'วิรไท'แนะรัฐลดมาตรการเหวี่ยงแห เกิดเบี้ยหัวแตกไม่คุ้มค่า
https://www.dailynews.co.th/economic/797952
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยในงานสัมมนาวิชาการประจำปีของธปท. หัวข้อ ปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ทำอย่างไรให้เกิดขึ้นได้จริง ว่า เศรษฐกิจไทยหลังจากโควิด-19 จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทำให้ต้องเร่งปฏิรูปปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยมองว่า บทบาทภาครัฐต้องเร่งสร้างกลไก ส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรม เปิดเสรีให้ผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาดแข่งขันกับผู้ประกอบการรายเดิม แก้กฎเกณฑ์ล้าสมัย และภาครัฐควรสนับสนุนให้แรงงาน ผู้ประกอบการ เกิดการปรับตัวรับการแข่งขันที่สูงขึ้น ยอมรับการปฎิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไม่ง่าย แต่เป็นเรื่องจำเป็นต้องทำทันที
นอกจากนี้ภาครัฐและเอกชนต้องช่วยกันให้เกิดความสมดุล ซึ่งการเยียวยาฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นต้องสอดคล้องกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อเกิดความยั่งยืนระยะยาว ขณะที่ภาครัฐควรลดมาตรการเหวี่ยงแห เน้นช่วยเหลือให้ตรงจุดกับคนที่ต้องการช่วยเหลือ รวมทั้งแรงงานและผู้ประกอบการมีความสามารถแตกต่างกัน ซึ่งการเหวี่ยงแหจะทำให้เกิดเบี้ยหัวแตก ขาดประสิทธิผลไม่คุ้มค่า เช่นเดียวกับกฎเกณฑ์ภาครัฐไม่สอดคล้องโลกใหม่ ยังมีหลายกระบวนงานที่ยังไม่ได้แก้ไข โดยกฎระเบียบซ้ำซ้อน ยุ่งยากให้เกิดความเหลื่อมล้ำได้
ขณะเดียวกันโครงสร้างเศรษฐกิจในท้องถิ่นหลังจากนี้เป็นส่วนสำคัญ เนื่องจากมีแรงงานย้ายกลับภูมิลำเนาไปต่างจังหวัด 1 ล้านคน จะให้จะเป็นโอกาสที่แต่ละท้องถิ่นจะพึ่งพาและส่งเสริมให้เกิดเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในต่างจังหวัดผ่านการใช้เทคโนโลยี จากที่ผ่านมาเศรษฐกิจสังคมชนบทเปราะบางจากแรงงานย้ายไปทำงานในเมืองใหญ่ ทำให้เกิดปัญหาแรงงานสูงอายุในภาคเกษตร ปัญหายาเสพติด ปัญหาการศึกษา เป็นต้น
นายวิรไท กล่าวว่า กฎเกณฑ์ต่างๆของไทยยังถูกจำกัด เช่น ความล้าสมัย และเอื้อต่อธุรกิจรายใหญ่ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีนวัตกรรมแต่ไม่สามารถเข้าถึงตลาดเพื่อแข่งขันกับรายใหญ่ได้ บางภาคเศรษฐกิจผู้ประกอบการเอกชนต้องแข่งขันกับรัฐวิสาหกิจที่มีข้อได้เปรียบหลายด้าน ทำให้ขาดประสิทธิภาพ และในมหภาค บทบาทผู้ผลิตไทยยังถูกจำกัดอยู่ เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข
และโลกต้องเจอกับความไม่แน่นอนสูงขึ้น ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ภาวะโลกร้อน อาการแปรปรวน และโลกอุบัติใหม่ รวมทั้งคนไทยมีความเปราะบางทางการเงิน มีข้อจำกัดในการเข้าถึงการออม ไม่สามารถกู้เงินในระบบได้ในยามจำเป็นและเร่งด่วน แรงงานนอกระบบยังมีอยู่มาก และกลไกภาครัฐยังดูแลไม่ทั่วถึง
