จาก #รู้เขารู้เรารบ100ครั้งชนะ100ครั้ง
ถ้าเราเอามาปรับใช้กับการดูแลผิว
ทั้งเรื่อง #ความชุ่มชื้น #ความกระจ่างใส #ริ้วรอย
ความสวยของผิวเป๊ะปังก็ไม่ได้ไกลเกินเอื้อม
คราวที่แล้วเรารู้เกี่ยวกับโครงสร้างผิว
รู้ว่าโครงสร้างหลักๆของผิวหนังมี 2 ชั้น คือชั้นหนังกำหร้ากับชั้นหนังแท้
วันนี้เรามาลงเจาะลึกกับผิวชั้นหนังกำพร้ากันต่อ
เพราะเป็นพื้นที่หลักที่ skin care จะลงผิวนั่นเอง ยิ่งเราเข้าใจเราก็จะบำรุงผิวได้ดียิ่งขึ้น
แอบเอาข้อสรุปง่ายเกี่ยวกับหนังกำพร้าาๆมาบอกก่อน
จะได้อ่านบทความของวันนี้เข้าใจขึ้น
-- หนังกำพร้า --
จะมีเซลล์เคอราติโนไซต์คอยผลิตและผลัดออกทุกๆ28 วัน
ซึ่งเคอราติโนไซต์ที่ถูกดันมาด้านบนเป็นชั้นขี้ไคล มีชื่อเล่นหรูๆว่าคอร์นีโอไซต์
หนังกำพร้าถือเป็นส่วนที่ skincare ฤทธิ์ต่างๆจะมาบำรุงให้ผิวสวยได้ค่า
ทีนี้มาเข้าสู่ของจริงกันเล้ยย
หนังกำพร้าเป็นชั้นที่ไม่มีหลอดเลือดน้า มีแต่เซลล์เคอราติโนไซต์รูปแบบต่างๆ
เพราะฉะนั้นถ้าผิวหนังชั้นนี้จะได้รับสารอาหารจะกินข้าว ต้องได้รับจากด้านล่างป้อนขึ้นมาให้
ซึ่งก็คือจากชั้นหนังแท้ แพร่อาหารมาให้
#การแบ่งประเภทตามความหนาบาง ทั่วไปแล้วร่างกายของเราจะมีผิวหนังกำพร้า 2 แบบ
- แบบบาง (thin skin) ก็คือผิวส่วนใหญ่ของร่างกาย
- แบบหนา (thick skin) จะเจอบางที่ เช่น ฝ่ามือ ฝ่าเท้า
#ประเภทตามโครงสร้าง
จากข้างนอกลึกลงไปข้างใน (เซลล์ตายไปหาเซลล์มีชีวิต)
จะมี 5 ชั้น ตรงนี้สำคัญมากกกกก โดยเฉพาะชั้น 1,3,5 โดยประกอบด้วย
1. ชั้น stratum corneum (สะ-แตร-ตั้ม-คอ-เนี่ยม)
ชื่อคอร์เนี่ยมก็คล้ายๆคอร์นีโอไซต์ แปลว่าชั้นนี้ คือ ชั้นคอร์นีโอไซต์หรือขี้ไคลนั่นเอง เป็นเซลล์ที่ไม่มีชีวิตเรียงตัวอัดแน่นบนผิวหนาราวๆ 30 ชั้น
หรือที่เราคุ้นเคยว่าเป็น Skin barrier นั่นเอง
2. ชั้น stratum lucidum (สะ-แตร-ตั้ม-ลู-ซิ-ดั้ม)
จะเจอในผิวหนังแบบหนา พวกฝ่ามือ ฝ่าเท้า ชั้นนี้จะบางๆหน่อย เซลล์เรียงตัวแน่นเห็นเป็นบริเวณใส
3. ชั้น stratum granulosum (สะ-แตร-ตั้ม-แกร-นู-โล-ซั่ม)
ชั้นนี้สำคัญเดี๋ยวเราจะไปคุยกันต่อ** ชั้นนี้มีเซลล์เคอราทิโนไซต์เรียงตัวหนา 3-5 ชั้น ชื่อของชั้นนี้มีคำว่า granulosum (แกร-นู-โล-ซั่ม) ก็แปลว่ามี granule (แกรนูล) ชั้นนี้จึงมี lamellar granule (ลา-เมล-ลา-แกร-นูล) เป็นถุงเล็กๆเอาไว้สร้าง Lipid (ไขมันน้ำมัน) แล้วปล่อยออกไปกลายเป็นสารระหว่างเซลล์ (intercellular matrix)
4. ชั้น stratum spinosum (สะ-แตร-ตั้ม-สะ-ไป-โน-ซั่ม)
