จระเข้ Gharial พาลูกน้อย 100 ตัวหลังจากมีเมีย 7-8 ตัว

.

ภาพนี้ถ่ายโดย Dhritiman Mukherjee ช่างภาพอินเดีย
จระเข้น้ำจืด ตัวผู้ สายพันธุ์ Gharial กำลังลอยตัวอยู่ในน่านน้ำ
ของ National Chambal Sanctuary ทางตอนเหนือของอินเดีย
จระเข้ตัวผู้กำลังรอลูกวัยเดือนกว่า 100 ตัวปีนขึ้นไปบนหลังของมันเพื่อความปลอดภัย

โดยธรรมชาติ จระเข้ตัวเมียจะเป็นผู้ดูแลไข่และลูกอ่อน
แต่นักชีววิทยาอินเดียพบว่า จระเข้ตัวผู้บางตัวก็ทำหน้าท่ีเหมือนจระเข้ตัวเมีย
ในช่วงบางเวลาหรือตลอดเวลาในกรณีที่จระเข้ตัวเมียไม่ยอมทำหน้าที่นี้
หรือบางคู่ก็ช่วยกันทำหน้าที่เลี้ยงดูลูกเล็ก ๆ
© Father Croc Also Cares
จระเข้สยามตัวผู้ก็ทำหน้าที่นี้เช่นกัน
© Siamese Crocodiles as parents

" จระเข้ Crocs สายพันธุ์อื่น ๆ จะให้ลูกของพวกมันอยู่ในปาก
แต่สำหรับจระเข้ Gharial ลักษณะทางสัณฐานของจมูกที่ผิดปกติ
(บางคนเรียกว่า ก้อนขี้หมาบนปากจระเข้)
และมีปากยื่นยาว ทำให้มันทำแบบจระเข้อื่น ๆ ไม่ได้เลย
ดังนั้นลูกจระเข้จึงต้องเกาะที่หัวและหลัง
เพื่อความใกล้ชิดและป้องกันพวกมันอย่างใกล้ชิด "
Patrick Campbell ภัณฑารักษ์อาวุโสด้านสัตว์เลื้อยคลาน
ของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งลอนดอน ให้สัมภาษณ์กับ BBC
.
 คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

Crocodile Mom Scoops Up Babies in Mouth
.

จระเข้ Gharials โตเต็มที่จะมีความยาวลำตัวได้สูงสุดถึง 15 ฟุต (4.5 เมตร)
และมีน้ำหนักมากกว่า 2,000 ปอนด์ (900 กิโลกรัม)
การตั้งชื่อ Gharials นี้ยึดถือ ตามโหนกที่เป็นกระเปาะที่ปลายจมูกของตัวผู้
Nobs ส่วนหัวที่เรียกว่า Gharas ภาษาฮินดี คือ หม้อโคลน © National Geographic
จระเข้ใช้ Gharas เพื่อขยายเสียงและเป่าฟองในน้ำช่วงฤดูผสมพันธุ์
สำหรับจระเข้ตัวผู้ตัวนี้ปรับตัวได้ดีดูเหมือนจะทำหน้าที่แบบจระเข้ตัวเมียได้ดีมาก
ตามที่ Dhritiman Mukherjee ได้ถ่ายภาพจระเข้ตัวนี้
เพราะมันได้ผสมพันธุ์กับจระเข้ตัวเมียที่แตกต่างกัน 7-8 ตัว ทำให้ได้ลูกจระเข้ 100 ตัว

.

ทั้งนี้ ได้แต่หวังว่าลูกจระเข้ทุกตัวจะเติบโตเต็มวัย
ทั้งตัวผู้ตัวเมียทุกตัวต่างแข็งแรงและกลายเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์
เพราะจระเข้ Gharials กำลังใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว
โดยมีหลงเหลืออยู่ราว  650 ตัวในน้ำจืดของอินเดียและเนปาล
ตามรายงานของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ
National Chambal Sanctuary ของอินเดีย
ซึ่ง Dhritiman  Mukherjee ได้ตระเวนมาหลายสัปดาห์
เพื่อถ่ายภาพจระเข้ Gharials ที่โตเต็มวัยมากกว่า 500 ภาพ

อนึ่ง ภาพถ่ายของ Dhritiman Mukherjee 
ได้เป็นภาพถ่ายหนึ่งใน 100 ภาพที่ได้รับเกียรติอย่างมาก
จากการแข่งขันช่างภาพสัตว์ป่าแห่งปี
Wildlife Photographer of the Year
ซึ่งจัดโดยพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งลอนดอน
Natural History Museum of London
โดยมีการคัดเลือกภาพถ่ายมากกว่า 50,000 ภาพ
โดยภาพดังกล่าวจะนำเสนอร่วมกับช่างภาพอีก 99 คน
ปิดบนฝาผนังของพิพิธภัณฑ์และจัดเป็นนิทรรศการสัญจร
หลังจากประกาศผู้ชนะอย่างเป็นทางการในวันที่ 13 ต.ค. ปีนี้