โลกหลังโควิดจะเปลี่ยนไป เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างต้องเร่งปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ แม้ที่ผ่านมาได้พูดคุยกันต่อเนื่อง แต่ยังไม่เกิดผลจริง ซึ่งการให้เกิดขึ้นจริงจะสอดคล้อง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านแรกคนไทยต้องมีผลิตภาพสูงและแข่งขันกับต่างประเทศ ด้านสองคนไทยและธุรกิจไทยต้องมีภูมิคุ้มกันที่ดีและรับมือกับสถานการณ์โลกใหม่ที่ผันผวนได้ และด้านสามกระจายผลประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจจะต้องทั่วถึงและไม่เป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
โดยยังต้องเพิ่มความสำคัญทั้งมหภาคและจุลภาค เพิ่มผลิตภาพการแข่งขัน ทั้งในภาคเกษตรและนอกเกษตรให้เข้าถึงเทคโนโลยี เพิ่มทักษะแรงงาน ยอมรับโควิด-19 ทำให้มีกำลังการผลิตส่วนเกินต่อเนื่องไปอีกหลายปี หากไม่ถูกจัดการไปสู่ภาคการผลิตอื่น จะขาดภูมิคุ้มกัน ทำให้ไม่มีทางเลือกต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยให้เกิดขึ้นจริง
โควิดทุบ OTOP ยอดวูบ 2 หมื่นล้าน เร่งผนึกอีมาร์เก็ตเพลซกระตุ้นกำลังซื้อ
https://www.prachachat.net/local-economy/news-528160
ยอดตก - กรมพัฒนาชุมชนรับยอดขายสินค้า OTOP ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ขณะที่ผู้ประกอบการธุรกิจหลายรายสูญรายได้นับล้านเหตุออร์เดอร์ลดเพราะพิษโควิด คาดซบเซาถึงปีหน้า
โควิดทุบ OTOP ทั่วไทยยอดวูบ 2 หมื่นล้าน พัฒนาชุมชนเร่งผนึกอีมาร์เก็ตเพลซกระตุ้นกำลังซื้อ
กรมการพัฒนาชุมชนเผย OTOP ปี’63 พลาดเป้า 5% ผู้ประกอบการโอดออร์เดอร์หายกว่า 30-50% ของค้างสต๊อกเพียบ สร้างมูลค่าความเสียหายหลักล้านแม้สถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลาย คาดซบเซาต่อเนื่องไปถึงปีหน้า พร้อมระบุราคาสินค้าเกษตรตกต่ำทำกำลังซื้อภายในประเทศถดถอย ขณะที่ผู้ผลิตโคมไฟรังไหมปรับตัวพัฒนาสินค้าประคองธุรกิจให้รอด
กพช.รับยอด OTOP พลาดเป้า
นาย
สุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (พช.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ยอดขายสินค้า OTOP ในปี 2563 ที่ตั้งเป้าไว้ประมาณ 270,000 ล้านบาท ขายได้เพียง 257,591.568 ล้านบาท ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ 5% หรือหายไปประมาณ 20,000 ล้านบาท ขณะที่ยอดขายปี 2562 ที่ผ่านมาอยู่ที่ 237,255.028 ล้านบาท ซึ่งปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบจากสถานการณ์โรคไวรัสติดเชื้อโควิด-19 แต่มีสินค้าที่ยังขายได้เป็นพวกตลาดผ้าไทย
โดยกรมการพัฒนาชุมชนได้ร่วมกับสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ รณรงค์ให้ทุกจังหวัดลงนามทำบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อส่งเสริมให้คนในจังหวัดสวมใส่ผ้าไทยเพิ่มมากขึ้น ประเด็นนี้ถูกนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้สวมผ้าไทยอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 วัน ออกเป็นวาระแห่งชาติทำให้ยอดขายถูกกระตุ้นขึ้นสูงมากด้วยกำลังซื้อภายในประเทศเกือบ 100% รายได้ที่มาจากผ้าไทยจึงนับเป็น 1 ใน 4 ของสินค้าโอท็อปทั้งหมด อย่างในงาน OTOP เรียกได้ว่าเป็นสัดส่วนครึ่งหนึ่งจากสินค้าประเภทอื่น