มีเซลล์เคอราทิโนไซต์หลายชั้นเลยยยยยย เรียงตัวอยู่ด้านล่างสุด ยังคงแบ่งเซลล์ได้อยู่
5. ชั้น stratum basale (สะ-แตร-ตั้ม-เบ-ซอล)
ชั้นนี้มีคำว่า basale แปลว่าพื้นฐาน เรียกตามเซลล์ที่อยู่ในชั้นนี้ ก็คือ basal cell หรือเซลล์ต้นกำเนิด (stem cell) นั่นเอง เรียงตัวอยู่แค่ชั้นเดียว มีการแบ่งตัวแบบไมโทซิสและพัฒนากลายเป็นเซลล์เคอราทิโนไซต์ของชั้นเมื่อข้อ4ต่อไป และนอกจากนี้ยังเป็นที่อยู่ของ Melanocyte หรือเซลล์สร้างเม็ดสีด้วย
______________________________________________
เมื่อรู้ประเภท รู้โครงสร้าง เรามาดูต่อกับ #การทำงานของหนังกำพร้า
ซึ่งตรงนี้จะเกี่ยวข้องกับ Skin barrier และเป็น Key ที่ Makeup หรือ skincare จะเข้ามาอุดรอยรั่ว เสริมจุดแข็งให้ผิว กันตรงๆเน้นๆเลย
ชั้นคอร์นีโอไซต์หรือชั้นขี้ไคลที่อยู่ด้านนอกติดกับสิ่งแวดล้อม มันมีหนาแค่ 0.01-0.02 มิลลิเมตรเอง แต่มีความสำคัญใหญ่โตมาก
มี 2 อย่างเด่นๆคือ
1. เซลล์ผิวคอร์นีโอไซต์
โครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์เป็นสารประเภทโปรตีนและไขมัน
--ซึ่งจะทำตัวเหมือนอิฐ (Brick)-- ที่เรียงตัวกันแน่นแบบกำแพงอิฐ
2. ไขมันที่อยู่ระหว่างเซลล์ผิว หรือ Intercellular Lipid เป็นของเหลวที่อยู่ระหว่างเซลล์ผิวคอร์นีโอไซต์ สร้างมาจาก lamellar granule
--ซึ่งจะทำตัวเหมือนปูน (Mortar)— เชื่อมอิฐแต่ละก้อนให้ยึดติดกัน และช่วยเก็บกักโมเลกุลของน้ำไว้ในเซลล์ผิวไม่ให้ระเหยออกไป
เมื่อเอาสองส่วนนี้มารวมกัน ผิวหนังชั้นนี้จะมีโครงสร้างคล้ายผนังอิฐกับปูน (Brick and Mortar Structure)
ด้วยโครสร้างที่แข็งแรงนี้จึงทำให้ชั้นคอร์นีโอไซต์หรือชั้นขี้ไคล ถูกเรียกว่า #SkinBarrier
#หน้าที่ของSkinBarrier เช่น ป้องกันผิวไม่ให้สูญเสียน้ำและไขมัน ป้องกันการเข้ามารุกรานของปัจจัยภายนอก เช่น ฝุ่น เชื้อโรค สารก่อแพ้
นอกจากการป้องกันยังมีคุณประโยชน์ในชั้นนี้ด้วย
#สารให้ความชุ่มชื้นที่อยู่ในผิวหนัง
1. Natural Moisturizing Factors (NMFs)
เซลล์ผิวคอร์นีโอไซต์ แต่ละเซลล์จะถูกเชื่อมติดกันด้วย corneodesmosome (คอ-นี-โอ-เดส-โม-โซม)
ซึ่งเป็นถุงที่ข้างในมีสารให้ความชุ่มชื้น หรือ NMFs อยู่ ซึ่ง NMFs เป็นส่วนสำคัญที่ให้ความชุ่มชื้นและความยืดหยุ่นของผิว
เป็นโมเลกุลที่ทำหน้าที่อุ้มน้ำ (Humectant) ไว้ในเซลล์ ทำให้เซลล์ผิวอวบอิ่มเต่งน้ำ
ได้มาจากการสลายตัวของโปรตีนในชั้น stratum granulosum
ตัวอย่างของสารในกลุ่ม NMF เช่น PCA , Lactate, น้ำตาลต่างๆ, Urea, กรดกลูตามิก และกรดอะมิโนอื่นๆ
.
