สู้แล้ง ! ครูสาวเมืองช้าง หันมาปลูกผักผายน้อย “เลี้ยงปลาในนาข้าว” ต้นทุนต่ำจับขายได้ตลอดปี อีกทางเลือกพี่น้องชาวนายุคใหม่
สุรินทร์ - อีกกรณีตัวอย่างของชาวนาที่สุรินทร์ที่ปรับตัวในยุคต้นทุนทำนาสูงลิบ เลี่ยงการขาดทุน โดยหันมาเปลี่ยนแปลงนาปลูกผักผายน้อย เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลาในนาข้าวแทนเน้นให้หากินตามธรรมชาติเพื่อลดค่าใช้จ่าย เผยรายได้ดีเพราะจับปลาขายได้ต่อเนื่องทั้งปี แถมใช้น้ำน้อยเข้ากับสถานการณ์ที่ฝนทิ้งช่วงอยู่ในขณะนี้
วันที่ 31 ส.ค.63 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ต.ขอนแตก อ.สังขะ จ.สุรินทร์ ได้มีชาวนารุ่นใหม่ปรับตัวในยุคต้นทุนทำนาสูงลิบ เลี่ยงการขาดทุน โดยหันมาเปลี่ยนแปลงนาปลูกผักผายน้อย เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลาในนาข้าวแทนเน้นให้หากินตามธรรมชาติเพื่อลดค่าใช้จ่าย เผยรายได้ดีเพราะจับปลาขายได้ต่อเนื่องทั้งปี แถมใช้น้ำน้อยเข้ากับสถานการณ์ที่ฝนทิ้งช่วงอยู่ในขณะนี้ชาวนาจำนวนไม่น้อยประสบปัญหาการขาดทุนเพราะขายข้าวไม่ได้ราคา ขณะที่ต้นทุนการทำนาสูงขึ้นทุกปี ทั้งค่าปุ๋ย ค่าจ้างแรงงาน หลายรายต้องทิ้งนาพากันไปขายแรงในเมืองใหญ่ อย่างไรก็ตามยังมีชาวนาจำนวนหนึ่งที่สู้ไม่ถอย ปรับเปลี่ยนจากการทำนาข้าวไปปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจแทน
อย่างกรณีของนางสาวนาริฐา แหมทอง หรือครูหญิง อายุ 36 ปี อาชีพเป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่ศพด.บ้านโคกปรือ ได้ใช้เวลาว่างทำเกษตรแล้วมีแนวคิดแบบสมัยใหม่ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์การทำเกษตรที่ฝนทิ้งช่วงอยู่ขณะนี้ โดยครูหญิงได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่นาข้าวเป็นบ่อเลี้ยงปลานานาชนิดทั้ง กุ้ง ปลานิล ปลาตะเพียนและปลาดุก โดยเน้นการเลี้ยงแบบธรรมชาติ ให้กินพืชผักและปลูกต้นข้าวเอาไว้เป็นอาหารของปลา เพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงด้วยหัวอาหาร ปลาที่เลี้ยงในนาข้าวสามารถจับขาย มีรายได้เข้าครัวเรือนได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี นอกจากเลี้ยงปลาในนาข้าวแล้วครูหญิงได้แบ่งพื้นที่ทำนาไว้ปลูกผักผายน้อย ขนาด 5 x 20 เมตร โดยครูหญิงเล่าให้ฟังว่าแรกๆเคยทดลองปลูกผักผายน้อยแต่เนื่องจากไม่มีประสบการณ์เลยไปไม่รอดจึงทิ้งให้ผักผายน้อยสุกร่วงคาแปลง หลักจากนั้นตนก็มาสังเกตุว่ามีผักผายน้อยงอกขึ้นมาใหม่ จึงได้เก็บเมล็ดทำพันธุ์จึงได้ศึกษาจริงๆจังๆจนมาลงตัวเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา โดยแต่ละรุ่นใช้เวลาปลูกแค่ 45 วันเท่านั้น เฉพาะแปลงที่ปลูกทำเงินไปแล้วกว่า 27,000 บาท เมื่อเทียบกับการทำนาแล้วคุ้มทุนมาก เพราะการปลูกผักผายน้อยไม่ต้องลงทุนอะไร แค่ดูแลไม่ให้แปลงที่ปลูกผักผายน้อยขาดน้ำก็พอ และที่สำคัญห้ามใช้สารเคมีทุกชนิด ไม่งันผักผายน้อยจะไม่เกิด สำหรับแปลงนี้ตนจะเก็บขายเป็นครั้งสุดท้ายหลังจากนี้ก็จะปล่อยให้ติดดอกเพื่อเก็บเมล็ดไว้ปลูกรุ่นต่อไป และตนจะแบ่งพื้นที่ทำนาเพื่อปลูกผักผายน้อยเพิ่มขึ้นอีก เพราะว่าการปลูกผักผายน้อยน่าจะเป็นทางเลือกใหม่ที่ดีว่าการปลูกข้าวเพียงอย่างเดียว ประกอบกับปีนี้แล้งมากฝนไม่ตกทำให้ข้าวยืนต้นตาย แต่ผักผายน้อยใช้น้ำน้อยแต่รายได้ดีกว่าหลายเท่าตัว ครูหญิงกล่าว ทั้งนี้ใครที่ต้องการศึกษาการปลูกผักผายหรือสนใจเมล็ดพันธุ์ สามารถติดต่อได้ที่ เพจเกษตรปันสุข หรือเบอร์โทร 0625456414 (ครูหญิง) ///////////////