“หลังจากเกิดโควิดทางกรมการพัฒนาชุมชนได้ปรับเปลี่ยนการขายสินค้าโอท็อปไปทำตลาดออนไลน์มากขึ้น จัดให้มีนักการตลาดรุ่นใหม่ประจำอยู่ทุกจังหวัดในฐานะพนักงานอัตราจ้าง เพื่อทำเรื่องตลาดออนไลน์ควบคู่กับทางกรมการพัฒนาชุมชนที่ไปจับมือกับผู้ประกอบการอีมาร์เก็ตเพลซ
เช่น Shopee ช่วยให้การขายสินค้ากระเตื้องขึ้นมาได้ แต่ต้องยอมรับว่าไม่มีนักท่องเที่ยวและลูกค้าลดลงไปมาก โดยเฉพาะช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมายอดขายตกลงไปเฉลี่ย 5,000 ล้านบาทต่อเดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มโอท็อปรายเล็กจะได้รับผลกระทบจำนวนมาก เพราะวอลุ่มไม่มาก ซึ่งจำนวนผู้ประกอบการกลุ่มนี้มีอยู่มาก”
แปรรูปผลไม้เชียงใหม่วูบ 50%
นาง
สมพร วรรณเถิน ตัวแทนวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลผลิตการเกษตรบ้านวังธารทอง จ.เชียงใหม่ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ยอดขายผลไม้อบแห้งแบรนด์ KHON MUANG ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลผลิตการเกษตรบ้านวังธารทองมียอดขายลดลงมาก เนื่องจากตลาดหลักที่วางขายในห้างสรรพสินค้าและสนามบินค่อนข้างเงียบหลังสถานการณ์โควิด-19
โดยเฉพาะลำไยอบแห้งที่ส่วนใหญ่ขายให้นักท่องเที่ยวชาวจีนที่ผ่านมาช่วง 9 เดือนของปี 2563 ขายไม่ได้เลย ทำให้การรับออร์เดอร์จากลูกค้าตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563 ช่วงที่ลำไยออกลดลงกว่า 50% และตอนนี้สินค้าเหลือค้างสต๊อกตั้งแต่ปีที่แล้วจำนวนมาก
“ปกติสินค้าเราจะขายในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน จนกระทั่งมิถุนายนจะหมดพอดี และสินค้าลอตใหม่เข้ามาช่วงเดือนกรกฎาคม แต่ในปีนี้ขายไม่ได้เลย สินค้าใหม่ที่ผลิตออกมาจะไปถมเพิ่มของเดิมก็ทำไม่ได้ เพราะไม่รู้จะมีลูกค้าหรือไม่ มูลค่าความเสียหายประมาณ 3-4 ล้านบาท รวมถึงมีคนที่ซื้อของเราไปขายต่อ ก็ขายไม่ได้น่าจะอีกหลายสิบล้านบาท หลังโควิดที่รัฐบาลปลดล็อกก็ไม่มีอะไรกระเตื้องขึ้นมา เพราะสินค้าของเราคนจีนนิยมซื้อ 80% ส่วนคนไทยไม่มีกำลังซื้อ หรือซื้อแต่ของที่จำเป็น ทุกคนใช้จ่ายอย่างประหยัด”
สำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นทำให้ในปีนี้สมาชิกบางรายไม่ทำการผลิตสินค้า เพราะหากลงทุนแล้วไม่มีความแน่นอนว่าจะขายได้เพราะไม่มีออร์เดอร์เข้ามา ออกงานหรือจัดบูทขายไม่ได้ กำลังซื้อคนไทยหายไป ถือว่าเงียบและไม่คึกคักเหมือนปี 2562 คาดการณ์ว่าสถานการณ์จะซบเซายาวต่อเนื่อง และไม่มีออร์เดอร์เพิ่มไปถึงปี 2564
หมอนขิดยโสธรชี้กำลังซื้อหด
นาง
แย้ม จันใด เจ้าของแบรนด์ “