2. องค์ประกอบใน Intercellular Lipid หรือ #ส่วนปูน
Intercellular Lipid ป็นของเหลวที่อยู่ระหว่างเซลล์ผิวคอร์นีโอไซต์
สร้างมาจาก lamellar granule โครงสร้างก็เป็นแบบ Lamellar Structure ไปอีก
ซึ่งมีลักษณะเป็น ชั้นไขมันและน้ำเรียงสลับกันเป็นชั้นๆ
โดยในชั้นของไขมันจะมี
Ceramide เป็นองค์ประกอบหลัก
ซึ่งเจ้า Ceramide นี่แหละเป็นตัวหลักที่ช่วยกักเก็บน้ำ และ รักษาระดับการซึมผ่านของน้ำในผิวหนังด้วย
นอกจากนี้ยังมี Cholesterol, Fatty acid และ น้ำ รวมถึงโมเลกุลอุ้มน้ำอื่นๆอีกด้วย
นอกจากสารใน Intercellular Lipidจะให้ความชุ่มชื้น อีกเรื่องที่ไม่พูดถึงไม่ได้ก็คือโครงสร้างของ
Intercellular Lipid
เพราะเป็นชั้น Water Barrier กักไม่ให้น้ำใต้ผิวระเหยออกข้างนอก ดังนั้น
--ถ้าเรียงตัวกันแบบหลวมๆ-- น้ำก็จะออกนอกผิวได้ง่ายขึ้น เกิดผิวแห้ง
--ถ้าเรียงตัวกันแน่น-- เป็น Skin Barrier ที่ดีก็จริง (ช่วยกันน้ำออกจากผิว) แต่ถ้าเกิดมีปัญหาผิว จะกลายเป็นว่า
เอาสารบำรุงเข้าผิวไม่ได้
เพราะฉะนั้น
ต้องเรียงแน่น และ ต้องมีความยืดหยุ่นที่ดี เพราะจะทำให้รับสารบำรุงได้อย่างเต็มที่ ผิวก็จะแข็งแรงมากขึ้น
และทั้งหมดนี้ก็คือรายละเอียดทั้งหมดของผิวหนัง ที่จะไปเกี่ยวข้องกับการบำรุง #ความชุ่มชื้น #ความกระจ่างใส #ริ้วรอย
เป็นพื้นฐานความเข้าใจที่จะใช้อธิบาย กลไกบำรุงผิวต่อๆไป
_______________________________________________
เนื่องจากเนื้อหามีค่อนข้างมาก รักเลยแบ่งซอยย่อยไว้ ให้เราค่อยๆเข้าใจไปทีละส่วน
เพื่อป้องกันข้อมูล Overload แล้วจะงงไปหมด แต่ไม่ต้องห่วงรักจะทำสรุปทั้งซีรี่ย์ให้ทุกๆคนแน่นอนค่า
ซึ่งหัวข้อแรกที่รักจะยกขึ้นมาในครั้งถัดไป คือ
ความชุ่มชื้น
โดยจะอ้างอิงทั้ง #โครงสร้างผิว #SkinBarrier #กลไกความชุ่มชื้น
เพื่อให้ทุกคนเข้าใจและบำรุงผิวได้อย่างล้ำลึกขึ้นนะคะ
อย่าลืมติดตามตอนต่อไปกันนะคะ
#เภสัชกร รัก
โครงสร้างผิว #ยิ่งเข้าใจยิ่งบำรุงผิวดีขึ้น (ตอนที่ 2)
ถ้าเราเอามาปรับใช้กับการดูแลผิว
ทั้งเรื่อง #ความชุ่มชื้น #ความกระจ่างใส #ริ้วรอย
ความสวยของผิวเป๊ะปังก็ไม่ได้ไกลเกินเอื้อม
คราวที่แล้วเรารู้เกี่ยวกับโครงสร้างผิว
รู้ว่าโครงสร้างหลักๆของผิวหนังมี 2 ชั้น คือชั้นหนังกำหร้ากับชั้นหนังแท้
วันนี้เรามาลงเจาะลึกกับผิวชั้นหนังกำพร้ากันต่อ
