กระทู้นี้ เป็นการศึกษาทางเดินแสง (Ray Diagram) ที่ส่องผ่านเลนส์นูน (Convex Lens) โดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ตามรูป
เริ่มจากการหาจุดโฟกัส (F) และจุดศูนย์กลาง (C) ของเลนส์นูน
จากเลนส์ที่ใช้ทดลอง ได้ระยะโฟกัสที่ 9 ซม.
จากนั้นศึกษาทางเดินของแสง (Ray Diagram) เมื่อวัตถุอยู่ในตำแหน่งต่าง ๆ
- เมื่อวัตถุอยู่ห่างจากเลนส์นูนไกลกว่าจุดศูนย์กลาง (C) ของเลนส์
- เมื่อวัตถุอยู่ที่ตำแหน่งเดียวกับจุดศูนย์กลาง (C) ของเลนส์นูน
- เมื่อวัตถุอยู่ระหว่างจุดศูนย์กลาง (C) กับจุดโฟกัส (F) ของเลนส์นูน
- เมื่อวัตถุอยู่ที่ตำแหน่งเดียวกับจุดโฟกัส (F) ของเลนส์นูน
- เมื่อวัตถุอยู่ใกล้เลนส์นูนมากกว่าจุดโฟกัส (F) ... ตามทฤษฎีจะเกิดภาพเสมือนหัวตั้งขนาดใหญ่กว่าวัตถุ ที่หน้าเลนส์
- เมื่อนำเลนส์นูนคุณสมบัติเดียวกัน มาซ้อนไว้ด้วยกัน .. ลองหาจุดโฟกัสของเลนส์นูนคู่
จบแล้ว ... จากการทดลอง ได้ผลค่อนข้างเป็นไปตามทฤษฏี แต่ยอมรับว่าการทดลองครั้งนี้เน้นเพื่อดูทิศทางเดินของแสงคร่าว ๆ เท่านั้น ความละเอียดจึงมีไม่มากนัก ผู้สนใจในรายละเอียดควรค้นคว้าหรือทำการทดลองเพิ่มเติมที่รัดกุมกว่านี้
ลองทำ ศึกษาทางเดินแสงของเลนส์นูน (Ray Diagram of Convex Lens)