แม่แย้มหมอนขิด” จ.ยโสธร ผลิตภัณฑ์ OTOP 4 ดาว เปิดเผยว่า สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อยอดส่งออกหมอนขิดพอสมควร จากปกติส่งออกไปตลาดญี่ปุ่น เยอรมนี แถวยุโรป มีรายได้ประมาณ 7-8 แสนบาท/เดือน ปัจจุบันขายได้เฉลี่ยประมาณ 4-5 แสนบาท/เดือน ลดลงไปประมาณ 30% แต่ดีขึ้นกว่าช่วงที่เกิดการระบาดใหม่ ๆ ลูกค้าที่รับหมอนขิดไปขายไม่สามารถขายสินค้าออกไปได้เลย พอสถานการณ์ดีขึ้นยอดขายเริ่มกระเตื้องขึ้นมาบ้าง
“ส่วนใหญ่ลูกค้าที่รับหมอนขิดไปขายต่อจะขายให้ลูกค้ากลุ่มนักท่องเที่ยว แต่สภาวะเศรษฐกิจไม่ค่อยดีทำให้กำลังซื้อนักท่องเที่ยวกลุ่มคนไทยไม่ดีเลย ยิ่งแถวภาคอีสานที่อาศัยรายได้จากราคาข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง อย่างงานเทศกาลปกติเป็นช่วงที่ชาวบ้านพอขายของได้บ้างก็เงียบไม่มีกำลังซื้อ”
ปราจีนฯ-สระบุรีปรับตัวสู้
ด้านนางสาว
วรรณา อุ่นหนาฝาคั่ง เจ้าของผลิตภัณฑ์สมุนไพร บริษัท สวนสมุนไพรอุ่นหนาฝาคั่ง และเจ้าของผลิตภัณฑ์สบู่ก้อนหิน OTOP 5 ดาว จังหวัดปราจีนบุรี เปิดเผยว่า โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อภาพรวมกำลังซื้อสินค้า OTOP ในประเทศไทยยอดขายตกลงมากประมาณ 30% บางรายที่รู้จักกันเลิกกิจการไป ขณะที่การส่งออกมีเงื่อนไขและข้อจำกัดหลายอย่าง
ยกตัวอย่างสบู่ก้อนหินของบริษัทยังส่งออกได้ แต่ทุกอย่างล่าช้าไปหมด เช่น ลูกค้าจากต่างประเทศเมื่อส่งสินค้าไปแล้วจ่ายเงินล่าช้ากว่าปกติ ส่วนที่ขายได้คือตัวแทนขายปรับตัวจากการออกงานออกบูทไปขายออนไลน์แทน และเริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วย
นาย
กิตติศักดิ์ ขจรภัย กรรมการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนรังไหมประดิษฐ์และกรรมการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี เปิดเผยว่า สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนรังไหมประดิษฐ์ยังอยู่ในสถานะคงตัวยอดขายไม่ตกและไม่เพิ่มขึ้น อย่างโคมไฟรังไหมสามารถขายสินค้าได้ตามปกติ
เนื่องจากเป็นสินค้า OTOP ที่มีความแตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น ถือว่าเป็นจุดเด่นที่ทำให้สินค้ายังคงอยู่ได้ แต่กลุ่มลูกค้าเป็นกลุ่มที่ใช้สินค้าอยู่แล้วและเป็นต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมาซื้อโคมไฟไปเปลี่ยนโดยใช้ฐานโคมไฟเดิมของตัวเอง ราคาจะอยู่ที่ 2,000-3,000 บาท
“ทางกลุ่มพยายามพัฒนาสินค้าและปรับตัวอยู่ตลอดเวลา โดยผลิตสินค้าตามที่ลูกค้าต้องการ ไม่ผลิตมากไปกว่าประมาณ 30 อัน/เดือน หากขยายเพิ่มจะกลายเป็นการสต๊อกสินค้าที่ขายไม่ได้ และยังออกแบบสินค้าตัวใหม่ให้แปลกตาไม่ซ้ำใครให้เป็นจุดเด่นด้วยการเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานมากขึ้น
และคงชูความเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากโคมไฟก็มีกระเป๋า กระเช้า ส่วนการทำตลาดไม่ขายออกบูทอย่างเดียว แต่อยู่ในออนไลน์ด้วย รวมถึงหาตลาดใหม่ สิ่งสำคัญคือเราปรับตัว ถ้าไม่ปรับยอดขายน่าจะลด ถ้าคนปรับตัวไม่ได้ก็คงหายไป”
