สัตว์ตระกูลงูเป็นสิ่งมีชีวิตที่น่าเกรงขามเพราะอาจจัดการแม้ชีวิตมนุษย์ เราจึงพบว่าแทบทุกอารยธรรมบนโลกนับถืองูเป็นเทพเจ้า ตั้งแต่อินเดีย (Nāga) จีน (Lóng) อียิปต์ (Aphōph) กรีก (Drákon) หรือแม้แต่ชนพื้นเมืองอเมริกาโบราณ (Kukulkán)
งู (Serpent) มักถูกยกขึ้นเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์จนเป็นต้นกำเนิดสัตว์ในตำนานมากมาย โดยเฉพาะ Dragon ซึ่งนอกจาก Dragon ของ Asia และ Europe แล้ว ในตำนานพื้นบ้านดั้งเดิมของกลุ่มคนไท (Tai) ก็มีความเชื่อเกี่ยวกับงูศักดิ์สิทธิ์หรือนาค (Naga) ที่ในอดีตถูกเรียกว่า "ลวง" (Luang) หรือ "เงือก" (Ngueak) ก่อนที่จะมีชื่ออื่นและเปลี่ยนความหมายไปในกลุ่มคนไทยุคหลัง
ตามเอกสารจีนโบราณ "ตัวลวง" เวียดนามเรียก "ถ่วงหล่วง" (thuồng luồng) เป็นสัตว์ในตำนานซึ่งเป็นจำพวกจระเข้ชนิดใหญ่ในป่าทางแดนใต้ของจีน เอกสารจีนเรียกว่า "เจียวหลง" (蛟龍 Jiāolóng) หรือในสำเนียงเวียดว่า "ยาวลอง" (Giao Long)
龍 (หลง ลอง) หมายถึง Dragon แต่ความหมายของคำว่า (เจียว ยาว) นั้นยังคลุมเครือ บ้างสันนิษฐานว่ามีความหมายถึง Dragon of Jiaozhi (交趾) บ้างว่างูมีหงอน
ไม่มีใครเคยเห็นร่องรอยของมัน มีหนังสือหลายเล่มเล่าถึงยาวลอง (Giao Long) นี้ว่า
"ผิวหนังของมันเป็นเกล็ดหนา ผู้คนบอกว่าปากของมันเหมือนมีดดาบ ... ตัวยาวลองรูปร่างเหมือนงู แต่มีสี่ขา คอเล็ก ... ตัวใหญ่หลายคนโอบ อาจกลืนกินมนุษย์ได้"
ชาวไท (Tai) เป็นกลุ่มผู้พูดภาษาไทจำพวกเดียวกับชาวจ้วง (Zhuang) ในจีนใต้ ซึ่งมีภาษาและวัฒนธรรมใกล้เคียงกัน ก็มีตำนานเกี่ยวกับ "ตัวลวง" โดยเชื่อว่าเป็นเทพประจำแหล่งน้ำที่พำนักอยู่ในจุดล้ำลึกที่สุดของทุกแม่น้ำลำห้วย และมองว่าตัวลวงมีความใกล้ชิดกับมนุษย์ เป็นสัตว์วิเศษมีอิทธิฤทธิ์ สามารถแปลงเป็นคนในระยะเวลาหนึ่ง ในตำนานโบราณเราจะพบว่าตัวลวงถูกมองเป็นสัตว์ที่ดุร้ายหรืออาจเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ตามแม่น้ำใหญ่ในภาคเหนือสมัยก่อนมักมีศาลบูชาตัวลวง ที่เอกสารบันทึกเรียกว่า "ยาวเถิ่น" (蛟神) หรือเทพแห่งแดนใต้
คนไทดำเรียกว่า "โตเงือก" ꪶꪔꪹꪉꪀ (Tô ngượk) เป็น "ปัว" (ราชา) หรือผู้ดูแลควบคุมน้ำในแม่น้ำ เป็นเจ้าแห่งสรรพสัตว์ในห้วงน้ำ ตัวเงือกจะอาศัยในน้ำลึก ที่ภาษาไทเรียกว่า "วังน้ำ" ꪫꪰꪉꪙꪾ꫁ (văng nặm)ไม่มีใครรู้ว่ามันมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร รู้แต่ว่าเป็นงูใหญ่ที่มีหงอนสีแดงเหนือหัว และมีสีสันฉูดฉาด ตัวใหญ่เท่าเสาเรือน มีพลังมหาศาล คนไทมักเรียกสองอย่างคือ "ผีเงือก" และ "ปัวเงือก"