เพราะเป็นพื้นที่หลักที่ skin care จะลงผิวนั่นเอง ยิ่งเราเข้าใจเราก็จะบำรุงผิวได้ดียิ่งขึ้น
แอบเอาข้อสรุปง่ายเกี่ยวกับหนังกำพร้าาๆมาบอกก่อน
จะได้อ่านบทความของวันนี้เข้าใจขึ้น
-- หนังกำพร้า --
จะมีเซลล์เคอราติโนไซต์คอยผลิตและผลัดออกทุกๆ28 วัน
ซึ่งเคอราติโนไซต์ที่ถูกดันมาด้านบนเป็นชั้นขี้ไคล มีชื่อเล่นหรูๆว่าคอร์นีโอไซต์
หนังกำพร้าถือเป็นส่วนที่ skincare ฤทธิ์ต่างๆจะมาบำรุงให้ผิวสวยได้ค่า
ทีนี้มาเข้าสู่ของจริงกันเล้ยย
หนังกำพร้าเป็นชั้นที่ไม่มีหลอดเลือดน้า มีแต่เซลล์เคอราติโนไซต์รูปแบบต่างๆ
เพราะฉะนั้นถ้าผิวหนังชั้นนี้จะได้รับสารอาหารจะกินข้าว ต้องได้รับจากด้านล่างป้อนขึ้นมาให้
ซึ่งก็คือจากชั้นหนังแท้ แพร่อาหารมาให้
#การแบ่งประเภทตามความหนาบาง ทั่วไปแล้วร่างกายของเราจะมีผิวหนังกำพร้า 2 แบบ
- แบบบาง (thin skin) ก็คือผิวส่วนใหญ่ของร่างกาย
- แบบหนา (thick skin) จะเจอบางที่ เช่น ฝ่ามือ ฝ่าเท้า
#ประเภทตามโครงสร้าง
จากข้างนอกลึกลงไปข้างใน (เซลล์ตายไปหาเซลล์มีชีวิต)
จะมี 5 ชั้น ตรงนี้สำคัญมากกกกก โดยเฉพาะชั้น 1,3,5 โดยประกอบด้วย
1. ชั้น stratum corneum (สะ-แตร-ตั้ม-คอ-เนี่ยม)
ชื่อคอร์เนี่ยมก็คล้ายๆคอร์นีโอไซต์ แปลว่าชั้นนี้ คือ ชั้นคอร์นีโอไซต์หรือขี้ไคลนั่นเอง เป็นเซลล์ที่ไม่มีชีวิตเรียงตัวอัดแน่นบนผิวหนาราวๆ 30 ชั้น
หรือที่เราคุ้นเคยว่าเป็น Skin barrier นั่นเอง
2. ชั้น stratum lucidum (สะ-แตร-ตั้ม-ลู-ซิ-ดั้ม)
จะเจอในผิวหนังแบบหนา พวกฝ่ามือ ฝ่าเท้า ชั้นนี้จะบางๆหน่อย เซลล์เรียงตัวแน่นเห็นเป็นบริเวณใส
3. ชั้น stratum granulosum (สะ-แตร-ตั้ม-แกร-นู-โล-ซั่ม)
ชั้นนี้สำคัญเดี๋ยวเราจะไปคุยกันต่อ** ชั้นนี้มีเซลล์เคอราทิโนไซต์เรียงตัวหนา 3-5 ชั้น ชื่อของชั้นนี้มีคำว่า granulosum (แกร-นู-โล-ซั่ม) ก็แปลว่ามี granule (แกรนูล) ชั้นนี้จึงมี lamellar granule (ลา-เมล-ลา-แกร-นูล) เป็นถุงเล็กๆเอาไว้สร้าง Lipid (ไขมันน้ำมัน) แล้วปล่อยออกไปกลายเป็นสารระหว่างเซลล์ (intercellular matrix)
4. ชั้น stratum spinosum (สะ-แตร-ตั้ม-สะ-ไป-โน-ซั่ม)
มีเซลล์เคอราทิโนไซต์หลายชั้นเลยยยยยย เรียงตัวอยู่ด้านล่างสุด ยังคงแบ่งเซลล์ได้อยู่
5. ชั้น stratum basale (สะ-แตร-ตั้ม-เบ-ซอล)