อย่างไรก็ตาม การซื้อสินค้าโอท็อปถือว่าลดน้อยลงมาก สินค้าที่ขายได้จะเป็นอาหารเครื่องดื่ม ของใช้ เสื้อผ้าเครื่องใช้จะซื้อน้อยลง และสาเหตุที่ทำให้ยอดขายลดลงน่าจะมีปัจจัยหลัก 2 อย่าง 1.ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศ 2.คนตกงานค่อนข้างมากและไม่มีกำลังซื้อ โดยทุกวันนี้จำนวนคนตกงานเพิ่มขึ้นมากกว่าลูกค้าที่จะมาซื้อของ
JJNY : วีรไทแนะรัฐลดมาตรการเหวี่ยงแห/OTOP วูบหมื่นล./นศ.โบราณคดีวางหรีดหน้ากรมศิลป์/หนุ่มหมิ่น'ทราย'โพสต์ขอโทษ-ผ่อนเงิน
https://www.dailynews.co.th/economic/797952
นอกจากนี้ภาครัฐและเอกชนต้องช่วยกันให้เกิดความสมดุล ซึ่งการเยียวยาฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นต้องสอดคล้องกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อเกิดความยั่งยืนระยะยาว ขณะที่ภาครัฐควรลดมาตรการเหวี่ยงแห เน้นช่วยเหลือให้ตรงจุดกับคนที่ต้องการช่วยเหลือ รวมทั้งแรงงานและผู้ประกอบการมีความสามารถแตกต่างกัน ซึ่งการเหวี่ยงแหจะทำให้เกิดเบี้ยหัวแตก ขาดประสิทธิผลไม่คุ้มค่า เช่นเดียวกับกฎเกณฑ์ภาครัฐไม่สอดคล้องโลกใหม่ ยังมีหลายกระบวนงานที่ยังไม่ได้แก้ไข โดยกฎระเบียบซ้ำซ้อน ยุ่งยากให้เกิดความเหลื่อมล้ำได้
ขณะเดียวกันโครงสร้างเศรษฐกิจในท้องถิ่นหลังจากนี้เป็นส่วนสำคัญ เนื่องจากมีแรงงานย้ายกลับภูมิลำเนาไปต่างจังหวัด 1 ล้านคน จะให้จะเป็นโอกาสที่แต่ละท้องถิ่นจะพึ่งพาและส่งเสริมให้เกิดเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในต่างจังหวัดผ่านการใช้เทคโนโลยี จากที่ผ่านมาเศรษฐกิจสังคมชนบทเปราะบางจากแรงงานย้ายไปทำงานในเมืองใหญ่ ทำให้เกิดปัญหาแรงงานสูงอายุในภาคเกษตร ปัญหายาเสพติด ปัญหาการศึกษา เป็นต้น
นายวิรไท กล่าวว่า กฎเกณฑ์ต่างๆของไทยยังถูกจำกัด เช่น ความล้าสมัย และเอื้อต่อธุรกิจรายใหญ่ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีนวัตกรรมแต่ไม่สามารถเข้าถึงตลาดเพื่อแข่งขันกับรายใหญ่ได้ บางภาคเศรษฐกิจผู้ประกอบการเอกชนต้องแข่งขันกับรัฐวิสาหกิจที่มีข้อได้เปรียบหลายด้าน ทำให้ขาดประสิทธิภาพ และในมหภาค บทบาทผู้ผลิตไทยยังถูกจำกัดอยู่ เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข
และโลกต้องเจอกับความไม่แน่นอนสูงขึ้น ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ภาวะโลกร้อน อาการแปรปรวน และโลกอุบัติใหม่ รวมทั้งคนไทยมีความเปราะบางทางการเงิน มีข้อจำกัดในการเข้าถึงการออม ไม่สามารถกู้เงินในระบบได้ในยามจำเป็นและเร่งด่วน แรงงานนอกระบบยังมีอยู่มาก และกลไกภาครัฐยังดูแลไม่ทั่วถึง
โลกหลังโควิดจะเปลี่ยนไป เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างต้องเร่งปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ แม้ที่ผ่านมาได้พูดคุยกันต่อเนื่อง แต่ยังไม่เกิดผลจริง ซึ่งการให้เกิดขึ้นจริงจะสอดคล้อง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านแรกคนไทยต้องมีผลิตภาพสูงและแข่งขันกับต่างประเทศ ด้านสองคนไทยและธุรกิจไทยต้องมีภูมิคุ้มกันที่ดีและรับมือกับสถานการณ์โลกใหม่ที่ผันผวนได้ และด้านสามกระจายผลประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจจะต้องทั่วถึงและไม่เป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