"ผีเงือก" (Phi ngượk) ใช้เรียกเมื่อเป็นฝ่ายร้ายที่ทำให้เกิดน้ำท่วม ทำลายเหมืองฝาย ไม่เป็นไปตามฤดูกาล ใครได้เจอเข้าก็จะกลัวจนป่วยตาย ผีเงือกอาจจะปีนขึ้นดอยทำให้ดินถล่ม ไม้ถล่ม เรียกว่า "ผีเงือกเกื่อน" บางทีผีเงือกมุดดินลงไปทำให้ดินแยก บ้านเรือนผู้คนจมลง เรียกว่า "ผีเงือกล่ม"
"ปัวเงือก" (Pua ngượk) เป็นคำเรียกสัตว์ที่มีความหมายดี เป็นเทพผู้พิทักษ์บ้านเมือง มีตำนานคนไทว่าลูกปัวเงือกอาจแปลงกายเป็นชายหนุ่มเจ้าเสน่ห์ที่มาหาคู่ครองเป็นหญิงมนุษย์ที่ยากจนแต่สวยงาม หรืออาจแปลงเป็นหญิงสาวสวยเพื่อเลือกคู่เป็นชายหนุ่มยากจนแต่แข็งแรง มีคุณธรรมและความสามารถ ลูกเขยหรือสะใภ้ของปัวเงือกก็จะใช้ชีวิตอยู่ในพิภพดินแดนของเงือก หลานของปัวเงือกมักจะเป็นชายหนุ่มรูปงามและมีความสามารถปกป้องรักษาบ้านเมือง แต่ตอนจบของตำนานมักเป็นโศกนาฏกรรม เมื่อชายหนุ่มหรือหญิงสาวเห็นคู่ของตนปรากฏกายตามสภาพเดิมเป็นตัวเงือก ก็จะกลัวมากจนต้องหลบหนีไป จึงไม่อาจอยู่ร่วมกัน เงือกเองก็ไม่สามารถอยู่รวมกับมนุษย์ได้ จึงต้องจากกันนิจนิรันดร์
ตัวอย่างตำนานเรื่องเงือก (Ngueak)
หรือ Naga กับ Dragon แบบไท (Tai)
(๑) ตำนานของคนไทดำในมายเซิน (Mai Sơn) มีหนองแขว (หนองเขียว) และหนองบัว เรื่องเล่าเกี่ยวกับสถานที่นี้ว่า ครอบครัวคนไทมีลูกสาวสวย แต่ชอบเล่นสนุก ขึ้นภูไปเก็บดอกบานและผักป่า วันหนึ่งวุ่นอยู่ก็พลันมีฝนตกน้ำท่วมทางกลับบ้านโดยที่นางไม่รู้ เมื่อกลับมานางไม่อาจข้ามน้ำได้ แต่เห็นต้นหมากพาดข้ามน้ำไป นางคิดว่าเป็นต้นหมากจริงเลยข้ามไป เมื่อถึงเรือนก็เล่าเรื่องให้พ่อแม่ฟัง แต่แปลกนักที่นางคิดถึงสะพาน จึงออกไปที่ริมห้วยเพื่อจะได้มองสะพานแปลกนั้น แต่กลับไม่มีไม่พบสะพานใด นางพบแต่ชายหนุ่มส่งยิ้มให้จนเกิดเป็นความรักต่อกัน จากนั้นนางจึงรู้ว่าชายหนุ่มนั้นคือเงือก และได้อยู่ร่วมกันจนเกิดลูกหลานมากมาย
(๒) วังตอง (Văng Tong) ที่เมืองเซินลา (Sơn La) ต้นสายน้ำลา มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เรียกว่า "วังตอง" เป็นที่พักพิงอาศัยของเทพเงือก เจ้าแห่งสายน้ำลา ในอดีตก่อนปี ๒๕๒๓ ที่แห่งนี้เคยเป็นน้ำลึกสีเขียวจนน่าหวาดเสียว ใต้น้ำมีรูปม้าหินที่ชาวบ้านเรียกว่า "ม้าดาว" ไม่มีใครกล้าข้ามไปคนเดียว หากมีกิจต้องผ่านไป ทุกคนก็ต้องค้อมคำนับไหว้ แม้แต่ท้าวหรือพญาก็ต้องลงจากม้าและเดินเท้าผ่านไป ตำนานเล่าว่า ในอดีตมีหญิงสาวที่เข้าไปเก็บใบตอง (ตองตึง) มาห่อข้าวต้ม (ข้าวต้มมัด) วันปีใหม่ แล้วหญิงงามนี้ก็ลื่นล้มลงไปในถ้ำลึกและสูญหาย วันต่อมามีห่อใบตองลอยขึ้นมาเหนือวังน้ำนั้น ทุกคนจึงเรียกที่นั่นว่า "วังตอง" ว่ากันว่าหญิงสาวนั้นได้ถูกตัวเงือกจับไปทำเมีย อีกเรื่องเล่าที่ทำให้วังตองยิ่งศักดิ์สิทธิ์ขึ้นอีก คือ เรื่องหญิงสาวบ้านแหนใต้ กำลังปั่นฝ้ายอยู่ในคืนจันทร์แจ่มนอกชานแล้วอยู่ดีๆ ก็หายตัวไป พ่อแม่นางและชาวบ้านได้ตามรอยด้ายฝ้ายนั้นไปจนถึงห้วยน้ำและลอดเข้าไปในถ้ำที่วังตองนี้ จนไ้ด้พบซากของนางนอนอยู่ในถ้ำนั้น จึงเล่าขานกันว่าปัวเงือกวังตองมาจับตัวนางไปเป็นเมีย
(๓) ที่ฝู่เอียน (Phù Yên) มีเรื่องบ้าค้อ (Bả Khó - อ้ายคนจน) เล่าเรื่องสองพ่อลูกที่ยากจนแสนเข็ญได้ฝันเห็นลางดีอยู่เสมอ วันหนึ่งเขาเห็นตัวเงือกหงอนแดงสีสด นอนพาดผ่านขื่อเรือน ลูกบอกว่า "พ่อ นี่เป็นลางร้าย" พ่อบอกว่า "ลางร้ายอะไรกัน นี่คือปู่เป้า (บรรพชน) ของเรา เห็นเราลำบากยากเข็ญจึงเอาเงินทองมาให้" ได้ยินเช่นนั้น ตัวเงือกจึงเลื้อยเข้าวังอ่อม (วังน้ำศักดิ์สิทธิ์เมืองเติก) แล้วฟาดหางเข้าที่ภูช้าง นับแต่นั้นก็มีเงินทองไหลมาเทมาให้พ่อลูกได้อยู่ดีกินดี
(๔) ที่เมืองหม้วย (Mường Muổi) มีหนองหลวง (Nong Luông) เล่ากันว่า เงือกสองตัวเห็นที่ดินนี้แห้งแล้งมากจึงขุดดินให้เป็นแอ่งแล้วใส่น้ำเข้าไปทำให้มีน้ำพอทำนาได้ทั้งบริเวณ
จากเรื่องเล่าทั้งหมดนี้จะพบว่า หลายกรณีตัวเงือกถูกมองว่าเป็นเทพศักดิ์สิทธิ์หรือบรรพชนของคนไท ผู้คนจึงสำนึกคุณของเงือก มองว่าเป็นผู้ที่คอยดูแลมนุษย์ โดยนำน้ำมาให้พื้นที่เกษตรหรือคอยช่วยเหลือ ปกป้องมนุษย์ บริเวณที่มีน้ำวนเป็นแอ่งน้ำลึก เรียกว่า "วังน้ำ" มักจะมีการจัดพิธีเซ่นสังเวยควาย หมู ไก่ เป็ด ริมฝั่งน้ำนั้น คนไทมีความเชื่อทางจิตวิญญาณที่สัมพันธ์กับน้ำซึ่งปรากฏเป็นเทพงูหรือเงือกนั่นเอง
ตอนนี้เราอาจจะเข้าใจได้ว่าทำไมผู้คนที่พูดภาษากลุ่มไท-กะได (Tai-Kadai) จึงบูชาตัวเงือก (Ngueak) ซึ่งยังคงเป็นชื่อเรียกดั้งเดิมของกลุ่มคนไทที่ยังไม่ได้รับอิทธิพลของอินเดียจากศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์
ซึ่งกลุ่มคนไทที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียในภายหลังได้เปลี่ยนไปเรียก "เงือก" (Ngueak) เป็นคำว่า "นาค" (Naga) แทน ตามแบบภาษาบาลี-สันสกฤต และได้ปรับความหมายไปตามคติพุทธศาสนา