เปลี่ยนแปลงนา เก็บผักผายน้อยขายเกษตรนอกกรอบที่"สวนเกษตรปันสุข" บ่านโคกปรือ ต.ขอนแตก
สุรินทร์ - อีกกรณีตัวอย่างของชาวนาที่สุรินทร์ที่ปรับตัวในยุคต้นทุนทำนาสูงลิบ เลี่ยงการขาดทุน โดยหันมาเปลี่ยนแปลงนาปลูกผักผายน้อย เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลาในนาข้าวแทนเน้นให้หากินตามธรรมชาติเพื่อลดค่าใช้จ่าย เผยรายได้ดีเพราะจับปลาขายได้ต่อเนื่องทั้งปี แถมใช้น้ำน้อยเข้ากับสถานการณ์ที่ฝนทิ้งช่วงอยู่ในขณะนี้
วันที่ 31 ส.ค.63 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ต.ขอนแตก อ.สังขะ จ.สุรินทร์ ได้มีชาวนารุ่นใหม่ปรับตัวในยุคต้นทุนทำนาสูงลิบ เลี่ยงการขาดทุน โดยหันมาเปลี่ยนแปลงนาปลูกผักผายน้อย เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลาในนาข้าวแทนเน้นให้หากินตามธรรมชาติเพื่อลดค่าใช้จ่าย เผยรายได้ดีเพราะจับปลาขายได้ต่อเนื่องทั้งปี แถมใช้น้ำน้อยเข้ากับสถานการณ์ที่ฝนทิ้งช่วงอยู่ในขณะนี้ชาวนาจำนวนไม่น้อยประสบปัญหาการขาดทุนเพราะขายข้าวไม่ได้ราคา ขณะที่ต้นทุนการทำนาสูงขึ้นทุกปี ทั้งค่าปุ๋ย ค่าจ้างแรงงาน หลายรายต้องทิ้งนาพากันไปขายแรงในเมืองใหญ่ อย่างไรก็ตามยังมีชาวนาจำนวนหนึ่งที่สู้ไม่ถอย ปรับเปลี่ยนจากการทำนาข้าวไปปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจแทน
อย่างกรณีของนางสาวนาริฐา แหมทอง หรือครูหญิง อายุ 36 ปี อาชีพเป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่ศพด.บ้านโคกปรือ ได้ใช้เวลาว่างทำเกษตรแล้วมีแนวคิดแบบสมัยใหม่ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์การทำเกษตรที่ฝนทิ้งช่วงอยู่ขณะนี้ โดยครูหญิงได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่นาข้าวเป็นบ่อเลี้ยงปลานานาชนิดทั้ง กุ้ง ปลานิล ปลาตะเพียนและปลาดุก โดยเน้นการเลี้ยงแบบธรรมชาติ ให้กินพืชผักและปลูกต้นข้าวเอาไว้เป็นอาหารของปลา เพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงด้วยหัวอาหาร ปลาที่เลี้ยงในนาข้าวสามารถจับขาย มีรายได้เข้าครัวเรือนได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี นอกจากเลี้ยงปลาในนาข้าวแล้วครูหญิงได้แบ่งพื้นที่ทำนาไว้ปลูกผักผายน้อย ขนาด 5 x 20 เมตร โดยครูหญิงเล่าให้ฟังว่าแรกๆเคยทดลองปลูกผักผายน้อยแต่เนื่องจากไม่มีประสบการณ์เลยไปไม่รอดจึงทิ้งให้ผักผายน้อยสุกร่วงคาแปลง หลักจากนั้นตนก็มาสังเกตุว่ามีผักผายน้อยงอกขึ้นมาใหม่ จึงได้เก็บเมล็ดทำพันธุ์จึงได้ศึกษาจริงๆจังๆจนมาลงตัวเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา โดยแต่ละรุ่นใช้เวลาปลูกแค่ 45 วันเท่านั้น เฉพาะแปลงที่ปลูกทำเงินไปแล้วกว่า 27,000 บาท เมื่อเทียบกับการทำนาแล้วคุ้มทุนมาก เพราะการปลูกผักผายน้อยไม่ต้องลงทุนอะไร แค่ดูแลไม่ให้แปลงที่ปลูกผักผายน้อยขาดน้ำก็พอ และที่สำคัญห้ามใช้สารเคมีทุกชนิด ไม่งันผักผายน้อยจะไม่เกิด สำหรับแปลงนี้ตนจะเก็บขายเป็นครั้งสุดท้ายหลังจากนี้ก็จะปล่อยให้ติดดอกเพื่อเก็บเมล็ดไว้ปลูกรุ่นต่อไป และตนจะแบ่งพื้นที่ทำนาเพื่อปลูกผักผายน้อยเพิ่มขึ้นอีก เพราะว่าการปลูกผักผายน้อยน่าจะเป็นทางเลือกใหม่ที่ดีว่าการปลูกข้าวเพียงอย่างเดียว ประกอบกับปีนี้แล้งมากฝนไม่ตกทำให้ข้าวยืนต้นตาย แต่ผักผายน้อยใช้น้ำน้อยแต่รายได้ดีกว่าหลายเท่าตัว ครูหญิงกล่าว ทั้งนี้ใครที่ต้องการศึกษาการปลูกผักผายหรือสนใจเมล็ดพันธุ์ สามารถติดต่อได้ที่ เพจเกษตรปันสุข หรือเบอร์โทร 0625456414 (ครูหญิง) ///////////////