โดยยังต้องเพิ่มความสำคัญทั้งมหภาคและจุลภาค เพิ่มผลิตภาพการแข่งขัน ทั้งในภาคเกษตรและนอกเกษตรให้เข้าถึงเทคโนโลยี เพิ่มทักษะแรงงาน ยอมรับโควิด-19 ทำให้มีกำลังการผลิตส่วนเกินต่อเนื่องไปอีกหลายปี หากไม่ถูกจัดการไปสู่ภาคการผลิตอื่น จะขาดภูมิคุ้มกัน ทำให้ไม่มีทางเลือกต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยให้เกิดขึ้นจริง
โควิดทุบ OTOP ยอดวูบ 2 หมื่นล้าน เร่งผนึกอีมาร์เก็ตเพลซกระตุ้นกำลังซื้อ
https://www.prachachat.net/local-economy/news-528160
ยอดตก - กรมพัฒนาชุมชนรับยอดขายสินค้า OTOP ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ขณะที่ผู้ประกอบการธุรกิจหลายรายสูญรายได้นับล้านเหตุออร์เดอร์ลดเพราะพิษโควิด คาดซบเซาถึงปีหน้า
โควิดทุบ OTOP ทั่วไทยยอดวูบ 2 หมื่นล้าน พัฒนาชุมชนเร่งผนึกอีมาร์เก็ตเพลซกระตุ้นกำลังซื้อ
กรมการพัฒนาชุมชนเผย OTOP ปี’63 พลาดเป้า 5% ผู้ประกอบการโอดออร์เดอร์หายกว่า 30-50% ของค้างสต๊อกเพียบ สร้างมูลค่าความเสียหายหลักล้านแม้สถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลาย คาดซบเซาต่อเนื่องไปถึงปีหน้า พร้อมระบุราคาสินค้าเกษตรตกต่ำทำกำลังซื้อภายในประเทศถดถอย ขณะที่ผู้ผลิตโคมไฟรังไหมปรับตัวพัฒนาสินค้าประคองธุรกิจให้รอด
กพช.รับยอด OTOP พลาดเป้า
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (พช.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ยอดขายสินค้า OTOP ในปี 2563 ที่ตั้งเป้าไว้ประมาณ 270,000 ล้านบาท ขายได้เพียง 257,591.568 ล้านบาท ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ 5% หรือหายไปประมาณ 20,000 ล้านบาท ขณะที่ยอดขายปี 2562 ที่ผ่านมาอยู่ที่ 237,255.028 ล้านบาท ซึ่งปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบจากสถานการณ์โรคไวรัสติดเชื้อโควิด-19 แต่มีสินค้าที่ยังขายได้เป็นพวกตลาดผ้าไทย
โดยกรมการพัฒนาชุมชนได้ร่วมกับสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ รณรงค์ให้ทุกจังหวัดลงนามทำบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อส่งเสริมให้คนในจังหวัดสวมใส่ผ้าไทยเพิ่มมากขึ้น ประเด็นนี้ถูกนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้สวมผ้าไทยอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 วัน ออกเป็นวาระแห่งชาติทำให้ยอดขายถูกกระตุ้นขึ้นสูงมากด้วยกำลังซื้อภายในประเทศเกือบ 100% รายได้ที่มาจากผ้าไทยจึงนับเป็น 1 ใน 4 ของสินค้าโอท็อปทั้งหมด อย่างในงาน OTOP เรียกได้ว่าเป็นสัดส่วนครึ่งหนึ่งจากสินค้าประเภทอื่น