ตำนานเกี่ยวกับ Luang (ลวง) Ngueak (เงือก) Naga (นาค) มีความสัมพันธ์กับกลุ่มคนพื้นเมืองในจีนใต้ ที่ในอดีตถูกเรียกว่า "ไป๋เยว่" (百越) แทบทุกเผ่ามีการอ้างถึงงูศักดิ์สิทธิ์เป็นต้นตระกูลของตนตามคติ Totem รวมทั้งพวกไทและเวียดนาม
มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีรับรองอายุนับ ๒,๐๐๐ ปี แทบทุกเผ่าเหล่านี้ล้วนมีตำนานว่าเผ่าที่อยู่ริมน้ำนิยมสักขาลายเพื่อให้บรรพบุรุษที่เป็นเทพศักดิ์สิทธิ์กึ่งสัตว์ในน้ำได้รับรู้และปกป้อง
เมื่อกลุ่มคนไทที่รับอิทธิพลพระพุทธศาสนาจากอินเดียเข้ามาเป็นความเชื่อหลัก ความเชื่อดั้งเดิมเกี่ยวกับ "เงือก" ที่เป็นเทพท้องถิ่นของคนไทก็กลายเป็นสอดรับกับคติ "นาค" ของอินเดียซึ่งเป็นสัตว์กึ่งเทพตามคติพระพุทธศาสนา ตำนานความเชื่อจากอินเดียนี้สามารถประสานรับกับคติพื้นบ้านเดิมของกลุ่มคนไทได้เป็นอย่างดี (ดังที่เราพบรูปบันไดนาคเต็มทั่วไปในวัดวิหารทางพุทธศาสนาของกลุ่มคนไท) และทำให้ "เงือก" เปลี่ยนไปใช้ชื่อ "นาค" ตามแบบอินเดียเสีย
เราพบคติความเชื่อนี้หนักแน่นมากในกลุ่มชาวลาวและชาวไทยอีสาน ต่อมาในประเทศไทยคำว่า "เงือก" ก็เปลี่ยนความหมายไปเป็นสิ่งมีชีวิตในตำนานที่อาศัยในน้ำ จนยุคหลังมากก็กลายเป็นจำพวกครึ่งคนครึ่งปลาเสียแล้ว
ข้อมูลเรื่องคำว่า "เงือก" จาก
https://www.facebook.com/profile.php?id=100015555556981
ในคติพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน จะมีผู้ที่ดำรงตำแหน่งธรรมบาล (धर्म्मपाल) อันมีหน้าที่เพื่อปกป้องพิทักษ์พระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรียกว่า "อัษฎาเสน" (अष्टसेना) หรือที่เราคุ้นหูกันในชื่อ "เทียนหลงปาปู้" (天龍八部) ของจีน
เหล่าธรรมบาลในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานทั้ง ๘ นั้น มีดังนี้
๑.เทพ (देव | 天眾)
๒.นาค (नाग | 龍眾)
๓.ยักษ์ (यक्ष | 夜叉)
๔.คนธรรพ์ (गन्धर्व | 乾達婆)
๕.อสูร (असुर | 阿修)
๖.ครุฑ (गरुड़ | 迦樓羅)
๗.กินนร (किंनर | 緊那羅)
๘.มโหราค (महोरग | 摩睺羅伽)
ในข้อที่สองอย่างนาคนั้น ชาวจีนจะเรียก "นาค" (नाग) เป็นคำว่า "หลง" (龍) แทน เพราะนาคกับหลงก็คือสิ่งเดียวกันนั่นเอง
นาคราช (Dragon King | 龍王)
ตำนานเงือก (Ngueak) หรือนาค (Naga) ในมิติของชาวไท (Tai) ดั้งเดิม
ไม่มีใครเคยเห็นร่องรอยของมัน มีหนังสือหลายเล่มเล่าถึงยาวลอง (Giao Long) นี้ว่า
"ผิวหนังของมันเป็นเกล็ดหนา ผู้คนบอกว่าปากของมันเหมือนมีดดาบ ... ตัวยาวลองรูปร่างเหมือนงู แต่มีสี่ขา คอเล็ก ... ตัวใหญ่หลายคนโอบ อาจกลืนกินมนุษย์ได้"