ชั้นนี้มีคำว่า basale แปลว่าพื้นฐาน เรียกตามเซลล์ที่อยู่ในชั้นนี้ ก็คือ basal cell หรือเซลล์ต้นกำเนิด (stem cell) นั่นเอง เรียงตัวอยู่แค่ชั้นเดียว มีการแบ่งตัวแบบไมโทซิสและพัฒนากลายเป็นเซลล์เคอราทิโนไซต์ของชั้นเมื่อข้อ4ต่อไป และนอกจากนี้ยังเป็นที่อยู่ของ Melanocyte หรือเซลล์สร้างเม็ดสีด้วย
______________________________________________
เมื่อรู้ประเภท รู้โครงสร้าง เรามาดูต่อกับ #การทำงานของหนังกำพร้า
ซึ่งตรงนี้จะเกี่ยวข้องกับ Skin barrier และเป็น Key ที่ Makeup หรือ skincare จะเข้ามาอุดรอยรั่ว เสริมจุดแข็งให้ผิว กันตรงๆเน้นๆเลย
ชั้นคอร์นีโอไซต์หรือชั้นขี้ไคลที่อยู่ด้านนอกติดกับสิ่งแวดล้อม มันมีหนาแค่ 0.01-0.02 มิลลิเมตรเอง แต่มีความสำคัญใหญ่โตมาก
มี 2 อย่างเด่นๆคือ
1. เซลล์ผิวคอร์นีโอไซต์
โครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์เป็นสารประเภทโปรตีนและไขมัน
--ซึ่งจะทำตัวเหมือนอิฐ (Brick)-- ที่เรียงตัวกันแน่นแบบกำแพงอิฐ
2. ไขมันที่อยู่ระหว่างเซลล์ผิว หรือ Intercellular Lipid เป็นของเหลวที่อยู่ระหว่างเซลล์ผิวคอร์นีโอไซต์ สร้างมาจาก lamellar granule
--ซึ่งจะทำตัวเหมือนปูน (Mortar)— เชื่อมอิฐแต่ละก้อนให้ยึดติดกัน และช่วยเก็บกักโมเลกุลของน้ำไว้ในเซลล์ผิวไม่ให้ระเหยออกไป
เมื่อเอาสองส่วนนี้มารวมกัน ผิวหนังชั้นนี้จะมีโครงสร้างคล้ายผนังอิฐกับปูน (Brick and Mortar Structure)
ด้วยโครสร้างที่แข็งแรงนี้จึงทำให้ชั้นคอร์นีโอไซต์หรือชั้นขี้ไคล ถูกเรียกว่า #SkinBarrier
#หน้าที่ของSkinBarrier เช่น ป้องกันผิวไม่ให้สูญเสียน้ำและไขมัน ป้องกันการเข้ามารุกรานของปัจจัยภายนอก เช่น ฝุ่น เชื้อโรค สารก่อแพ้
นอกจากการป้องกันยังมีคุณประโยชน์ในชั้นนี้ด้วย
#สารให้ความชุ่มชื้นที่อยู่ในผิวหนัง
1. Natural Moisturizing Factors (NMFs)
เซลล์ผิวคอร์นีโอไซต์ แต่ละเซลล์จะถูกเชื่อมติดกันด้วย corneodesmosome (คอ-นี-โอ-เดส-โม-โซม)
ซึ่งเป็นถุงที่ข้างในมีสารให้ความชุ่มชื้น หรือ NMFs อยู่ ซึ่ง NMFs เป็นส่วนสำคัญที่ให้ความชุ่มชื้นและความยืดหยุ่นของผิว
เป็นโมเลกุลที่ทำหน้าที่อุ้มน้ำ (Humectant) ไว้ในเซลล์ ทำให้เซลล์ผิวอวบอิ่มเต่งน้ำ
ได้มาจากการสลายตัวของโปรตีนในชั้น stratum granulosum
ตัวอย่างของสารในกลุ่ม NMF เช่น PCA , Lactate, น้ำตาลต่างๆ, Urea, กรดกลูตามิก และกรดอะมิโนอื่นๆ
.