เรียบเรียง/ที่มา

https://bit.ly/2E7h0CH
https://bbc.in/35HeG0l





Male gharial



Female and juvenile gharial









Adult female gharial



Adult male gharial



Gharial skeleton



Gharials in Karnali River, Nepal,
with a mugger crocodile in the back



Gharial in National Chambal Sanctuary



Gharials in National Chambal Sanctuary



Gharials in National Chambal Sanctuary



Young gharial in the breeding center at Kukrail Reserve Forest



Gharials in the Gharial Conservation &
 Breeding Center at Chitwan National Park



A miniature illustration of the Baburnama 
showing a gharial, ca. 1598, 
National Museum, New Delhi






จระเข้สายพันธุ์นี้ บางคนเรียกว่า ตะโขง

















.
เรื่องเดิม สายพันธุ์ใหม่-จระเข้ถ้ำในกาบอง

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
Mysterious orange cave crocodiles 
that live in darkness are mutating into 
a new species

.
จระเข้ยักษ์กินคนที่อูกันด้า (หนักที่สุดในโลก)



.
Gustave จระเข้กินคนมาแล้วกว่า 300 ศพ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
This crocodile killed 300 people - Deadliest crocodile ever - gustave crocodile- The killer croc

.

เวลางูเหลือม  กินจระเข้จะไม่เหลือเศษซากเลย
เผยกระบวนการย่อยจระเข้ทั้งตัว ที่ถูกกลืนลงไปในท้องงูเหลือม


วันที่ 1 : จระเข้เพิ่งถูกกินเข้าไปและยังอยู่ในสภาพดี


วันที่ 2 : ส่วนท้องเริ่มโดนย่อยบ้างแล้ว


วันที่ 3 : เนื้อหนังส่วนใหญ่เริ่มถูกย่อยจนไม่เหลือสภาพของจระเข้แล้ว


วันที่ 4 : เหลือเพียงชิ้นส่วนกระดูกและโครงสร้างแข็งๆ เท่านั้น


วันที่ 5 : เหลือเพียงกระดูกชิ้นเล็ก ๆ


วันที่ 6 : แทบไม่เหลืออะไรในกระเพาะของงูแล้ว


วันที่ 7 : กระเพาะของงูเหลือมว่างแล้ว
และพร้อมสำหรับอาหารมื้อต่อไป


เรื่องเหลือเชื่อ งูเหลือมจะใช้เวลาย่อยจระเข้ในเวลาแค่ 7 วัน
ผลจากการทดลองนี้ นักชีววิทยาพบว่าหลังจากจระเข้ถูกงูเหลือมกลืนเข้าไปแล้ว
ค่า pH ในกระเพาะของงูเหลือม จะเปลี่ยนจาก 7 เป็น 2 ภายในเวลาเพียง 24 ชั่วโมง
นั่นก็คือ ภายในกระเพาะงูเหลือมนั้นมีสภาพเป็นกรดที่รุนแรง
ทั้งยังผลิตเอนไซม์สำหรับย่อยอาหารในปริมาณมาก
รวมทั้งกระบวนการ เมทาบอลิซึ่ม ของงูเหลือม
ยังเพิ่มขึ้นตามขนาดของเหยื่อที่มันกินเข้าไปอีกด้วย
©  Awesome X-Ray Images Show A Python Breaking Down An Alligator




.
เรื่องเล่าไร้สาระ

มีตำนานและความเชื่อเล่าสืบต่อกันมาว่า
ตามคำบอกเล่าที่เคยอ่านพบมักจะเขียนว่า
ใครก็ตามที่ถูกจระเข้กัด  ถ้าถูกจิ้งจกเลียแผลมักจะตาย
เพราะจิ้งจกเป็นจระเข้เล็ก/สหายกับจระเข้
มีสัญญาใจกันว่า จะช่วยกันฆ่าคนถูกจระเข้กัดให้ตาย

ดังนั้น เวลาชาวบ้านคนใดคนหนึ่งที่ถูกจระเข้กัด
หลังจากรักษาบาดแผลแล้วต้องรีบป้องกันจิ้งจก
ถ้าไม่ลอยเรือให้คนไข้อยู่กลางแม่น้ำเพื่อป้องกันจิ้งจก
ครอบครัวต้องรีบกางมุ้งล้อมรอบคนเจ็บ
และคอยเฝ้าระวังจิ้งจกไม่ให้เข้าไปในมุ้ง
เพราะจะมีจิ้งจกจำนวนเยอะมากที่พยายามเข้าไปในมุ้ง
เพื่อพยายามเลียแผลคนเจ็บที่ถูกจระเข้กัด
ถัาคนเจ็บคนไหนถูกจิ้งจกเลียแผลมักจะตาย
 
แต่จริง ๆ ฟันในปากจระเข้เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคหลายชนิด
ทำให้คนที่ถูกจระเข้กัด มักจะตายเพราะติดเชื้อ

ซึ่งเรื่องดังกล่าวยังไม่มีหลักฐานยืนยัน
เพียงแต่เป็นคำบอกเล่าและตำนานที่เล่า ๆ กันมา

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่