"ปัวเงือก" (Pua ngượk) เป็นคำเรียกสัตว์ที่มีความหมายดี เป็นเทพผู้พิทักษ์บ้านเมือง มีตำนานคนไทว่าลูกปัวเงือกอาจแปลงกายเป็นชายหนุ่มเจ้าเสน่ห์ที่มาหาคู่ครองเป็นหญิงมนุษย์ที่ยากจนแต่สวยงาม หรืออาจแปลงเป็นหญิงสาวสวยเพื่อเลือกคู่เป็นชายหนุ่มยากจนแต่แข็งแรง มีคุณธรรมและความสามารถ ลูกเขยหรือสะใภ้ของปัวเงือกก็จะใช้ชีวิตอยู่ในพิภพดินแดนของเงือก หลานของปัวเงือกมักจะเป็นชายหนุ่มรูปงามและมีความสามารถปกป้องรักษาบ้านเมือง แต่ตอนจบของตำนานมักเป็นโศกนาฏกรรม เมื่อชายหนุ่มหรือหญิงสาวเห็นคู่ของตนปรากฏกายตามสภาพเดิมเป็นตัวเงือก ก็จะกลัวมากจนต้องหลบหนีไป จึงไม่อาจอยู่ร่วมกัน เงือกเองก็ไม่สามารถอยู่รวมกับมนุษย์ได้ จึงต้องจากกันนิจนิรันดร์
หรือ Naga กับ Dragon แบบไท (Tai)
(๑) ตำนานของคนไทดำในมายเซิน (Mai Sơn) มีหนองแขว (หนองเขียว) และหนองบัว เรื่องเล่าเกี่ยวกับสถานที่นี้ว่า ครอบครัวคนไทมีลูกสาวสวย แต่ชอบเล่นสนุก ขึ้นภูไปเก็บดอกบานและผักป่า วันหนึ่งวุ่นอยู่ก็พลันมีฝนตกน้ำท่วมทางกลับบ้านโดยที่นางไม่รู้ เมื่อกลับมานางไม่อาจข้ามน้ำได้ แต่เห็นต้นหมากพาดข้ามน้ำไป นางคิดว่าเป็นต้นหมากจริงเลยข้ามไป เมื่อถึงเรือนก็เล่าเรื่องให้พ่อแม่ฟัง แต่แปลกนักที่นางคิดถึงสะพาน จึงออกไปที่ริมห้วยเพื่อจะได้มองสะพานแปลกนั้น แต่กลับไม่มีไม่พบสะพานใด นางพบแต่ชายหนุ่มส่งยิ้มให้จนเกิดเป็นความรักต่อกัน จากนั้นนางจึงรู้ว่าชายหนุ่มนั้นคือเงือก และได้อยู่ร่วมกันจนเกิดลูกหลานมากมาย
(๒) วังตอง (Văng Tong) ที่เมืองเซินลา (Sơn La) ต้นสายน้ำลา มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เรียกว่า "วังตอง" เป็นที่พักพิงอาศัยของเทพเงือก เจ้าแห่งสายน้ำลา ในอดีตก่อนปี ๒๕๒๓ ที่แห่งนี้เคยเป็นน้ำลึกสีเขียวจนน่าหวาดเสียว ใต้น้ำมีรูปม้าหินที่ชาวบ้านเรียกว่า "ม้าดาว" ไม่มีใครกล้าข้ามไปคนเดียว หากมีกิจต้องผ่านไป ทุกคนก็ต้องค้อมคำนับไหว้ แม้แต่ท้าวหรือพญาก็ต้องลงจากม้าและเดินเท้าผ่านไป ตำนานเล่าว่า ในอดีตมีหญิงสาวที่เข้าไปเก็บใบตอง (ตองตึง) มาห่อข้าวต้ม (ข้าวต้มมัด) วันปีใหม่ แล้วหญิงงามนี้ก็ลื่นล้มลงไปในถ้ำลึกและสูญหาย วันต่อมามีห่อใบตองลอยขึ้นมาเหนือวังน้ำนั้น ทุกคนจึงเรียกที่นั่นว่า "วังตอง" ว่ากันว่าหญิงสาวนั้นได้ถูกตัวเงือกจับไปทำเมีย อีกเรื่องเล่าที่ทำให้วังตองยิ่งศักดิ์สิทธิ์ขึ้นอีก คือ เรื่องหญิงสาวบ้านแหนใต้ กำลังปั่นฝ้ายอยู่ในคืนจันทร์แจ่มนอกชานแล้วอยู่ดีๆ ก็หายตัวไป พ่อแม่นางและชาวบ้านได้ตามรอยด้ายฝ้ายนั้นไปจนถึงห้วยน้ำและลอดเข้าไปในถ้ำที่วังตองนี้ จนไ้ด้พบซากของนางนอนอยู่ในถ้ำนั้น จึงเล่าขานกันว่าปัวเงือกวังตองมาจับตัวนางไปเป็นเมีย