“หลังจากเกิดโควิดทางกรมการพัฒนาชุมชนได้ปรับเปลี่ยนการขายสินค้าโอท็อปไปทำตลาดออนไลน์มากขึ้น จัดให้มีนักการตลาดรุ่นใหม่ประจำอยู่ทุกจังหวัดในฐานะพนักงานอัตราจ้าง เพื่อทำเรื่องตลาดออนไลน์ควบคู่กับทางกรมการพัฒนาชุมชนที่ไปจับมือกับผู้ประกอบการอีมาร์เก็ตเพลซ
เช่น Shopee ช่วยให้การขายสินค้ากระเตื้องขึ้นมาได้ แต่ต้องยอมรับว่าไม่มีนักท่องเที่ยวและลูกค้าลดลงไปมาก โดยเฉพาะช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมายอดขายตกลงไปเฉลี่ย 5,000 ล้านบาทต่อเดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มโอท็อปรายเล็กจะได้รับผลกระทบจำนวนมาก เพราะวอลุ่มไม่มาก ซึ่งจำนวนผู้ประกอบการกลุ่มนี้มีอยู่มาก”
แปรรูปผลไม้เชียงใหม่วูบ 50%
นางสมพร วรรณเถิน ตัวแทนวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลผลิตการเกษตรบ้านวังธารทอง จ.เชียงใหม่ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ยอดขายผลไม้อบแห้งแบรนด์ KHON MUANG ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลผลิตการเกษตรบ้านวังธารทองมียอดขายลดลงมาก เนื่องจากตลาดหลักที่วางขายในห้างสรรพสินค้าและสนามบินค่อนข้างเงียบหลังสถานการณ์โควิด-19
โดยเฉพาะลำไยอบแห้งที่ส่วนใหญ่ขายให้นักท่องเที่ยวชาวจีนที่ผ่านมาช่วง 9 เดือนของปี 2563 ขายไม่ได้เลย ทำให้การรับออร์เดอร์จากลูกค้าตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563 ช่วงที่ลำไยออกลดลงกว่า 50% และตอนนี้สินค้าเหลือค้างสต๊อกตั้งแต่ปีที่แล้วจำนวนมาก
“ปกติสินค้าเราจะขายในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน จนกระทั่งมิถุนายนจะหมดพอดี และสินค้าลอตใหม่เข้ามาช่วงเดือนกรกฎาคม แต่ในปีนี้ขายไม่ได้เลย สินค้าใหม่ที่ผลิตออกมาจะไปถมเพิ่มของเดิมก็ทำไม่ได้ เพราะไม่รู้จะมีลูกค้าหรือไม่ มูลค่าความเสียหายประมาณ 3-4 ล้านบาท รวมถึงมีคนที่ซื้อของเราไปขายต่อ ก็ขายไม่ได้น่าจะอีกหลายสิบล้านบาท หลังโควิดที่รัฐบาลปลดล็อกก็ไม่มีอะไรกระเตื้องขึ้นมา เพราะสินค้าของเราคนจีนนิยมซื้อ 80% ส่วนคนไทยไม่มีกำลังซื้อ หรือซื้อแต่ของที่จำเป็น ทุกคนใช้จ่ายอย่างประหยัด”
สำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นทำให้ในปีนี้สมาชิกบางรายไม่ทำการผลิตสินค้า เพราะหากลงทุนแล้วไม่มีความแน่นอนว่าจะขายได้เพราะไม่มีออร์เดอร์เข้ามา ออกงานหรือจัดบูทขายไม่ได้ กำลังซื้อคนไทยหายไป ถือว่าเงียบและไม่คึกคักเหมือนปี 2562 คาดการณ์ว่าสถานการณ์จะซบเซายาวต่อเนื่อง และไม่มีออร์เดอร์เพิ่มไปถึงปี 2564
หมอนขิดยโสธรชี้กำลังซื้อหด
นางแย้ม จันใด เจ้าของแบรนด์ “แม่แย้มหมอนขิด” จ.ยโสธร ผลิตภัณฑ์ OTOP 4 ดาว เปิดเผยว่า สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อยอดส่งออกหมอนขิดพอสมควร จากปกติส่งออกไปตลาดญี่ปุ่น เยอรมนี แถวยุโรป มีรายได้ประมาณ 7-8 แสนบาท/เดือน ปัจจุบันขายได้เฉลี่ยประมาณ 4-5 แสนบาท/เดือน ลดลงไปประมาณ 30% แต่ดีขึ้นกว่าช่วงที่เกิดการระบาดใหม่ ๆ ลูกค้าที่รับหมอนขิดไปขายไม่สามารถขายสินค้าออกไปได้เลย พอสถานการณ์ดีขึ้นยอดขายเริ่มกระเตื้องขึ้นมาบ้าง