2. องค์ประกอบใน Intercellular Lipid หรือ #ส่วนปูน
Intercellular Lipid ป็นของเหลวที่อยู่ระหว่างเซลล์ผิวคอร์นีโอไซต์
สร้างมาจาก lamellar granule โครงสร้างก็เป็นแบบ Lamellar Structure ไปอีก
ซึ่งมีลักษณะเป็น ชั้นไขมันและน้ำเรียงสลับกันเป็นชั้นๆ
โดยในชั้นของไขมันจะมี Ceramide เป็นองค์ประกอบหลัก
ซึ่งเจ้า Ceramide นี่แหละเป็นตัวหลักที่ช่วยกักเก็บน้ำ และ รักษาระดับการซึมผ่านของน้ำในผิวหนังด้วย
นอกจากนี้ยังมี Cholesterol, Fatty acid และ น้ำ รวมถึงโมเลกุลอุ้มน้ำอื่นๆอีกด้วย
นอกจากสารใน Intercellular Lipidจะให้ความชุ่มชื้น อีกเรื่องที่ไม่พูดถึงไม่ได้ก็คือโครงสร้างของ Intercellular Lipid
เพราะเป็นชั้น Water Barrier กักไม่ให้น้ำใต้ผิวระเหยออกข้างนอก ดังนั้น
--ถ้าเรียงตัวกันแบบหลวมๆ-- น้ำก็จะออกนอกผิวได้ง่ายขึ้น เกิดผิวแห้ง
--ถ้าเรียงตัวกันแน่น-- เป็น Skin Barrier ที่ดีก็จริง (ช่วยกันน้ำออกจากผิว) แต่ถ้าเกิดมีปัญหาผิว จะกลายเป็นว่าเอาสารบำรุงเข้าผิวไม่ได้
เพราะฉะนั้น ต้องเรียงแน่น และ ต้องมีความยืดหยุ่นที่ดี เพราะจะทำให้รับสารบำรุงได้อย่างเต็มที่ ผิวก็จะแข็งแรงมากขึ้น
และทั้งหมดนี้ก็คือรายละเอียดทั้งหมดของผิวหนัง ที่จะไปเกี่ยวข้องกับการบำรุง #ความชุ่มชื้น #ความกระจ่างใส #ริ้วรอย
เป็นพื้นฐานความเข้าใจที่จะใช้อธิบาย กลไกบำรุงผิวต่อๆไป
_______________________________________________
เนื่องจากเนื้อหามีค่อนข้างมาก รักเลยแบ่งซอยย่อยไว้ ให้เราค่อยๆเข้าใจไปทีละส่วน
เพื่อป้องกันข้อมูล Overload แล้วจะงงไปหมด แต่ไม่ต้องห่วงรักจะทำสรุปทั้งซีรี่ย์ให้ทุกๆคนแน่นอนค่า
ซึ่งหัวข้อแรกที่รักจะยกขึ้นมาในครั้งถัดไป คือ ความชุ่มชื้น
โดยจะอ้างอิงทั้ง #โครงสร้างผิว #SkinBarrier #กลไกความชุ่มชื้น
เพื่อให้ทุกคนเข้าใจและบำรุงผิวได้อย่างล้ำลึกขึ้นนะคะ
อย่าลืมติดตามตอนต่อไปกันนะคะ
#เภสัชกร รัก