(๓) ที่ฝู่เอียน (Phù Yên) มีเรื่องบ้าค้อ (Bả Khó - อ้ายคนจน) เล่าเรื่องสองพ่อลูกที่ยากจนแสนเข็ญได้ฝันเห็นลางดีอยู่เสมอ วันหนึ่งเขาเห็นตัวเงือกหงอนแดงสีสด นอนพาดผ่านขื่อเรือน ลูกบอกว่า "พ่อ นี่เป็นลางร้าย" พ่อบอกว่า "ลางร้ายอะไรกัน นี่คือปู่เป้า (บรรพชน) ของเรา เห็นเราลำบากยากเข็ญจึงเอาเงินทองมาให้" ได้ยินเช่นนั้น ตัวเงือกจึงเลื้อยเข้าวังอ่อม (วังน้ำศักดิ์สิทธิ์เมืองเติก) แล้วฟาดหางเข้าที่ภูช้าง นับแต่นั้นก็มีเงินทองไหลมาเทมาให้พ่อลูกได้อยู่ดีกินดี
(๔) ที่เมืองหม้วย (Mường Muổi) มีหนองหลวง (Nong Luông) เล่ากันว่า เงือกสองตัวเห็นที่ดินนี้แห้งแล้งมากจึงขุดดินให้เป็นแอ่งแล้วใส่น้ำเข้าไปทำให้มีน้ำพอทำนาได้ทั้งบริเวณ
ตอนนี้เราอาจจะเข้าใจได้ว่าทำไมผู้คนที่พูดภาษากลุ่มไท-กะได (Tai-Kadai) จึงบูชาตัวเงือก (Ngueak) ซึ่งยังคงเป็นชื่อเรียกดั้งเดิมของกลุ่มคนไทที่ยังไม่ได้รับอิทธิพลของอินเดียจากศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์
ซึ่งกลุ่มคนไทที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียในภายหลังได้เปลี่ยนไปเรียก "เงือก" (Ngueak) เป็นคำว่า "นาค" (Naga) แทน ตามแบบภาษาบาลี-สันสกฤต และได้ปรับความหมายไปตามคติพุทธศาสนา
มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีรับรองอายุนับ ๒,๐๐๐ ปี แทบทุกเผ่าเหล่านี้ล้วนมีตำนานว่าเผ่าที่อยู่ริมน้ำนิยมสักขาลายเพื่อให้บรรพบุรุษที่เป็นเทพศักดิ์สิทธิ์กึ่งสัตว์ในน้ำได้รับรู้และปกป้อง
เมื่อกลุ่มคนไทที่รับอิทธิพลพระพุทธศาสนาจากอินเดียเข้ามาเป็นความเชื่อหลัก ความเชื่อดั้งเดิมเกี่ยวกับ "เงือก" ที่เป็นเทพท้องถิ่นของคนไทก็กลายเป็นสอดรับกับคติ "นาค" ของอินเดียซึ่งเป็นสัตว์กึ่งเทพตามคติพระพุทธศาสนา ตำนานความเชื่อจากอินเดียนี้สามารถประสานรับกับคติพื้นบ้านเดิมของกลุ่มคนไทได้เป็นอย่างดี (ดังที่เราพบรูปบันไดนาคเต็มทั่วไปในวัดวิหารทางพุทธศาสนาของกลุ่มคนไท) และทำให้ "เงือก" เปลี่ยนไปใช้ชื่อ "นาค" ตามแบบอินเดียเสีย
เราพบคติความเชื่อนี้หนักแน่นมากในกลุ่มชาวลาวและชาวไทยอีสาน ต่อมาในประเทศไทยคำว่า "เงือก" ก็เปลี่ยนความหมายไปเป็นสิ่งมีชีวิตในตำนานที่อาศัยในน้ำ จนยุคหลังมากก็กลายเป็นจำพวกครึ่งคนครึ่งปลาเสียแล้ว
ข้อมูลเรื่องคำว่า "เงือก" จาก
https://www.facebook.com/profile.php?id=100015555556981