัวได้ช้ากว่าเศรษฐกิจในภาพรวม".
 

 
ทำไมนายกฯ ญี่ปุ่น เลือกเยือนเวียดนามเป็นประเทศแรกหลังรับตำแหน่ง
https://voicetv.co.th/read/BkTUBFxl1
 
ซุกะ โยชิฮิเดะ เลือกเยือนเวียดนามและอินโดนีเซียเป็นประเทศแรก หลังจากรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของญี่ปุ่น ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ว่า เพราะเวียดนามกำลังเติบโตทั้งด้านเศรษฐกิจและอาจมีอิทธิต่ออาเซียนในอนาคต
 
สื่อญี่ปุ่นรายงานว่า 'โยชิฮิเดะ ซุกะ' นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นจะเดินทางเยือน 'เวียดนาม' และ 'อินโดนีเซีย' ในช่วงกลางเดือน ต.ค.ที่จะถึงนี้ ซึ่งเป็นการเดินทางเยือนต่างประเทศครั้งแรกของโยชิฮิเดะ หลังจากขึ้นมารับตำแหน่งนายกฯ ญี่ปุ่น และยังเป็นการเดินทางตามรอยชิโส อาเบะ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นที่เลือกเดินทางเยือนเวียดนามเป็นลำดับแรกเช่นกันเมื่อดำรงตำแหน่งนายกฯ รอบที่2 เมื่อปี 2555
 
นิคเคอิ สื่อญี่ปุ่นวิเคราะห์ว่า การเดินทางเยือนเวียดนามและอินโดฯ เป็นการสานต่อนโยบายต่างประเทศของชิโส อาเบะ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ตามนโยบายเสรีและเปิดประตูสู่อินโด-แปซิฟิก  ขณะที่เอเชียไทม์ชี้ว่า ในด้านความมั่นคงญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามวิสัยทัศน์ Vientiane Vision และด้วยภูมิศาสตร์ของเวียดนามเป็นเสมือนใจกลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงยังเป็นหน้าด่านของภูมิภาคอินโดแปซิฟิก ดังนั้นเวียดนามจึงเป็นประเทศที่ญี่ปุ่นให้ความสำคัญเป้นลำดับแรกในภูมิภาค 
 
นอกจากนี้ญี่ปุ่นยังมองว่า ในปี 2563 เวียดนามดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน และเวียดนามยังมีศักยภาพในการเป็นผู้นำอาเซียนในเชิงพฤตินัยอีกด้วย ซึ่งอนาคตญี่ปุ่นมองว่า เวียดนามจะมีอิทธิพลเป็นอย่างมากในด้านความมั่นคงของภูมิภาคนี้ จากภูมิศาสตร์ของประเทศและศักยภาพทางเศรษฐกิจ และญี่ปุ่นยังต้องการสร้างความสัมพันธ์กับเวียดนามในด้านความมั่นคงของภูมิภาค
 
ศาสตราจารย์ยูชิ โฮโซยะ จากมหาวิทยาลัยเคโอ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นพยายามสร้างสมดุลทางอำนาจในอาเซียน โดยการเลือกเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศที่มีความขัดแย้งกับจีน ขณะเดียวกันก็เลือกไปเยือนอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศให้ความสำคัญกับจีนเป็นอย่างมาก
 
ด้าน นิเคอิ เสริมว่า ญี่ปุ่นกำลังพยายามหาพันธมิตรในกลุ่มประเทศอาเซียนเพื่อรักษาเสถียรภาพในภูมิภาคนี้ เพื่อลดการเติบโตของจีนในภูมิภาคนี้
 
ญี่ปุ่นลงทุนเวียดนามเพิ่มขึ้นแข่งกับจีน
 
สื่อเวียดนามเปิดเผยว่า ในปี 2562 ญี่ปุ่นเป็นผู้ลงทุนใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากเกาหลีใต้ โดยมีการยื่นโครงการลงทุน 4,385 โครงการเป็นมูลค่าการลงทุนกว่า 59,330 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (ประมาณ1.8 ล้านล้านบาท) ทั้งนี้บริษัทที่ยื่นการลงทุนในเวียดนามนั้นมีทั้งโตโยต้า ฮอนด้า พานาโซนิค แคนอน ฟูจิซีร็อกซ์ และ ซูมิโตโม
 
นอกจากนี้หลายบริษัทจากญี่ปุ่นยังเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในเวียดนามเพิ่มเติม ทั้งอีออน ยูนิโคล รวมถึงมิซูโฮะที่เข้าร่วมทุนกับธนาคารเวียดคอม และซูมิโตโม มิตซุยที่ร่วมทุนกับ ธนาคารเอ็กซิมแบงค์ของเวียดนาม
 
ผลสำรวจบริษัท NNA ของญี่ปุ่นซึ่งเป็นหนึ่งใน บริษัทของสำนักข่าวเกียวโตเมื่อปี 2562 ระบุว่านักลงทุนของญี่ปุ่นจำนวน 820 ราย ยกให้ 'เวียดนาม' เป็นที่น่าลงทุนที่สุดในภูมิภาคเอเชีย โดยให้เหตุผลถึงศักยภาพทางศรษฐกิจของเวียดนามกำลังเติบโต และ ยังมีแรงงานที่มีทักษะจำนวนมาก รวมถึงค่าจ้างแรงงานยังไม่สูงมากนัก
 
ขณะที่อินเดียตามมาเป็นอันดับที่สอง ด้วยเหตุผลด้านศักยภาพทางเศรษฐกิจและอินเดียเป็นประเทศที่เป็นประตูสู่ภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกา
 
นอกจากนี้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นักลงทุนญี่ปุ่นยังโหวตให้เมียนมา และอินโดนีเซียเป็นประเทศที่น่าลงทุนเป็นลำดับที่ 3 และ 4 
 
ขณะที่การลงทุนในประเทศไทยของญี่ปุ่นในปี 2562 ตัวเลขจากธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศระบุว่าเมื่อสิ้นปี 2562 มูลค่าการลงทุนของญี่ปุ่นในไทยอยู่ที่ 2,386 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากปี 2561 ถึง 55% โดยปี 2561 มีมูลค่าการลงทุน 5,278 ล้านดอลลาร์หสรัฐฯ
 
เอเชียไทม์ วิเคราะห์ว่า การขยายการลงทุนในเวียดนามของญี่ปุ่นจะเป็นผลดีต่อญี่ปุ่นในระยะยาว ซึ่งปัจจุบันจีนมีอิทธิพลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพราะการลงทุนทางเศรษฐกิจ และการที่หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พยายามออกห่างจากการลงทุนจากจีน เป็นช่องทางให้ญี่ปุ่นขยายการลงทุน โดยเฉพาะการลงมทุนในโครงสร้างพื้นฐานได้ง่ายมากขึ้น
 
ปัจจุบันเวียดนามร่วมลงทุนกับญี่ปุ่นในโครงการคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานพลังงานในประเทศ รองลงมาจากสิงคโปร์และไทย และในอนาคตคาดว่าทั้งเวียดนามและญี่ปุ่นจะขยายการลงทุนที่มากขึ้นตามลำดับ
 
ที่มา Asiatimes / Nikkei  / VEN / VIR
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่