“ส่วนใหญ่ลูกค้าที่รับหมอนขิดไปขายต่อจะขายให้ลูกค้ากลุ่มนักท่องเที่ยว แต่สภาวะเศรษฐกิจไม่ค่อยดีทำให้กำลังซื้อนักท่องเที่ยวกลุ่มคนไทยไม่ดีเลย ยิ่งแถวภาคอีสานที่อาศัยรายได้จากราคาข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง อย่างงานเทศกาลปกติเป็นช่วงที่ชาวบ้านพอขายของได้บ้างก็เงียบไม่มีกำลังซื้อ”
ปราจีนฯ-สระบุรีปรับตัวสู้
ด้านนางสาววรรณา อุ่นหนาฝาคั่ง เจ้าของผลิตภัณฑ์สมุนไพร บริษัท สวนสมุนไพรอุ่นหนาฝาคั่ง และเจ้าของผลิตภัณฑ์สบู่ก้อนหิน OTOP 5 ดาว จังหวัดปราจีนบุรี เปิดเผยว่า โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อภาพรวมกำลังซื้อสินค้า OTOP ในประเทศไทยยอดขายตกลงมากประมาณ 30% บางรายที่รู้จักกันเลิกกิจการไป ขณะที่การส่งออกมีเงื่อนไขและข้อจำกัดหลายอย่าง
ยกตัวอย่างสบู่ก้อนหินของบริษัทยังส่งออกได้ แต่ทุกอย่างล่าช้าไปหมด เช่น ลูกค้าจากต่างประเทศเมื่อส่งสินค้าไปแล้วจ่ายเงินล่าช้ากว่าปกติ ส่วนที่ขายได้คือตัวแทนขายปรับตัวจากการออกงานออกบูทไปขายออนไลน์แทน และเริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วย
นายกิตติศักดิ์ ขจรภัย กรรมการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนรังไหมประดิษฐ์และกรรมการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี เปิดเผยว่า สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนรังไหมประดิษฐ์ยังอยู่ในสถานะคงตัวยอดขายไม่ตกและไม่เพิ่มขึ้น อย่างโคมไฟรังไหมสามารถขายสินค้าได้ตามปกติ
เนื่องจากเป็นสินค้า OTOP ที่มีความแตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น ถือว่าเป็นจุดเด่นที่ทำให้สินค้ายังคงอยู่ได้ แต่กลุ่มลูกค้าเป็นกลุ่มที่ใช้สินค้าอยู่แล้วและเป็นต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมาซื้อโคมไฟไปเปลี่ยนโดยใช้ฐานโคมไฟเดิมของตัวเอง ราคาจะอยู่ที่ 2,000-3,000 บาท
“ทางกลุ่มพยายามพัฒนาสินค้าและปรับตัวอยู่ตลอดเวลา โดยผลิตสินค้าตามที่ลูกค้าต้องการ ไม่ผลิตมากไปกว่าประมาณ 30 อัน/เดือน หากขยายเพิ่มจะกลายเป็นการสต๊อกสินค้าที่ขายไม่ได้ และยังออกแบบสินค้าตัวใหม่ให้แปลกตาไม่ซ้ำใครให้เป็นจุดเด่นด้วยการเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานมากขึ้น
และคงชูความเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากโคมไฟก็มีกระเป๋า กระเช้า ส่วนการทำตลาดไม่ขายออกบูทอย่างเดียว แต่อยู่ในออนไลน์ด้วย รวมถึงหาตลาดใหม่ สิ่งสำคัญคือเราปรับตัว ถ้าไม่ปรับยอดขายน่าจะลด ถ้าคนปรับตัวไม่ได้ก็คงหายไป”
อย่างไรก็ตาม การซื้อสินค้าโอท็อปถือว่าลดน้อยลงมาก สินค้าที่ขายได้จะเป็นอาหารเครื่องดื่ม ของใช้ เสื้อผ้าเครื่องใช้จะซื้อน้อยลง และสาเหตุที่ทำให้ยอดขายลดลงน่าจะมีปัจจัยหลัก 2 อย่าง 1.ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศ 2.คนตกงานค่อนข้างมากและไม่มีกำลังซื้อ โดยทุกวันนี้จำนวนคนตกงานเพิ่มขึ้นมากกว่าลูกค้าที่จะมาซื้อของ